
ปั๊มหอยโข่ง คืออะไร?
ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump) เป็นปั๊มชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยม ใช้กันมากที่สุด เป็นปั๊มที่ใช้ใบพัดหมุน สร้างแรงเหวี่ยงให้น้ำ หรือของเหลว เกิดแรงเหวี่ยง และไหล นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม, เทศบาล, โรงน้ำทิ้ง และน้ำเสีย, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้าปิโตรเลียม, เหมืองแร่, โรงเคมี และอื่น ๆ อีกมากมาย
ทำไมถึงเรียกปั๊มหอยโข่ง? ปั๊มน้ำชนิดนี้ ที่เรียกว่าปั๊มหอยโข่ง เพราะว่า ระบบการเหวี่ยงน้ำรูปร่างเหมือนหอยโข่ง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่งมีข้อดี คือ มีเครื่องที่ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บำรุงรักษาได้ง่าย การสูบน้ำของปั๊มหอยโข่ง มักนิยมนำไปใช้กับงานที่ต้องการปริมาณการไหลของน้ำระดับ ปานกลางถึงมาก

ปั๊มหอยโข่งนั้น สามารถรับรองของเหลวได้ในปริมาณมาก และมีอัตราการไหลที่สูง โดยทั่วไปปั๊มหอยโข่ง ถูกออกแบบมาใช้งานสำหรับของเหลวที่มีความหนืดต่ำ เช่น น้ำ หรือน้ำมัน หากของเหลว มีความหนืดที่มากกว่า 10 หรือ 20 w จะต้องอาศัยแรงม้าที่เพิ่มขึ้น
ประเภทของปั๊มหอยโข่ง
ปั๊มหอยโข่งสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การออกแบบ การก่อสร้าง การใช้งาน การบริการ การใช้งานตามมาตรฐานระดับประเทศ หรือระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น ปั๊มหนึ่งตัว สามารถอยู่ในภาคส่วนการใช้งานที่ต่างกันได้ และในบางครั้งแค่เห็นชื่อของปั๊มเราก็รู้แล้วว่ามันทำงานอย่างไร
แบ่งตามแนวใช้งานของปั๊มหอยโข่ง
ปั๊มประเภทนี้ ปลอกรูปก้นหอย จะแยกออกตามแนวแกน และเส้นแยกที่ปลอกปั๊ม แยกอยู่ที่เส้นกึ่งกลางของเพลา โดยทั่วไป จะติดตั้งในแนวนอน เนื่องจากสะดวกในการติดตั้ง และบำรุงรักษา |
ปั๊มประเภทนี้ เคสปั๊มแยก จะเป็นแนวรัศมี การแยกปลอกรูปก้นหอย จะตั้งฉากกับเส้นกึ่งกลางเพลา |
แบ่งตามใบพัดของปั๊มหอยโข่ง
(ภาพจาก water-pump.co)
ปั๊มชนิดนี้ มีใบพัดดูดเดียว ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าสู่ใบมีดผ่านด้านเดียวเท่านั้น มีการออกแบบที่เรียบง่าย และเนื่องจากการไหลเข้ามาที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบพัดนี้เอง ทำให้ใบพัดมีความไม่สมดุลของแรงขับตามแนวแกนที่สูงขึ้น |
ปั๊มชนิดนี้ มาพร้อมกับใบพัดดูดคู่ ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าจากทั้ง 2 ด้านของใบพัด และมี NPSHR ต่ำกว่าใบพัดดูดเดี่ยว ปั๊มหอยโข่งชนิด Split-Case มักพบใบพัดดูดคู่มากที่สุด |
หากปั๊มมีใบพัดมากกว่า 1 ตัว รูปแบบของใบพัด จะทำให้เราจำแนกได้ว่าปั๊มเป็นประเภทดูดเดี่ยว หรือคู่นั่นเอง
แบ่งตามรูปก้นหอย
- รูปก้นหอยช่องเดี่ยว ปั๊มชนิดนี้ มักใช้ในปั๊มความจุต่ำ มีขนาดเล็ก ซึ่งการออกแบบรูปก้นหอย 2 อัน ไม่สามารถใช้งานได้จริง เนื่องจากทางเดินรูปก้นหอย มีขนาดค่อนข้างเล็ก ปั๊มที่มีการออกแบบเป็นรูปก้นหอยเดี่ยว จะรับแรงในแนวรัศมีได้สูงกว่า
- รูปก้นหอยช่องคู่ ปั๊มชนิดนี้ มีปริมาตร 2 ส่วน ซึ่งอยู่ห่างกัน 180 องศา ส่งผลให้การถ่วงรัศมี มีความสมดุล ปั๊มหอยโข่งส่วนใหญ่ จะออกแบบเป็นรูปก้นหอยคู่
แบ่งตามการวางแนวเพลา
- แนวเพลานอน เป็นปั๊มที่มีเพลาอยู่ในระนาบแนวนอน ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากความสะดวกในการซ่อมบำรุง และการบำรุงรักษา
- แนวเพลาตั้ง ปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง มีเพลาอยู่ในระนาบแนวตั้ง ใช้การกำหนดค่าการรองรับเพลา และแบริ่งที่เป็นเอกลักษณ์
การทำงานของปั๊มหอยโข่ง
การทำงานหลักของปั๊มหอยโข่ง คือ มอเตอร์ จะสร้างพลังงานให้กระแสน้ำ เกิดการไหล และเหวี่ยงให้ของเหลวเคลื่อนที่ตามทิศทางการหมุน โดยมีใบพัด และปลอก ควบคุมทิศทางการไหล ในปั๊มหอยโข่ง ของเหลว จะเข้าไปในปลอก ตกลงบนใบพัดที่ตาของใบพัด หมุนวนตามแนวแกน และหมุนออกไปด้านนอก ในแนวรัศมีจนกว่าใบพัดจะเข้าสู่ส่วนกระจายของปลอก ในขณะที่ผ่านใบพัดนั้น ของเหลว จะได้รับทั้งความเร็ว และความดันไปพร้อม ๆ กัน

ข้อดี-ข้อเสียของปั๊มหอยโข่ง
ปั๊มหอยโข่ง(Centrifugal Pump) สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถานที่ต่าง ๆ เกือบทุกประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการสูบน้ำแบบทั่วไป เพื่อการอุปโภคบริโภค การสูบระบายน้ำเสีย ตามแหล่งชลประทาน และการส่งสารเคมี เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต แต่ว่าทำไมปั๊มประเภทนี้ ถึงใช้ได้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เรามาดูข้อดี-ข้อเสีย ของปั๊มประเภทนี้กัน ดังนี้
- ปั๊มหอยโข่งง่ายต่อการซ่อมบำรุง
แน่นอนว่าการที่เราลงทุนซื้ออุปกรณ์ที่สำคัญสักหนึ่งชิ้น ก็อยากจะให้มันอยู่กับเราไปนาน ๆ ไม่เสียได้เลยยิ่งดี แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์เหล่านั้น ทำให้เราต้องซื้อใหม่อยู่เรื่อย ๆ นั่นเอง แต่ปั๊มหอยโข่งมีส่วนประกอบที่น้อย และแต่ละส่วนมีอายุการใช้งานที่ไม่เท่ากัน เราจึงสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานของปั๊มได้นั่นเอง
- ปั๊มหอยโข่งประหยัด
เนื่องจากปั๊มหอยโข่ง มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างน้อยกว่าปั๊มประเภทอื่น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้ราคาขายลดลง และประหยัดการลงทุนของลูกค้าด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังประหยัดในเรื่องของพื้นที่ติดตั้ง และการถ่ายเทพลังงานอีกด้วย
- ปั๊มหอยโข่งรองรับการไหลได้มาก
สำหรับงานไหน ที่ต้องการการไหลมาก โดยที่แรงดันไม่สูงมาก ปั๊มประเภทนี้ ถือว่าตอบโจทย์ เพราะปั๊มหอยโข่ง รับพลังงานโดยตรงจากมอเตอร์ เพื่อถ่ายเทไปให้ของเหลว ในรูปแบบของแรงเหวี่ยง จากการหมุนทำให้ของเหลว สามารถไหลได้ในปริมาณที่เยอะขึ้นนั่นเอง
- ปั๊มหอยโข่งไม่รองรับของเหลวที่หนืด
ข้อเสียแรกของปั๊มหอยโข่ง คือ ค่าความหนืด (Viscosity) เป็นคุณสมบัติเฉพาะของของเหลวชนิดต่าง ๆ หรือรู้จักกันในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า แรงต้านทานการไหลภายใน ซึ่งทำให้ต้องใช้พลังงาน ในการเคลื่อนย้ายที่มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ส่งผลให้การถ่ายเทพลังงาน แบบหมุนเหวี่ยงของปั๊มหอยโข่ง มีประสิทธิภาพที่ลดลง และอาจทำให้ตัวปั๊มเสียหายได้ ถ้าใช้กับของเหลวที่มีค่าความหนืดมากเหล่านี้
- ปั๊มหอยโข่งไม่รองรับระบบที่มีแรงดันสูง
เพราะปั๊มหอยโข่ง มีการออกแบบการถ่ายเทพลังงานแบบต่อเนื่อง ทำให้พลังงานส่วนใหญ่ ถูกถ่ายเทไปที่การไหลมากกว่าแรงดัน จึงเกิดการออกแบบปั๊มน้ำหอยโข่ง แบบหลายใบพัดขึ้น เพื่อเพิ่มทำให้เป็นการเพิ่มพลังงานของของเหลวขึ้นนั่นเอง
ปั๊มหอยโข่ง ปั๊มจุ่ม ปั๊มอัตโนมัติ ปั๊มบาดาล ต่างกันอย่างไร?
1. ปั๊มอัตโนมัติ หรือปั๊มบ้าน (Automatic pumps)
การใช้งาน : ปั๊มน้ำตามบ้านเรือน ที่พักอาศัยทั่วไป เพื่อปั๊มน้ำจากแท็งก์ หรือระบบน้ำประปาเข้าไปใช้ในบ้าน
ปั๊มอัตโนมัติ ช่วยให้อุปกรณ์ที่ใช้น้ำในบ้าน มีน้ำไหลแรงขึ้น และแรงดันคงที่ หลาย ๆ คน อาจจะเคยประสบปัญหาน้ำไม่ไหล เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุด เครื่องทำน้ำร้อนเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น หรือใช้น้ำล่างแต่ชั้น 2 น้ำไม่ไหล ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะแรงดันน้ำในบ้านน้อย หรือไม่สม่ำเสมอนั่นเอง
หลักการทำงานของปั๊มอัตโนมัติ คือ ปั๊มจะเปิด-ปิดอัตโนมัติ ตามการเปิดใช้งานน้ำ ปั๊มจึงไม่ควรทำงานอยู่ตลอดเวลา ทันทีที่เปิดก๊อก ปั๊มน้ำจะทำงาน พอเลิกใช้งาน น้ำปั๊มก็หยุดทำงาน สามารถต่อปั๊มน้ำเข้ากับแท็งก์น้ำในบ้าน หรือระบบน้ำประปาโดยตรงก็ได้
2. ปั๊มหอยโข่ง หรือปั๊มเกษตร (Centrifugal pumps)
การใช้งาน : ดูดน้ำจากแหล่งน้ำจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งไกล ๆ มักใช้ในพื้นที่เกษตรเป็นหลัก สามารถต่อกับระบบสปริงเกอร์ ระบบน้ำหยด หรือระบบให้น้ำอื่น ๆ ได้ด้วย
ปั๊มหอยโข่งนั้น มีไว้สำหรับสูบน้ำปริมาณที่มาก หรือแรงส่งสูง ๆ ส่งน้ำไปไกล ๆ จากแหล่งน้ำหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งมา จะสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือน้ำประปาก็ได้ เช่น คลอง บ่อ บึง เป็นต้น หรือสูบน้ำในแนวดิ่งมาพักน้ำในบ่อ แท็งก์ บนอาคารสูงได้ น้ำที่ได้ จะไม่สะอาดมาก อาจมีตะกอนดิน โคลน และเศษสิ่งสกปรกได้ ปั๊มหอยโข่งไม่สามารถสูบน้ำที่ข้นมาก ๆ หรือมีตะกอนขนาดใหญ่ ๆ ได้
สามารถใช้ปั๊มหอยโข่งต่อกับระบบสปริงเกอร์ ระบบน้ำหยด และการให้น้ำต่าง ๆ ในสวนได้ หรือสูบน้ำไปพักไว้บนแท็งก์ชั้น 2 ของบ้านก็ได้
3. ปั๊มจุ่ม หรือปั๊มไดโว่ (Submersible Pump)
การใช้งาน : ปั๊มสำหรับสูบน้ำจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือสูบน้ำเข้าออกนั่นเอง
ปั๊มจุ่ม หรือปั๊มไดโว่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งอะไรถาวร ใช้สูบน้ำ ย้ายน้ำ จากบ่อหนึ่งไปบ่อหนึ่ง สูบน้ำออกจากหลุม ส่วนใหญ่ มักใช้ในช่วงน้ำท่วม สูบน้ำท่วมขังออกจากบ้าน
ปั๊มจุ่ม แบ่งเป็น 2 ประเภท แบ่งตามลักษณะน้ำ ที่ต้องการสูบ ได้แก่ ปั๊มจุ่มน้ำสะอาด และปั๊มจุ่มน้ำสกปรก
- ปั๊มจุ่มน้ำสะอาด จะยอมให้อนุภาคเล็กๆ ไม่เกิน 2 มม. เข้ามาในระบบน้ำได้ เหมาะสำหรับใช้ทำระบบน้ำพุ และระบบน้ำตกภายในสวนตกแต่ง
- ปั๊มจุ่มน้ำสกปรก ใช้ดูดน้ำเสีย ที่มีตะกอนขนาดใหญ่ถึง 30 มม. เช่น ตะกอนดิน ตะกอนขี้ปลา ตะกอนต่าง ๆ จากน้ำท่วมขัง แต่ไม่สามารถใช้กับน้ำปูนซีเมนต์ น้ำยางพารา และน้ำร้อนจัดได้
4. ปั๊มบาดาล หรือปั๊มซับเมอร์ส (Submersible Pump)
การใช้งาน : สูบน้ำจากบ่อบาดาล เน้นการสูบน้ำแนวดิ่ง จากบ่อบาดาลขึ้นมาปากบ่อบาดาล
ปั๊มบาดาล สามารถหย่อนลงไปในบ่อบาดาลลึก ๆ ได้ โดยปากบ่อต้องกว้าง 4 นิ้วขึ้นไป ปั๊มบาดาล ทำหน้าที่สูบส่งน้ำขึ้นตามท่อมาบนปากบ่อ ระยะสูบส่งน้ำของปั๊มบาดาล ขึ้นอยู่กับจำนวนของใบพัดน้ำ ถ้าใบพัดน้ำยิ่งมาก ยิ่งสามารถสูบส่งน้ำได้ขึ้นมาไกล โดยเน้นการสูบส่งขึ้นมาในแนวดิ่ง
สำหรับใครที่กำลังมองหาปั๊มน้ำหอยโข่งไว้ใช้ ลองเลือกซื้อตามคุณสมบัติที่ต้องการใช้งาน จะได้เครื่องปั้มน้ำที่มีมาตรฐาน ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังนั่นเอง บทความหน้าจะมีอะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันนะ ^^
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
- ปั๊มน้ำ คืออะไร? เลือกอย่างไรไว้ใช้ที่บ้าน
- ซ่อมปั๊มน้ำ ตรวจเช็คด้วยตัวเองได้ ไม่ง้อช่างประปา
- รู้จัก มิเตอร์น้ำ อุปกรณ์สำคัญของบ้านการใช้งานเป็นอย่างไร?
- อุปกรณ์ประปา เครื่องมือติดตั้งและซ่อมแซม มีอะไรบ้าง?
- แชร์เทคนิค ประหยัดน้ำ เชฟเงินอย่างง่ายแค่ปรับวิธีใช้น้ำ
- รู้จักกับ เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
เราขอแนะนำ ปั๊มลม เครื่องปั๊มลม อเนกประสงค์ สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน
ปั๊มลม เครื่องปั๊มลม อเนกประสงค์ ????????
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025