
ประแจ (Wrench) คืออะไร?
เป็นเครื่องมือที่ใช้ ขัน หรือคลายน็อต สกรู เช่นเดียวกับลูกบล็อค แต่การทำงานของประแจ มีความแตกต่างจากลูกบล็อค เช่น การขันน็อตที่มีพื้นที่จำกัด ในการขันน็อต ลูกบล็อค จะไม่เหมาะในการทำงานประเภทนี้ ทำให้มีการคิดค้นประแจที่สามารถใช้งานในพื้นที่ที่จำกัด ใช้แรงบิตได้มากขึ้น และไม่ทำให้ตัวน็อตเกิดความเสียหาย ประแจมีพื้นที่ในการรับน็อตได้มาก และพอดีกับน็อต ประแจถือว่ามีความหลากหลายของการใช้งาน เพราะมีการพัฒนา และผสมผสานให้เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน และมีขนาดมากมาย เรื่องพื้นฐานของประแจ จึงมีความสำคัญในการเลือกใช้

นอกจากประแจจะมีหลายรูปแบบแล้ว ประแจก็ยังมีหลายขนาดอีกด้วย ทั้งนี้ ขนาดขึ้นอยู่กับหน่วยการวัดภายในประเทศนั้น ๆ เช่น เราจะขันหัวน๊อตในขนาดมิลลิเมตร ต้องใช้ประแจที่สัมพันธ์กันในลักษณะมิลลิเมตรเช่นเดียวกัน แต่ถ้าเราไปเครื่องจักรกลที่ใช้หน่วยวัดเป็นอัตราส่วนนิ้ว ต้องเลือกประแจในขนาดที่เป็นอัตราส่วนนิ้วด้วยเช่นกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวประแจมีความยืดหยุ่นในลักษณะเชิงพื้นที่เช่นเดียวกัน สำหรับการเลือกประแจ เราจึงให้สังเกตข้อนี้เป็นหลักด้วย
ประเภทของประแจ
รูปแบบประแจ มีให้เลือกหลายรูปแบบ และการใช้งานก็ต่างกันออกไป ประแจแบ่งตามรูปแบบและการใช้งาน ดังนี้

-
ประแจปากตาย (Open end Wrench)
เป็นประแจชนิดที่ไม่ต้องการใช้แรงขัน หรือคลายมากนักเพราะมีด้านที่รับแรงจริง ๆ เพียง 2 ด้าน แต่ประแจนี้เหมาะสำหรับงานที่อยู่ในที่บังคับเพราะจับเหลี่ยมนอตได้พอดี เช่น น็อตขนาด 17 มม. ต้องใช้ประแจปากตาย เบอร์ 17 เป็นต้น

-
ประแจแหวน (Box Wrench)
เป็นประแจชนิดที่ใช้กับแรงกด – ขันมาก ข้อดีคือ ประแจชนิดนี้จับเหลี่ยมของโบลต์และน็อตได้เต็มที่ ดังนั้นจึงใช้แรงดึงและดันได้สูงมาก แต่ข้อเสียคือ การใช้ประแจตัวนี้จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจึงจะจับชิ้นงานได้อย่างสมบูรณ์

-
ประแจรวม (Combination Wrench)
หรือประแจแหวนข้าง เป็นประแจที่รวมเอารูปร่าง และคุณสมบัติของประแจปากตาย และประแหวนเข้าด้วยกัน ซึ่งด้านหนึ่งเป็นประแจแหวน อีกด้านหนึ่งเป็นประแจปากตายนั่นเอง

-
ประแจกระบอก (Soket Wrench)
เป็นประแจที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับประแจแหวน แต่แตกต่างกันที่สร้างเป็นบล็อคกลมขนาดต่าง ๆ ส่วนภายในมีเหลี่ยมกับโบลต์ – น็อต เป็น 6-8-12 เหลี่ยม และต้องใช้ด้ามต่อประแจแบบต่าง ๆ มาใช้ตามลักษณะงานที่ต้องการ จุดเด่นของประแจชนิดนี้คือ สามารถใช้สำหรับวัดแรงกดขัน น็อตได้สะดวกเหมาะใช้ในงานยนต์

-
ประแจหัวฝัง หรือประแจแอล (Set-Screw or Allen Wrench)
เป็นประแจที่ใช้สำหรับ สกรู โบลต์ ที่ทำหัวเป็นลักษณะกลม แต่สร้างร่องเหลี่ยมไว้ภายในเพื่อขัน – คลาย ซึ่งเรียกทั่วไปว่า เซท – สกรู (Set Screw)

-
ประแจจับท่อ (Pipe Wrenches)
มีทั้งแบบด้ามขาเดียว และด้าม 2 ขา ปากของประแจ สามารถปรับให้มีขนาดกว้างได้ตามต้องการ ประแจชนิดนี้ จะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการจับชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นทรงกลม เช่น ท่อน้ำ เป็นต้น จึงทำให้ปากของประแจมีฟันที่ค่อนข้างคม มีผลให้ชิ้นงานที่ถูกจับหันตามทิศทางที่ประแจหมุนไป แต่ถ้าหมุนผิดทาง จะไม่สามารถจับชิ้นงานให้หมุนตามประแจได้
-
ประแจเลื่อน (Monkey Wrenches)
ประแจทำวัสดุสเตนเลส หรือเหล็ก ที่สามารถปรับได้ ลักษณะปากประแจคล้ายตัวยู U หรือทรงหกเหลี่ยม มีตัวเลื่อนปรับขนาดปากประแจเข้า-ออก ให้ขนาดเหมาะสมกับน็อต หรือสกรู นิยมใช้ขัน หรือจับหัวสกรูหลายขนาด ดังนั้น ประแจเลื่อน จึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประแจเลื่อนก็จะมีลิมิต หรือข้อจำกัดในเรื่องขนาดของตัวมันเอง ดังนั้นแม้แต่ประแจเลื่อน ก็ยังมีหลายขนาดเช่นเดียวกัน
วิธีการใช้ประแจให้ปลอดภัย
- เลือกใช้ประแจที่มีขนาดของปาก และความยาวของด้ามที่เหมาะสมกับงานที่ใช้ ไม่ควรต่อด้ามให้ยาวกว่าปกติ
- ปากของประแจต้องไม่ชำรุด เช่น สึกหรอ ถ่างออก หรือร้าว
- เมื่อสวมใส่ประแจเข้ากับหัวน็อต หรือหัวสกรูแล้ว ปากของประแจต้องแน่นพอดี และคลุมเต็มหัวน็อต
- การจับประแจสำหรับผู้ถนัดมือขวา ให้ใช้มือขวาจับปลายประแจ ส่วนมือซ้ายหาที่ยึดให้มั่นคง ร่างกายต้องอยู่ในสภาพมั่นคง และสมดุล
- การขันประแจไม่ว่าจะเป็นขันให้แน่น หรือคลายต้องใช้วิธีดึงเข้าหาตัวเสมอ และเตรียมพร้อม สำหรับปากประแจหลุดขณะขันด้วย
- ควรเลือกให้ประแจชนิดปากปรับไม่ได้ก่อน เช่น ประแจแหวน หรือประแจปากตาย ถ้าประแจเหล่านี้ใช้ไม่ได้ จึงค่อยเลือกใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อน แทน
- การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อน ต้องให้ปากด้านที่เลื่อนได้อยู่ติดกับผู้ใช้เสมอ
- การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ ต้องปรับปากประแจให้แน่นกับหัวน็อตก่อน จึงค่อยออกแรงขัน
- ปาก และด้ามของประแจต้องแห้งปราศจากน้ำมัน หรือจาระบี
- การขันน็อต หรือสกรูที่อยู่ในที่แคบ หรือลึก ให้ใช้ประแจกระบอก เพราะปากของประแจกระบอกจะยาว สามารถสอดเข้าไปในรูที่คับแคบได้
- ขณะขันประแจต้องอยู่ระนาบเดียวกันกับหัวน็อต หรือหัวสกรู
- ไม่ควรใช้ประแจชนิดปากปรับได้กับหัวน็อต หรือสกรูที่จะนำกลับมาใช้อีก เพราะหัวน็อต หรือสกรูจะเสียรูป
การจัดเก็บและบำรุงรักษา
- ตรวจสอบตรวจซ่อมประแจให้มีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง
- ก่อนนำไปเก็บ ให้ชโลมนำมันเครื่องใสทุกครั้ง
❝ สรุปได้ว่าเนื่องจากประแจ นั้นนิยามอาจจะกว้างมาก และมีรูปแบบหลากหลายชนิด แตกต่างกันออกไป แต่ขอให้เข้าใจว่า จริง ๆ แล้วเป้าหมายของการสร้างประแจก็คือ การ “จับ” ซึ่งการจับ วัสดุบางอย่าง เช่น เหล็กที่เป็นหัวน็อตเราอาจจะจับได้ไม่สะดวก ประแจจึงได้ถูกสร้างขึ้นมานั่นเอง โดยเหตุผลที่ประแจนั้นมีมากมายหลายชนิดนั่นก็เพราะว่า เราไม่ได้จับ วัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด ควรเลือกใช้ประแจให้ถูกลักษณธของงานแต่ละชนิดด้วย ❞
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025