
ทำความรู้จัก “กำแพงกันดิน” มีทั้งหมดกี่ประเภท มีประโยชน์อย่างไร?
กำแพงกันดิน มีบทบาทสำคัญต่อการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน เช่น การตกแต่งภูมิทัศน์, การสร้างเขื่อน, อุโมงค์, กำแพงกันดินสไลด์ตามฝั่งแม่น้ำ เพื่อลดการทรุดตัวของดิน, การสร้างสะพาน, การก่อสร้างบริเวณแนวภูเขา ที่มีความลาดชัน เพื่อป้องกันดินถล่ม หรือบริเวณที่ราบสูง ไปจนถึงงานโครงสร้างชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่ หรือตึกสูงระฟ้า และอาคารบ้านเรือน ต่าง ๆ
กำแพงกันดิน คืออะไร?
กำแพงกันดิน (Retaining Wall) เป็นรูปแบบโครงสร้างที่ได้รับการออกแบบโครงสร้างผนังกันดินที่มีความหนา และมีความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ โดยสร้างขึ้นเพื่อต้านทานแรงดันทางด้านข้างของมวลดิน และมวลของเหลวตามธรรมชาติ เช่น น้ำ หรือโคลน รวมถึงแรงกดทับต่าง ๆ ที่มาจากด้านบน หรือ ของไหล เช่น โคลน และน้ำ เมื่อมีการก่อสร้าง หรือสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทำให้เกิดระดับดินที่ต่างกัน และมีความลาดชันมากกว่าที่ชั้นดินจะคงตัวอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างปลอดภัย จะทำให้เกิดการเคลื่อนพังทลายของมวลดิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้ เช่น ในพื้นที่บ่อก่อสร้างฐานราก , ช่องทางระบายน้ำล้นของเขื่อน หรือ ริมตลิ่งแม่น้ำ เป็นต้น

ส่วนประกอบของกำแพงกันดิน
ในอดีตกำแพงกันดินน มักจะทำมาจากวัสดุจำพวกไม้ที่มีความแข็งแรงสูง เช่น ไม้ยูคา, ไม้ไผ่, ไม้สัก และไม้เนื้อแข็งต่าง ๆ สำหรับยุคปัจจุบัน วัสดุที่นิยมใช้ในการทำกำแพงกันดิน คือ เหล็กชีทไพล์, ซีเมนต์บล็อก, คอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เป็นต้น
คุณสมบัติเด่นเฉพาะตัว : กำแพงกันดิน เป็นรูปแบบโครงสร้างผนังกันดินที่มีความหนา และมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ เพื่อรองรับแรงดันจากมวลดิน และมวลของเหลวตามธรรมชาติ เช่น น้ำ หรือ โคลน รวมถึงแรงกดทับต่าง ๆ ที่มาจากด้านบนนั่นเอง
ประเภทของกำแพงดิน
กำแพงกันดินมักจะทำมาจากวัสดุจำพวกไม้ที่มีความแข็งแรงสูง เช่น ไม้ยูคา, ไม้ไผ่, ไม้สัก และไม้เนื้อแข็งต่าง ๆ ต่อมามีการพัฒนาในด้านการใช้วัสดุทดแทนการใช้ไม้ เพื่อตอบโจทย์มาตรฐานทางด้านวิศวกรรม โดยจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามรูปแบบการใช้งาน ดังนี้
-
Gravity Wall
เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบ และมาตรฐานแรกของกำแพงกันดิน นิยมนำมาก่อสร้างในงานกันดิน สำหรับจัดภูมิทัศน์ งานกันดินตามริมตลิ่ง หรือ บริเวณเชิงเขา เพื่อป้องกันดินสไลด์ และดินถล่ม รูปแบบนี้เป็นการก่อสร้างในยุคแรก ๆ ถือว่าเก่าแก่ที่สุด โดยจะใช้น้ำหนักของกำแพง เป็นแนวต้านแรงดันของดินนั่นเอง

-
Piling Wall
กำแพงกันดินชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเหล็กชีทไพล์ เพราะมีความจำเป็นต้องใช้การตอกเสาเข็มตามแนวของกำแพง จึงต้องใช้แรงต้านจากดิน ในระดับดินด้านที่ต่ำกว่าทั้งสองฝั่ง ในการรับแรงดันจากดินที่สูงกว่า เหมาะกับการป้องกันดินสไลด์ตามแนวตลิ่ง และงานฐานรากชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่
-
Cantilever Wall
เป็นรูปแบบที่ถูกพัฒนามาจาก Gravity Wall วัตถุประสงค์การใช้งานก็จะมีความคล้ายกัน เช่น นำมาใช้สำหรับป้องกันดินสไลด์ และดินถล่ม ตามแนวตลิ่ง หรือตามแนวเชิงเขา แต่มีความแตกต่างกัน คือ ต้องเพิ่มคานด้านล่างให้ยื่นเข้าไปในดินของฝั่งที่มีระดับสูงกว่า จึงจะสามารถรับแรงดันได้ดี และมีความมั่นคงแข็งแรงกว่า Gravity Wall อีกด้วย

-
Anchored Wall
ความพิเศษของลักษณะการก่อสร้างกำแพงดินชนิดนี้ จะอยู่ที่มีการใช้สมอ ช่วยในการยึดกำแพง เพื่อเพิ่มแรงต้านให้กับกำแพง และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกำแพงดินรูปแบบอื่น ที่ถูกสร้างไว้เสร็จเรียบร้อยได้อีก เป็นการเพิ่มความปลอดภัย มีความเหนือชั้นกว่ากำแพงชนิดอื่น ๆ

-
Diaphragm Wall
เป็นระบบที่ใช้คอนกรีตหล่อในที่ คล้ายคลึงการทำเสาเข็มเจาะระบบเปียก โดยใช้กระเช้าตักดินขุดหลุมเอาดินขึ้นมาก่อนตามขนาด และแนวที่จะทำกำแพง ใช้สารละลายเบนโทไนต์ป้องกันการพังทลายของดิน แล้วหย่อนเหล็กเสริมที่ผูกเป็นโครงไว้แล้วลงไปก่อนเทคอนกรีต เมื่อทิ้งไว้จนคอนกรีตแข็งตัวมีกำลังตามกำหนดแล้ว จึงขุดดินข้างในกำแพงออก เพื่อทำชั้นใต้ดิน หรือก่อสร้างส่วนอื่น จึงเหมาะสำหรับกับงานฐานรากชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่ หรืองานตอม่อ สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ประเภทอื่น ๆ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- ควรปรึกษาวิศวกรที่ชำนาญในด้านการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินให้ดีเสียก่อน
- เนื่องจากการก่อสร้างชนิดนี้ แม้จะดูเรียบง่าย แต่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น และตัวผู้ก่อสร้างร่วมด้วย
- การประเมิณสภาพพื้นที่ก่อสร้าง และการคำนวนแรงดันของดินที่ถูกต้องแม่นยำ ควรเป็นหน้าที่ของวิศวกรที่จะให้คำแนะนำจะดีที่สุด เพราะจะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้รูปแบบกำแพงกันดินได้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และยังช่วยป้องกันการบานปลายของงบประมาณได้อีกด้วย
กำแพงกันดินสำเร็จรูป ในปัจจุบัน เป็นแบบไหน?
กำแพงกันดินสำเร็จรูป ในท้องตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ถูกจำแนกออกเป็น 5 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบ จะมีคุณสมบัติ และการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
-
กำแพงกันดินคอนกรีตสำเร็จรูปพร้อมฐานแผ่
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ และใช้เป็นรั้วคอนกรีตไปในตัว

-
บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าโค้ง)
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ลาดเชิงเขา
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการทำร่องน้ำ หรือบ่อน้ำ
- สามารถใช้เป็นกำแพง สต๊อกพืชผลการเกษตรได้
-
บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดใหญ่ (ผิวหน้าเรียบ)
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ในพื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ลาดเชิงเขา
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์สำหรับการทำร่องน้ำ หรือบ่อน้ำ
- สามารถใช้เป็นกำแพง สต๊อกพืชผลการเกษตรได้
-
บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าลอนคลื่น)
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้ เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการทำร่องน้ำ
- สามารถใช้เป็นกำแพง สต๊อกพืชผลการเกษตรได้

-
บล็อกกำแพงกันดินคอนกรีตขนาดเล็ก (ผิวหน้าเรียบ)
การนำไปใช้งาน
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปลูกสร้างอาคาร
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยสามารถปลูกพืช และต้นไม้ เพื่อเสริมสร้างทัศยนียภาพได้
- ใช้ในงานกันดิน ป้องกันดินสไลด์ สำหรับการทำร่องน้ำ
- สามารถใช้เป็นกำแพง สต๊อกพืชผลการเกษตรได้
จะเห็นได้ว่า การประเมิณสภาพพื้นที่ก่อสร้าง และการคำนวนแรงดันของดินที่ถูกต้องแม่นยำควรเป็นหน้าที่ของวิศวกร ที่จะให้คำแนะนำจะดีที่สุด เพราะจะช่วยให้เราสามารถเลือกใช้รูปแบบกำแพงกันดินได้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และยังช่วยป้องกันการบานปลายของงบประมาณได้อีกด้วย
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025