
รู้จักกับ “ท่อร้อยสายไฟ” ดีอย่างไร? เดินท่อแบบไหนดีกว่ากัน
เมื่อพูดถึง “ท่อร้อยสายไฟ” จัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ สำหรับการเดินสายไฟภายในอาคารทั่วไปเป็นอย่างมาก นอกจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ การเดินสายไฟเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถช่วยปกป้องสายไฟจากการถูกกระแทก หรืออันตรายที่อาจทำให้สายไฟเกิดการชำรุดได้อีกด้วย
วันนี้ KACHA จะพาไปเรียนรู้กันดีกว่าว่า ท่อร้อยสายไฟนั้น มีกี่ประเภท? ใช้งานแบบไหนบ้าง? และการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร?
ท่อร้อยสายไฟ คืออะไร?

ท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) เป็นอุปกรณ์สำหรับงานไฟฟ้า มีหน้าที่ในการร้อยสายไฟฟ้า สายสัญญาณต่าง ๆ ที่ได้รับการติดตั้ง ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และยังมีส่วนช่วยป้องกันสายไฟ หรือสายสัญญาณ จากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ จากภายนอกที่มีโอกาสจะทำลายสายไฟได้นั่นเอง การติดตั้งท่อร้อยสายไฟ มักจะติดตั้งในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ฝังใต้หนัง ใต้พื้น บนฝ้า ซึ่งจะใช้แตกต่างกันในแต่ละชนิดก็ได้
ประเภทของท่อร้อยสายไฟ
ท่อร้อยสายไฟนั้น จะช่วยปกป้องสายไฟ และรวบรวมสายไฟหลาย ๆ เส้นไว้ด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ท่อโลหะ และ ท่อพลาสติก นอกจากนี้ การเดินสายไฟ จะมีแบบฝังผนัง สามารถเลือกได้ทั้งท่อโลหะ และท่อพลาสติก ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ซึ่งท่อโลหะ จะแพงกว่า และทนทานกว่าเช่นกัน
ท่อโลหะ
ท่อโลหะนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

- ท่อโลหะขนาดบาง EMT (Electrical Metallic Tubing) ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต ในสถานที่อันตราย ระบบแรงสูง หรือบริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ
ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาด คือ 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ใช้ Bender ที่มีขนาดเท่ากับขนาดท่อ สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป (Elbow) ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
- ท่อโลหะขนาดกลาง IMC (Intermediate Metallic Conduit) ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง พื้นคอนกรีตได้
ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาด คือ 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2, 2 1/2 นิ้ว, 3 นิ้ว, 3 1/2 นิ้วและ 4 นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ ใช้ Hickey ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
- ท่อหนาพิเศษ RSC (Rigid Steel Conduit) ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง พื้นคอนกรีตได้
ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาดคือ 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว, 2 1/2 นิ้ว, 3 นิ้ว, 3 1/2 นิ้ว, 4 นิ้ว, 5 นิ้วและ 6 นิ้ว การดัดท่อชนิดนี้ใช้ Hickey หรือเครื่องดัดท่อไฮดรอลิก ที่มีขนาดเท่ากัน สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่ อาจใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป คล้าย ๆ กับข้อโค้งสำเร็จรูปของท่อ IMC ที่วางขายทั่วไปได้ เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น
-
ท่อโลหะชนิดอ่อน (Flexible Metal Conduit) ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ทั้งผิวภายนอก และภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับต่อเข้ากับดวงโคม มอเตอร์ หรือเครื่องจักรกลที่มีการสั่นสะเทือน มีขนาดตั้งแต่ 1/2 – 4 นิ้ว
- ท่อโลหะชนิดอ่อนกันน้ำ (Raining Flexible Metal Conduit) เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปภายในท่อได้ ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอของเหลวหรือของแข็งหรือในที่อันตราย ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของ สายไฟฟ้าสูงมากจนทำให้ท่อเสียหาย มีขนาดตั้งแต่ 1/2 – 4 นิ้ว
ท่อพลาสติก
ท่อพลาสติกนั้น สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

- ท่อพีวีซี (PVC) สีเหลือง ทำด้วยพลาสติก PVC ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ ท่อ PVC ใช้เดินลอยในอากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ ห้ามใช้ใน บริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ ขนาดท่อที่ขายในท้องตลาด คือ 3/8 นิ้ว, 1/2 นิ้ว, 3/4 นิ้ว, 1 นิ้ว, 1 1/4 นิ้ว, 1 1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว, 2 1/2 นิ้ว, 3 นิ้วและ 4 นิ้ว และท่อขนาด 3 นิ้ว และ 4 นิ้ว มีความยาว 2 ขนาด คือ 4 และ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทด้วย
ข้อเสีย คือ ขณะที่ถูกไฟไหม้ จะมีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อคนออกมาด้วย และไม่ทนต่อแสง UV ทำให้ท่อกรอบ เมื่อโดนแดดเป็นเวลานาน มีขนาดตั้งแต่ 1/2-4 นิ้ว และยาวท่อนละ 4 เมตร
- ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) ทำด้วยพลาสติก Polyethylene ชนิด High Density ที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ มีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีทั้งแบบผิวเรียบ และแบบลูกฟูก ใช้เดินสายบนผิวในที่โล่ง บนฝ้าในอาคาร เดินสายใต้ดินทั้งแรงดันต่ำ และแรงดันสูงปานกลาง ทนต่อแรงกดอัดได้ดี
ข้อดี คือ มีความอ่อนตัว จึงไม่ต้องดัดท่อทำให้เดินท่อได้สะดวกรวดเร็ว ขนาดของท่อ มีตั้งแต่ 1/2 นิ้วขึ้นไป
- ท่อ EFLEX (Flexible Conduit) เป็นท่อพลาสติกที่ทำจาก พลาสติกชนิด PA (Polyamide), PE จุดเด่น คือ มีความอ่อนตัว ทนทาน ดัดโค้งงอได้ ไม่ติดไฟหรือไม่ลามไฟ
ข้อดี-ข้อเสีย ของท่อร้อยสายไฟ
ข้อดี
- ทำให้การเดินสายไฟเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม
- ช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะทำลายสายไฟ หรือสายสัญญาณ เช่น ฝุ่น น้ำ ของเหลว สารเคมี สัตว์กัดแทะ แมลง ที่จะทำให้สายไฟเสียหาย
- ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ประกายไฟที่เกิดขึ้น จะถูกจำกัดภายในท่อ ไม่ให้ออกมาติดไฟด้านนอกท่อ
ข้อเสีย
- มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายไฟฟ้าที่มากขึ้นกว่าติดตั้งแบบธรรมดา
- ใช้เวลาในการติดตั้ง การเดินสายไฟมากกว่า การเดินแบบสายเปลือย
- แก้ไข ซ่อมแซม หรือเพิ่มสายไฟ จะสามารถทำได้ยากกว่าการเดินสายไฟแบบธรรมดา

เดินท่อร้อยสายไฟแบบไหนดีกว่ากัน?
สรุปได้ว่า การเดินสายไฟแบบฝังผนัง ทำให้บ้านดูเรียบร้อยมากกว่า แต่ต้องใช้งบประมาณที่มากกว่าเช่นกัน และยังต้องมีการออกแบบ และการวางแผนการก่อสร้างที่ดี จึงจะได้งานที่สมบูรณ์ และไม่ต้องแก้ไขในภายหลัง อย่างไรก็ตาม การเดินสายไฟแบบเดินลอย หากเดินสายไฟ หรือท่อร้อยสายไฟอย่างเป็นระเบียบ ก็ทำให้บ้านมีความสวยงามได้เช่นกัน โดยเฉพาะการตกแต่งบ้านสไตล์ลอฟต์ และการซ่อมบำรุง และติดตั้งสายไฟเพิ่มเติม ทำได้ง่ายกว่าแบบฝังนั่นเอง
จบไปแล้ว สำหรับ ท่อร้อยสายไฟ ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท คงทำให้หลาย ๆ คนได้รู้จัก และเลือกไปใช้งานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ก่อติดตั้ง อย่าลืมศึกษาหาข้อมูลการติดตั้งอย่างละเอียดด้วย เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- รู้จักกับ “สวิตซ์ไฟ” คืออะไร? มีกี่ประเภท? เลือกใช้ให้เหมาะสม
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- วิธีต่อสายไฟ แบบพื้นฐานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?
- ช่างไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้นที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง?
- ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไร? ช่วยประหยัดไฟจริงหรือ!
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025