
ฉนวนกันความร้อน มีกี่ประเภท? ใช้งานแบบไหน?
ฉนวนกันความร้อน คืออะไร?
ฉนวนกันความร้อนนั้น คือ วัสดุที่สามารถสกัดความร้อน ไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ โดยมีลักษณะเบา ประกอบด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติ สกัดกั้นความร้อนให้อยู่ในฟองอากาศ ไม่นำพาความร้อนไปยังส่วนอื่น ๆ นิยมนำมาใช้ติดตั้งไว้บนโครงหลังคาบ้าน เพื่อลดความร้อนของแสงแดดที่ทำให้เกิดความร้อนภายในที่พักอาศัย นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ติดตั้งบริเวณฝ้าเพดานได้เช่นกัน
คุณลักษณะของ ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนแต่ละชนิด จะมีการต้านทานความร้อน ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งฉนวนที่ดีจะต้อง ต้านทานความร้อน ที่ผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งให้ลด ลงเหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ ถ้า ค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อน ( ค่า K) ยิ่งน้อย แสดงว่าเป็นฉนวนที่สามารถต้านทานความร้อนได้ดีกว่า

จากตารางจะเห็นว่า โฟมโพลียูรีเทน (PU) มีค่าการนำความร้อนน้อยกว่า มีความต้านทานความร้อนได้ดีกว่าวัสดุชนิดอื่น
ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (Thermal Conductivity) คือ ค่าที่แสดงความสามารถ ในการถ่ายเทความร้อน ด้วยการนำความร้อนของวัสดุ หรือที่เรียกกันว่า “ค่า K” มีหน่วยเป็น W/m2K หรือ Btu/(hr ft °F) โดยค่า K ยิ่งสูงจะยิ่งนำความร้อนมาก เช่น วัสดุประเภทโลหะ มักมีค่า K สูงกว่าวัสดุประเภทพลาสติก เป็นต้น ดังนั้น หากต้องการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ควรเลือกใช้วัสดุที่มีค่า K ต่ำนั่นเอง
ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด?

ประเภทที่ 1 ฉนวนใยแก้ว หรือ ไฟเบอร์กลาส
มีลักษณะเป็นเส้นใยสีเหลือง มีทั้งเป็นแบบม้วน และแบบแผ่น แต่บางชนิดอาจมีแผ่นฟอยล์ บุอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ฉนวนใยแก้ว มีคุณสมบัติในการกันความร้อน กันไฟได้สูงถึง 300 องศาเซลเซียส และกันเสียงได้ด้วย แต่ฉนวนใยแก้ว มีข้อจำกัดเรื่องความเปียกชื้น เมื่อถูกน้ำจะยุบตัว ทำให้ไม่สามารถป้องกันความร้อนได้
ประเภทที่ 2 คือ ฉนวนประเภทเซลลูโลส
เป็นฉนวนที่ผลิตจากเยื่อไม้ หรือเยื่อกระดาษ ทั้งนี้จึงต้องใส่สารป้องกันการลุกลามของไฟ ส่วนใหญ่มักเป็นชนิดพ่นใต้ช่องว่างหลังคา หรือฝ้าเพดาน มีคุณสมบัติในการกันความร้อนดีพอ ๆ กับฉนวนใยแก้ว แต่การติดตั้งค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องพ่นเข้าไปในหลังคา ให้มีความหนามากกว่า 2 นิ้ว
ประเภทที่ 3 คือ ฉนวนอลูมินั่มฟอยล์
เป็นฉนวนสะท้อนความร้อนประเภทที่มีผิวมันวาว มีลักษณะเป็น แผ่นอลูมินั่มฟอยล์ เป็นแผ่นบาง ทำให้ฉนวนไม่เกิดการสะสมความร้อน มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ สามารถแผ่รังสีความร้อนออกมาได้น้อย เมื่อนำไปติดตั้งใต้หลังคา จะทำให้ความร้อนถ่ายเทลงมาภายในบ้านได้น้อย จึงป้องกันความร้อนได้ดี
ประเภทที่ 4 คือ ฉนวนประเภทโฟม
มีทั้งชนิดที่เป็นแผ่น เช่น โพลีเอทิลีน หรือ ชนิดฉีดพ่น เช่น โฟมโพลียูรีเธน สามารถป้องกันความร้อนได้ดี แต่หากเปรียบเทียบกัน จะพบว่าฉนวนประเภทโฟม สามารถป้องกันน้ำ และกันความชื้นได้ แต่ก็แพ้รังสียูวีของดวงอาทิตย์ จึงไม่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส อาจทำให้บิดงอ หรือ เกิดเพลิงลุกไหม้ได้

ประเภทที่ 5 คือ ฉนวนร็อควูล
มีคุณสมบัติในการกันความร้อนได้ เหมือนกับฉนวนใยแก้ว และ เซลลูโลส แต่สามารถทนไฟได้ดีกว่า และสามารถดูดซับเสียงได้ มีลักษณะเป็นแผ่น หรือก้อนทึบ แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องความเปียกชื้นเช่นกัน

ประเภทที่ 6 คือ ฉนวนประเภทอื่นๆ
ฉนวนประเภทนี้ ได้แก่ ประเภทอิฐมวลเบา และแผ่นยิปซัมบอร์ด ที่สามารถนำมาใช้ เป็นฉนวนป้องกันความร้อนได้ แต่คุณภาพไม่ดีเท่าฉนวนใยแก้ว
เรียกได้ว่า หลักในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุ ฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value) ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ํา และ ความชื้น การทนต่อแมลง และ เชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะ และ ประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถ ช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ บ้านประหยัดพลังงาน คืออะไร? ดีกว่าบ้านทั่วไปอย่างไร?
- บ้านร้อน แก้ไขง่าย ๆ บ้านเย็นได้ไม่เปลืองไฟ ทำได้อย่างไร?
- ผนังกันเสียง VS ผนังซับเสียง ต่างกันอย่างไร?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025