หลายคนคงจะรู้จัก จับเซี้ยม หรือ เซี้ยม PVC เป็นอย่างดีกันอยู่แล้ว เพราะเซี้ยมนั้นจะสามารถฉาบปูนให้ได้ฉากให้เรียบสวยในแนวระนาบ และระดับที่ถูกต้อง การทำงานอาจใช้ปูน หรือเส้นเซี้ยมสำเร็จรูป ประโยชน์ของ เซี้ยมพีวีซีสำเร็จรูป นั้นช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดเวลาในการก่อสร้าง ทำให้มีความคมชัดของมุมเหลี่ยมเสา-คาน สามารถยึดเกาะปูนได้ดี เพราะมีรูเจาะไว้ยึดเกาะทั้งสองด้าน แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการจับเซี้ยม คืออะไร?

วันนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ จับเซี้ยม หรือ เซี้ยม PVC กัน ตามไปดูเลย . . .


การจับเซี้ยม คืออะไร
?

จับเซี้ยม คือ ขั้นตอนแรก ๆ ของงานฉาบ เป็นการตรียมผนังก่อนการฉาบ ที่ตำแหน่งมุม หรือขอบของผนัง โดยการจับเซี้ยม เป็นการกำหนดแนวฉาบบริเวณมุมของผนัง หรือเสา เพื่อที่จะฉาบได้ตรง และเรียบเสมอกัน ได้เหลี่ยม ได้มุมที่สวยงาม ในส่วนของบริเวณผนัง จะใช้การจับเป็นปุ่มปูนโดยระดับแนวระนาบ และแนวดิ่งของปุ่มกับเซี้ยมทั้งหมด ควรจะได้ระดับเดียวกัน จะใช้เส้นเอ็นขึงที่แนวสันของผนังก่อ ทั้งที่ทำจากอิฐมอญ อิฐมวลเบา หรือคอนกรีตบล็อค เพื่อเป็นตัวกำหนดระดับ และความหนาของการฉาบให้ตรงตามที่ต้องการ จากนั้นใช้ปูนทราย หรือปูนเค็ม ปาดปูนลงไปบนผนังที่ชนเข้ามุมกันทั้ง 2 ด้านตลอดแนวความสูง หรือความยาวให้ได้ระดับตามแนวเส้นเอ็นที่ขึงไว้ โดยจะทำควบคู่กับการจับปุ่มในผนังที่อยู่ด้านเดียวกันไปด้วย

210618-Content-จับเซี้ยมหรือเซี้ยม-PVC-คืออะไร02


จับเซี้ยมหรือเซี้ยม
PVC ผลิตจากอะไร?

เซี้ยม หรือ เซี้ยมPVC นั้น ผลิตจากวัสดุที่เรียกว่า พีวีซี (PVC) หรือพลาสติก ซึ่งมีความแข็ง เหนียว ทนทานและไม่แตกต่าง ที่สำคัญมีราคาถูก และได้คุณภาพดี ผลิตโดยการขึ้นรูปพลาสติกด้วยเครื่องจักรที่เรียกว่าเครื่องอัดรีดพลาสติก วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตนั้นเป็นเกรดเอ มือหนึ่ง ซึ่งมีความแตกต่างจากพลาสติกรีไซเคิล คือ พลาสติกมือหนึ่งจะมีความแข็ง เหนียว ทนทาน ไม่แตกหักง่าย


ประโยชน์ของ
เซี้ยมPVC สำเร็จรูป เป็นอย่างไร?

  • ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดเวลาในการก่อสร้าง
  • ทำให้มีความคมชัดของมุมเหลี่ยมเสา-คาน
  • สามารถยึดเกาะปูนได้ดี เพราะมีรูเจาะไว้ยึดเกาะทั้งสองด้าน
  • สีของเซี้ยมพีวีซี สีเทา สีดำ
210618-Content-จับเซี้ยมหรือเซี้ยม-PVC-คืออะไร03


เทคนิคการจับเซี้ยม เป็นอย่างไร?

  1. ช่างต้องใช้เครื่องมือ หาแนวดิ่ง หาระดับของผนังแต่ละผืนจากมุมถึงมุม แล้วขึงเอ็นเป็นแนว เพื่อนำปูนมาปั้นเป็นแนว หรือเป็นปุ่ม ตามแนวดิ่งระดับที่ได้ขึงเอ็นไว้
  2. การหาแนวดิ่งระดับต้องดึงแนวจากเหลี่ยม ที่ยื่นออกมามากที่สุดเป็นแนวหลัก หรือกรณีเป็นผนังเรียบไม่มีมุมก็หาระดับจากจุดที่สูงที่สุด และ ไล่ระดับ เป็นปุ่มออกไปยังปุ่มถัดไป
  3. นำปูนทราย หรือมอร์ต้าที่ผสมแล้ว มาปั้นขึ้นรูปให้เท่ากับความสูงของเอ็น หรือกรณีใช้เซี้ยมสำเร็จรูป เซี้ยมมาวางทางมุมตามแนวเอ็น ให้ได้ระดับ นำปูนมาป้ายทับขายเซี้ยม และกดให้ช่อง ซึ่งมักจะทำเป็นรูกลมที่ฐานเซี้ยม เกาะยึดกับปูนอย่างมั่นคง
  4. สิ่งที่ควรตรวจสอบ และระมัดระวัง คือ เมื่อจับเซี้ยมเสร็จแล้ว หลังจากปูนแห้งแล้ว มักจะเกิดปัญหาปูนไม่อยู่ตัวหลุดร่วง และแตกร้าว เป็นรอยร้าวขวาง ๆ กับแนวเซี้ยมช่างควรผสมปูนไม่ให้หมาดมากนัก
  5. การจับปุ่ม ผนังเรียบ ก็ปั้นปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมเว้นระยะห่างพอให้สามเหลี่ยมกดปุ่ม 2 ปุ่ม ถึงกัน เพื่อง่ายในการจับหาระดับในการฉาบ
  6. เมื่อเซี้ยมแห้งดีแล้ว จึงดำเนินการฉาบผนังโดยสามารถขึ้นปูนด้วยมือ หรือปัจจุบันก็สามารถขึ้นปูนด้วยเครื่อง ทำให้ได้งานเร็วขึ้น และลดปัญหาการแตกร้าว ตลอดจนปัญหาด้านแรงงาน ส่งผลให้ได้ผนังสวย และมีคุณภาพตามที่ช่าง และ เจ้าของงานต้องการ


สามารถแบ่งการจับเซี้ยมได้ 2 วิธี คือ

1. การจับเซี้ยมแนวตั้ง มีขั้นตอน ดังนี้

  • หาแนวดิ่งมุมผนังโดยการทิ้งดิ่งของลูกดิ่ง
  • ใช้ตลับเมตรวัดจากผิวงานก่ออิฐ 1 เซนติมเตร และขยับเชือกที่ขึงไว้ให้ตรงกับระยะดังกล่าว เพื่อเป็นการกำหนดความหนาของเซี้ยม
  • ผสมปูนซิเมนต์กับน้ำให้ข้นเหนียวพอดี โดยใช้จอบผสมซิเมนต์กับน้ำในกระบะผสมปูน แล้วตักปูนใส่ถังปูน
  • ใช้แปลงสลัดน้ำให้ผิวงานเปียกชุ่มพอสมควร เพื่อควบคุมความชื้น เป็นการป้องกันการหลุดร่อนแตกร้าว เนื่องจากอิฐที่แห้งจะดูดน้ำจากปูน ทำให้ปูนแห้งเร็ว
  • ใช้เกรียงใบโพธิ์กลับปูนให้มีความเหนียว จะสังเกตได้ว่า ปูนที่เหนียว จะเนียน ยึดเกาะกันดีและไม่แยกตัวออกจากกัน นำปูนมาป้ายตรงมุมผนังให้เป็นแนวเกล็ดปลา
  • ใช้น้ำลูบกับสามเหลี่ยมปาดปูน เพื่อไม่ให้ปูนติดกับสามเหลี่ยม นำมาทาบชนกับแนวเชือกที่ขึงไว้
  • ใช้เกรียงใบโพธิ์ปาดตามแนวของสามเหลี่ยมปาดปูน ทำการเพิ่มปูนในส่วนที่เป็นช่องว่าง จากนั้นลูบตามแนวสามเหลี่ยมปาดปูนอีกครั้ง เพื่อให้เซี้ยมเรียบเนียนเสมอกัน แล้วทิ้งให้หมาดพอสมควร
  • ให้ดึงสามเหลี่ยมปาดปูนออกในลักษณะเฉือน ทำให้ครบทั้ง 2 ข้างของเซี้ยม
  • ขูดปูนให้เป็นลักษณะของแนวโค้ง เพื่อที่จะทำให้ง่ายต่อการฉาบปูนโดยการใช้เครื่องพ่นปูนฉาบ อีกทั้งยังช่วยให้ปูนฉาบยึดเกาะผนังได้ดีขึ้นอีกด้วย และทิ้งไว้ให้หมาดพอสมควร
  • ในกรณีที่ผนังมีความกว้าง 1.20 เมตร ขึ้นไป ควรจับปุ่มที่จุดกึ่งกลางของผนัง ให้มีความหนาเท่ากับความหนาของเซี้ยมที่กำหนดไว้ เพื่อให้การฉาบปูนด้วยเครื่องพ่นปูนฉาบนั้นได้ระดับ
210618-Content-จับเซี้ยมหรือเซี้ยม-PVC-คืออะไร04


2. การจับเซี้ยมแนวนอน
มีขั้นตอน ดังนี้

  • ใช้แปรงสลัดน้ำให้ผิวงานเปียกชุ่มพอสมควร เพื่อควบคุมความชื้น เป็นการป้องกันการหลุดร่อนแตกร้าว เนื่องจากอิฐที่แห้งจะดูดซึมน้ำจากปูน ทำให้ปูนแห้งเร็ว
  • ทำการกลับปูนให้มีความเหนียวโดยใช้เกรียงใบโพธิ์ จะสังเกตได้ว่า ปูนที่เหนียวนั้น จะต้องเนียน ยึดเกาะกันดี ไม่แยกตัวออกจากกัน จากนั้นนำปูนมาป้ายเป็นแนวเกล็ดปลา
  • นำน้ำมาลูปกับสามเหลี่ยมปาดปูน เพื่อไม่ให้ปูนติดกับสามเหลี่ยมปาดปูน นำมาทาบให้ตรงกับแนวของเซี้ยมแนวตั้ง
  • หาระดับ หากเซี้ยมยังไม่ได้ระดับ ให้ใช้ด้ามเกรียงเคาะไปที่สามเหลี่ยมปาดปูนเพื่อให้ได้ระดับ แล้วตรวจสอบระดับอีกครั้ง
  • ให้เกรียงใบโพธิ์ รูดตามแนวของสามเหลี่ยมปาดปูน แล้วเพิ่มปูนไปในส่วนที่เป็นช่องว่าง จากนั้นใช้เกรียงปาดตามแนวของสามเหลี่ยมปาดปูนอีกครั้ง เพื่อให้เซี้ยมเรียบเนียนเสมอกัน ทิ้งไว้ให้หมาดพอสมควร
  • ดึงสามเหลี่ยมปาดปูนออกในลักษณะเฉือน ทำให้ครบทั้ง 2 ข้างของเซี้ยม
  • ขูดปูนให้เป็นลักษณะของแนวโค้ง เพื่อให้ง่ายต่อการฉาบปูน ทำให้ปูนฉาบยึดเกาะผนังก่ออิฐได้ดีอีกด้วย