พารู้จัก ” กาวตะปู ” คุณสมบัติติดแน่นเหมือนตอกตะปูจริงหรือ?

กาวตะปู วัสดุยึดติด ที่ใช้สำหรับงานตกแต่งผนังเล็ก ๆ น้อย ๆ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่สามารถตอกตะปูได้ ซึ่งการใช้กาวพลังตะปู จะช่วยให้การยึดติดง่ายขึ้น ไม่ต้องออกแรงมาก และไม่ต้องเจาะผนังให้เป็นรู KACHA จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “กาวตะปู” วัสดุยึดติดชิ้นนี้ให้มากยิ่งขึ้น

กาวตะปู คืออะไร?

กาวตะปูคือ กาวอเนกประสงค์ที่ใช้แทนการตอกตะปู ใช้งานง่ายโดยไม่ต้องใช้สว่าน หรืออุปกรณ์ที่ยุ่งยาก ใช้ยึดติดวัสดุได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น คิ้ว กระจกโมเสก กระเบื้องตกแต่ง แม้กระทั่งกรอบรูป ไปจนถึงการติดชั้นวางของได้

220314-Content-กาวตะปูคืออะไร--คุณสมบัติติดแน่นเหมือนตอกตะปูจริงหรือ-02

คุณสมบัติกาวตะปูที่ควรรู้ เป็นอย่างไร?

สำหรับการยึดติดวัสดุในพื้นที่ ที่ไม่สามารถตอกตะปูได้ เช่น ผนังคอนโดมิเนียม หรือหอพัก รวมไปถึงพื้นที่ ที่สามารถตอกตะปูได้ แต่ไม่ต้องการให้เกิดรอยตะปูขึ้น ก็จะมีกาวตะปู เป็นตัวช่วยที่สำคัญ เนื่องจาก คุณสมบัติกาวตะปู ที่โดดเด่นที่สุด คือ การยึดเกาะสูงเหมือนกับตะปู แต่ใช้งานได้ง่าย มีคุณสมบัติ ดังนี้

มีความทนทาน ยึดเกาะสูง เหมาะสำหรับใช้แทนตะปู

คุณสมบัติกาวตะปูที่สำคัญ คือ ความแข็งแรงทนทาน ยึดเกาะสูง แห้งเร็ว ใช้แทนการตอกได้ เพราะติดแน่นเหมือนกับการตอกตะปู โดยกาวตะปูสูตรน้ำมันสามารถรับน้ำหนักได้ 180 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และกาวตะปูสูตรน้ำ สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 300 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่างให้ยุ่งยาก

ใช้ได้กับทุกพื้นผิว

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่สำคัญ คือ การใช้งานที่หลากหลายได้ทุกพื้นผิว เหมาะสำหรับยึดติดวัสดุที่มีลักษณะเนื้อแน่น ทั้งงานภายใน และงานภายนอก เช่น ปูน ไฟเบอร์ซีเมนต์ อิฐ บล็อก พลาสติก กระเบื้อง กระจกใส กระจกเงา โลหะ ไปจนถึงไวนิล โดยต้องเตรียมสภาพพื้นผิวที่จะใช้งานให้แห้งสะอาด ปราศจากฝุ่น คราบน้ำมัน หรือเศษวัสดุอื่น ๆ

ใช้ได้กับทุกพื้นผิวที่เป็นรูพรุน

กาวตะปูยังสามารถใช้ได้กับพื้นผิวไม่เรียบ หรือพื้นผิวที่มีรูพรุน เช่น คอนกรีต ปูนพลาสเตอร์ แผ่นไม้จริง แผ่นไม้อัด ไม้พลาสวูด ไม้เอ็มดีเอฟ uPVC รวมไปถึงหินธรรมชาติ หรือหินประดับ

ใช้ได้กับทุกพื้นผิวที่อยู่ที่สูง

กาวตะปูเหมาะสำหรับงานตกแต่ง ซ่อมแซม หรือติดตั้งวัสดุที่อยู่ในแนวระนาบ หรืองานเหนือศีรษะที่ไม่สามารถตอกตะปูได้ เช่น งานติดบัวพื้น บัวเพดาน งานติดคิ้ว และติดตั้งฝ้า เนื่องจากใช้งานด้วยปืนยิงกาว เพียงขัดหลอดฉีดกาวตะปูกับปืนยิงกาวเข้าด้วยกัน ก็สามารถใช้งานได้เลยทันที

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กาวพลังตะปูเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากตัวสารเคมีทำละลาย จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถเก็บไว้ใช้ในงานต่อไปได้  โดยเมื่อใช้งานเรียบร้อย ก็เพียงนำหลอดกาวใส่ลงในปืนยิงกาว แล้วทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยผ้าแห้งทันทีก่อนกาวจะแห้ง ส่วนเศษกาวที่ตกค้าง และแข็งอยู่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการขัดถู หรือใช้มีดขูดออกให้เรียบร้อย

วิธีการใช้งานกาวตะปู

1. เตรียมพื้นผิวให้เรียบร้อย ทำความสะอาดฝุ่นบนผนังให้เรียบร้อย ผนังที่จะใช้กาวตะปู ควรแห้ง ปราศจากฝุ่น สิ่งสกปรก จาระบี หรือคราบน้ำมัน รวมถึงเศษสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ

2. เตรียมหลอดกาวตะปู ตัดจุกให้มีความกว้างอย่างน้อย 4 มม. แล้วติดหลอดกาวตะปูเข้ากับปืนยิงกาวให้เรียบร้อย

3. ยิงกาวตะปู ตามรูปแบบการใช้งาน เพื่อให้กาวตะปูรับน้ำหนักได้ดี เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน สามารถยิงกาวตะปูลงบนพื้นผิว ได้ดังนี้

  • ยิงเป็นจุด สำหรับพื้นผิวไม่เรียบสม่ำเสมอ
  • ยิงแบบเส้นตรงในแนวดิ่ง สำหรับยึดติดวัสดุในแนวราบ หรือยึดติดวัสดุที่มีขนาดเล็ก
  • ยิงแบบซิกแซก สำหรับยึดติดวัสดุขนาดใหญ่ในแนวดิ่งที่มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 5-10 ซม. ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุ โดยหลังยิงกาวแล้ว กดวัสดุไว้ประมาณ 3-5 นาที หากวัสดุชิ้นใหญ่มากควรใช้วัสดุอื่นคำยันไว้ระหว่างรอกาวแข็งตัวประมาณ 24-48 ชั่วโมง

4. ทำความสะอาดอุปกรณ์ หลังจากใช้กาวตะปูเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทั้งหมด ด้วยผ้าแห้งทันทีก่อนกาวแห้ง สำหรับเศษกาวที่แข็งตกค้าง ให้ทำความสะอาดด้วยการขัดถู หรือใช้มีดขูดออก

220314-Content-กาวตะปูคืออะไร--คุณสมบัติติดแน่นเหมือนตอกตะปูจริงหรือ-03

สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเลือกใช้กาวตะปู

  • น้ำหนักของชิ้นงาน ก่อนอื่นเราต้องดูน้ำหนักของชิ้นงานก่อนว่าหนักเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้เลือกคุณสมบัติของกาวตะปูได้เหมาะสมกับงาน หากเลือกกาวที่มีคุณสมบัติการยึดเกาะน้อยกว่าชิ้นงาน ก็จะทำให้ติดไม่อยู่ หรือไม่ก็หล่นมาพังเสียหายได้
  • เลือกจากสี การเลือกสีของกาวตะปูก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้ในห้องเป็นสีโทนเดียวกันทั้งหมด และให้เข้ากับวัสดุที่ใช้ตกแต่ง ดังนั้นเรื่องของสี ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเช่นกัน
  • สถานที่ติดตั้ง สถานที่ติดตั้งบางแห่งมีพื้นผิวไม่เหมือนกัน เช่น พื้นผิวที่เป็นไม้ เป็นเหล็ก หรือเป็นพื้นซีเมนต์ ความแตกต่างของพื้นผิว ก็จะต้องเลือกกาวชนิดที่เหมาะกับพื้นผิวนั้นเหมือนกัน เพื่อให้ได้คุณสมบัติของการยึดเกาะที่สมบูรณ์

การยึดติดจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์หลัง 24 ชม. และหลังจาก 48-72 ชม.สำหรับวัสดุฉนวน เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับความหนาของกาว ความเรียบของพื้นผิว และสภาวะแวดล้อมในระหว่างการแห้งตัวของกาว จะต้องใช้เครื่องมือจับยึดชิ้นงานไม่ให้ขยับได้

การเก็บรักษากาวตะปู

อายุการเก็บรักษา 1 ปี นับจากวันที่ผลิตในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เก็บไว้ในสภาพแวดล้อมที่แห้ง มีหลังคาปกคลุมป้องกันจากแสงแดด ในอุณหภูมิระหว่าง 10 – 25 °C

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้ คุณสมบัติของกาวตะปู ที่เรานำมาฝากกัน จะเห็นได้ว่ากาวตะปู เป็นตัวช่วยสำคัญในการยึดติดวัสดุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยใช้งานง่าย และไม่มีขั้นตอนซับซ้อน อย่างไรก็ตาม หลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรดูแลรักษาและเก็บกาวตะปูให้ถูกต้องด้วย เพื่อการใช้งานที่ได้คุณภาพนั่นเอง

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :

สินค้าแนะนำจาก KACHA

ที่เเขวนเครื่องมือช่าง ที่แขวนเครื่องมือช่าง แผงแขวนเครื่องมือช่าง แข็งแรงทนทาน มากที่สุดในท้องตลาด เคลือบด้วยสีฝุ่น ทนทานต่อแรงขีดข่วน เกรดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับงานเก็บเครื่องมือ งานเอกสาร ที่มีน้ำหนัก เและต้องการความปลอดภัย เพิ่มความเป็นระเบียบ สะดวกในการจัดเก็บ และค้นหาเครื่องมือให้ง่ายขึ้นนั่นเอง รับรองสินค้ามีคุณภาพอย่างแน่นอน ที่เเขวนเครื่องมือช่าง คลิกเลย ????????

220314-Content-กาวตะปูคืออะไร--คุณสมบัติติดแน่นเหมือนตอกตะปูจริงหรือ-04