บ้านทรุด ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้กับบ้านทุกหลัง โดยสาเหตุบ้านทรุด มีหลายปัจจัย เช่น พื้นที่ตั้งของบ้าน กาลเวลา แรงสั่นสะเทือน ความแข็งแรงของโครงสร้าง และน้ำหนักของตัวบ้าน เจ้าของบ้านจึงต้องเข้าใจสาเหตุเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือ และเฝ้าระวัง และสังเกต หากพบปัญหาเมื่อไร ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ก่อนปัญหาจะลุกลามจนเกินรับมือ

ตาม KACHA ไปรู้จักกับ บ้านทรุด สาเหตุบ้านทรุด วิธีแก้ไขบ้านทรุด กันว่าจะมีอะไรบ้าง

บ้านทรุดสาเหตุเกิดจากอะไร?

สภาพพื้นดิน

เนื่องจากพื้นดินนั้น มีหลากหลายลักษณะ ซึ่งมีความอ่อน ความแข็ง ความหนาแน่น และการยุบตัวที่แตกต่างกันตามโครงสร้าง และส่วนประกอบของเนื้อดิน เช่น พื้นดินในเขตกรุงเทพ เป็นพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นตะกอนดินเหนียวปากแม่น้ำ มีความอ่อนนุ่ม และทรุดตัวง่าย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พื้นดินในเขตกรุงเทพ ทรุดตัวง่ายกว่าจังหวัดอื่นนั่นเอง

บทความ : ชนิดของดิน มีกี่แบบ แบบไหนเหมาะกับถมดินสร้างบ้าน

นอกจากนี้ บ้านจัดสรรในย่านชานเมือง มักจะตั้งอยู่บนที่ดิน ที่เคยเป็นบ่อปลา หรือพื้นที่ที่เคยขุดหน้าดินไปถมที่อื่นมาก่อน การดินถมใหม่ จึงทรุดตัวง่ายกว่าพื้นดินธรรมชาติ เป็นสาเหตุที่บ้านในย่านชานเมือง มีปัญหาบ้านทรุดให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

220329-Content-บ้านทรุดสัญญาณเตือนภัย-แก้ไข-ซ่อมแซมได้อย่างไรบ้าง02

ระบบฐานราก

ฐานราก เป็นส่วนสำคัญที่จะบ่งชี้ว่า บ้านทรุดตัวยากหรือง่าย หากเสาเข็มหยั่งลึกไม่ถึงชั้นดินดาน หรือแตกหักภายในชั้นดิน หรือตั้งไม่ตรงกับเสาบ้าน หรือเสาเข็มแต่ละด้าน หยั่งอยู่บนดินที่ต่างชนิดกัน ปัญหาเหล่านี้ เกิดจากการวางแผนก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ตรวจสอบชั้นดินให้ดีก่อนลงเสาเข็ม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดเอียงง่ายขึ้น

บทความ : งาน ฐานราก และเสาเข็ม มีความสำคัญอย่างไร?

น้ำหนักของบ้าน

โครงสร้างบ้านนั้น ถูกออกแบบให้รองรับน้ำหนักได้ประมาณหนึ่ง ซึ่งเพียงพอต่อการอยู่อาศัยตามปกติ แต่ถ้ามีน้ำหนักมากดทับมากเกินไป เช่น มีการต่อเติมบ้าน ทำชายคา ต่อหลังคาโรงจอดรถ หรือมีสิ่งของน้ำหนักมากเข้ามาเก็บในบ้าน น้ำหนักที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุบ้านทรุดตัวได้

วิธีแก้ไขบ้านทรุด พร้อมงบประมาณเป็นอย่างไร?

การแก้ไขปัญหาโพรง รอยต่อระหว่างพื้นกับคานคอดิน

ปัญหาโพรงรอยต่อ ระหว่างคานคอดินกับพื้นส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นเพราะดินบริเวณนั้นทรุดตัว อาจมีสาเหตุมาจากดินถมใหม่ยังไม่เซ็ตตัว หรือมีการสูบน้ำขึ้นมาปริมาณมาก ทำให้ดินทรุดลงไปจนเกิดโพรง วิธีแก้ไขปัญหานี้ทำได้ไม่ยาก

220329-Content-บ้านทรุดสัญญาณเตือนภัย-แก้ไข-ซ่อมแซมได้อย่างไรบ้าง03
  • ถมดินเพิ่มในส่วนที่ขาดหายไป

เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ยาก เพราะไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้าง สามารถขุดดินในบริเวณอื่นของบ้านมาถมโพรง เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่าง หรือซื้อดินตามร้านขายต้นไม้ได้ทั่วไป ซึ่งราคาดินต่อถุงประมาณ 10 กิโลกรัม อยู่ที่ 20-30 บาท/ถุง

  • เทคอนกรีต หรือก่ออิฐปิดบริเวณรอยต่อ

บ้านบางหลัง อาจเทพื้นด้วยคอนกรีต เมื่อมีการทรุดตัว จึงเกิดเป็นโพรง จะเอาดินมาถมก็ไม่เข้ากับพื้นที่เดิมที่มีอยู่ ถ้ามีโพรงไม่ใหญ่นัก สามารถเทหยอดคอนกรีตลงไปในโพรงได้ แต่ถ้ามีการทรุดเยอะ อาจจะต้องใช้อิฐมอญก่อต่อจากคานคอดินเดิม เพื่อปิดโพรง แล้วฉาบปูนทับ ซึ่งราคาอิฐก่อนั้นตกอยู่ประมาณตารางเมตรละ 190-300 บาท

การแก้ไขปัญหารอยแตกร้าว

การแก้ไขรอยแตกร้าว ทำให้เกิดการรั่วซึมหรือแยกส่วน จะต้องเริ่มจากการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยร้าวเสียก่อน เพื่อที่จะได้แก้ไขได้อย่างถูกต้องและไม่ทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย ซึ่งปัญหาจากรอยร้าว เอียงส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่พื้นที่ก่อสร้างไม่ได้ลงเสาเข็ม หรือลงเสาเข็มผิดประเภท จะมีวิธีการแก้ที่ยุ่งยากกว่าดินทรุดทั่วไป

1.) สาเหตุจากการไม่ได้ลงเสาเข็ม เสาเข็มสั้นเกินไป หรือเสาเข็มหัก สูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนัก 

ปัญหานี้ จะต้องแก้ด้วยการลงเสาเข็มใหม่เท่านั้น ถ้าเป็นพื้นคอนกรีตเทบนดิน (On Ground) แล้วมีการทรุดตัวให้เสริมด้วยการตอกเสาเข็มแบบปูพรม กระจายกันอย่างทั่วถึง เพื่อรับน้ำหนัก แล้วทำการเทพื้นคอนกรีตใหม่ ถ้าใช้เสาเข็มแบบ Micro Pile สามารถเจาะแล้วตอกได้เลย โดยไม่ต้องเสียค่าทุบพื้นก่อน

แต่ถ้าเป็นห้องที่มีการก่อสร้างอยู่ก่อนแล้ว จะต้องมีการรื้อพื้น เพื่อลงเสาเข็มใหม่ หรือลงเข็มเพิ่มเติมด้านข้างพื้นที่เดิม แล้วใช้โครงสร้างใหม่ไปเลย ซึ่งจะค่อนข้างยุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะ โดยพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร จะเหมาะกับเสาเข็มที่ยาวประมาณ 17-23 เมตร ใครที่ต้องการให้ส่วนต่อเติมไม่ทรุดจนเกิดรอยแตกร้าว ควรลงเสาเข็มให้เท่ากับตัวบ้าน

2.) สาเหตุจากการทรุดของดิน หรือเสาเข็มตั้งอยู่บนดินต่างชนิดกัน

ถ้าปัญหาเกิดจากสาเหตุการทรุดของดิน เป็นปริมาณมากจนเกิดรอยแตกร้าว และกระทบกับโครงสร้างของบ้าน วิธีการแก้ไขจะเหมือนกับข้อ 1 เลย โดยจะต้องลงเสาเข็มต้นใหม่ เพื่อช่วยในการรับน้ำหนักอาคารไม่ได้เสียหายไปมากขึ้น

3.) สาเหตุจากน้ำหนักอาคารดึงรั้งให้อาคารทรุดตัว

กรณีที่เสาเข็มแข็งแรงดีอยู่แล้ว แต่มีการทรุดตัวจากการดึงรั้งน้ำหนักจากโครงสร้างที่เชื่อมติดกับเรา เช่น ในกรณีของทาวน์โฮม หรืออาคารแถว เพื่อนบ้านมีการต่อเติมน้ำหนักมาจนดึงให้โครงสร้างบ้านเราเอียงไป เป็นต้น จะต้องทำการเสริมความแข็งแรงให้กับเสา และยึดกับคานคอดินเดิม ซึ่งราคาจ ะขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แตกต่างกันไปในแต่ละกรณีไม่สามารถประมาณราคาให้ตายตัวได้

4.) บ้านทรุดและแตกร้าวเพียงเล็กน้อย 

ใครที่ไม่อยากซ่อมเพราะเสียเวลา และค่าใช้จ่ายสูงในการลงเสาเข็มใหม่ สามารถแก้ไข โดยการลดน้ำหนักของอาคารลง เช่น เปลี่ยนเป็นใช้ผนังเบา เพื่อลดอัตราการทรุดตัวของบ้านลง แต่ก็จะไม่สามารถแก้ไขการทรุดที่เกิดขึ้นแล้วได้ ผนังเบา ราคารวมค่าวัสดุ และค่าแรงประมาณ 500-650 บาท/ตารางเมตร

220329-Content-บ้านทรุดสัญญาณเตือนภัย-แก้ไข-ซ่อมแซมได้อย่างไรบ้าง04

เป็นอย่างไรกันบ้างกับบ้านทรุด และสาเหตุ วิธีแก้ไขต่าง ๆ ที่นำมาฝากกันเบื้องต้น เรื่องของบ้านทรุดนั้น เป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ของบ้าน เพราะมีการแก้ไขที่ค่อนข้างยุ่งยาก หลายขั้นตอน และเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนจึงดีกว่าแก้ไข บทความหน้าจะมีอะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ ????

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA  คลิกเลย ????????

บทความที่เกี่ยวข้อง :