มัลติมิเตอร์ คืออะไร?
มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ตัวเครื่องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเท่าฝ่ามือ ใช้สำหรับวัดค่า หรือตรวจสอบสภาพการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีการใช้งานกันโดยทั่วไป เช่น งานอุตสาหกรรม งานรถยนต์ งานซ่อมบำรุงไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ โดยมัลติมิเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล และมิลเตอร์แบบอนาล็อก
ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมีลักษณะการแสดงผล มีรูปร่าง และฟังก์ชั่นการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะการใช้งานโดยรวมแล้วสามารถใช้วัดได้ทั้งโวลท์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ หรือโอห์มมิเตอร์ รวมทั้งมีคุณสมบัติการทำงานที่สามารถตรวจวัดปริมาณไฟฟ้า วัดแรงดันไฟฟ้าทั้งกระแสตรง และกระแสสลับได้ มีความละเอียดแม่นยำในการอ่านค่า แข็งแรงทนทาน มีขนาดกะทัดรัดพกพาไปใช้งานได้สะดวกสบาย การเลือกใช้มัลติมิเตอร์ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการวัดค่าผิดพลาด และเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
มัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน บางคนชอบแบบเข็มชี้ เพราะว่ามองเห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างชัดเจน ต่างกับแบบดิจิตอล ซึ่งตัวเลขจะวิ่ง สังเกตค่าตัวเลขที่แน่นอนได้ยาก ยกเว้น Digital multimeter บางรุ่นที่สามารถอ่านค่าตัวเลขออกมาได้ทันที สะดวกสบายไม่ต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ว่าวัดถูก หรือผิดเพราะว่ามีเครื่องหมาย บอกให้เสร็จ ส่วนแบบแอนาลอก จะมีปัญหาเรื่องนี้ และการไม่เป็นเชิงเส้น (Non-linear) ของสเกลด้วย
แอมป์มิเตอร์ (Amp Meter) | โอห์มมิเตอร์ (Ohm Meter) |
---|---|
แอมป์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดที่ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้า ซึ่งทำการได้ 2 แบบ คือ แบบต่ออนุกรมกับวงจรไฟฟ้า กับการวัดแบบใช้หม้อแปลงกระแส หรือ CT (Current Transformer) โดยกระแสไฟฟ้าที่สามารถวัดได้นั้นจะมีอยู๋ 2 แบบ คือ กระแสเอซี AC และกระแสดีซี DC มีหน่วยการวัดเป็นแอมป์ (A) | โอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดอุปกรณ์เฉพาะความต้านทาน และมีประโยชน์ต่อเนื่องไปถึงการวัดอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ด้วย เช่น วัดการตัดต่อของสวิตซ์ หน้าสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่ายังดี-เสียได้ด้วย |
ประเภทของมัลติมิเตอร์
-
มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก (Analog Multimeter)
เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่มีลักษณะของหน้าจอที่ต่างจากมิลติมิเตอร์แบบดิจิตอล คือ อ่านค่าจากเข็มชี้บนสเกลเพลทที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอร์ สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้ทั้งค่าแรงดัน ค่ากระแส ค่าความจุ ค่าความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ได้ แต่จะวัดได้ทีละอย่าง มีให้เลือกใช้งานเป็นแบบหมุนบิดเพื่อปรับเลือกค่าที่ต้องการวัด การอ่านค่าของมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกจะทราบปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้จากเข็มชี้บนสเกลเพลทที่มีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม ซึ่งการแสดงค่านั้นสามารถคลาดเคลื่อนได้ และมีความแม่นยำน้อยกว่าแบบมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
-
มัลติมิเตอร์ดิจิตอล (Digital Multimeter)
มัลติมิเตอร์ดิจิตอล หรือมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้หลายประเภท แบบเดียวกับอนาล็อคมัลติมิเตอร์ นอกจากนี้ ยังสามารถวัดปริมาณกระแสสลับ วัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุไฟฟ้า และตรวจสอบไดโอดได้อีกด้วย บางชนิดมีคุณสมบัติการวัดเพิ่มเติม เช่น วัดค่าความจุ วัดความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ บนแผงหน้าของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ยังมีสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety Symbols) กำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลสำหรับเตือนผู้ใช้ให้มีความระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เอง และให้เครื่องมืออยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้เสมอ
-
แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)
แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) หัววัดของแคลมป์มิเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากคีบรูปหยดน้ำขนาดใหญ่ ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา มีหน้าจอ LEDแสดงผลเป็นตัวเลข มีปุ่มปรับหน่วยวัด และปุ่มเปิดไฟ มีขนาดเล็กกะทัดรัดช่วยให้สะดวกต่อการใช้งานในพื้นที่แคบ สามารถใช้วัดแรงดันไฟกระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และอื่นๆ ได้ถูกต้องและแม่นยำ การใช้งานเพียงนำหัววัดแคลมป์มิเตอร์ไปเกี่ยวหรือคล้องกับสายไฟก็สามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย เหมาะสำหรับใช้ตรวจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมและงานติดตั้งไฟฟ้าทุกชนิด
-
มัลติมิเตอร์แบบปากกา
มัลติมิเตอร์แบบปากกา เป็นเครื่องมือตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าที่มีรูปแบบคล้ายปากกา ตัวปากกาจะทำมาจากพลาสติกที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า แสดงผลผ่านหน้าจอ LED มีขนาดเล็ก พกพาติดตัว หรือพกใส่กระเป๋าช่างไฟฟ้าได้สะดวก สามารถใช้งานได้ดีในพื้นที่มืดและแคบ มีฟังก์ชั่นในการตรวจจับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้งานง่ายเพียงนำปลายปากกาเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า จะมีเสียงเตือน หรือไฟกระพริบสีแดงทำให้ตรวจหาจุดที่สายไฟขาด หรือชำรุดได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานไฟฟ้า และงานซ่อมบำรุงทั่วไป
วิธีการอ่านค่ามัลติมิเตอร์ ทำได้อย่างไร?
???? การอ่านค่าบนสวิตช์
(ภาพจาก wikiHow)
- ทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง หรือกระแสสลับ โดยทั่วไป ตัวอักษร V มักหมายถึงค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า ในขณะที่เส้นยึกยือ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสสลับ (พบได้ในวงจรในครัวเรือน) และเส้นตรงหรือเส้นประ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสตรง (พบในแบตเตอรี่ส่วนใหญ่) โดยเส้นเหล่านี้ อาจปรากฏอยู่ถัดจากหรือเหนือตัวอักษร
- การตั้งค่าสำหรับทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับมัก จะมีสัญลักษณ์ V~, ACV หรือ VAC กำกับไว้
- หากต้องการทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ให้ตั้งค่ามัลติมิเตอร์เป็น V–, V—, DCV หรือ VDC
- การตั้งค่ามัลติมิเตอร์ เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่วัดได้มีหน่วยเป็นแอมแปร์ จึงใช้ตัวอักษร A เป็นตัวย่อ โดยให้เลือกเป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือกระแสสลับตามวงจรไฟฟ้าที่กำลังทดสอบ แต่มัลติมิเตอร์แบบเข็มทั่วไปมักไม่สามารถใช้ทดสอบค่ากระแสไฟฟ้าได้
- A~, ACA และ AAC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ
- A–, A—, DCA และ ADC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง
- หาค่าความต้านทาน ค่าความต้านทานจะมีตัวอักษรโอเมกา Ω ในภาษากรีกกำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บอกค่าโอห์ม หรือหน่วยที่ใช้ในการวัดความต้านทานนั่นเอง แต่มัลติมิเตอร์รุ่นเก่า ๆ บางชนิดอาจจะใช้ตัวอักษร R ในการแสดงค่าความต้านทาน
- การใช้ DC+ และ DC- หากมัลติมิเตอร์ของคุณมีการตั้งค่านี้ ให้เลือก DC+ ไว้เสมอ เมื่อทดสอบไฟฟ้ากระแสตรง แต่ถ้ามิเตอร์ไม่แสดงค่าใด ๆ และสงสัยว่า อาจจะต่อขั้วบวกขั้วลบไว้ผิดด้าน คุณก็สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเป็น DC- เพื่อแก้ปัญหาโดยที่ไม่ต้องปรับแต่งสายไฟ
- ทำความเข้าใจสัญลักษณ์อื่น ๆ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าทำไมค่าแสดงแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า หรือความต้านทานถึงต้องมีหลายๆ แบบ ให้ลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับช่วงการวัด (range) จากหัวข้อการแก้ไขปัญหา แต่นอกจากค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้ว มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่มักจะแสดงค่าเพิ่มเติมอีก 2-3 ค่า แต่ถ้าเกิดมีเครื่องหมายกำกับค่าเดียวกันมากกว่า 1 เครื่องหมาย อาจเป็นเพราะมิเตอร์วัดค่าทั้ง 2 ค่าในเวลาเดียวกัน หรืออาจต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือ
- ))) หรือสัญลักษณ์ที่มีเส้นโค้งขนานกันหลายเส้นคล้าย ๆ กันนี้ หมายถึง “การทดสอบความต่อเนื่อง” เมื่อทำการวัดค่านี้ มัลติมิเตอร์ จะส่งเสียงบี๊บเมื่อหัวตรวจสอบ (probe) 2 หัวเชื่อมต่อเข้าด้วยกันทางไฟฟ้า
- ลูกศรชี้ขวาที่มีเครื่องหมายบวกลากผ่านลูกศร หมายถึง “การวัดไดโอด” ใช้สำหรับทดสอบว่ามีการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าทางเดียวหรือไม่
- Hz ย่อมาจาก เฮิรตซ์ (Hertz) เป็นหน่วยสำหรับวัดค่าความถี่ในวงจรกระแสสลับ
- สัญลักษณ์ –|(– หมายถึง ค่าความจุ
- อ่านสัญลักษณ์กำกับช่องต่อ มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่ จะมีช่อง หรือรูต่อ 3 จุดด้วยกัน และบางครั้ง ช่องต่อเหล่านี้ อาจจะมีสัญลักษณ์กำกับไว้ ซึ่งตรงกับสัญลักษณ์ที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ โดยสามารถนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปใช้ในกรณีที่สัญลักษณ์มีความคลุมเครือ
- หัวตรวจสอบสีดำต้องต่อเข้ากับช่องต่อที่มีสัญลักษณ์ COM ซึ่งย่อมาจาก “common” เสมอ (เรียกได้อีกอย่างว่ากราวด์) และปลายอีกด้านของสายวัดสีดำต้องต่อเข้ากับขั้วลบเสมอ
- เมื่อต้องการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือความต้านทาน ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีค่ากระแสไฟฟ้ากำกับต่ำสุด (มักเป็น mA ที่ย่อมาจากมิลลิแอมป์)
- เมื่อต้องการวัดค่ากระแสไฟฟ้า ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีข้อความกำกับว่า สามารถทนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่คาดว่าจะวัดได้ โดยทั่วไป ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ มักมีฟิวส์ป้องกันไฟฟ้า 200mA ในขณะที่ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงสูงจะป้องกันไฟฟ้าได้ถึง 10A
???? การอ่านผลลัพธ์จากมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
(ภาพจาก wikiHow)
- ค้นหาสเกลที่ถูกต้องบนมัลติมิเตอร์แบบเข็ม มัลติมิเตอร์แบบเข็ม จะมีเข็มอยู่ด้านหลังกรอบกระจก โดยเจ้าเข็มนี้ จะเคลื่อนที่ไปมาเพื่อแสดงค่าผลลัพธ์ และมักมีเส้นโค้ง 3 เส้นพิมพ์อยู่ด้านหลังเข็ม เส้นโค้งเหล่านี้ คือ สเกล 3 รูปแบบที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
- สเกล Ω ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน มักเป็นสเกลที่ใหญ่ที่สุด และอยู่ด้านบนสุด โดยมีค่า 0 (ศูนย์) อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ด้านซ้ายเหมือนอย่างสเกลอื่น ๆ
- สเกล “DC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง
- สเกล “AC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ
- สเกล “dB” เป็นตัวเลือกที่มีการใช้งานน้อยที่สุด
- อ่านค่าจากสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามช่วงการวัดของคุณ อย่าลืมตรวจดูสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ดีด้วยว่า เป็นกระแสตรง หรือกระแสสลับ โดยใต้สเกลมักจะมีตัวเลขหลาย ๆ แถวเรียงอยู่ ให้ดูว่าคุณได้เลือกช่วงการวัดใดไว้บนสวิตช์ (เช่น 10 โวลต์) จากนั้น จึงมองหาสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านข้างของแถวเหล่านี้ โดยคุณจะต้องอ่านผลลัพธ์จากแถวนั้น ๆ นั่นเอง
-
ประเมินค่าระหว่างตัวเลข สเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนมัลติมิเตอร์แบบเข็ม จะทำงานเหมือนกับไม้บรรทัดทั่วไป แต่สเกลวัดความต้านทาน จะแสดงค่าในรูปแบบลอการิทึม คือ ระยะห่างที่เท่ากัน หมายถึง ค่าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจุดที่คุณอยู่บนสเกล ในขณะที่เส้นระหว่างตัวเลข 2 ตัวยังคงหมายถึง การแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน เช่น ถ้ามีเส้น 3 เส้นอยู่ระหว่างตัวเลข “50” และ “70” แสดงว่าค่าที่ได้คือ 55, 60 และ 65 แม้ว่าช่องว่างระหว่างตัวเลขจะดูไม่เท่ากันก็ตาม
- นำค่าความต้านทานที่อ่านได้จากมัลติมิเตอร์แบบเข็มมาคูณ ดูช่วงการวัดที่ตั้งค่าไว้บนสวิตช์มัลติมิเตอร์ เพราะเป็นตัวเลขที่เราต้องนำมาคูณกับค่าที่อ่านได้ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่ามัลติมิเตอร์ไว้ที่ R x 100 และเข็มชี้ไปที่ 50 โอห์ม แสดงว่าค่าความต้านทานที่แท้จริงของวงจร คือ 100 x 50 = 5,000
- ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเกล dB สเกล “dB” (เดซิเบล) มักเป็นสเกลที่อยู่ด้านล่างสุด และเล็กที่สุดบนมิเตอร์แบบเข็ม อีกทั้งต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้ใช้งานได้ สเกล dB เป็นสเกลแบบลอการิทึมสำหรับวัดอัตราแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการขยาย หรือการสูญเสีย สเกล dBv ตามมาตรฐานของสหรัฐกำหนดไว้ว่า 0 dbv เท่ากับ 0.775 โวลต์ ซึ่งวัดได้ที่ความต้านทานมากกว่า 600 โอห์ม แต่ก็มีสเกลอื่น ๆ อย่าง dBu, dBm และ dBV (ตัว V พิมพ์ใหญ่) ที่ใช้แพร่หลายไม่แพ้กัน
???? การแก้ไขปัญหา
(ภาพจาก wikiHow)
- กำหนดช่วงการวัด โหมดพื้นฐานแต่ละโหมด (แรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต้านทาน และกระแสไฟฟ้า) จะมีค่ามากมายให้คุณเลือก ยกเว้นในกรณีที่ใช้มัลติมิเตอร์แบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติ โดยช่วงการวัดเป็นสิ่งที่คุณจะต้องกำหนดก่อนที่จะต่อสายวัดเข้ากับวงจร โดยเริ่มจากการเดาสุ่มค่าที่อยู่ถัดขึ้นมาจากผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าคิดว่าค่าที่วัดได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 12 โวลต์ ก็ให้ตั้งค่ามิเตอร์ไว้ที่ 25 โวลต์ ไม่ใช่ 10 โวลต์ (สมมุติว่า 2 ค่านี้เป็นตัวเลือกที่ใกล้เคียงที่สุด)
- แต่ถ้าไม่รู้เลยจริง ๆ ว่าจะได้ค่ากระแสไฟฟ้าเท่าไร ให้ตั้งช่วงการวัดให้สูงที่สุดไว้ก่อนในการลองครั้งแรก เพื่อป้องกันไม่ให้มิเตอร์ของเราเสียหายนั่นเอง
- โหมดอื่น ๆ มีโอกาสที่จะทำให้มิเตอร์เสียหายค่อนข้างน้อย แต่ให้ลองพิจารณาถึงการตั้งค่าความต้านทานให้ต่ำที่สุดและใช้ค่าเริ่มต้นที่ 10 โวลต์
- การปรับแต่งเมื่อค่าที่ได้ “อยู่นอกขอบเขตสเกล” สำหรับมิเตอร์แบบดิจิตอล สัญลักษณ์ “OL,” “OVER” หรือ “overload” แสดงให้เห็นว่าคุณจะต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น แต่ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับศูนย์มาก นั่นหมายความว่าการเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงจะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า ส่วนในมิเตอร์แบบเข็ม การที่เข็มหยุดนิ่งมักหมายความว่าต้องเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงมา แต่ถ้าเข็มพุ่งไปที่ค่าสูงสุดแสดงว่าต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น
- ปิดแหล่งจ่ายไฟก่อนลงมือวัดความต้านทาน ควรปิดสวิตช์แหล่งจ่ายไฟ หรือถอดแบตเตอรี่ที่จ่ายพลังงานให้กับวงจรออก เพื่อให้วัดค่าความต้านทานได้อย่างความแม่นยำ เพราะมัลติมิเตอร์จะส่งกระแสไฟฟ้าออกมา เพื่อวัดความต้านทาน แต่ถ้ามีกระแสไฟฟ้าอื่นไหลเวียนอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความคลาดเคลื่อนนั่นเอง
- วัดค่ากระแสไฟฟ้าตามลำดับ ถ้าอยากวัดค่ากระแสไฟฟ้า คุณจะต้องสร้างวงจรหนึ่งขึ้นมา โดยต่อมัลติมิเตอร์ “ตามลำดับ” กับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ถอดสายไฟเส้นหนึ่งออกจากขั้วแบตเตอรี่ จากนั้นจึงต่อหัวตรวจสอบหนึ่งเข้ากับสายไฟ และอีกหัวเข้ากับแบตเตอรี่ เพื่อปิดวงจรอีกครั้ง
- วัดค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าในแนวขนาน แรงเคลื่อนไฟฟ้า คือ การเปลี่ยนแปลงของพลังงานไฟฟ้าในบางส่วนของวงจร โดยควรปิดวงจรไว้ก่อนแล้ว ในขณะที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ จากนั้น จึงติดตั้งหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวของมิเตอร์ไว้ในจุดที่ต่างกันไปบนวงจรเพื่อเชื่อมต่อ “ในแนวขนาน” กับวงจร ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อน
- สอบเทียบค่าโอห์มบนมิเตอร์แบบเข็ม มิเตอร์แบบเข็ม จะมีสวิตช์เสริมสำหรับปรับสเกลความต้านทาน ซึ่งมักมีเครื่องหมาย Ω กำกับอยู่ ก่อนที่จะลงมือวัดความต้านทาน ให้เชื่อมปลายหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวเข้าด้วยกันเสียก่อน จากนั้น ให้หมุนสวิตช์จนกระทั่งสเกลโอห์มมีค่าเป็นศูนย์ เพื่อทำการสอบเทียบ แล้วจึงทำการทดสอบจริง
เคล็ดลับ
- หากพื้นที่ด้านหลังเข็มมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีกระจกติดอยู่ ให้หมุนมิเตอร์ไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อให้เข็มปิดทับเงาของตัวเอง เพื่อให้วัดค่าได้แม่นยำขึ้น
- หากพบปัญหาในการอ่านค่าบนมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากคู่มือ โดยทั่วไป มิเตอร์จะแสดงผลลัพธ์เป็นตัวเลขตามเริ่มต้น แต่ก็มีมิเตอร์บางชนิดที่แสดงค่าเป็นแผนภูมิแท่งหรือข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ
- หากเข็มบนมัลติมิเตอร์แบบเข็มชี้ต่ำกว่าเลขศูนย์ (แม้เลือกช่วงการวัดต่ำสุดไว้ก็ตาม) แสดงว่าขั้วต่อ “+” และ “-” น่าจะมีการเคลื่อนถอยหลัง ให้ลองสับเปลี่ยนขั้วต่อและอ่านค่าใหม่อีกครั้ง
- ในขณะที่วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ ค่าที่วัดได้จะมีความผันผวนในช่วงเริ่มต้น แต่จะให้ค่าที่คงที่และแม่นยำในที่สุด
คำเตือน
- ถ้าไม่เลือกช่วงการวัดให้สูงกว่าผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้จากวงจร หรือแบตเตอรี่ การอ่านค่าอาจทำให้มัลติมิเตอร์เกิดความเสียหาย โดยมัลติมิเตอร์แบบเข็มมักทนทานน้อยกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล และมัลติมิเตอร์ดิจิตอลแบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติจะแข็งแรงที่สุด
ขอแนะนำสินค้าจาก KACHA
เลือกซื้อสินค้า กล่องใส่อะไหล่ ชั้นวางเครื่องมือช่าง ???? คลิกเลย รับรองสินค้าดี มีคุณภาพอย่างแน่นอน