ฉนวนกันความร้อน มีกี่ประเภท? ใช้งานแบบไหน?

ฉนวนกันความร้อน คืออะไร?

ฉนวนกันความร้อนนั้น คือ วัสดุที่สามารถสกัดความร้อน ไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ โดยมีลักษณะเบา ประกอบด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติ สกัดกั้นความร้อนให้อยู่ในฟองอากาศ ไม่นำพาความร้อนไปยังส่วนอื่น ๆ นิยมนำมาใช้ติดตั้งไว้บนโครงหลังคาบ้าน เพื่อลดความร้อนของแสงแดดที่ทำให้เกิดความร้อนภายในที่พักอาศัย นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ติดตั้งบริเวณฝ้าเพดานได้เช่นกัน

คุณลักษณะของ ฉนวนกันความร้อน

ฉนวนแต่ละชนิด จะมีการต้านทานความร้อน ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งฉนวนที่ดีจะต้อง ต้านทานความร้อน ที่ผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งให้ลด ลงเหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ ถ้า ค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อน ( ค่า K) ยิ่งน้อย แสดงว่าเป็นฉนวนที่สามารถต้านทานความร้อนได้ดีกว่า

201102-Content-ฉนวนกันความร้อนมีกี่แบบ-วิธีการใช้งาน-02

จากตารางจะเห็นว่า โฟมโพลียูรีเทน (PU) มีค่าการนำความร้อนน้อยกว่า มีความต้านทานความร้อนได้ดีกว่าวัสดุชนิดอื่น

ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (Thermal Conductivity) คือ ค่าที่แสดงความสามารถ ในการถ่ายเทความร้อน ด้วยการนำความร้อนของวัสดุ หรือที่เรียกกันว่า “ค่า K” มีหน่วยเป็น W/m2K หรือ Btu/(hr ft °F) โดยค่า K ยิ่งสูงจะยิ่งนำความร้อนมาก เช่น วัสดุประเภทโลหะ มักมีค่า K สูงกว่าวัสดุประเภทพลาสติก เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ควรเลือกใช้วัสดุที่มีค่า K ต่ำนั่นเอง

ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด?

201102-Content-ฉนวนกันความร้อนมีกี่แบบ-วิธีการใช้งาน-03

ประเภทที่ 1 ฉนวนใยแก้ว หรือ ไฟเบอร์กลาส

มีลักษณะเป็นเส้นใยสีเหลือง มีทั้งเป็นแบบม้วน และแบบแผ่น แต่บางชนิดอาจมีแผ่นฟอยล์ บุอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ฉนวนใยแก้ว มีคุณสมบัติในการกันความร้อน กันไฟได้สูงถึง 300 องศาเซลเซียส และกันเสียงได้ด้วย แต่ฉนวนใยแก้ว มีข้อจำกัดเรื่องความเปียกชื้น เมื่อถูกน้ำจะยุบตัว ทำให้ไม่สามารถป้องกันความร้อนได้

ประเภทที่ 2 คือ ฉนวนประเภทเซลลูโลส

เป็นฉนวนที่ผลิตจากเยื่อไม้ หรือเยื่อกระดาษ ทั้งนี้จึงต้องใส่สารป้องกันการลุกลามของไฟ ส่วนใหญ่มักเป็นชนิดพ่นใต้ช่องว่างหลังคา หรือฝ้าเพดาน มีคุณสมบัติในการกันความร้อนดีพอ ๆ กับฉนวนใยแก้ว แต่การติดตั้งค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องพ่นเข้าไปในหลังคา ให้มีความหนามากกว่า 2 นิ้ว

ประเภทที่ 3 คือ ฉนวนอลูมินั่มฟอยล์

เป็นฉนวนสะท้อนความร้อนประเภทที่มีผิวมันวาว มีลักษณะเป็น แผ่นอลูมินั่มฟอยล์ เป็นแผ่นบาง ทำให้ฉนวนไม่เกิดการสะสมความร้อน มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ สามารถแผ่รังสีความร้อนออกมาได้น้อย เมื่อนำไปติดตั้งใต้หลังคา จะทำให้ความร้อนถ่ายเทลงมาภายในบ้านได้น้อย จึงป้องกันความร้อนได้ดี

ประเภทที่ 4 คือ ฉนวนประเภทโฟม

มีทั้งชนิดที่เป็นแผ่น เช่น โพลีเอทิลีน หรือ ชนิดฉีดพ่น เช่น โฟมโพลียูรีเธน สามารถป้องกันความร้อนได้ดี แต่หากเปรียบเทียบกัน จะพบว่าฉนวนประเภทโฟม สามารถป้องกันน้ำ และกันความชื้นได้ แต่ก็แพ้รังสียูวีของดวงอาทิตย์ จึงไม่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส อาจทำให้บิดงอ หรือ เกิดเพลิงลุกไหม้ได้

201102-Content-ฉนวนกันความร้อนมีกี่แบบ-วิธีการใช้งาน-04

ประเภทที่ 5 คือ ฉนวนร็อควูล

มีคุณสมบัติในการกันความร้อนได้ เหมือนกับฉนวนใยแก้ว และ เซลลูโลส แต่สามารถทนไฟได้ดีกว่า และสามารถดูดซับเสียงได้ มีลักษณะเป็นแผ่น หรือก้อนทึบ แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องความเปียกชื้นเช่นกัน

201102-Content-ฉนวนกันความร้อนมีกี่แบบ-วิธีการใช้งาน-04

ประเภทที่ 6 คือ ฉนวนประเภทอื่นๆ

ฉนวนประเภทนี้ ได้แก่ ประเภทอิฐมวลเบา และแผ่นยิปซัมบอร์ด ที่สามารถนำมาใช้ เป็นฉนวนป้องกันความร้อนได้ แต่คุณภาพไม่ดีเท่าฉนวนใยแก้ว

เรียกได้ว่า หลักในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุ ฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value)  ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ํา และ ความชื้น การทนต่อแมลง และ เชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ  การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะ และ ประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถ ช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย