
คอนกรีต คืออะไร?
คอนกรีตคือ วัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้ในการก่อสร้าง อาคาร และสาธารณูปโภค ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นวัสดุที่มีความเหมาะสมทั้งด้านราคา และคุณสมบัติต่าง ๆ คอนกรีตประกอบด้วยส่วนผสม คือ วัสดุประสาน ได้แก่ ปูนซีเมนต์กับน้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ผสมกับวัสดุผสม ได้แก่ ทราย หิน หรือกรวด ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชั่น เมื่อนำมาผสมกันจะคงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง พอที่จะนำไปเทลงในแบบหล่อ ที่มีรูปร่างตามต้องการ หลังจากนั้นจะแปรสภาพเป็นของแข็ง มีความแข็งแรง และสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้นตามอายุของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้น โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่
คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร, ถนน, เขื่อน, สะพาน, อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป

“คอนกรีต” หรือที่คนภายนอกวงการก่อสร้างว่า “ปูน” เป็นวัสดุที่ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จึงทำให้ทุกวันนี้มีคอนกรีตมากมายหลายประเภท ความรู้ด้านคอนกรีตเป็นสาขาหนึ่งที่เรียกว่า Concrete Technology ซึ่งผู้เรียนเป็นวิศวกรโยธาต้องศึกษาเพื่อนำมาใช้งาน
การจะใช้งานคอนกรีตต้องทำให้อยู่ในสภาพเหลว โดยการผสมน้ำ เพื่อที่จะได้เทลงในแบบหล่อให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ เมื่อแข็งตัวและแกะแบบหล่อออกก็สามารถใช้เป็นโครงสร้างรับแรงตามที่วิศวกรออกแบบ และเมื่อนำเหล็กซึ่งรับแรงอัด และแรงดึงได้มากมาประกอบกันจะได้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้งานได้ตามต้องการ
ประเภทคอนกรีตที่เหมาะกับงานเป็นแบบไหน
การที่คอนกรีตแบ่งได้หลายประเภทเนื่องจาก ผงซีเมนต์ ที่เป็นส่วนผสมหนึ่งของคอนกรีตได้ถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ หรือประโยชน์ใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งทั่วไปมีถึง 5 ประเภท เรียกเป็นซีเมนต์ประเภทที่ 1, ประเภทที่ 2 จนถึงประเภทที่ 5
โดยทั่วไปจะแบ่งชนิดของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ใว้ 5 ประเภท คือ
- ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดธรรมดา (Ordinary Portland Cement) ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการกำลังอัดสูงเช่น อาคาร, ถนน, เขื่อน, สะพานเป็นต้น เช่นตราช้าง, พญานาค, TPI
- ประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทดัดแปลง (Modified Portland Cement) เหมาะกับใช้งานคอนกรีตที่เกิดความร้อน ทนซัลเฟสได้ปานกลางมักใช้ในงานโครงสร้างสะพาน, ท่าเรือ ซึ่งปํจจุบันไม่มีผลิตในประเทศไทยนอกจากสั่งเข้ามา
- ประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดแข็งตัวเร็ว (High Early Strength Portland Cement) ใช้กับงานที่ต้องการให้คอนกรีตรับแรงอัดได้เร็วแข่งกับเวลาสามารถถอดแบบได้เร็วกว่าปกติnแต่ไม่ควรใช้กับโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตราเอราวํญ, พญานาค, TPI
- ประเภทที่ 4 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดเกิดความร้อนต่ำ (Low-Heat Portland Cement) เหมาะสำหรับงานคอนกรีตหลา (Mass Concrete) เช่น การสร้างเขื่อน เนื่องจากให้อุณภูมิของคอนกรีตต่ำกว่าชนิดอื่นขณะแข็งตัว
- ประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดทนซัลเฟตได้สูง (Sulphate Resistance Portland Cement) ให้กำลังอัดช้า และความร้อนต่ำกว่าประเภทที่ 1 เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสซัลเฟต เช่น โครงสร้างที่อยู่ใกล้ ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง เช่น ตราTPI
โดยซีเมนต์ที่ใช้ทำคอนกรีตโครงสร้างทั่วไป คือ ประเภทที่ 1, ประเภทที่ 3 หรือประเภทที่ 5 คือ ซีเมนต์สำหรับโครงสร้างที่ต้องการให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูงนั่นเอง
???? ยังมีซีเมนต์อีกประเภทหนึ่งที่ไม่เหมาะกับการใช้ทำโครงสร้างเนื่องจากให้กำลังอัดที่ต่ำ แต่ถูกผลิตขึ้นมาให้เหมาะสำหรับทำงานก่อฉาบเท่านั้น

ประเภทคอนกรีตผสมเสร็จตามการใช้งาน
คอนกรีต มาตรฐาน | คือ คอนกรีตปกติที่นิยมใช้กันทั่วไป ถูกออกแบบให้มีกำลังอัดตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงานในโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา, คาน, ฐานราก, พื้น เป็นต้น |
คอนกรีต กันซึม | เป็นคอนกรีตที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความทึบน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้ยาก หรืออัตราการไหลผ่านของน้ำเป็นไปได้ช้า เป็นคอนกรีตที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการคุณสมบัติด้านการกันซึม จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำ หรือจำเป็นต้องสัมผัสน้ำหรือความชื้นโดยตรง เช่น สระว่ายน้ำ, ถังเก็บน้ำ, พื้นห้องน้ำ รวมทั้งโครงสร้างที่ต้องสัมผัสน้ำใต้ดิน เช่น ถังเก็บน้ำ, พื้นดาดฟ้า, พื้นระเบียง, ห้องใต้ดิน เป็นต้น |
คอนกรีต ไหลลื่นเทง่าย |
เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีความไหลลื่นสูง สามารถไหลเข้าแบบได้ง่ายขึ้น จึงเทคอนกรีตได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ส่งผลให้งานเสร็จเร็วขึ้น สามารถลดจำนวนคนงานได้ สำหรับช่างที่รู้สึกว่าคอนกรีตมาตรฐานนั้นมีความหนืด และเทยาก สามารถเลือกใช้คอนกรีตประเภทนี้ที่มีราคาใกล้เคียงกัน แต่มีความเหลวกว่า เทง่าย และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเติมน้ำระหว่างเทคอนกรีตที่หน้างาน จึงช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาการแตกร้าว เป็นฝุ่น เป็นโพรง กำลังอัดตก เนื่องจากการเติมน้ำ ซึ่งไม่ควรกระทำ นอกจากนี้ยังสามารถถอดแบบได้เร็วขึ้น และได้ผลงานที่สวยงามเรียบร้อย มีผิวที่เรียบเนียน เหมาะสำหรับทุกโครงสร้างของงานบ้านพักอาศัย เช่น ฐานราก, เสา, คาน, พื้น |
คอนกรีต สี | เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาสำหรับงานตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม โดยมีการผสมสีลงไปในคอนกรีต เพื่อให้ได้เฉดสีตามที่ต้องการ นิยมใช้เป็นคอนกรีตเททับหน้า หรืองานตกแต่งอื่น ๆ เช่น ทางเท้า ลานบริเวณหน้าศูนย์การค้า หรือทางเข้าสำนักงาน และคอนโดมิเนียมต่าง ๆ ซึ่งมีกำลังอัดรูปทรงลูกลาศก์ให้เลือกใช้ตั้งแต่ 240-400 กก./ตร.ซม. และมีหลายเฉดสีให้เลือกใช้งาน |
คอนกรีต พรุน | เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีปริมาณช่องว่างในเนื้อคอนกรีตที่เหมาะสม สามารถระบายน้ำได้ดี มีช่องว่างภายในที่ต่อเนื่องขนาดตั้งแต่ 2- 8 มม. ซึ่งขนาดช่องว่างเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก เนื่องจากไม่มีทรายอยู่ในส่วนผสม เหมาะสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการการระบายน้ำได้ดี เช่น พื้นลานจอดรถ, ลานบริเวณรอบที่พักอาศัย, พื้นบริเวณรอบสระว่ายน้ำ, ถนนในหมู่บ้าน และถนนภายในสนามกอล์ฟ เป็นต้น |
คอนกรีต งานใต้น้ำ | คอนกรีตประเภทนี้จึงถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติไหลเข้าแบบง่าย มีความไหลลื่นสูง สามารถเทคอนกรีตลงแบบที่อยู่ใต้น้ำได้โดยไม่ต้องสูบน้ำออก และไม่ตองจี้เขย่า คอนกรีตประเภทนี้มีเนื้อคอนกรีตที่ยึดเกาะตัวกันสูงและมีค่าความหนืดสูง สามารถป้องกันการชะล้างจากน้ำ และการแยกตัวของเนื้อคอนกรีตได้ มีกำลังอัดรูปทรงลูกบาศก์ให้เลือกใช้ตั้งแต่ 380-450 กก./ตร.ซม. เหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่ตัวแบบอยู่ใต้น้ำ ไม่สามารถสูบน้ำออกจากแบบได้ รวมทั้งไม่สามารถจี้เขย่าได้ เช่น งานบ้านพักอาศัยที่ต้องปลูกในแหล่งน้ำ |
คอนกรีต ผิวเรียบ | เป็นคอนกรีตที่ออกแบบมาให้เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการผิวเรียบเนียน ผิวไม่เป็นช่องว่างหรือรูโพรง มีสีสม่ำเสมอ สามารถทนต่อสภาพอากาศ และไม่เกิดการแตกร้าว จึงเหมาะสำหรับงานคอนกรีตโชว์ผิวเปลือย เช่น เสาตอม่อสะพาน, เสา หรือผนังหล่อในบ้าน หรืออาคารที่ต้องการโชว์ผิวคอนกรีตเปลือย |
คอนกรีต ทนดินเค็ม | เป็นคอนกรีตที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ และซัลเฟตที่สะสมอยู่ในดิน หรือบริเวณแหล่งน้ำใกล้เคียง ทั้งคลอไรด์และซัลเฟตจะส่งผลร้ายต่อโครงสร้างคอนกรีต คลอไรด์จะเร่งปฏิกิริยาการเกิดสนิมของเหล็กเสริม ส่วนซัลเฟตจะทำปฏิกิริยากับคอนกรีต ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และมีความแข็งแรงลดลง เหมาะกับโครงสร้างที่สัมผัสกับคลอไรด์และซัลเฟต โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยซึ่งเป็นพื้นที่ดินเค็ม |
คอนกรีต ชายฝั่งทะเล | ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ และซัลเฟต ซึ่งมีอยู่ในน้ำทะเล, ไอทะเล, น้ำกร่อย, น้ำใต้ดิน และดินเค็ม ซึ่งทั้งคลอไรด์ และซัลเฟต จะส่งผลร้ายต่อโครงสร้าง รวมถึงต้านทานต่อแรงกระแทกของคลื่นและการขัดสีของกรวดทราย จึงเหมาะสำหรับโครงสร้างที่อยู่ในระยะห่างจากชายฝั่งทะเล 0-15 กิโลเมตร หรือโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเค็ม น้ำกร่อย |
คอนกรีต สำหรับงานเข็มเจาะเล็ก |
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเทโครงสร้างเสาเข็มเจาะเล็ก หรือเข็มเจาะระบบแห้ง (Dry Process) ซึ่งเป็นเสาเข็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 35-60 ซม. โดยทั่วไปจะใช้อุปกรณ์ในการเจาะดินที่เรียกว่า สามขา (Tripod) ซึ่งจะเจาะลงไปในดินที่ความลึกประมาณ 21 เมตร มีคุณสมบัติที่เทได้ง่ายและไม่แยกตัว สามารถลดปัญหาเสาเข็มไม่สมบูรณ์หรือเป็นรูโพรง เหมาะสำหรับงานเข็มเจาะบ้านพักอาศัย และอาคารพาณิชย์ และโครงสร้างขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง |
วิธีเลือกใช้คอนกรีตที่ถูกต้อง
หากต้องการคอนกรีตที่มีกำลังอัดได้มาตรฐาน ต้องใช้คอนกรีตผสมเสร็จที่ผลิตจากโรงงานผลิต (Concrete Plant) และการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จจะระบุเป็นค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่จะใช้ แล้วถ้าสร้างบ้านและใช้คอนกรีตผสมเสร็จควรสั่งกำลังอัดเท่าไร ขอแนะนำให้สั่งที่กำลังอัด 210 Ksc หรือ 240 Ksc ก็เพียงพอแล้ว
ได้รู้จักกับข้อมูลของคอนกรีตกันแล้ว หากคิดจะสร้างบ้านก็อย่าลืมใส่ใจและสังเกตจุดสำคัญที่สุดของบ้านจุดนี้กันให้ดี เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกในบ้านจากการทรุดตัวหรือถล่มของบ้านด้วย หวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย ????
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025