รู้จักกับ ผนังกันไฟ คืออะไร? คุณสมบัติ ผนังทนไฟ และการใช้งานที่ควรรู้

นอกจากผนังบ้าน ผนังปูนปกติแล้ว ยังมีผนังอีกประเภท ที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจ และอยากทำความรู้จัก นั่นคือ ผนังกันไฟ หรือ ผนังทนไฟ ผนังทนไฟ ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในงานก่อสร้าง เป็นตัวช่วยชะลอ และป้องกันการแพร่กระจายของไฟได้ดี เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ดังนั้นการสร้างโรงงาน โกดัง อาคารทุกประเภท จึงจำเป็นต้องมีผนังกันไฟบริเวณบันไดหนีไฟ และตามจุดสำคัญต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง

บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ผนังกันไฟ ผนังทนไฟ ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ตามไปอ่านกันได้เลย

รู้จัก ผนังกันไฟ

ผนังกันไฟนั้น คือ โครงสร้างที่ใช้สำหรับสิ่งปลูกสร้างจำพวกโรงงานอุตสาหกรรม ตามบันไดหนีไฟในอาคารต่าง ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อชะลอการแพร่กระจายของความร้อนที่เกิดขึ้นจากเปลวไฟ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ และผนังทนไฟ กันไฟที่ได้มาตรฐาน จะทำให้ผู้อยู่อาศัย มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย

230707-Content-รู้จักกับ-ผนังกันไฟ-ผนังทนไฟ-02

ผนังทนไฟประกอบไปด้วย อิฐ ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร ไม่มีรู หรือช่องที่ทำให้ควันไฟสามารถลอดผ่านได้ นอกจากอิฐแล้ว วัสดุที่สามารถใช้ทำผนังทนไฟได้ คือ ผนังทึบแสงที่ทำจากวัสดุทนความร้อน มีคุณสมบัติในการป้องกันไฟได้ดีเท่ากับผนังที่ก่ออิฐธรรมดา หากเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตร และมีอัตราทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาทีด้วย

การใช้ผนังกันไฟ มีการบังคับใช้ตามกฎหมายด้วย ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ระบุว่า “ผนังของตึกแถว บ้านแถว ไม่ว่าจะสูงกี่ชั้นก็ตาม ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ หมายความว่า ต้องก่อด้วยอิฐธรรมดา หรือคอนกรีตเสริมเหล็กหนาไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร นอกจากนั้นทุก ๆ 5 คูหาของตึกแถว บ้านแถว จะต้องเป็นผนังกันไฟ ต่อเนื่องจากระดับพื้นดินถึงระดับดาดฟ้า กรณีที่เป็นหลังคา ที่สร้างด้วยวัสดุไม่กันไฟ ต้องมีผนังกันไฟสูงเหนือหลังคาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร” ดังนั้น สิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรืออาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีผนังกันไฟตามกฎหมาย เพื่อความถูกต้อง และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเช่นเดียวกัน

วัสดุผนังกันไฟ มีกี่ประเภท

วัสดุกันไฟ ทนไฟนั้น นอกเหนือจากผนังก่ออิฐแบบทั่วไป ยังมีวัสดุประเภทที่ใช้กันไฟ และเป็นฉนวนกันความร้อนด้วย จะมีอะไรบ้าง และแบบไหนจะทนความร้อนได้ดีที่สุด ดังนี้

  • ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่น มีพื้นผิวเรียบ และมีความเหนียว จึงทำให้คงทนไม่ฉีกขาดง่าย มีค่าแผ่รังสีความร้อนของผิวอลูมิเนียมต่ำ และมีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนได้ดี  หากเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ทั้ง 2 ด้าน จะสามารถสะท้อนความร้อนได้สูงถึง 95-97% มักจะนิยมติดตั้งบริเวณของโครงหลังคา และควรใช้งานร่วมกับฉนวนประเภทอื่น ๆ เพื่อเสริมคุณสมบัติกันความร้อนด้วย

  • ข้อดี คือ มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ สามารถสะท้อนความร้อนสูงสุด 97% เหนียว แข็งแรง คงทน เป็นฉนวนกันความร้อน ที่ไม่มีสารระคายเคืองต่อมนุษย์ และทนทานต่อความชื้นได้ดี แถมราคาประหยัด หาซื้อง่าย
  • ข้อเสีย คือ ไม่สามารถป้องกันเสียงได้ และไม่สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้
  • ฉนวนใยเซลลูโลส (Cellulose)

เป็นฉนวนป้องกันความร้อนใยเซลลูโลส โดยนำเยื่อไม้ หรือเยื่อกระดาษที่ใช้แล้วมาย่อยจนละเอียด ผ่านกระบวนการรีไซเคิลผสมเคมี และประสานเข้ากับบอแร็กซ์ เพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด มีให้เลือก 3 รูปแบบ ได้แก่ ลักษณะแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่น แบบคลุม และแบบฉีดพ่น ฉนวนประเภทนี้ มักจะถูกนำมาประยุกต์ใช้งานผนังห้อง ผนังของอาคาร รวมถึงใต้หลังคาอาคาร เป็นต้น

  • ข้อดี คือ สามารถกันความร้อนได้ดี ช่วยลดการก้อง เสียงสะท้อนได้ เป็นฉนวนกันความร้อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
  • ข้อเสีย คือ มีโอกาสยุบตัว เพราะเป็นฉนวนรูปแบบพ่น การควบคุมความหนาแน่นอาจไม่ได้ตามมาตรฐาน ไม่ทนต่อน้ำและความชื้นในอากาศ ทำให้มีโอกาสหลุดล่อนได้ และเป็นเส้นใยธรรมชาติ สามารถติดไฟได้
230707-Content-รู้จักกับ-ผนังกันไฟ-ผนังทนไฟ-03
  • ฉนวนโพลียูริเทน (Polyurethane)

วัสดุกันไฟโพลียูริเทน หรือ PU Foam เป็นเทคโนโลยีการฉีดโฟม เพื่อป้องกันความร้อน ฉนวนชนิดนี้ มีความหนาแน่น และมีเนื้อละเอียด ภายในมีช่องอากาศเป็นโพรงจำนวนมาก  สามารถแนบไปกับแผ่นใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี มี 2 รูปแบบ คือ แบบสำเร็จรูปที่มาพร้อมกับแผ่นหลังคา และ แบบโฟมสำหรับฉีดพ่น มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนดีที่สุด หากเทียบกับฉนวนประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีปัญหาเรื่องระบายความร้อน

  • ข้อดี คือ ป้องกันความร้อนได้ดีที่สุด ป้องกันการรั่วซึมความชื้น และป้องกันสนิมได้ มีเนื้อที่ละเอียด สามารถแนบไปกับแผ่นใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี ใช้ได้กับหลังคาทุกประเภท เช่น กระเบื้อง สังกะสี อลูมิเนียม คอนกรีต และ เหล็ก ป้องกันเสียงรบกวน รองรับน้ำหนักได้ดี สามารถหุ้มผนังห้องเย็นได้ทุกด้าน และฉนวนโพลียูริเทนแบบโฟมสำหรับฉีดพ่น สามารถนำไปฉีดพ่นไว้บริเวณใต้หลังคาเก่าได้อีกด้วย
  • ข้อเสีย คือ สามารถติดไฟได้ แต่ไม่เกิดการลุกลามของไฟ มีโอกาสเกิดควันพิษ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ฉนวนอาจเปลี่ยนสภาพได้ เมื่อโดนความร้อนจัด
  • ฉนวนแคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate)

มีลักษณะเป็นผงอัดเป็นแผ่นสำเร็จ วัสดุด้านในประกอบไปด้วย ทราย ซิลิเซียส น้ำปูนขาว และเส้นใยเพื่อเพิ่มการเสริมแรง ไม่มีส่วนผสมของใยหิน (Asbestos) จึงไม่ทำให้เกิดสารพิษ มีทั้งแบบเป็นใยแร่ และเส้นใยสังเคราะห์ จุดเด่น คือ สามารถปรับค่าอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็วตามสภาพอากาศ มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน และทนไฟ สามารถทาสีทับได้ มักนำมาใช้งานสำหรับติดตั้งเป็นผนัง ส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม

  • ข้อดี คือ ต้านทานความร้อน และทนไฟ ไม่มีส่วนผสมของใยหิน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดูดซับเสียงได้ดี มีความหนาแน่นสูง รับแรงกระแทกได้ดี และสามารถตัดต่อ และทาสีทับได้
  • ข้อเสีย คือ มีการดูดซึมน้ำสูง ไอน้ำสามารถแทรกซึมได้ง่าย และมีน้ำหนักมาก
  • ฉนวนใยแก้ว (Microfiber)

ทํามาจากวัสดุที่เป็นแก้ว หรือเศษแก้ว นํามาหลอมเป็นเป็นเส้นใยไฟเบอร์ละเอียดขนาดเล็ก มีโครงสร้างเป็นรูพรุน สามารถช่วยระบายความร้อนที่ผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี มักนำไปใช้งานในรูปแบบของผนังสำเร็จรูปไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติป้องกันเสียงรบกวน มีน้ำหนักเบา และทนทานต่อแรงดึงได้ดี เมื่อถูกกดทับสามารถคืนตัวได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญ สามารถป้องกันความชื้น ไม่ลามไฟ และหากนำมาใช้งานจะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับตัวอาคารได้

  • ข้อดี คือ มีคุณสมบัติการนำความร้อนต่ำ จึงช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวอาคาร ดูดซับเสียงได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง มีน้ำหนักเบา ทนทาน ไม่เสื่อมสภาพ และป้องกันแมลง หรือเชื้อราได้ดี
  • ข้อเสีย คือ ไม่มีคุณสมบัติกันลามไฟ เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่เหมาะกับการใช้งานในที่เปิดโล่ง

ผนังกันไฟสำหรับโรงงาน เลือกแบบไหนดี

  • ผนังกันความร้อน EPS Foam หรือผนังโฟมขาว

ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ห้องเย็น มีคุณสมบัติ คือ กันความร้อน รักษาอุณหภูมิได้ดี เป็นผนังทนไฟได้ โดยการเติมสารเคมีหน่วงไฟ (Fire Retardant) และมีราคาถูก แต่มีข้อเสีย คือ เมื่อเกิดอัคคีภัยผนัง EPS Foam จะติดไฟ แต่จะหน่วงไฟไว้ได้เพียงไม่กี่นาที เมื่อเกิดการลามไฟ ยุบตัว และเสียโครงสร้างจนทำให้อาคารถล่มลงมาได้ มีค่าดูดซับน้ำสูงกว่าฉนวนชนิดอื่น ๆ ส่งผลค่าความเป็นฉนวนลดลง เปลืองค่าไฟ และเสี่ยงฝ้าถล่มก่อนเวลา จากปัญหาความชื้นสะสมทำให้แผ่นฉนวนมีน้ำหนักมากเกินนั่นเอง

  • ผนังกันความร้อน PU Foam หรือผนังโฟมเหลือง

มีคุณสมบัติ คือ กันความร้อนได้ดี รักษาอุณหภูมิ สามารถทนไฟ ได้เพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่มีข้อเสีย คือ เมื่อเกิดอัคคีภัยจะเกิดควันดำเยอะมาก เป็นสาเหตุที่ทำให้คนสำลักควันตายได้

  • ผนังทนไฟ 2 ชั่วโมง PIR FIWall i370

เป็นผนังกันไฟที่มีประสิทธิภาพดีกว่าชนิดอื่น ๆ คือ สามารถทนไฟได้นาน ช่วยปกป้องชีวิต และทรัพย์สินของผู้ประกอบการให้ปลอดภัยจากไฟไหม้ได้ PIR แท้ ๆ FIWall i370 ที่มีค่า Index มากถึง 370 กันไฟ ไร้ควัน ทนไฟได้นานกว่า 2 ชั่วโมง ผ่านการทดสอบมาตรฐานการกันไฟระดับโลก FM Approvals จากสหรัฐอเมริกา นิยมใช้งานเป็นผนังห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ทนความเย็นที่อุณหภูมิต่ำสุดถึง 60 องศาเซลเซียส ควบคุมอุณหภูมิความเย็นเต็มประสิทธิภาพสูงสุด ทนความร้อนได้สูงสุดถึง 100 องศาเซลเซียส สำหรับห้องอบร้อน หรือห้องที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิความร้อน

  • ผนังทนไฟ 4 ชั่วโมง Rockwool WALLROC

มีประสิทธิภาพ คือ เป็นผนังทนไฟ ผนังกันไฟ ไม่ติดไฟ สามารถทนไฟได้นานกว่า 4 ชั่วโมง ผ่านการทดสอบมาตรฐาน FM Approvals สามารถดูดซับกันเสียง และช่วยลดการสะท้อนของเสียง นิยมใช้เป็นแผ่นฉนวนทนไฟ กันไฟ ในอุตสาหกรรม ห้องไลน์ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานผลิตยางรถยนต์ หรือห้องอื่น ๆ ที่ต้องการความปลอดภัยจากอัคคีภัยเป็นพิเศษ ไม่เหมาะสำหรับใช้งานในห้องที่มีความชื้นสูง เพราะเส้นใย Rockwool มีค่าดูดซับน้ำสูง กว่าฉนวน PS PU และ PIR

ผนังกันไฟดีอย่างไร?

เรียกได้ว่า เป็นโครงสร้างสำคัญที่ต้องมีในสิ่งปลูกสร้าง มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ หรืออาคารที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และอาคารเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่สามารถเกิดเหตุได้ง่ายที่สุด เพราะอาจจะมีวัสดุไวไฟ ที่อาจทำให้เชื้อเพลิงสามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น ผนังกันไฟ จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นต้องมี เพื่อชะลอการแพร่กระจายของเพลิงไฟ และช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินได้ สำหรับการเลือกใช้ผนังกันไฟ ควรเลือกจากระดับความหนา ยิ่งมีความหนามากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายได้ดีเท่านั้น

จบไปแล้วผนังกันไฟ หรือผนังทนไฟ ที่เรานำมาฝากกัน เรียกได้ว่ามีหลายประเภท แต่คุณสมบัติก็แต่ต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ผนังกันไฟนั้น ถือมีความจำเป็นมาก ๆ ในงานก่อสร้างโกดัง โรงงาน อาคารต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุอัคคีภัยนั่นเอง หวังว่าบทความนี้คงให้ประโยชน์แต่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูลจาก vkb.co.th, wtg.co.th