คิ้วกระเบื้อง หรือคิ้วปิดขอบกระเบื้อง ปิดมุมกระเบื้อง ที่นิยมนำมาใช้เพื่อตกแต่งงานปูกระเบื้องในการสร้างบ้าน หรือต่อเติมบ้าน ในปัจจุบันที่นิยมนำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ทำมาจากพลาสติก และอะลูมิเนียม ที่เราเจออยู่บ่อย ๆ การจะเลือกใช้คิ้วแบบไหน เพื่อตกแต่งกระเบื้องก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราเอง และเรื่องของราคาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการตัดสินใจเลือกนำมาใช้ เพราะคิ้วกระเบื้อง ที่ทำมาจากวัสดุต่างชนิดกัน ราคาก็จะแตกต่างกัน อย่างคิ้วกระเบื้อง ที่ทำจากอะลูมิเนียมมักจะมีราคาแพงกว่าคิ้วพลาสติก เป็นต้น

ประเภทของคิ้วกระเบื้อง

รูปทรงของคิ้วกระเบื้อง ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาใช้กัน จะมีอยู่ 2 แบบ คือ

  1. แบบโค้งมน (1 ใน 4 ส่วนของวงกลม)
  2. แบบสี่เหลี่ยม
210623-Content ประโยชน์ของ-คิ้วกระเบื้อง-และวิธีใช้อย่างถูกต้อง02


ขนาดของคิ้วกระเบื้อง
 มีอยู่ 3 ขนาด คือ

  1. ขนาดเล็ก ความหนาของคิ้วกระเบื้อง เท่ากับ 7 มิลลิเมตร
  2. ขนาดกลาง ความหนาของคิ้วกระเบื้อง เท่ากับ 9 มิลลิเมตร
  3. ขนาดใหญ่ ความหนาของคิ้วกระเบื้อง เท่ากับ 4 เซนติเมตร


เลือกคิ้วกระเบื้องให้เหมาะกับการใช้งาน

การเลือกคิ้วสำหรับตกแต่งกระเบื้อง ต้องคำนึงถึงขนาด รวมถึงความหนาของกระเบื้อง ต้องมีความสัมพันธ์กับความหนาของคิ้ว เพราะถ้าหากความหนาของคิ้วน้อยกว่าความหนาของกระเบื้อง ทำให้เมื่อปูกระเบื้องไปจรดกับคิ้วกระเบื้อง ขอบกระเบื้องจะโผล่เลยพ้นขอบคิ้วขึ้นมา และไม่เสมอกันกับกระเบื้อง ที่ร้ายแรงไปกว่านั้น คือ ไม่ช่วยป้องกันการกระแทก หรือการชนที่ทำให้แตกบิ่น หรือถ้าหากเลือกคิ้วที่หนากว่ากระเบื้อง เวลาปูกระเบื้องไปชนกับคิ้ว ขอบคิ้วก็โผล่ขึ้นมาทำให้การเดินสะดุด และไม่มีความสวยงาม ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ ควรตรวจทานให้ดีก่อนว่า คิ้วกับกระเบื้องมีขนาดที่พอเหมาะกันหรือไม่ จะได้ไม่เสียเงินหลายต่อ

210623-Content ประโยชน์ของ-คิ้วกระเบื้อง-และวิธีใช้อย่างถูกต้อง03


วิธีติดคิ้วกระเบื้อง ทำอย่างไร? 

  1. วิธีติดคิ้วกระเบื้องนั้น ไม่ได้ยากเย็นอะไร เอาปูนกาวสำหรับปูกระเบื้องป้ายเข้าไปที่บริเวณขอบผนัง มุมผนัง หรือขอบเคาน์เตอร์ที่ต้องการติด แล้วก็เอาคิ้วกระเบื้องวางแปะเข้าไปได้เลยโดยกดให้แน่น ให้คิ้วติดกับปูนกาว และแนบสนิทกับขอบ หรือมุมผนัง
  2. จากนั้นใช้ระดับน้ำ ทาบตรวจสอบว่าวางคิ้วกระเบื้องตรงได้แนวหรือไม่ (ระดับน้ำสามารถตรวจสอบได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน) เป็นอันจบ เสร็จแล้วก็ปล่อยให้ปูนกาวแห้งแล้วค่อยปูกระเบื้องทับ

หรืออีกวิธี จะปูกระเบื้องไปก่อนก็ได้ โดยปูกระเบื้องให้เสร็จด้านหนึ่งก่อนเสร็จแล้วติดคิ้วกระเบื้อง โดยการเสียบเข้าไปใต้กระเบื้องเลย แล้วก็สามารถปูกระเบื้องอีกด้านไปชนคิ้วได้เลยโดยไม่ต้องรอให้ปูนแห้งก่อน วิธีนี้ควรระวังนิด ต้องใส่ปูนกาวใต้แผ่นกระเบื้องให้เต็มอย่าให้กลวง ไม่เช่นนั้น เมื่อสอดคิ้วกระเบื้องเข้าไปใต้กระเบื้อง โดนบริเวณที่ใส่ปูนกาวไม่เต็ม คิ้วกระเบื้องกจะไม่แน่นและมีโอกาสหลุดได้ในภายหลัง


การเลือกวัสดุประเภท คิ้ว สำหรับงานออกแบบ

เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบที่นิยมใช้ ดังนี้

1. คิ้วสเตนเลส ทำจากสเตนเลสเกรด 304 โลหะผสมระหว่างเหล็ก และคาร์บอน มีความแข็งแรง ทนทาน ต้านทานการกัดกร่อนได้ดี และที่สำคัญคือ สเตนเลสเกรด 304 ยังเป็นเกรดที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานระดับสากลว่ายากต่อการเป็นสนิมอีกด้วย

210623-Content ประโยชน์ของ-คิ้วกระเบื้อง-และวิธีใช้อย่างถูกต้อง04


2. คิ้วอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่อ่อน และเบา มีลักษณะที่แตกต่างจากสเตนเลสตรงที่ พื้นผิววัสดุไม่เงามากนักเป็นโลหะที่ตัดได้ง่ายเป็นอันดับที่ 2 รองจากทองคำ เมื่อถูกนำมาทำเป็น คิ้วอะลูมิเนียม จะมีคุณสมบัติที่คล้ายกับสเตนเลสอย่างหนึ่ง คือ ทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี แข็งแรง ไม่เป็นสนิม 


3. คิ้ว PVC หรือพอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride) หลาย ๆ คนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะวัสดุประเภทนี้ ถูกนำมาใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์มากมาย คุณสมบัติเด่น ๆ คือ น้ำหนักเบา ราคาถูก มีความยืดหยุ่นสูง มีสีให้เลือกหลากหลาย แต่ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกเมื่อนำมาทำเป็นคิ้ว PVC แล้ว แม้จะไม่แข็งแรงทนทานเทียบเท่าอะลูมิเนียมและสเตนเลส ก็สามารถนำไปตกแต่ง หรือปิดขอบวัสดุได้เช่นกัน เพียงแต่เหมาะกับงานตกแต่งภายในมากกว่า เพราะไม่ค่อยทนทานต่อแสงแดดมากนัก อาจจะกรอบแตกได้ง่าย

วิธีดูแลรักษา คิ้วกระเบื้อง (ในกรณีเกิดคราบขาวหินปูน)

  • สำหรับอะลูมิเนียม

  1. เตรียมน้ำผสมน้ำยาล้างจานแบบเจือจาง ใช้ผ้าสะอาดชุปน้ำแล้วบิดหมาด ๆ
  2. นำผ้าที่ชุบน้ำแล้วไปเช็ดที่รอย โดยถูไปมา จนรอยค่อย ๆ จากไป
  3. เช็ดด้วยผ้าสะอาดที่ชุบน้ำแล้วบิดหมาด ๆ แล้วเช็ดตามด้วยผ้าแห้ง
  4. หยดน้ำยาเคลือบสีรถลงบนผ้า แล้วเช็ดอะลูมิเนียมอีกครั้ง เพื่อความเงางาม
  • สำหรับสเตนเลส

ในกรณีที่เป็นสเตนเสลผิวปิดลาย หรือผิวด้าน

  1. ใช้กระดาษทรายยูริเทน เบอร์ 1000 ชุบน้ำแล้วขัดเบา ๆ บนรอยเปื้อน ในทางเดียวกันตามแนวเส้นผิวปิดลาย
  2. เช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด

ในกรณีที่เป็นสเตนเลสผิวมันเงา

  1. ใช้ลูกหมูขัด โดยเปลี่ยนใบขัดเป็นลูกผ้ายีน ขนาด 4 นิ้ว และค่อย ๆ ขัดบริเวณรอยเปื้อน จนรอยจางลง
  2. หยดน้ำยาเคลือบสีรถลงบนผ้า แล้วเช็ดสเตนเลสอีกครั้ง เพื่อความเงางาม


การเลือกคิ้วกระเบื้อง เพื่อการใช้งานนั้น ควรเลือกที่เหมาะสมกับรูปแบบตามที่สภาพแวดล้อมในห้องที่จะติดตั้งด้วย เพราะในระยะยาวหากวัสดุที่ใช้ไม่มีคุณภาพ จะเป็นเกิดปัญหาในการแก้ไข การซ่อมแซม ทำให้เสียเวลา เสียความรู้สึก ทำให้ระยะยาวอาจจะแพงกว่าการซื้อวัสดุที่ได้มาตรฐานและคุณภาพดีนั่นเอง

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<