“ตะปู” เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะ มีลักษณะแข็ง ปลายแหลม รูปร่างคล้ายเข็ม ตะปูส่วนมากทำมาจากเหล็ก ใช้สำหรับการยึด ตรึง เพื่อติดวัตถุชนิดต่าง ๆ ในงานไม้ งานก่อสร้าง และงานวิศวกรรม ตะปูมักถูกใช้งานร่วมกับค้อน โดยใช้ค้อนในการตี หรือตอกเพื่อดันตะปูให้ผ่านเข้าไปในวัตถุที่ต้องการ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลย

ตาม KACHA ไปรู้จักกับ ตะปู ให้มากขึ้นดันดีกว่า ว่าตะปูนั้นมีกี่แบบกัน และใช้งานอย่างไร


ลักษณะและการใช้งานของตะปูชนิดต่าง ๆ

สำหรับงานยึด ตรึง ติด ระหว่างวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ต้องยกให้กับลักษณะพิเศษของ ตะปู ที่นอกจากจะมีความเพรียวแหลม เป็นลักษณะที่โดดเด่นแล้ว ยังสามารถใช้งานด้วยการทะลุทะลวงวัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไม้ คอนกรีต แม้กระทั่งเหล็ก ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกคิดค้นมาตั้งแต่โบราณ และได้มีการพัฒนาตะปูนี้จนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้ตะปูมีลักษณะต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อรองรับการใช้งานที่เหมาะสมนั่นเอง

210604-Content-ตะปูมีกี่ประเภท-ใช้งานอย่างไรจึงจะเหมาะสม02


ประเภทของตะปู ในงานต่าง ๆ เป็นอย่างไร?

ประเภทของตะปู เป็นอีกเรื่องที่ควรทราบ เพราะแม้ว่ามันจะเป็นวัสดุช่าง ที่มีใช้งานกันอยู่ทั่วไป แต่ในการนำมาใช้งานนั้น มีรูปแบบที่มีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ ประเภทของตะปู ให้เหมาะสมกับงานให้ดีเสียก่อน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ มั่นคง และส่งผลในเรื่องของความปลอดภัยอีกด้วย

???????? ตะปูสำหรับงานไม้

สำหรับงานไม้นั้น เราสามารถแบ่งตะปู ออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

  • ตะปูทั่วไป

ตะปูชนิดนี้ ใช้สำหรับการสร้าง หรือขึ้นโครงสร้างต่าง ๆ มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 นิ้วครึ่ง ไปจนถึง 6 นิ้ว ตัวของตะปู เป็นโลหะผิวเรียบสม่ำเสมอ ส่วนหัวของตะปูมีขนาดใหญ่ และแบน เพื่อรองรับการตอก

  • ตะปูหัวเล็ก หรือตะปูเข็ม

ตะปูชนิดนี้ เป็นตะปูที่ใช้สำหรับงานประดิษฐ์ เช่น การทำกระทง เป็นตะปูที่มีขนาดเล็ก มีขนาดตั้งแต่ 1 นิ้วครึ่ง จนถึง 3 นิ้ว หัวของตะปู มีขนาดเล็ก เพื่อง่ายต่อการเก็บงานที่มีความละเอียด

  • ตะปูเกลียว หรือตะปูควง

ด้วยลักษณะของ ตะปู ที่มีเกลียวรอบตัว ตั้งแต่ปลายยันหัวของตะปู เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการยึดมากเป็นพิเศษ โดยบริเวณหัวของตะปู จะมีแฉกเพื่อรองรับกับการหมุนไข มีขนาดตั้งแต่ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 4 นิ้ว

???????? ตะปูสำหรับงานเหล็ก

เป็นตะปู สำหรับเจาะยึดกับเหล็ก และงานหลังคา ลักษณะของตัวตะปู จะมีความหนากว่าตะปูชนิดอื่น ๆ มีเกลียวรอบตัว ยกเว้นส่วนปลาย เพื่อไว้สำหรับการเจาะเนื้อเหล็กโดยเฉพาะ

???????? ตะปูสำหรับงานคอนกรีต

มีลักษณะคล้ายกับตะปูตอกไม้แบบทั่วไป แต่จะมีร่องเล็ก ๆ บนตัวตะปู เพื่อเพิ่มความเสียดทาน ขณะฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีต และจะมีความแข็งแรงมากกว่าตะปูสำหรับงานไม้ ยากต่อการบิดงอ เพื่อให้สามารถทะลุทะลวงเข้าไปในเนื้อคอนกรีตได้


???????? ตะปูสำหรับงานสังกะสี

เป็นตะปูที่ใช้สำหรับงานสังกะสีโดยเฉพาะ มีลักษณะเด่นที่เห็นได้อย่างชัดเจน นั่นคือ หัวของตะปูจะมีลักษณะคล้ายร่มที่กำลังกางอยู่ เพื่อให้สามารถยึดติดกับตัวสังกะสีได้ดียิ่งขึ้น

นอกเหนือจากนั้น ก็จะมีตะปูบางประเภทที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อรองรับการติดยึดบนผนัง เช่น ตะปูกิ๊บสายเคเบิล หรือสายไฟ โดยเป็นการออกแบบที่มีใช้ตะปูเกลียวกับกิ๊บตัวยึดเก็บสายต่าง ๆ ไม่ให้ระโยงระยางห้อยย้อยลงมานั่นเอง ทั้งนี้เราควรเลือกใช้งานของตะปูให้เหมาะสมกับชนิดของงาน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนอาจทำให้เสียเวลา และเสียวัสดุได้


วิธีการดูแลรักษาไม่ให้ตะปูขึ้นสนิม

  • การป้องกันไม่ให้เกิดสนิมก็ไม่ยากถ้าเป็นตะปูที่เป็นแบบเหล็กแท้ ๆ ไม่ได้มีการเคลือบกันสนิม ก็อาจจะดูแลยาก แนะนำว่าอาจจะมาทาน้ำมันกันสนิมก็ได้
  • ถ้าตะปู เกรดดีหน่อย จะมีการเคลือบกันสนิมจากโรงงานแล้ว ทำให้สามารถกันสนิมได้ยาวนานยิ่งขึ้น แต่พยายามอย่าให้เหล็กเหล่านี้ถูกน้ำเด็ดขาด ต่อให้เป็น stainless steel ก็อย่าแช่น้ำ คือ โดนน้ำได้ แต่อย่าโดนเป็นเวลานาน
  • ส่วนตะปู ถ้ามันเป็นสนิมไปแล้ว ถ้าจะขัดสนิมออกก็ง่ายมาก ๆ เลย ให้ใช้มะเขือเทศมาขัด ซึ่งมันจะมีความเป็นเบส ทำให้สนิมหลุดออกไปได้นั่นเอง
210604-Content-ตะปูมีกี่ประเภท-ใช้งานอย่างไรจึงจะเหมาะสม05


เคล็ดลับดี ๆ ที่อยากบอกต่อ ????????????

หนึ่งในวิธีเก็บที่สามารถป้องกันไม่ให้ตะปูเป็นสนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ เครื่องซีลสูญญากาศ ที่ปกติใช้ในเรื่องการเก็บรักษา เพื่อยืดอายุของอาหารทั้งสดทั้งแห้งนั่นเอง

แต่หากว่าเราใช้ เครื่องซีลสูญญากาศขนาดเล็ก ที่หาซื้อง่าย และนิยมซื้อมาใช้งานกันทั่วไปในบ้านเรือน เพื่อเก็บรักษาอาหารสดอาหารแห้ง ก็จะเพื่อความสะดวกในการเก็บและใช้งานให้เราได้เป็นอย่างดี เพราะแค่เก็บมันไว้ในถุงที่ไม่มีอากาศ ตะปูก็ไม่เป็นสนิม พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และไม่สกปรก เลอะมือ

เพียงแบ่งตะปูออกเป็นส่วน ๆ  แล้วเก็บเอาไว้ ด้วย เครื่องซีลสูญญากาศ แล้วเอาเก็บไว้ตามปกติ เวลาจะใช้งานก็ไปหยิบออกมาแกะใช้งานเท่าที่จำเป็น ง่าย ๆ เท่านี้เอง ทำให้เราสะดวก และตะปูก็คงประสิทธิภาพ ไม่เสียหาย และไม่เป็นสนิมก่อนถึงเวลาใช้งาน


การเลือกวัสดุงานช่างให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ตะปู หรือวัสดุงานช่าง เครื่องมือช่างประเภทต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้งานที่ได้มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการ แข็งแรงคงทน และสามารถใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<