ชะแลง อะไร?
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเจาะ ตอก แซะและงัดวัตถุชิ้นงาน เช่น ตะปู หิน คอนกรีต และงานอื่น ๆ ซึ่งนิยมนำมาใช้งานก่อสร้างและงานอุตสาหกรรม ผลิตจากวัสดุเหล็กกล้าคาร์บอนสูง ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี และใช้งานได้ยาวนาน มีลักษณะเป็นท่อนเหล็กยาว มีปลายทั้งสองฝั่งโดยปลายด้านหนึ่งจะมีทั้งแบบปลายแหลม ปลายงอ และปลายเล็บเหยี่ยว ใช้สำหรับเจาะ ตอก แซะแล้วงัดผิวหน้าของชิ้นงาน ส่วนปลายอีกข้างหนึ่ง จะแบนและมีง่ามไว้ใช้สำหรับเซาะร่องถอนตะปู พร้อมด้วยก้านจับที่มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปทรง ซึ่งแต่ละรูปทรงจะจับได้กระชับมือ ไม่ลื่นขณะใช้งานและสามารถรับน้ำหนักได้แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ชะแลง จึงถือเป็นเครื่องมือสำหรับงานช่างทั่วไปที่จะช่วยผ่อนแรงในการทำงานได้อย่างดีเยี่ยมนั่นเอง
ประเภทการใช้งานของชะแลง
ชะแลงนั้น มีหลายรูปแบบบนชะแลง แต่รูปร่างพื้นฐาน คือ แท่งโลหะหนักยาวที่มีปลายด้านหนึ่งมีรูปร่างเหมือนลิ่ม ในขณะที่ปลายอีกด้านจะแยก หรือแยกเล็กน้อย ปลายลิ่ม สามารถบีบได้ภายใต้วัตถุต่าง ๆ ในขณะที่แท่งถูกใช้เป็นคันโยก เพื่อแยกพวกมันออก และส่วนปลายที่แตกหักสามารถใช้ดึงเล็บออกได้ ชะแลงบางตัวโค้งงอที่ปลายง่าม เพื่อให้งัดมากขึ้น ชะแลงชนิดนี้ เรียกว่า บาร์ทำลาย เนื่องจากมันถูกออกแบบมาสำหรับการรื้อถอน
ชะแลงส่วนใหญ่ทำจากเหล็ก ซึ่งเป็นโลหะที่แข็งแรง ซึ่งจะทำให้ใช้งานได้ยาวนาน ชะแลงอื่นทำจากไทเทเนียม ซึ่งเป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา ไทเทเนียม crowbars ก็ไม่ใช่แม่เหล็ก ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์อย่างมากในสถานที่ก่อสร้างบางแห่ง ชะแลงมักจะทำด้วยวัสดุที่จะทนต่อการดัด ซึ่งสามารถลดประสิทธิภาพของชะแลงเป็นคันโยก ชะแลงบางส่วนที่มีปลายโค้งแทนที่ลิ่มด้วยที่จับเพื่อการยึดเกาะที่ดีขึ้น
ชะแลงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานไม้ขั้นพื้นฐานและหลังคา เนื่องจากเครื่องมืออเนกประสงค์ช่วยลดจำนวนเครื่องมือที่ต้องนำติดตัวไปที่ไซต์งาน ทำให้สายพานเครื่องมือมีน้ำหนักเบากว่ามาก บนหลังคาชะแลง สามารถนำมาใช้เพื่อแงะงูสวัดเก่าลบคานเน่าและถอดเล็บ สำหรับการก่อสร้าง ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้จริง โดยเฉพาะเมื่อการก่อสร้างเกี่ยวข้องกับการรื้อถอน นอกเหนือจากการใช้ชะแลงเป็นคันช่างไม้ ยังสามารถใช้น้ำหนักของชะแลง เพื่อขับไล่และทำลายอุปสรรค
ส่งท้ายสักนิด การดูแลเครื่องมือช่าง ทำได้อย่างไร?
นอกจากชะแลงแล้ว ยังมีเครื่องมือช่างอื่น ๆ อีกมากมายที่เราอาจจะต้องคอยดูแลรักษา เพื่อการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
1. ประแจ ประแจเป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิด ที่ใช้สำหรับ ยึด ขัน หรือคลายผังสกรู นอต สลักเกลียว มีหลายชนิดตามการใช้งานในแบบต่าง ๆ
การบำรุงรักษา
- ไม่ใช้ประแจตอก หรือตีแทนค้อน
- ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งาน
- หลีกเลี่ยงการใช้ประแจ ที่มีขนาดใหญ่กว่าสกรูหรือนอต
- ใช้ไขควงให้เหมาะสมกับกับลักษณะงานและร่องของนอตสกรู
- หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด แล้วเก็บใส่กล่องเครื่องมือ
2. ไขควง ด้ามจับทำจากพลาสติก ไม้ หรือโลหะ บริเวณด้ามหรือแกนทำด้วยโลหะ ไขควงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ด้าม ใช้สำหรับจับทำจากไม้ โลหะหรือพลาสติก ก้านหรือแกนกลาง ใช้สำหรับส่งแรงบิดไปยังส่วนปลาย ทำจากโลหะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมกลม ปากหรือปลาย ใช้สอดหรือสวมเข้าไปยังร่องของหัวสกรูหรือสลักเกลียว ทำจากโลหะ ปากมี 2 แบบ คือ ปากสี่แฉก และปากแบน ไขควงเป็น เครื่องมือที่ใช้แรงบิดสำหรับขันหรือคลายสกรู และสลักเกลียวที่ยึดไม้หรือโลหะ
การบำรุงรักษา
- ใช้ไขควงให้เหมาะสมกับกับลักษณะงาน และร่องของนอตสกรู
- หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด แล้วเก็บใส่กล่องเครื่องมือ
3. ค้อน ด้ามจับทำจากไม้ หรือเหล็ก และบริเวณส่วนหัวค้อนทำจากโลหะประเภทเหล็ก โดยหน้าค้อนจะเรียบใช้สำหรับตอกตะปู ส่วนหางจะมีลักษณะเป็นรูปตัววีใช้สำหรับดึงหรือถอนตะปู ค้อนเป็นเครื่องมือที่ใช้แรงกระแทกสำหรับการตอกตะปูหรือถอนตะปู
การบำรุงรักษา
- เลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับงาน
- เมื่อใช้งานเสร็จควรเช็ดทำความสะอาด แล้วทาน้ำมันที่หัวค้อนเพื่อป้องกันสนิม
4. คีม คีมเป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดสำหรับจับ ยึด ดัด และตัดสิ่งต่าง ๆ เช่น โลหะแผ่นบาง สายไฟ ท่อขนาดเล็ก และเส้นลวด ใช้มากในงานโลหะแผ่น งานซ่อมวิทยุหรืออิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ คีมมีหลายชนิดแต่ที่สำคัญ คีมปากแบนหรือคีมปากจิ้งจก คีมปากขยาย คีมล็อก คีมตัด และคีมตัดปากทแยง เป็นต้น
การบำรุงรักษา
- ใช้คีมให้ถูกประเภทกับงาน
- ไม่ควรบีบคีมแรงเกินไปเพราะจะทำให้คีมหัก
- ไม่ควรใช้ค้อนทุบคีมแทนการตัด
- ไม่ใช้คีมแทนค้อนหรือเครื่องมืออื่น ๆ
- เช็ดทำความสะอาด หยดน้ำมันที่จุดหมุน แล้วชโลมน้ำมันหลังการใช้งาน
5. ตลับเมตร ใช้วัดระยะทาง สายวัดภายในตลับทำด้วยโลหะ สามารถสปริงตัวได้ดีบอกค่าได้ทั้งนิ้วและเมตร
การบำรุงรักษา
- ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม่ให้หัก
- เมื่อจะปล่อยเส้นเทปกลับมี่เดิมต้องค่อย ๆ ผ่อน ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายของเกี่ยวอาจชำรุดเสียหายได้
- ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งาน แล้วเก็บให้เป็นระเบียบ
6. ตะไบ ทำด้วยโลหะมีรูปร่างหลายแบบ เช่น ตะไบกลม ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบครึ่งวงกลม ตะไบสี่เหลี่ยม และตะไบแบน ตะไบเป็นเครื่องมือเครื่องตัด หรือเฉือนชนิดหนึ่ง มีฟันขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ฟันจะทำจากโลหะที่แข็งมาก จึงสามารถตัดหรือเฉือนวัสดุที่อ่อนกว่าได้ เศษโลหะหรือไม้ ที่ได้จะมีขนาดเล็กมากหรือน้อยขึ้นกับฟันของตะไบ นำไปใช้งานตกแต่งผิวโลหะให้เรียบ ลบส่วนที่คมหรือทำให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามต้องการ ความยาวของตะไบ จะมีขนาดประมาณ 3-18 นิ้ว
การบำรุงรักษา
- ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่
- ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก
- ชโลมน้ำมันใบกบก่อนเก็บเข้าที่เก็บ
- ไม่ควรวางตะไบทับกันเพราะจะทำให้คมตะไบสึกหรอได้ง่าย
7. เลื่อย เป็นเลื่อยสำหรับงานไม้โดยทั่วไป ทำด้วยโลหะแผ่นบาง มีฟันเป็นซี่ ๆ โดยฟันของซี่เลื่อยมีความแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับการใช้งาน
การบำรุงรักษา
- หลังจากการใช้งานให้คลายใบเลื่อยออกเล็กน้อย เพื่อยืดอายุใบเลื่อยให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
- ใช้แปรงปัดทำความสะอาดทุกส่วน ทาด้วยน้ำมัน แล้วเก็บไว้ในที่เก็บหลังการใช้งาน