ปั๊มหอยโข่ง คืออะไร?

ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump) เป็นปั๊มชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยม ใช้กันมากที่สุด เป็นปั๊มที่ใช้ใบพัดหมุน สร้างแรงเหวี่ยงให้น้ำ หรือของเหลว เกิดแรงเหวี่ยง และไหล นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม, เทศบาล, โรงน้ำทิ้ง และน้ำเสีย, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้าปิโตรเลียม, เหมืองแร่, โรงเคมี และอื่น ๆ อีกมากมาย

ทำไมถึงเรียกปั๊มหอยโข่ง? ปั๊มน้ำชนิดนี้ ที่เรียกว่าปั๊มหอยโข่ง เพราะว่า ระบบการเหวี่ยงน้ำรูปร่างเหมือนหอยโข่ง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่งมีข้อดี คือ มีเครื่องที่ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บำรุงรักษาได้ง่าย การสูบน้ำของปั๊มหอยโข่ง มักนิยมนำไปใช้กับงานที่ต้องการปริมาณการไหลของน้ำระดับ ปานกลางถึงมาก

220525-Content-ปั๊มหอยโข่งคืออะไร-แตกต่างจากปั๊มประเภทอื่นอย่างไรบ้าง02

ปั๊มหอยโข่งนั้น สามารถรับรองของเหลวได้ในปริมาณมาก และมีอัตราการไหลที่สูง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่ง ถูกออกแบบมาใช้งานสำหรับของเหลวที่มีความหนืดต่ำ เช่น น้ำ หรือน้ำมัน หากของเหลว มีความหนืดที่มากกว่า 10 หรือ 20 w จะต้องอาศัยแรงม้าที่เพิ่มขึ้น


ประเภทของปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่งสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การออกแบบ การก่อสร้าง การใช้งาน การบริการ การใช้งานตามมาตรฐานระดับประเทศ หรือระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น ปั๊มหนึ่งตัว สามารถอยู่ในภาคส่วนการใช้งานที่ต่างกันได้ และในบางครั้งแค่เห็นชื่อของปั๊มเราก็รู้แล้วว่ามันทำงานอย่างไร

แบ่งตามแนวใช้งานของปั๊มหอยโข่ง

  • ปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง 

ปั๊มประเภทนี้ ปลอกรูปก้นหอย จะแยกออกตามแนวแกน และเส้นแยกที่ปลอกปั๊ม แยกอยู่ที่เส้นกึ่งกลางของเพลา โดยทั่วไป จะติดตั้งในแนวนอน เนื่องจากสะดวกในการติดตั้ง และบำรุงรักษา

  • ปั๊มหอยโข่งแนวรัศมี 

ปั๊มประเภทนี้ เคสปั๊มแยก จะเป็นแนวรัศมี การแยกปลอกรูปก้นหอย จะตั้งฉากกับเส้นกึ่งกลางเพลา


แบ่งตามใบพัดของปั๊มหอยโข่ง

220525-Content-ปั๊มหอยโข่งคืออะไร-แตกต่างจากปั๊มประเภทอื่นอย่างไรบ้าง04

(ภาพจาก water-pump.co)

  • ปั๊มหอยโข่งใบพัดเดี่ยว 

ปั๊มชนิดนี้ มีใบพัดดูดเดียว ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าสู่ใบมีดผ่านด้านเดียวเท่านั้น มีการออกแบบที่เรียบง่าย และเนื่องจากการไหลเข้ามาที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบพัดนี้เอง ทำให้ใบพัดมีความไม่สมดุลของแรงขับตามแนวแกนที่สูงขึ้น

  • ปั๊มหอยโข่งใบพัดคู่ 

ปั๊มชนิดนี้ มาพร้อมกับใบพัดดูดคู่ ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าจากทั้ง 2 ด้านของใบพัด และมี NPSHR ต่ำกว่าใบพัดดูดเดี่ยว ปั๊มหอยโข่งชนิด Split-Case มักพบใบพัดดูดคู่มากที่สุด

หากปั๊มมีใบพัดมากกว่า 1 ตัว รูปแบบของใบพัด จะทำให้เราจำแนกได้ว่าปั๊มเป็นประเภทดูดเดี่ยว หรือคู่นั่นเอง

แบ่งตามรูปก้นหอย

  • รูปก้นหอยช่องเดี่ยว ปั๊มชนิดนี้ มักใช้ในปั๊มความจุต่ำ มีขนาดเล็ก ซึ่งการออกแบบรูปก้นหอย 2 อัน ไม่สามารถใช้งานได้จริง เนื่องจากทางเดินรูปก้นหอย มีขนาดค่อนข้างเล็ก ปั๊มที่มีการออกแบบเป็นรูปก้นหอยเดี่ยว จะรับแรงในแนวรัศมีได้สูงกว่า
  • รูปก้นหอยช่องคู่ ปั๊มชนิดนี้ มีปริมาตร 2 ส่วน ซึ่งอยู่ห่างกัน 180 องศา ส่งผลให้การถ่วงรัศมี มีความสมดุล ปั๊มหอยโข่งส่วนใหญ่ จะออกแบบเป็นรูปก้นหอยคู่

แบ่งตามการวางแนวเพลา

  • แนวเพลานอน เป็นปั๊มที่มีเพลาอยู่ในระนาบแนวนอน ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากความสะดวกในการซ่อมบำรุง และการบำรุงรักษา
  • แนวเพลาตั้ง ปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง มีเพลาอยู่ในระนาบแนวตั้ง ใช้การกำหนดค่าการรองรับเพลา และแบริ่งที่เป็นเอกลักษณ์


การทำงานของปั๊มหอยโข่ง

การทำงานหลักของปั๊มหอยโข่ง คือ มอเตอร์ จะสร้างพลังงานให้กระแสน้ำ เกิดการไหล และเหวี่ยงให้ของเหลวเคลื่อนที่ตามทิศทางการหมุน โดยมีใบพัด และปลอก ควบคุมทิศทางการไหล ในปั๊มหอยโข่ง ของเหลว จะเข้าไปในปลอก ตกลงบนใบพัดที่ตาของใบพัด หมุนวนตามแนวแกน และหมุนออกไปด้านนอก ในแนวรัศมีจนกว่าใบพัดจะเข้าสู่ส่วนกระจายของปลอก ในขณะที่ผ่านใบพัดนั้น ของเหลว จะได้รับทั้งความเร็ว และความดันไปพร้อม ๆ กัน

220525-Content-ปั๊มหอยโข่งคืออะไร-แตกต่างจากปั๊มประเภทอื่นอย่างไรบ้าง03


ข้อดี-ข้อเสียของปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่ง(Centrifugal Pump) สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานที่ต่าง ๆ เกือบทุกประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการสูบน้ำแบบทั่วไป เพื่อการอุปโภคบริโภค การสูบระบายน้ำเสีย ตามแหล่งชลประทาน และการส่งสารเคมี เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต แต่ว่าทำไมปั๊มประเภทนี้ ถึงใช้ได้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เรามาดูข้อดี-ข้อเสีย ของปั๊มประเภทนี้กัน ดังนี้

  • ปั๊มหอยโข่งง่ายต่อการซ่อมบำรุง

แน่นอนว่าการที่เราลงทุนซื้ออุปกรณ์ที่สำคัญสักหนึ่งชิ้น ก็อยากจะให้มันอยู่กับเราไปนาน ๆ ไม่เสียได้เลยยิ่งดี แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์เหล่านั้น ทำให้เราต้องซื้อใหม่อยู่เรื่อย ๆ นั่นเอง แต่ปั๊มหอยโข่งมีส่วนประกอบที่น้อย และแต่ละส่วนมีอายุการใช้งานที่ไม่เท่ากัน เราจึงสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานของปั๊มได้นั่นเอง

  • ปั๊มหอยโข่งประหยัด

เนื่องจากปั๊มหอยโข่ง มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างน้อยกว่าปั๊มประเภทอื่น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้ราคาขายลดลง และประหยัดการลงทุนของลูกค้าด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังประหยัดในเรื่องของพื้นที่ติดตั้ง และการถ่ายเทพลังงานอีกด้วย

  • ปั๊มหอยโข่งรองรับการไหลได้มาก

สำหรับงานไหน ที่ต้องการการไหลมาก โดยที่แรงดันไม่สูงมาก ปั๊มประเภทนี้ ถือว่าตอบโจทย์ เพราะปั๊มหอยโข่ง รับพลังงานโดยตรงจากมอเตอร์ เพื่อถ่ายเทไปให้ของเหลว ในรูปแบบของแรงเหวี่ยง จากการหมุนทำให้ของเหลว สามารถไหลได้ในปริมาณที่เยอะขึ้นนั่นเอง

  • ปั๊มหอยโข่งไม่รองรับของเหลวที่หนืด

ข้อเสียแรกของปั๊มหอยโข่ง คือ ค่าความหนืด (Viscosity) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของของเหลวชนิดต่าง ๆ หรือรู้จักกันในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า แรงต้านทานการไหลภายใน ซึ่งทำให้ต้องใช้พลังงาน ในการเคลื่อนย้ายที่มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ส่งผลให้การถ่ายเทพลังงาน แบบหมุนเหวี่ยงของปั๊มหอยโข่ง มีประสิทธิภาพที่ลดลง และอาจทำให้ตัวปั๊มเสียหายได้ ถ้าใช้กับของเหลวที่มีค่าความหนืดมากเหล่านี้

  • ปั๊มหอยโข่งไม่รองรับระบบที่มีแรงดันสูง

เพราะปั๊มหอยโข่ง มีการออกแบบการถ่ายเทพลังงานแบบต่อเนื่อง ทำให้พลังงานส่วนใหญ่ ถูกถ่ายเทไปที่การไหลมากกว่าแรงดัน จึงเกิดการออกแบบปั๊มน้ำหอยโข่ง แบบหลายใบพัดขึ้น เพื่อเพิ่มทำให้เป็นการเพิ่มพลังงานของของเหลวขึ้นนั่นเอง


ปั๊มหอยโข่ง ปั๊มจุ่ม ปั๊มอัตโนมัติ ปั๊มบาดาล ต่างกันอย่างไร?

1. ปั๊มอัตโนมัติ หรือปั๊มบ้าน (Automatic pumps)

การใช้งาน : ปั๊มน้ำตามบ้านเรือน ที่พักอาศัยทั่วไป เพื่อปั๊มน้ำจากแท็งก์ หรือระบบน้ำประปาเข้าไปใช้ในบ้าน

ปั๊มอัตโนมัติ ช่วยให้อุปกรณ์ที่ใช้น้ำในบ้าน มีน้ำไหลแรงขึ้น และแรงดันคงที่ หลาย ๆ คน อาจจะเคยประสบปัญหาน้ำไม่ไหล เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุด เครื่องทำน้ำร้อนเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น หรือใช้น้ำล่างแต่ชั้น 2 น้ำไม่ไหล ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะแรงดันน้ำในบ้านน้อย หรือไม่สม่ำเสมอนั่นเอง

หลักการทำงานของปั๊มอัตโนมัติ คือ ปั๊มจะเปิด-ปิดอัตโนมัติ ตามการเปิดใช้งานน้ำ ปั๊มจึงไม่ควรทำงานอยู่ตลอดเวลา ทันทีที่เปิดก๊อก ปั๊มน้ำจะทำงาน พอเลิกใช้งาน น้ำปั๊มก็หยุดทำงาน สามารถต่อปั๊มน้ำเข้ากับแท็งก์น้ำในบ้าน หรือระบบน้ำประปาโดยตรงก็ได้

2. ปั๊มหอยโข่ง หรือปั๊มเกษตร (Centrifugal pumps)

การใช้งาน : ดูดน้ำจากแหล่งน้ำจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งไกล ๆ มักใช้ในพื้นที่เกษตรเป็นหลัก สามารถต่อกับระบบสปริงเกอร์ ระบบน้ำหยด หรือระบบให้น้ำอื่น ๆ ได้ด้วย

ปั๊มหอยโข่งนั้น มีไว้สำหรับสูบน้ำปริมาณที่มาก หรือแรงส่งสูง ๆ ส่งน้ำไปไกล ๆ จากแหล่งน้ำหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งมา จะสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือน้ำประปาก็ได้ เช่น คลอง บ่อ บึง เป็นต้น หรือสูบน้ำในแนวดิ่งมาพักน้ำในบ่อ แท็งก์ บนอาคารสูงได้ น้ำที่ได้ จะไม่สะอาดมาก อาจมีตะกอนดิน โคลน และเศษสิ่งสกปรกได้ ปั๊มหอยโข่งไม่สามารถสูบน้ำที่ข้นมาก ๆ หรือมีตะกอนขนาดใหญ่ ๆ ได้

สามารถใช้ปั๊มหอยโข่งต่อกับระบบสปริงเกอร์ ระบบน้ำหยด และการให้น้ำต่าง ๆ ในสวนได้ หรือสูบน้ำไปพักไว้บนแท็งก์ชั้น 2 ของบ้านก็ได้

3. ปั๊มจุ่ม หรือปั๊มไดโว่ (Submersible Pump)

การใช้งาน : ปั๊มสำหรับสูบน้ำจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือสูบน้ำเข้าออกนั่นเอง

ปั๊มจุ่ม หรือปั๊มไดโว่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งอะไรถาวร ใช้สูบน้ำ ย้ายน้ำ จากบ่อหนึ่งไปบ่อหนึ่ง สูบน้ำออกจากหลุม ส่วนใหญ่ มักใช้ในช่วงน้ำท่วม สูบน้ำท่วมขังออกจากบ้าน

ปั๊มจุ่ม แบ่งเป็น 2 ประเภท แบ่งตามลักษณะน้ำ ที่ต้องการสูบ ได้แก่ ปั๊มจุ่มน้ำสะอาด และปั๊มจุ่มน้ำสกปรก

  • ปั๊มจุ่มน้ำสะอาด จะยอมให้อนุภาคเล็กๆ ไม่เกิน 2 มม. เข้ามาในระบบน้ำได้ เหมาะสำหรับใช้ทำระบบน้ำพุ และระบบน้ำตกภายในสวนตกแต่ง
  • ปั๊มจุ่มน้ำสกปรก ใช้ดูดน้ำเสีย ที่มีตะกอนขนาดใหญ่ถึง 30 มม. เช่น ตะกอนดิน ตะกอนขี้ปลา ตะกอนต่าง ๆ จากน้ำท่วมขัง แต่ไม่สามารถใช้กับน้ำปูนซีเมนต์ น้ำยางพารา และน้ำร้อนจัดได้

4. ปั๊มบาดาล หรือปั๊มซับเมอร์ส (Submersible Pump)

การใช้งาน : สูบน้ำจากบ่อบาดาล เน้นการสูบน้ำแนวดิ่ง จากบ่อบาดาลขึ้นมาปากบ่อบาดาล

ปั๊มบาดาล สามารถหย่อนลงไปในบ่อบาดาลลึก ๆ ได้ โดยปากบ่อต้องกว้าง 4 นิ้วขึ้นไป ปั๊มบาดาล ทำหน้าที่สูบส่งน้ำขึ้นตามท่อมาบนปากบ่อ ระยะสูบส่งน้ำของปั๊มบาดาล ขึ้นอยู่กับจำนวนของใบพัดน้ำ ถ้าใบพัดน้ำยิ่งมาก ยิ่งสามารถสูบส่งน้ำได้ขึ้นมาไกล โดยเน้นการสูบส่งขึ้นมาในแนวดิ่ง


สำหรับใครที่กำลังมองหาปั๊มน้ำหอยโข่งไว้ใช้ ลองเลือกซื้อตามคุณสมบัติที่ต้องการใช้งาน จะได้เครื่องปั้มน้ำที่มีมาตรฐาน ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังนั่นเอง บทความหน้าจะมีอะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันนะ ^^

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

เราขอแนะนำ ปั๊มลม เครื่องปั๊มลม อเนกประสงค์ สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน

ปั๊มลม เครื่องปั๊มลม อเนกประสงค์ ????????