“ปั๊มน้ำ” เครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหนึ่งชนิด ที่จำเป็นต้องมีในทุกบ้าน และต้องใช้อยู่เป็นประจำทุกวัน ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักปั๊มน้ำกันก่อนว่ามีแบบใด และมีลักษณะการทำงานแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะเมื่อใช้ไปในระยะยาว ปั๊มน้ำอาจเกิดการชำรุดได้เป็นเรื่องปกติ วันนี้ KACHA ขอนำเสนอประเภท และวิธี ซ่อมปั๊มน้ำ แบบไม่ต้องพึ่งช่างประปา ให้ลองไปทำตามกัน ไปดูกันเลย
ปั๊มน้ำ คืออะไร?
เครื่องปั๊มน้ำ คือ เครื่องมือหรือตัวช่วยในการส่งน้ำให้แรงขึ้น ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ หัวปั๊ม และมอเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งแรงดันน้ำจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งจะได้ปริมาณน้ำสำหรับใช้อุปโภค และบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกับบ้านที่มี 2-3 ชั้น หากไม่ติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ เพื่อส่งแรงดันน้ำ สำหรับใช้ภายในห้องน้ำ คงต้องหงุดหงิดกับปัญหาน้ำไหลเบา หรือบางครั้งไม่สามารถใช้น้ำได้เลย การติดตั้งปั๊มน้ำ จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้น้ำในแต่ละจุดได้มากยิ่งขึ้น
อ่านบทความ : ปั๊มน้ำ คืออะไร? เลือกอย่างไรไว้ใช้ที่บ้าน
ซ่อมปั๊มน้ำ ด้วยตัวเองทำได้อย่างไร?
เมื่อปั๊มน้ำทำงานผิดปกติ หรือเกิดอาการชำรุด สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อซ่อมแซมเครื่องปั๊มน้ำด้วยตนเองในเบื้องต้น ดังนี้
1. สังเกตมิเตอร์เป็นอันดับแรก
ให้ตรวจสอบดูว่ามิเตอร์มีการจ่ายน้ำเข้ามาอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีน้ำจ่ายเข้าไปแสดงว่าผิดปกติ
2. เช็คระบบท่อ
หากการมีน้ำจ่ายเข้าปกติ ให้ดูระบบท่อว่าเปิดวาล์วน้ำทิ้งไว้หรือไม่ และเช็คการรั่วซึม หรือการแตกของท่อ เพื่อทำการซ่อมแซมต่อไป
3. ตรวจสอบตัวเครื่องปั๊มน้ำ
ถ้ามิเตอร์และท่อปกติดี สิ่งที่เสียหายอาจเกิดจากเครื่องปั๊มน้ำ ซึ่งส่วนมากจะมาจากเพรสเซอร์สวิตซ์ (อุปกรณ์ที่ใช้สั่งงาน)
4. ก่อนการตรวจเช็คควรถอดปลั๊กก่อนทุกครั้ง
เพื่อปิดระบบจ่ายไฟที่เข้าสู่ตัวเครื่องปั๊มน้ำทั้งหมด ก่อนจะตรวจสอบอาการผิดปกติในขั้นตอนต่อไป
5. ซ่อมเพรสเซอร์สวิตซ์
ในส่วนนี้จะมีสายไฟอยู่ 2 เส้น ให้ตัดสายไฟหนึ่งเส้นออก และนำเทปพันสายไฟมาพันสายไฟเส้นนั้นไว้ จากนั้นลองเสียบปลั๊ก และดูว่าเพรสเซอร์สวิตซ์ทำงานปกติไหม ถ้ายังไม่ทำงาน ให้ซื้อเพรสเซอร์สวิตซ์มาเปลี่ยนใหม่ทันที
หมายเหตุ : ถ้าซื้อมาเปลี่ยนแล้วยังไม่สามารถทำงานได้ อาจมีสาเหตุมาจากระบบใบพัดปั๊มแกนรูด ซึ่งถือว่าเสียหายค่อนข้างหนัก แนะนำให้ซื้อใหม่เพราะราคาซ่อม และราคาปั๊มน้ำใหม่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
6. หมั่นตรวจเช็คท่อและเครื่องสุขภัณฑ์ในบ้าน
ตรวจดูอย่างสม่ำเสมอว่าท่อหรือสุขภัณฑ์ในบ้านมีรอยรั่วหรือไม่ เพราะถ้ามีรอยรั่วเท่ากับว่าปั๊มน้ำไม่ตัด และทำงานอยู่ตลอดเวลา
7. เปิดฝาครอบปั๊มน้ำระบายความร้อน
ควรเปิดฝาทิ้งไว้ให้ตัวมอเตอร์เย็นลงก่อนสักระยะ ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์ร้อนเกินไป หลังจากเปิดฝาจนเย็นลงแล้วให้ลองเปิดใช้งานดูอีกครั้ง
ปั๊มน้ำ เลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับบ้าน
การเลือกใช้งานเครื่องปั๊มน้ำ มีหลายองค์ประกอบในการพิจารณา เช่น ประเภทของปั๊มน้ำ ขนาดปั๊มน้ำ จำนวนชั้นของบ้าน จุดติดตั้ง เพื่อให้ได้เครื่องปั๊มน้ำที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานของแต่ละบ้านที่แตกต่างกัน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
-
เลือกประเภทของปั๊มน้ำให้เหมาะสม
ในปัจจุบันบ้านส่วนใหญ่ จะนิยมจะใช้เครื่องปั๊มน้ำแบบไฟฟ้า เพราะไม่ยุ่งยากในการใช้งาน มีหลากหลายรุ่น หลากหลายฟังก์ชันที่สะดวกสบายโดยแบ่งประเภทของเครื่องปั๊มน้ำทั่วไปเป็น 2 ประเภท ดังนี้
เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติชนิดถังแรงดัน
ปั๊มน้ำอัตโนมัติชนิดถังแรงดัน หรือปั๊มน้ำแรงดันสูง เป็นเครื่องปั๊มน้ำทรงกระบอก ที่สามารถต่อใช้งานกับก๊อกน้ำ เครื่องซักผ้าได้ โดยตัวปั๊มมีความทนทานสูง ราคาไม่แพง มีระบบการทำงานที่ใช้น้ำเข้าไปแทนที่อากาศ ซึ่งแรงดันที่อยู่ภายในปั๊ม จะส่งน้ำไปยังจุดต่าง ๆ ภายในบ้าน แต่หากเปิดใช้งานน้ำหลายจุดพร้อมกัน อาจเกิดปัญหาแรงดันน้ำที่ใช้ไม่สม่ำเสมอ |
ปั๊มน้ำอัตโนมัติชนิดแรงดันคงที่ปั๊มน้ำอัตโนมัติชนิดแรงดันคงที่ เป็นเครื่องปั๊มน้ำที่ให้แรงดันน้ำสม่ำเสมอ แม้จะมีการใช้งานน้ำหลายจุด ตัวเครื่องมีความทันสมัย เป็นทรงสี่เหลี่ยม ช่วยประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน และที่สำคัญตัวเครื่องปั๊มน้ำ ยังมีระบบควบคุมน้ำแบบอัตโนมัติด้วยสวิตช์ เพื่อควบคุมการใช้น้ำให้คงที่ จึงเป็นที่นิยมใช้งานของหลาย ๆ บ้านในปัจจุบัน เพราะมีแบบระบบ Inverter ให้เลือกใช้งาน ช่วยประหยัดพลังงานภายในบ้าน |
-
ขนาดปั๊มน้ำเลือกให้ถูกช่วยแก้ปัญหาน้ำไหลเบาได้
ขนาดปั๊มน้ำ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำไหลเบาได้ ซึ่งต้องเลือกขนาดปั๊มน้ำที่เหมาะสม เพราะแม้จะติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำแล้ว หากเลือกขนาดที่ไม่เหมาะสมกับจำนวนชั้นของบ้าน ปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งจะทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มในการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น บ้าน 3 ชั้น หรือบ้าน 2 ชั้น เลือกปั๊มน้ำกี่วัตต์ดี ดังนี้
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 150 วัตต์ เหมาะสำหรับบ้าน 1-2 ชั้น
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 200-250 วัตต์ เหมาะสำหรับบ้าน 2 ชั้น
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 300-350 วัตต์ เหมาะสำหรับบ้าน 3 ชั้น
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 400 วัตต์ เหมาะสำหรับบ้าน 4 ชั้น
-
ปริมาณการใช้น้ำของสมาชิกในครอบครัว
แต่ละครอบครัวจะมีปริมาณในการใช้น้ำที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องคำนวณปริมาณในการใช้น้ำ เพื่อให้เลือกขนาดปั๊มน้ำที่เหมาะสม สำหรับการติดตั้ง โดยคำนวณจากช่วงเวลาที่ใช้น้ำพร้อมกัน เช่น ภายในบ้านมีจุดใช้น้ำทั้งหมด 5 จุด มีการใช้น้ำพร้อมกันจำนวน 4 จุด เมื่อนำมาคำนวณ จะช่วยให้ง่ายในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องปั๊มน้ำที่เหมาะสม
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 150 วัตต์ เหมาะการใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 3-4 จุด
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 200-250 วัตต์ เหมาะการใช้น้ำพร้อมกันได้ 5-6 จุด
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 300-350 วัตต์ เหมาะการใช้น้ำพร้อมกันได้ 6-7 จุด
- เครื่องปั๊มน้ำ ขนาด 400 วัตต์ เหมาะการใช้น้ำพร้อมกันได้ 7 จุด
-
จุดติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำภายในบ้าน
จุดติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ ควรเลือกจุดติดตั้งที่ใกล้กับถังเก็บน้ำ และท่อประปา เพื่อความสะดวกในการเดินท่อประปา สายไฟ สายดินต่าง ๆ และเป็นไปได้ควรเลือกจุดที่อากาศถ่ายเท ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือควรวางไว้ในภายตัวบ้าน โดยห่างจากผนังประมาณ 15-20 เซนติเมตร เพื่อให้เครื่องกระจายความร้อนได้สะดวก
แต่สำหรับบ้านที่ติดตั้งปั๊มน้ำเดิมไว้อยู่แล้ว ในกรณีที่เกิดปัญหาน้ำไหลเบาที่แก้ไม่หายสักที เบื้องต้นอาจจะลองเช็คปริมาณน้ำที่ใช้ ขนาดของเครื่องปั๊มน้ำว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากเช็คแล้วสาเหตุไม่ได้เกิดจากขนาดของปั๊มน้ำให้ตรวจสอบความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ภายในปั๊มน้ำ อาจเกิดการหลุด หรือสึกหรอ หรือหากบ้านที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องงานช่าง คงจำเป็นต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง เพื่อให้ได้คุณภาพงานติดตั้งที่มีประสิทธิภาพ และลดปัญหาความเสี่ยงเรื่องเสียหายระหว่างการใช้งาน
จะเห็นได้ว่าการวิธีการซ่อมปั๊มน้ำ สามารถทำด้วยตัวเองได้ไม่ยาก เพียงแค่คอยสังเกตการทำงาน หมั่นดูแล ตรวจเช็คปั๊มน้ำที่ใช้งานอยู่ในบ้านอย่างสม่ำเสมอ คอยเฝ้าระวังอาการผิดปกติ หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่เป็นประจำในทุก ๆ บ้าน อย่าลืมดูแลเครื่องปั๊มน้ำป้องกันการเสียหายที่รุนแรง และเพื่อยืดอายุการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ????????
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
สินค้าแนะนำจาก KACHA
กล่องใส่อะไหล่ ชั้นวางเครื่องมือช่าง เหมาะสำหรับ วางอุปกรณ์ อะไหล่ หรือ เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ หรือสต็อคสินค้า ทำให้เรียบร้อย ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ กล่องใส่อะไหล่ สามารถวางของได้หลายชนิดเยอะขึ้น
กล่องใส่อะไหล่ คลิกเลย ????????