
หลาย ๆ คนคงเคยได้ยิน “ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ ถังแซท” ใช้สำหรับกำจัดจุลินทรีย์ และบำบัดน้ำเสีย บางครั้งการเลือกขนาดนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้ามไป แต่อย่าลืมว่า ใช้ถังใหญ่ไปก็คงไม่ดี เล็กไปก็คงจะใช้ไม่ได้ วันนี้ KACHA จึงอยากพาไปแนะนำให้รู้จักระบบถังบำบัดน้ำเสียว่าทำงานอย่างไร? เลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสม พร้อมทั้งวิธีบำบัดน้ำเสียแบบอื่น ๆ ที่ควรรู้
ถังบำบัดน้ำเสีย คืออะไร?
ถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูป หรือ ถังแซท (Sats) มีหลักการใช้การบำบัดโดย ใช้จุลินทรีย์กำจัดจุลินทรีย์กากของ ๆ เสียซึ่งไหลลงสู่ถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูป หรือถังแซท จะตกตะกอนอยู่ก้นถังที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์คอยย่อยสลาย ทำให้ไม่มีกลิ่น ไม่มีตะกอนตกค้างในถัง สำหรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว สามารถทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะได้ ทั้งนี้ ตัวถังบําบัดน้ำเสียหรือ เป็นอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งยากต่อการดูแลรักษา เราจึงควรสอบถามผู้ขายให้ดี และคารเลือกซื้อ รวมถึงอุปกรณ์ ที่มีความทนทาน มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. ด้วยเช่นกัน

ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปนั้น จะรวมระบบบ่อเกรอะและบ่อซึมไว้ในถังเดียวกัน จึงสะดวกและใช้งานได้ง่ายกว่า น้ำที่ผ่านกระบวนการในถังบำบัดน้ำเสียจะมีความสะอาดเพียงพอที่จะปล่อยลงสู่รางระบายน้ำสาธารณะได้ แทนการซึมลงสู่ดิน ซึ่งมักก่อปัญหาขึ้นอยู่บ่อยๆ ถังบำบัดน้ำเสียมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบไม่เติมอากาศ และแบบเติมอากาศ (Aerobic Bacteria) ซึ่งจะใช้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงแบคทีเรียเพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี ทำให้กระกวนการย่อยสลายสารอินทรีย์มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ระบบบ่อเกรอะบ่อซึมยังสามารถใช้งานได้ หากเป็นพื้นที่ตามชนบทที่มีสภาพดินตามธรรมชาติ
ประเภทของถังบำบัดน้ำเสียในเมืองไทย เป็นแบบไหน?
จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ถังเกรอะ และถังกรอง โดยถังเกรอะจะมีหน้าที่ในการให้สิ่งสกปรกตกตะกอนไว้ โดยถังสำเร็จรูป จะเป็นถังเดี่ยวแต่ด้านในมีแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ มีการติดตั้งปั๊ม เพื่อเติมอากาศ โดยจะมีราคาสูงกว่า แต่กลิ่นจะน้อยกว่า
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ ไม่มีการเติมอากาศ มีราคาที่ต่ำกว่า

ขนาดถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซทที่เหมาะสม
โดยทั่วไปผู้ผลิตถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท มักจะระบุขนาดที่เหมาะสมไว้ในรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ หากต้องการคำนวณ สามารถคำนวนเองได้โดยนำจำนวนผู้อาศัย คูณกับ ปริมาณน้ำเสีย (คิดเป็น ร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำใช้ต่อวัน) จากนั้นคูณเข้ากับ เวลาที่ใช้ในการบำบัด (ประมาณ 1.5 วัน) ได้ตามสูตรดังนี้
ขนาดถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท (ลิตร) = จำนวนผู้อยู่อาศัย x 0.8 x ปริมาณน้ำใช้ต่อคนต่อวัน (ลิตร) x 1.5
Example : ใช้น้ำเฉลี่ยต่อคน วันละ 200 ลิตร ถ้ามีคนอาศัยในบ้าน 5 คน ควรเลือกถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูปหรือถังแซท ขนาด (5×0.8x200x1.5) = 1,200 ลิตร
การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย
การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่มีประสบการณ์สำหรับติดตั้งถังแซท ที่นานพอสมควร เพราะดินแต่ละพื้นที่ ในแต่ละจังหวัด มีความแตกต่างกัน วิธีติดตั้งเบื้องต้น มีดังนี้
- ดูพื้นที่สำหรับ ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ว่าแคบไปมั้ย เพราะต้องขุดหลุมให้กว้างกว่าถัง 1 เมตร คือ ด้านละ50 เซ็นติเมตร x 2
- ดูสเปคถังบำบัดว่า ขนาดความ กว้าง สูง สามารถวางในหลุมได้ไหม เข้าพื้นที่ หน้างานได้หรือไม่
- ขุดดินให้กว้างกว่า ขนาดของถังบำบัด
- ตอกเข็ม ขนาดของเข็ม ควรเหมาะสมที่สามารถจะรับน้ำหนักตัวถัง ได้อย่างดี
- เทฐานราก ด้วยซีเมนต์ผสมเสร็จ
- เคลียร์เศษปูน เศษหิน และเศษวัสดุก่อสร้างทุกอย่าง ที่อาจจะไปทิ่มแทงให้ ถังบำบัด แตก ร้าว รั่ว ซึมได้
- นำถังบำบัดน้ำเสีย ค่อยๆหย่อนลงหลุง โดยให้ช่างผู้มากประสบการณ์ ดูแลทุกขั้นตอน
- เติมน้ำลงในถังบำบัดให้เต็ม ห้ามกลบทรายก่อน โดยที่ยังไม่เติมน้ำ เพราะถังต้องมีน้ำอยู่เต็มใบ เพื่อรับแรงดันจากดินที่บีบเข้ามา
- สั่งทรายหยาบ กลบลงหลุม แล้วต้องเป็นทรายหยาบล้วนเท่านั้น เพราะ หากเอาดินที่ขุดขึ้นมา ผสมกับทรายเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ถังใบนี้ อาจจะแตกได้ เพราะมีดินเหนียวที่แข็งมาก และอาจมีเศษหินเศษไม้ ปนเข้ามา
การเลือกซื้อถังบำบัดน้ำเสีย
หากอยากจะเลือกซื้อ ถังบำบัดน้ำเสียถังแซท จะซื้อถังบำบัดน้ำเสียยี่ห้อไหนดี คำถามนี้คงเกิดขึ้นในใจใครหลายคน เพราะถ้าได้เดินเข้าไป สำรวจตลาด ตามร้านวัสดุก่อสร้างแล้ว มักจะเจอถังบำบัดสีดำ ตั้งเรียงกันหลายใบเต็มไปหมด มีหลักในการซื้อง่าย ๆ ดังนี้
- เลือกซื้อกับบริษัทขายถังโดยตรง ราคาถูกกว่า ต่อรองง่ายกว่า
- บริษัทที่สามารถแจ้งราคาได้เลยทันที่ ทำใบเสนอราคาได้ไว
- วัสดุที่ใช้ในการผลิต ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. นั่นเอง
- มีสเปค แบบถังบำบัดน้ำเสียให้ลูกค้า ดูง่ายชัดเจน
- สามารถให้ Sales ออกแบบ ขนาดของถังบำบัด ให้เหมาะกับการใช้งาน ในแต่ละประเภทได้ โดยไม่ต้องรอนาน
- มีบริการจัดส่งถึงที่ รวดเร็ว ตรงต่อเวลา
- ดูระยะเวลารับประกันให้ชัดเจน และสามารถโทรสอบถามได้ตลอดเวลา แม้จะหมดประกันแล้วก็ตาม

ทิ้งท้าย! ระบบบำบัดน้ำเสียแบบอื่น ๆ มีอะไรบ้าง?
สมัยก่อนถังบำบัดน้ำเสียที่รู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป คือ ระบบบ่อเกรอะบ่อซึม ซึ่งมีลักษณะเป็นบ่อคอนกรีต 2 ถัง ขึ้นรูปจากปลอกวงแหวนซีเมนต์มาเรียงซ้อนกัน บ่อแรกเราจะเรียกว่า บ่อเกรอะ จะเป็นด่านแรกที่รับสิ่งปฏิกูลจากภายในบ้านโดยตรง มีหน้าที่กักเก็บสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลาย และตกตะกอนตามธรรมชาติ กากปฏิกูลจะตกตะกอนไปอยู่ที่ก้นบ่อ ส่วนน้ำที่อยู่ตอนบนของบ่อจะไหลลงสู่ บ่อซึม ซึ่งเป็นบ่อที่อยู่ถัดมา โดยน้ำที่ผ่านจากบ่อเกรอะมาแล้ว จะค่อย ๆ ซึมลงไปในดิน และชั้นหินด้านล่างอย่างช้า ๆ การทำงานของทั้ง 2 บ่อนี้จะต่อเนื่องกันไป เพื่อย่อยสลายของสิ่งโสโครกจากน้ำทิ้งภายในบ้านนั่นเอง
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025