❝ พื้นไม้ลามิเนต เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคสมัยนี้ เพราะด้วยความที่มันติดตั้งง่าย มีความทนทานและมีลวดลายที่สวยงาม สามารถเลือกได้ว่าเราต้องการให้ลวดลายของไม้ลามิเนตออกมาแบบไหน ราคาถูกกว่าไม้จริง

วันนี้ KACHA มีความรู้เรื่อง พื้นไม้ลามิเนต มาแชร์กัน


ลามิเนต มีองค์ประกอบหลายอย่างที่รวมเข้าด้วยกัน เช่น ผงไม้ที่อัดตัวจนกลายมาเป็นแผ่นไม้ และผิวหน้าที่ทำลวดลายได้หลายแบบ ทั้งหมดถูกนำมารวมกันจึงเรียกว่าพื้นไม้ลามิเนต ผิวชั้นบนสุดของพื้นไม้ลามิเนตถูกเคลือบด้วย UV และกันรอยต่าง ๆ ผิวชั้นกลางใส่ Fiberboard มีความแน่น เพื่อใช้สำหรับรองรับน้ำหนักและแรงกดต่าง ๆ ที่มาจากการใช้งาน คลิกล็อกตรงส่วนลิ้นของพื้นไม้ลามิเนตถูกออกมา เพื่อการติดตั้งได้ง่ายโดยเฉพาะ คือ ปัจจัยหลักที่ทำไมพื้นไม้ลามิเนต ถึงกลายเป็นที่นิยมในสมัยนี้มากกว่าพื้นไม้จริงที่มีราคาสูงและติดตั้งได้ยากกว่านั้นเอง

210816-Content-พื้นไม้ลามิเนตคืออะไร--มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร-02

ขอบคุณภาพจาก : www.dongjiacn.com/product/Laminate-floor-structure.html


ลักษณะของพื้นไม้ลามิเนต

ความหมายของคำว่า ลามิเนต หมายถึง เป็นชั้น ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พื้นไม้ลามิเนตเองก็มีลักษณะเป็นชั้น ๆ เช่นกัน ประกอบไปด้วย

???? ชั้นแกนหลัก (Substrate Layer / Core Board) จะผลิตจากเส้นใย หรือชิ้นไม้ย่อย ๆ ผสมกาวและสารเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ นำมาบีบอัดเข้าด้วยกันด้วยความร้อน และแรงดันสูงให้เป็นแผ่น

???? ชั้นแผ่นรองพื้น (Backing Layer / Stabilizing Film) จะอยู่ใต้ชั้นแกนหลัก มีหน้าที่ช่วยป้องกันความชื้นจากพื้นคอนกรีต ที่จะส่งผลต่อความแข็งแรงของแผ่นไม้

???? ชั้นลวดลายไม้ (Pattern Layer)  มีลักษณะเป็นแผ่นวัสดุพิมพ์ลายไม้ปิดทับด้านบน

???? ชั้นเคลือบผิว (Overlay หรือ Wear Layer) เคลือบผิวชั้นบนสุดด้วยวัสดุป้องกันรอยขีดข่วน

โดยขนาดของพื้นไม้ลามิเนตแต่ละแผ่น มักมีขนาดเทียบกับไม้จริง คือ หน้ากว้างประมาณ 4”, 6” และ 8” ยาวประมาณ 1.20-1.80 ม. มีหลายความหนาให้เลือกใช้ แต่ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปได้แก่ 8 มม. และ 12 มม.


ประเภทของพื้นไม้ลามิเนต

พื้นไม้ลามิเนต จะมีทั้งที่ติดตั้ง แบบเข้าลิ้น เหมือนไม้พื้นทั่วไป กับอีกแบบหนึ่งซึ่งติดตั้งได้สะดวกรวดเร็วกว่า คือ แบบ Click Lock โดยใช้ระบบล็อกเชื่อมต่อกันระหว่างแผ่นไม้  นอกจากนี้พื้นไม้ลามิเนต ยังมีทั้งแบบ MDF และ HDF ซึ่งแตกต่างกันที่ความหนาแน่นของไม้ โดย MDF (ย่อมากจาก Medium Density Fiberboard) มีความหนาแน่นที่ 600-800 kg./m3 ส่วน HDF (ย่อมาจาก High Density Fiberboard) จะมีความหนาแน่นเกิน 800 kg./mด้วยความที่ HDF ซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่า จึงมีความทนทาน รับแรงกระแทกได้ดี และมีอัตราการขยายตัวจากความชื้นน้อยกว่า

210816-Content-พื้นไม้ลามิเนตคืออะไร--มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร-03


พื้นไม้ลามิเนตในท้องตลาดยังมีหลายมาตรฐาน สำหรับ ลามิเนต คุณภาพสูงจะมี Core Board หนาแน่นมาก ผิวหน้าแข็งแรงไม่บวมง่าย มีการเคลือบกันน้ำอย่างดีไม่เว้นแม้แต่ส่วนของร่องลิ้น ลามิเนต คุณภาพปานกลางจะมี Core Board ที่หนาแน่นน้อยกว่าพื้นไม้ลามิเนตคุณภาพสูง แต่ผิวหน้าจะแข็งแรงพอสมควร ในขณะที่พื้นไม้ลามิเนตคุณภาพต่ำส่วน core board จะมีความหนาแน่นน้อยและผิวหน้าบวมง่าย เมื่อโดนน้ำ

นอกจากนี้ พื้นไม้ลามิเนตยังมีการแบ่งระดับค่าความคงทนของผิวหน้าพื้นไม้ ที่เรียกว่า ค่า AC Rating (Abrasion Resistance Class) ซึ่งเป็นไปตามลักษณะการใช้งาน โดยมีระดับตั้งแต่ AC1 ไปจนถึง AC5 อีกด้วย โดยค่ายิ่งสูง ก็ยิ่งมีความคงทนต่อรอยขีดข่วน และแรงกระแทกนั่นเอง


ข้อดีของพื้นไม้ลามิเนต

1) ทนทาน เนื่องจากไม้ลามิเนต ผลิตโดยการบีบอัดไม้ด้วยความดันสูง จึงมีความทนทานต่อแรงกดและแรงกระแทก ทั้งยังมีผิวหน้าที่ทนต่อรอยขีดข่วนมากกว่าไม้จริง ทนความร้อนจากขี้เถ้าบุหรี่ แสงแดด

2) สวยงาม ใช้งานดี พื้นไม้ลามิเนตมีความสวยงามใกล้เคียงไม้จริง มีลวดลายสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งผิวสัมผัสแบบเรียบและผิวขรุขระเลียนแบบไม้ สีไม่ซีดง่าย พื้นผิวไม่ลื่น มีน้ำหนักเบา

3) ติดตั้ง ดูแลรักษาง่าย การติดตั้งสามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ใช้งานได้ทันทีเมื่อติดตั้งเสร็จ และยังง่ายต่อการดูแลรักษา โดยสามารถเช็ดทำความสะอาดคราบเปื้อนได้ง่าย และไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค นอกจากนี้พื้นไม้ลามิเนตโดยทั่วไปมักมีราคาถูกกว่าไม้จริง

4) ราคาถูกกว่าไม้จริง เนื่องจากพื้นไม้ลามิเนตในท้องตลาดมีหลายมาตรฐาน หลายราคา โดยส่วนของวัสดุ (ไม่รวมค่าติดตั้ง) จะมีราคาตั้งแต่ตารางเมตรละ 300 บาท ไปจนถึง 2,000 บาท ตามระดับคุณภาพให้เลือกซื้อ


ข้อเสียของพื้นไม้ลามิเนต

1) ลวดลายซ้ำกัน เนื่องไม้ลามิเนต เป็นลวดลายที่เกิดจากการผลิตในโรงงาน ดังนั้น ไม้พื้นบางแผ่นจะมีลวดลายซ้ำกัน ซึ่งอาจปรากฏให้เห็นในพื้นที่ขนาด 1×1 หรือ 2×2 ตารางเมตรได้ ขึ้นอยู่กับความละเอียดในการจัดวางแพทเทิร์นของช่างปู

2) ไม่ทนต่อความชื้น เนื่องจากพื้นไม้ลามิเนต ไม่สามารถทนต่อความชื้น หรือการขังของน้ำได้  จึงควรใช้กับพื้นภายในบ้านเท่านั้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้งานตำแหน่งที่มีความชื้นสูง อย่างบริเวณใกล้ห้องน้ำ หรือประตูหน้าต่างที่เสี่ยงต่อการรั่วซึม หากพื้นไม้ลามิเนตโดนน้ำจะต้องรีบเช็ดทำความสะอาดทันที เพราะถึงแม้ผิวหน้าที่เคลือบไว้จะไม่ดูดซึมน้ำ แต่น้ำอาจจะไหลลงร่องไม้ไปโดน Core Board ด้านในจนเกิดอาการบวมและเสียหายได้ พื้นไม้ลามิเนต จึงไม่เหมาะกับการทำความสะอาดด้วยการล้างหรือขัด หากต้องการเช็ดถู ควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ไม่เปียกชุ่ม  หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับพื้นลามิเนตโดยเฉพาะ

3) มีข้อจำกัดเรื่องการติดตั้ง เนื่องจากไม้ลามิเนต ต้องติดตั้งบนพื้นเรียบเสมอกัน หากพื้นผิวที่ติดตั้งต่างระดับเล็กน้อย (ไม่เกิน 5 มม.) อาจเลือกใช้พื้นไม้ลามิเนตหนา 12 มม. แต่หากมีระดับที่ต่างกันเกิน 5 มม. ควรทำการปรับระดับให้เรียบร้อยก่อนติดตั้ง มิเช่นนั้นพื้นจะยุบตัว และเกิดเสียงดังขณะใช้งาน ไม่ควรติดตั้งพื้นไม้ลามิเนตทับวัสดุปิดผิวเดิมที่ไม่แน่นหนา แตกร้าว หลุดล่อน หรือวัสดุที่ยุบตัวง่าย เช่น พรม ในการติดตั้งไม้พื้นลามิเนต


รู้จักพื้นไม้ลามิเนตกันดีแล้ว อย่างที่บอกว่า ลามิเนต ไม่ได้มีเเต่ข้อดีเท่านั้น เผลอ ๆ อาจมีข้อเสียเยอะกว่าก็เป็นได้ การดูเเลทำความสะอาดก็ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องความชื้นที่ไม่ถูกกันอย่างเเรง ดังนั้น ถ้าบ้านใครที่ปูหรือคิดจะปูพื้นด้วยลามิเนตแล้วล่ะก็ต้องเน้นเรื่องนี้ไว้ให้ดีเลย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<