ตู้คอนเทนเนอร์ (Container) อาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการนำมาทำเป็นบ้าน หรืออาคาร เหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหาความแปลกใหม่ มองหาความคุ้มค่า และน่าสนใจ ซึ่งกระแสการเอาตู้คอนเทนเนอร์เก่า มารีโนเวทใหม่ทำเป็นบ้าน กำลังได้รับความนิยม ด้วยเหตุผล คือ ราคาไม่แพง มีพื้นที่จำกัดก็สร้างได้ แถมใช้เวลาสร้างไม่นาน ตาม KACHA ไปรู้จักกับ บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ว่าคืออะไร ข้อควรรู้ ข้อดี-ข้อเสีย ก่อจจะสร้าง มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

รู้จักกับ ตู้คอนเทนเนอร์

ตู้ขนส่งสินค้า หรือตู้คอนเทนเนอร์ (Container) คือ ตู้ขนาดใหญ่ที่ผลิตด้วยเหล็ก หรืออะลูมิเนียม เพื่อใช้บรรจุสินค้าสำหรับการขนส่งทางเรือ ที่ต้องใช้ระยะเวลานานอย่างน้อย 15 วัน ดังนั้น ภายนอกของตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะต้องมีความแข็งแรง มี Slot เพื่อใช้ยึดตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้ ให้ติดกัน มีสีสันหลากหลาย และหลายขนาด ตามความต้องการใช้งาน

220427-Content-บ้านตู้คอนเทนเนอร์ก่อนสร้างต้องรู้อะไร-มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร02

คุณสมบัติของตู้คอนเทนเนอร์ มีอะไรบ้าง?

ตู้ขนส่งสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ถูกออกแบบมา เพื่อใช้สำหรับการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะทางทะเล ที่กินระยะเวลาหลายวัน ดังนั้นตู้คอนเทนเนอร์ ที่แม้จะเป็นมือสอง ก็ควรมีคุณภาพได้มาตรฐาน ดังนี้

  • ตู้คอนเทนเนอร์จะต้องมีขนาดมาตรฐาน ภายนอกทำด้วยเหล็ก หรืออะลูมิเนียม มีลักษณะเป็นลอนคลื่น เพื่อความสะดวกในการนำมายึดต่อกัน
  • ตู้คอนเทนเนอร์ที่ดี ต้องมีความแข็งแรง และรองรับน้ำหนัก ที่สามารถซ้อนกันได้อย่างน้อย 10 ชั้น
  • ตู้คอนเทนเนอร์ส่วนใหญ่ จะมีประตู 2 บาน พร้อมที่ล็อคตู้ ด้วยการคล้อง Seal ซึ่งอาจทำด้วยตะกั่ว หรือพลาสติก ในปัจจุบัน ยังมีการล็อคแบบ Electronic Seal ที่สามารถหาตำแหน่งของการเคลื่อนย้ายตู้สินค้าระหว่างขนส่งได้ด้วย
  • ภายในของตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะต้องเป็นที่โล่งกว้าง เพื่อวางสินค้าได้

ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ เป็นอย่างไร?

การขนส่งสินค้าแต่ละประเภทนั้น จำเป็นต้องเลือกตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสม ก่อนจะเลือกซื้อตู้คอนเทนเนอร์สักตู้นั้น คุณควรทำความรู้จักประเภท และเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย ดังนี้

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Dry Box หรือ Dry Cargoes

เป็นตู้คอนเทนเนอร์สำหรับใส่สินค้าทั่วไป ที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ แต่ละขนาดนั้นก็เหมาะกับการสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น ขนาด 20 ฟุต เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาตร และน้ำหนักไม่มาก เช่น อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง เสื้อผ้า เป็นต้น ส่วนขนาด 40 ฟุต, 40 ฟุตไฮคิว, 45 ฟุตไฮคิว เหมาะสำหรับสินค้าปริมาตรเยอะ แต่น้ำหนักไม่มาก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น

สินค้าที่ขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Dry Box นั้น ต้องมีการทำที่กั้น เพื่อป้องกันสินค้าเคลื่อนที่จนเกิดความเสียหายระหว่างขนส่ง ดังนั้น อาจใช้ถุงกระดาษเป่าลม (Balloon Bags) วางอัดบริเวณที่มีช่องว่าง หรือใช้ไม้มากั้นที่เรียกกันว่า Wooden Partition หรือหากใช้เชือกไนลอนรัดหน้าตู้ ก็จะเรียกว่า Lashing

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Reefer หรือ Refrigerator Cargoes

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีเครื่องทำความเย็น สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ ระหว่าง +25 ถึง -25 องศาเซลเซียส แต่หากเป็นตู้คอนเทนเนอร์ประเภท Super Freezer อาจปรับอุณหภูมิได้มากถึง -60 องศาเซลเซียส เลยก็ได้ โดยเครื่องทำความเย็นนี้ อาจจะติดอยู่กับตัวตู้มีปลั๊กเสียบจากนอกตู้ โดยจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า

สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบ Reefer  นั้นเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ต้องการการรักษาอุณหภูมิที่คงที่ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม ช็อคโกแลต ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์บางประเภท สารเคมีในห้องทดลอง

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ  Open Top

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่ไม่มีหลังคา สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่มีความสูงเกินกว่า 2.7 เมตร ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผ่านประตูตู้ได้ ต้องอาศัยการเคลื่อนลงจากด้านบนแทน ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Open Top ส่วนใหญ่ จะมีขนาด 40 ฟุต

สินค้าที่ขนส่งผ่านตู้คอนเทนเนอร์แบบ Open Top ได้แก่ เครื่องจักร ท่อ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ หรือยานพาหนะที่มีลักษณะสูงเป็นพิเศษ

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat Rack

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีพื้นราบ เปิดโล่งทั้งด้านบน และด้านข้าง มีขนาดกว้าง และยาว ตามมาตรฐานตู้คอนเทนเนอร์ มีฐานพื้นสำหรับใส่สินค้าที่มีขนาดใหญ่ กว้าง หรือสูงเป็นพิเศษ มีทั้งขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต

สำหรับสินค้าที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์แบบ Flat Rack  ได้แก่ เครื่องจักร, แท่งหิน, ประติมากรรม, รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่, ท่อชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Garment

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่ออกแบบสำหรับใช้ในการบรรจุสินค้า ประเภทเสื้อผ้า ที่ไม่ต้องการการพับ หรือบรรจุหีบห่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เสื้อผ้ายับ ดังนั้น ภายในก็จะมีราวแขวนผ้าด้วย

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Ventilated

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่ออกแบบเป็นพิเศษ มีช่องระบายอากาศ เพื่อใช้สำหรับขนส่งสินค้าทางการเกษตรโดยเฉพาะ

  • ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Tank  หรือ ISO Tank

เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่ออกแบบมาให้เป็นเหมือนถังบรรจุของเหลว ที่มีโครงขนาดเท่าคอนเทนเนอร์ทั่วไปครอบอยู่ สามารถบรรจุของเหลวได้มากกว่าการบรรจุใส่ถังธรรมดา ทั้งยังขนย้ายได้ง่ายกว่า

ตู้คอนเทนเนอร์แบบ Tank  หรือ ISO Tank สามารถใช้ขนส่งของเหลวที่เป็นอันตรายได้ด้วย ความจุของถังจะอยู่ที่ 11,000 ลิตรถึง 26,000 ลิตร

ก่อสร้าง บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ต้องรู้อะไรบ้าง?

หลายคนคงเคยเห็นการนำเอาตู้คอนเทนเนอร์ มาทำเป็นร้านกาแฟ รีสอร์ท สำนักงานขาย หรือแม้แต่บ้านพัก ซึ่งเมื่อได้ตกแต่งแล้วดูสวยงามน่าอยู่อาศัยอย่างยิ่ง แต่การจะสร้างบ้านด้วยตู้คอนเทนเนอร์ มีข้อ-ดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ดังนี้

สร้างบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ต้องทำเสาเข็มหรือไม่?

เมื่อเราทราบขนาดที่แน่นอน รวมถึงความแข็งแรงทนทานที่เป็นเหล็ก การตัดสินใจนำมาสร้างบ้าน จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม เพราะตู้คอนเทนเนอร์ มีน้ำหนักมาก โดยถ้าสภาพดินแข็ง ก็สามารถทำเป็นฐานแพได้ หรือถ้าเป็นดินอ่อน ก็ใช้เสาเข็มหกเหลี่ยม ทำเป็นเข็มกลุ่มรองรับทั้งสี่มุมของตู้

สร้างบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ต้องทำประตู-หน้าต่าง ได้หรือไม่?

สามารถตกแต่งได้ทุกอย่างเหมือนผนังกำแพงบ้าน เช่น ตัด เพื่อทำวงกบประตู หน้าต่าง ข้อควรระวัง คือ จะไม่ตัดบริเวณมุม เพราะเป็นตำแหน่งเสารับน้ำหนัก นอกจากนี้ เมื่อตัดเป็นช่องเสร็จแล้ว ต้องใส่เฟรมเหล็กเสริมความแข็งแรงให้บริเวณรอบ ๆ ด้วย

220427-Content-บ้านตู้คอนเทนเนอร์ก่อนสร้างต้องรู้อะไร-มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร03

(ภาพจาก : www.containershowcase.com)

ผนังภายในเปลี่ยนใหม่ได้หรือไม่?

สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ จะใช้เป็นสมาร์ทบอร์ด ยิปซั่ม ได้หมด เพื่อความสวยงาม และกันความร้อน ในส่วนของพื้น สามารถปูเป็นพื้นกระเบื้องยาง พื้นลามิเนต หรือกระเบื้องเซรามิกก็ได้เช่นกัน ตกแต่งได้เหมือนบ้านทุกอย่าง นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้วยการซ้อนกันเป็น 2 ชั้น หรือนำ 2 ตู้มาประกบกันก็ได้ แต่ต้องยึดให้ดี เพื่อไม่ให้เคลื่อนตัวได้

ปลูกบ้านตู้คอนเทนเนอร์ ต้องขออนุญาตหรือไม่?

ต้องขออนุญาต เพราะคุณต้องการใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร ต้องมีบ้านเลขที่ บอกตำแหน่งที่อยู่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องขออนุญาตในการก่อสร้างนั่นเอง

220427-Content-บ้านตู้คอนเทนเนอร์ก่อนสร้างต้องรู้อะไร-มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร04

(ภาพจาก : banidea.com)

ข้อดี-ข้อเสีย ของบ้านตู้คอนเทนเนอร์

ข้อดี ข้อเสีย
  •  แข็งแรงทนทาน ตกแต่งได้เหมือนบ้านทุกอย่าง
  • ช่วยประหยัดเวลาในการก่อสร้าง สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของอาคารได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด
  • ราคาถูก เพราะตู้คอนเทนเนอร์เก่า ราคาอยู่ที่ประมาณ 50,000-150,000 บาทเท่านั้น
ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเลย คือ เรื่องของขนาดความกว้าง และความสูงที่ตายตัว

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ที่เรานำมาฝากกัน การจะสร้างบ้านตู้คอนเทนเนอร์ไม่ต่างอะไรกับการสร้างบ้านทั่วไป จำเป็นต้องอาศัยวิศวกรหรือสถาปนิก ช่วยกำกับดูแลให้เป็นไปอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซ่อมสร้างที่ได้มาตรฐานด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยนั่นเอง สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า เครนยกของ คลิกเลย ????????

บทความที่เกี่ยวข้อง :

ข้อมูลจาก : www.thaicontainerhome.com, เพจลุงช่าง