ประโยชน์ “บัวพื้น” ใช้แบบไหนดี มีคำตอบที่นี่!

“บัวพื้น” หรือบัวเชิงผนัง เพิ่มรายละเอียดที่สวยงามให้กับภายในบ้าน แต่จัดเป็นหนึ่งส่วนประกอบในบ้านที่หลายคนมองข้าม หรือไม่เข้าใจหน้าตาอันแท้จริง บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้ถึงประโยชน์ของบัวพื้น และการเลือกซื้อบัวพื้นสำเร็จรูปแบบต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด แต่ละชนิดมีความแตกต่าง และความโดดเด่นของการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไร? ตามไปดูกัน . . .

บัวพื้น (Baseboard) คืออะไร?

มีหน้าที่หลักเป็นชิ้นส่วนปกปิดรอยต่อระหว่างวัสดุปูพื้นกับผนังให้ดูเรียบร้อยสวยงาม อย่างกรณีพื้นไม้จริงหรือพื้นไม้สังเคราะห์ที่เมื่อปูแล้วจะเหลือช่องว่างบริเวณริมผนังไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะกรณีพื้นไม้จริง ช่องว่างที่เหลือนี้ยังทำหน้าที่ช่วยให้พื้นไม้ขยายตัวในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นได้โดยไม่ทำให้พื้นไม้โก่ง การปกปิดร่องของบัวพื้นช่วยป้องกันเศษผงฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่ให้ตกเข้าไปสะสมในช่องว่างดังกล่าว นอกจากนี้บัวพื้นยังช่วยป้องกันผนังจากการกวาดถูบ้านที่อาจทำให้เกิดรอยคราบสกปรกที่จะค่อยๆ สะสมจนมองเห็นได้

210525-Content-ประโยชน์บัวพื้น-ใช้แบบไหนดีมีคำตอบที่นี่02

วัสดุที่ใช้ทำบัวพื้นดั่งเดิมใช้ไม้จริงซึ่งมีข้อเสียโดยธรรมชาติ นั่นคือบัวพื้นไม้จริงจะหด และขยายตัวตามความชื้นในอากาศ ดังนั้นเมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง รอยต่อระหว่างชิ้นบัว จะแยกเป็นร่องกรณีที่บัวหดตัว และอาจโก่งตัวดีดจากผนังกรณีที่บัวขยายตัว จึงได้มีการพัฒนาทำวัสดุอื่น ๆ มาใช้ทดแทนบัวพื้นจากไม้จริงนั่นเอง

บัวพื้นมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

  • ป้องกันสิ่งสกปรก

ตัวผลิตภัณฑ์ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันผนังสกปรก โดยเฉพาะเมื่อทำความสะอาดห้อง การกวาดและเช็ดถูห้อง ต้องมีการปัดกวาดเช็ดถูไปโดนรอยต่อระหว่างพื้นและผนัง ซึ่งมักเป็นซอกหลืบเก็บสิ่งสกปรก ไม้ถูพื้นซึ่งถูไปรอบ ๆ ห้อง สะสมความสกปรกไว้กับตัว ถ้าปาดโดยผนังก็ย่อมทำให้เกิดรอยคราบสกปรกฝังไว้ที่ผนัง นานวันเข้าก็จะเป็นคราบฝังลึก ดำเป็นปื้น ๆ อยู่ที่ฐานผนังนั่นเอง

  • ปิดรอยต่อพื้น-ผนัง

เพราะวัสดุปูพื้นหลาย ๆ ชนิดจะไม่สามารถปูแนบสนิทกับผนังได้เต็มที่ เช่น พื้นไม้ปาเก้ ไม่สามารถปูชิดติดผนังได้ จำเป็นต้องเว้นร่องไว้เล็กน้อย เนื่องจากไม้มีการขยายตัวเมื่อมีความชื้น หรืออุณหภูมิสูงขึ้น หากปูชิดผนัง เมื่อไม้ขยายตัว อาจเกิดการบิดโก่งตัวขึ้นได้ เพราะทางซ้ายขวาไม่มีทิศทางไหนให้ขยายไป จึงขยายโก่งขึ้นด้านบนแทน ช่างที่ชำนาญและรู้ธรรมชาติของไม้ จึงปูพื้นไม้ปาเก้ให้เว้นห่างจากผนังเล็กน้อย โดยเฉพาะถ้าทำงานในช่วงฤดูที่มีความชื้นต่ำ เพื่อวันที่ไม้ปาเก้ขยายตัวมีช่องว่างให้ขยับขยาย

ประเภทของบัวพื้น มีแบบไหนบ้าง?

ปัจจุบันบัวพื้นสำเร็จรูปที่มีรูปแบบคล้ายบัวพื้นไม้ โดยแบ่งตามวัสดุที่นำมาผลิต ได้แก่ บัวพื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ บัวพื้นไม้เทียม และบัวพื้นพลาสติกแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. บัวพื้นไฟเบอร์ซีเมนต์

บัวพื้นประเภทนี้ไม่ได้ทำจากปูนซีเมนต์ล้วน ๆ แต่ทำจากส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทรายซิลิก้า และเส้นใยเซลลูโลสจากพืช ทำให้มีความแข็ง มีคุณสมบัติไม่หดตัวไม่บิดตัว ไม่ลามไฟ รวมถึงปลวกและแมลงไม่กิน สามารถทำสีได้ แต่บัวพื้นชนิดนี้ถือว่ามีน้ำหนักมากกว่าบัวพื้นชนิดอื่น ๆ เพราะมีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ บัวพื้นไฟเบอร์ซีเมนต์บางรุ่นมีผิวชนิดลายเสี้ยนไม้ในตัว ซึ่งมีลวดลายสวยงามดูเสมือนไม้ธรรมชาติ บัวพื้นประเภทนี้มีราคาต่ำกว่าบัวพื้นสำเร็จรูปชนิดอื่น ๆ ในท้องตลอด

2. บัวพื้นไม้เทียม Medium Density Fiber Board (MDF)

บัวพื้นชนิดนี้หลายคนอาจเรียกว่าบัวพื้นไม้ลามิเนต เพราะทำจากวัสดุประเภทเดียวกันกับพื้นไม้ลามิเนตนั่นเอง MDF หรือแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ทำจากเส้นใยธรรมชาติผสมกับกาวสังเคราะห์ แล้วขึ้นเป็นแผ่นด้วยความร้อน เพื่อให้กาวละลายประสานเส้นใยเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้เนื้อวัสดุมีความหนาแน่นเรียบเสมอทั้งชิ้น และปลวกแมลงไม่กิน บัวพื้น MDF ยังติดตั้งง่าย ไม่บิ่น หรือแตกหักหลังการตัด เนื้อวัสดุมีความหนาแน่นปานกลาง จึงสามารถติดตั้งด้วยการใช้ปืนยิงตะปู หรือตอกด้วยมือ โดยเนื้อบัวพื้น MDF จะไม่แตกเหมือนบัวพื้นไม้จริง ข้อจำกัดของบัวพื้น MDF คือไม่สามารถดัดโค้งได้ หากพื้นที่ไม่เรียบหรือไม่ได้ระดับ จะติดตั้งไม่ลงตัว รวมถึงบริเวณรอยต่อเข้ามุม หากติดตั้งไม่ชนเสมอกันให้พอดีแล้ว มีโอกาสบิ่น หรือหักจากการใช้งานได้

210525-Content-ประโยชน์บัวพื้น-ใช้แบบไหนดีมีคำตอบที่นี่03-edit

3. บัวพื้นไม้เทียม Wood Plastic Composite (WPC)

บัวพื้นWPC ถือเป็นวัสดุที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดสำหรับไม้เทียม ทำขึ้นจากการนำเส้นใยธรรมชาติผสมกับพลาสติกโพลีเมอร์ แล้วใส่ในแม่พิมพ์ความร้อนสูงเพื่อให้เส้นใย และพลาสติกกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นการผลิตที่ไม่ต้องใช้กาว หรือสารเคมีเพื่อประสานเส้นใยธรรมชาติ จึงสามารถทำลวดลายผิวไม้ได้เสมือนจริง มีความทนทาน อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ไม่ลามไฟ ปลอดภัยจากปลวกแมลง ทนต่อความชื้น ความร้อนได้ดี และป้องกันการซึม จึงป้องกันคราบฝังในจากของเหลวต่าง ๆ ได้ดี การติดตั้งทำได้ง่าย สามารถเลื่อย ไส เจาะได้เช่นเดียวกับไม้ธรรมชาติ และเนื่องจากมีส่วนผสมของพลาสติก จึงสามารถดัดโค้งให้เข้ากับพื้นที่ได้ประมาณหนึ่ง

4. บัวพื้นพีวีซี (PVC)

บัวพื้นประเภทนี้ ทำขึ้นจากพลาสติกPVC ไม่มีส่วนผสมของวัสดุธรรมชาติ เป็นวัสดุที่มีความเหนียวทนทาน รับแรงกระแทกได้ดี จึงไม่ค่อยเกิดรอยขีดข่วน กันน้ำ และปลวกแมลงไม่กิน เนื่องจากทำจากพลาสติก ดัดโค้งได้ดี ติดตั้งกับผนังที่มีความโค้ง ซึ่งบัวพื้นไม้จริง และบัวพื้นไม้เทียมชนิดต่าง ๆ ไม่สามารถติดตั้งได้โดยไม่แตกหัก วิธีการติดตั้งบัวพื้นพีวีซีแบบทั่วไปได้ทั้งตะปู หรือกาว การตัดทำได้ง่ายและเรียบร้อย ไม่เกิดความรอยรุ่ยของวัสดุ แต่ต้องระวังกรณีใช้อุปกรณ์ตัดความเร็วสูง การเสียดสีอาจทำให้เนื้อพีวีซีบริเวณรอยต่อละลายเสียทรงได้

210525-Content-ประโยชน์บัวพื้น-ใช้แบบไหนดีมีคำตอบที่นี่04

5. บัวพื้นพอลีสไตรีน (Polystyrene)

บัวพื้นชนิดนี้ ผลิตจากพลาสติกประเภทโฟม ความหนาแน่นสูงจากการฉีดขึ้นรูปโดยใช้แม่พิมพ์ ดังนั้นบัวพื้นชนิดนี้ สามารถทำลวดลายเสี้ยนไม้ได้ ทำให้ดูสวยเสมือนบัวพื้นไม้จริง แม้ว่าจะเป็นวัสดุโฟมพลาสติก แต่เป็นชนิดความหนาแน่นสูง จึงแน่นอนว่าแข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ ปราศจากเชื้อรา บัวพื้นพอลีสไตรีนมีความหนาแน่นสูง จึงไม่หด บวม บิด งอ และที่สำคัญเป็นโฟนที่ไม่ลามไฟอีกด้วย นอกจากนี้บัวพื้นชนิดนี้ยังมีน้ำหนักเบา และยังนิยมใช้ผลิตบัวพื้นเพดานอีกด้วย

ปัจจุบัน การติดตั้งบัวพื้นสำเร็จรูป ทำได้สะดวก และรวดเร็วกว่าการติดตั้งบัวพื้นไม้จริง บัวพื้นไม้เทียมสำเร็จบางรุ่น ทำสีมาเรียบร้อยจากโรงงาน สามารถติดตั้ง และเก็บสีได้ง่ายดาย หรือกรณีเป็นบัวพื้นพลาสติก ทั้งบัวพื้นพีวีซี และบัวพื้นพอลีสไตรีน มีสีและลวดลายในตัวพร้อมติดตั้ง จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

การเลือกบัวพื้น เพื่อการใช้งานนั้น ควรเลือกที่เหมาะสมกับรูปแบบของพื้นที่สภาพแวดล้อมในห้องที่จะติดตั้งด้วย เพราะในระยะยาวหากวัสดุที่ใช้ไม่มีคุณภาพ จะเป็นเกิดปัญหาในการแก้ไข การซ่อมแซม ทำให้เสียเวลา เสียความรู้สึก ทำให้ระยะยาวอาจจะแพงกว่าการซื้อวัสดุที่ได้มาตรฐานและคุณภาพดีนั่นเอง

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย