
รู้จักกับ ตอม่อ คืออะไร? เสาตอม่อ รากฐานสำคัญในงานก่อสร้างที่ไม่ควรมองข้าม
หลาย ๆ คน คงเคยได้ยิน และรู้จักกับ “ตอม่อ” กันมาบ้าง มีหน้าที่ในการถ่ายเทน้ำหนักลงสู่ฐานรากไปจนถึงเสาเข็มที่ฝังไว้ในดิน แต่ก็มีหลาย ๆ คน ยังสงสัยว่า ตอม่อที่ว่านี้ อยู่ส่วนไหนของการก่อสร้าง ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับตอม่อ คืออะไร? ความสำคัญ และมีหน้าที่อย่างไรบ้าง? ดูไปพร้อม ๆ กันเลย
ตอม่อ คือ?
เสาตอม่อ (Ground Column) เป็นเสาที่มีขนาดสั้น ซึ่งเป็นส่วนที่จะทำการสร้างต่อหลังจากสร้างฐานรากเสร็จแล้ว จะมีความสูงอยู่ที่ปนะมาณ 50-100 เซนติเมตร โดยปกติเสาตอม่อ จะจมอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่ในการรองรับสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการถ่ายเทน้ำหนักลงสู่ฐานราก ไปจนถึงเสาเข็มที่ฝังไว้ในดิน ตอม่อจึงมีความสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นตัวรับน้ำหนักจากสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ลงมาสู่พื้นดิน ซึ่งจะทำให้อาคาร หรือบ้านเรือนที่ได้ก่อสร้าง มีความมั่นคงและแข็งแรงได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ประเภทของตอม่อ
-
ตอม่อเสาเหล็ก
เป็นการนำเสาเหล็กนั้นมาตั้งไว้บนตอม่อ โดยจะต้องดูตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางฐานเสาเสียก่อน โดยปกติมักจะวางตอม่อให้สูงจากพื้นดินเพียง 20 เซนติเมตร เพื่อลดโอกาสการเกิดสนิม เมื่อต้องนำเสาเหล็กวางบนตอม่อ เพราะหากเสาเหล็กได้รับความชื้นเนื่องจากการคำนวณตำแหน่งของตอม่อที่ห่างจากพื้นดินผิด ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เสาเหล็กนั้นเกิดสนิมได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้น จะนำแผ่นเหล็กมาเชื่อมกับด้วยการเสียบเหล็กลงในตอม่อ โดยมักจะทำเป็นรูปตัว U แบบคว่ำ และทำการทาน้ำยากันสนิมก่อนที่จะนำคอนกรีตมาเทตอม่อให้เสมอกับผิวเหล็ก
-
ตอม่อเสาเข็ม
เป็นการนำเสาเข็มวางบนตอม่อ โดยที่ตอม่อจะวางอยู่บนฐานราก ซึ่งเป็นการนำเสาเข็มเป็นตัววางเสริมตอม่อไปพร้อม ๆ กับการวางฐานราก โดยที่จะต้องดูระยะของตอม่อให้อยู่ในจุดศูนย์กลางพอดี ไม่ให้เกิดการเยื้องศูนย์
-
ตอม่อเสาไม้
เป็นวิธีการต่อเสาไม้เข้ากับเสาปูนคอนกรีต โดยจะใช้วิธีการหล่อคอนกรีตให้เป็นรูปตัว L แล้วทำการบากเสาไม้ให้เป็นรูปตัว L เช่นกัน ซึ่งจะสามารถต่อติดกันได้อย่างพอดี และใช้น็อต 4 ตัว ในการยึดเสาไม้ และเสาคอนกรีตเข้าด้วยกัน หรืออีกวิธี คือ การวางเพลทเหล็กฝังเข้ากับฐานปูนส่วนด้านบน ซึ่งจะเป็นเดือยรับเสาที่ทำการบากตรงกลางไว้
อ่านบทความ: การต่อ “เสาไม้” เข้ากับเสาปูนซีเมนต์ ให้แข็งแรง คงทน ทำได้อย่างไร?
-
ตอม่อสําเร็จรูป
ตอม่อสำเร็จรูป จะมาในรูปแบบของเสาตอม่อที่พร้อมใช้งาน โดยที่จะช่วยให้การวางฐานรากต่าง ๆ นั้น มีความง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว โดยตอม่อสำเร็จรูป จำเป็นที่จะต้องสั่งทำ หรือหาซื้อให้ตรงตามขนาดที่จะสามารถสูงจากพื้นดินได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของตอม่อสำเร็จรูป คือ ช่วยให้การทำงานเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

ขั้นตอนการสร้างตอม่อ ทำได้อย่างไร?
- เนื่องจาก เสาตอม่อ จะวางอยู่บนฐานราก ดังนั้น จึงเริ่มจากงานฐานรากก่อน โดยในตอนก่อสร้างฐานรากนั้น จะต้องวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก และต้องตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานราก ไม่ให้เกิดการเยื้องศูนย์
- ทำแนวการตั้งไม้แบบ โดยการขีดเส้น เพื่อสะดวกต่อการประกอบแบบหล่อ จากนั้น ติดตั้งแบบหล่อเสาตอม่อพร้อมค้ำยัน และหาระดับความสูงของเสาตอม่อ โดยเทียบกับระดับ +0.00 ซึ่งระดับที่ได้นี้ จะเป็นระดับการเทคอนกรีตด้วย
(อ่านบทความ: ไม้แบบก่อสร้าง คืออะไร? สำคัญอย่างไรในงานก่อสร้าง) - เทคอนกรีตเสาตอม่อให้ได้ระดับตามที่ออกแบบไว้ และทำให้คอนกรีตแน่นขึ้น โดยใช้เครื่องสั่นคอนกรีต หรือใช้ไม้กระทุ้ง คอนกรีตที่ใช้เทต้องเป็นคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างโดยเฉพาะ
- ปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัว ประมาณ 2 วัน ถึงจะถอดไม้แบบออก จากนั้นทำการบ่มคอนกรีต โดยจะใช้วิธีบ่มชื้นหรือใช้พลาสติกคลุม หรือใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต
(อ่านบทความ: รู้จักกับ การบ่มคอนกรีต คืออะไร มีกี่วิธี แล้วทำไมต้องบ่มคนกรีต) - เมื่อทำฐานราก และเสาตอม่อเรียบร้อยแล้ว ทำการถมดินฐานราก และจะทำการก่อสร้างคาน พื้น เสา ในลำดับต่อไป
ประโยชน์ของตอม่อ
ตอม่อนั้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบ้าน หรืออาคารที่มีความสำคัญมาก โดยจะเป็นเสาสั้น ๆ ที่สามารถรับน้ำหนักจากเสาที่อยู่ในชั้นบนให้ลงมาสู่ฐานราก และถ่ายเทน้ำหนักลงสู่พื้นดินต่อไป โดยปกติแล้วเสาตอม่อ จะฝังอยู่ใต้ดิน และมีความสูงจากพื้นอยู่ที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งจะทำหน้าที่รับแรงอัดรวมถึงการถ่ายเทน้ำหนักจากสิ่งก่อสร้างในแนวดิ่งลงสู่พื้นดินนั่นเอง หากขาดเสาตอม่อไป จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความแข็งแรงของบ้านในอนาคตได้ หากดินในบริเวณที่อาศัยอยู่นั้นไม่แข็งแรงพอ
จบไปแล้วกับ เสาตอม่อ ที่เรานำมาฝากกัน เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในงานก่อสร้างเลยก็ว่าได้ เพื่อความมั่นคง แข็งแรง และป้องกันการยุบตัวของพื้นดิน ป้องกันการเกิดรอยร้าวของตัวอาคารได้ หวังว่าบทความนี้ จะทำให้หลาย ๆ คนหลายสงสัย และรู้จักกับตอม่อกันมากขึ้นด้วยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ โครงสร้างบ้านไม้ องค์ประกอบต่าง ๆ มีอะไรบ้าง?
- บ้านปูน คืออะไร? ทำไมนิยมสร้าง ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้
- รวมวิธีสำรวจ โครงสร้างบ้าน รู้ก่อน ป้องกันก่อนบ้านทรุดตัว
- โครงสร้างเหล็ก vs โครงสร้างปูน เลือกสร้างแบบไหนดีและต่างกันอย่างไร?
- สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “การสร้างบ้าน” ที่ควรรู้!
- งาน ฐานราก และเสาเข็ม มีความสำคัญอย่างไร?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA คลิกเลย
อ้างอิงข้อมูลจาก mebaan.com, bhumisiam.com, baania.com
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025