
มัลติมิเตอร์ คืออะไร?
มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ตัวเครื่องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเท่าฝ่ามือ ใช้สำหรับวัดค่า หรือตรวจสอบสภาพการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีการใช้งานกันโดยทั่วไป เช่น งานอุตสาหกรรม งานรถยนต์ งานซ่อมบำรุงไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ โดยมัลติมิเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล และมิลเตอร์แบบอนาล็อก

ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมีลักษณะการแสดงผล มีรูปร่าง และฟังก์ชั่นการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะการใช้งานโดยรวมแล้วสามารถใช้วัดได้ทั้งโวลท์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ หรือโอห์มมิเตอร์ รวมทั้งมีคุณสมบัติการทำงานที่สามารถตรวจวัดปริมาณไฟฟ้า วัดแรงดันไฟฟ้าทั้งกระแสตรง และกระแสสลับได้ มีความละเอียดแม่นยำในการอ่านค่า แข็งแรงทนทาน มีขนาดกะทัดรัดพกพาไปใช้งานได้สะดวกสบาย การเลือกใช้มัลติมิเตอร์ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการวัดค่าผิดพลาด และเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
มัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน บางคนชอบแบบเข็มชี้ เพราะว่ามองเห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างชัดเจน ต่างกับแบบดิจิตอล ซึ่งตัวเลขจะวิ่ง สังเกตค่าตัวเลขที่แน่นอนได้ยาก ยกเว้น Digital multimeter บางรุ่นที่สามารถอ่านค่าตัวเลขออกมาได้ทันที สะดวกสบายไม่ต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ว่าวัดถูก หรือผิดเพราะว่ามีเครื่องหมาย บอกให้เสร็จ ส่วนแบบแอนาลอก จะมีปัญหาเรื่องนี้ และการไม่เป็นเชิงเส้น (Non-linear) ของสเกลด้วย
แอมป์มิเตอร์ (Amp Meter) | โอห์มมิเตอร์ (Ohm Meter) |
---|---|
แอมป์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดที่ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้า ซึ่งทำการได้ 2 แบบ คือ แบบต่ออนุกรมกับวงจรไฟฟ้า กับการวัดแบบใช้หม้อแปลงกระแส หรือ CT (Current Transformer) โดยกระแสไฟฟ้าที่สามารถวัดได้นั้นจะมีอยู๋ 2 แบบ คือ กระแสเอซี AC และกระแสดีซี DC มีหน่วยการวัดเป็นแอมป์ (A) | โอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดอุปกรณ์เฉพาะความต้านทาน และมีประโยชน์ต่อเนื่องไปถึงการวัดอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ด้วย เช่น วัดการตัดต่อของสวิตซ์ หน้าสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่ายังดี-เสียได้ด้วย |
ประเภทของมัลติมิเตอร์
-
มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก (Analog Multimeter)

เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่มีลักษณะของหน้าจอที่ต่างจากมิลติมิเตอร์แบบดิจิตอล คือ อ่านค่าจากเข็มชี้บนสเกลเพลทที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอร์ สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้ทั้งค่าแรงดัน ค่ากระแส ค่าความจุ ค่าความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ได้ แต่จะวัดได้ทีละอย่าง มีให้เลือกใช้งานเป็นแบบหมุนบิดเพื่อปรับเลือกค่าที่ต้องการวัด การอ่านค่าของมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกจะทราบปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้จากเข็มชี้บนสเกลเพลทที่มีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม ซึ่งการแสดงค่านั้นสามารถคลาดเคลื่อนได้ และมีความแม่นยำน้อยกว่าแบบมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
-
มัลติมิเตอร์ดิจิตอล (Digital Multimeter)

มัลติมิเตอร์ดิจิตอล หรือมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้หลายประเภท แบบเดียวกับอนาล็อคมัลติมิเตอร์ นอกจากนี้ ยังสามารถวัดปริมาณกระแสสลับ วัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุไฟฟ้า และตรวจสอบไดโอดได้อีกด้วย บางชนิดมีคุณสมบัติการวัดเพิ่มเติม เช่น วัดค่าความจุ วัดความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ บนแผงหน้าของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ยังมีสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety Symbols) กำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลสำหรับเตือนผู้ใช้ให้มีความระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เอง และให้เครื่องมืออยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้เสมอ
-
แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) หัววัดของแคลมป์มิเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากคีบรูปหยดน้ำขนาดใหญ่ ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา มีหน้าจอ LEDแสดงผลเป็นตัวเลข มีปุ่มปรับหน่วยวัด และปุ่มเปิดไฟ มีขนาดเล็กกะทัดรัดช่วยให้สะดวกต่อการใช้งานในพื้นที่แคบ สามารถใช้วัดแรงดันไฟกระแสไฟฟ้า ความต้านทาน และอื่นๆ ได้ถูกต้องและแม่นยำ การใช้งานเพียงนำหัววัดแคลมป์มิเตอร์ไปเกี่ยวหรือคล้องกับสายไฟก็สามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย เหมาะสำหรับใช้ตรวจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมและงานติดตั้งไฟฟ้าทุกชนิด
-
มัลติมิเตอร์แบบปากกา

มัลติมิเตอร์แบบปากกา เป็นเครื่องมือตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าที่มีรูปแบบคล้ายปากกา ตัวปากกาจะทำมาจากพลาสติกที่เป็นฉนวนกันไฟฟ้า แสดงผลผ่านหน้าจอ LED มีขนาดเล็ก พกพาติดตัว หรือพกใส่กระเป๋าช่างไฟฟ้าได้สะดวก สามารถใช้งานได้ดีในพื้นที่มืดและแคบ มีฟังก์ชั่นในการตรวจจับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้งานง่ายเพียงนำปลายปากกาเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า จะมีเสียงเตือน หรือไฟกระพริบสีแดงทำให้ตรวจหาจุดที่สายไฟขาด หรือชำรุดได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานไฟฟ้า และงานซ่อมบำรุงทั่วไป
วิธีการอ่านค่ามัลติมิเตอร์ ทำได้อย่างไร?
???? การอ่านค่าบนสวิตช์
(ภาพจาก wikiHow)
- ทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง หรือกระแสสลับ โดยทั่วไป ตัวอักษร V มักหมายถึงค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า ในขณะที่เส้นยึกยือ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสสลับ (พบได้ในวงจรในครัวเรือน) และเส้นตรงหรือเส้นประ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสตรง (พบในแบตเตอรี่ส่วนใหญ่) โดยเส้นเหล่านี้ อาจปรากฏอยู่ถัดจากหรือเหนือตัวอักษร
- การตั้งค่าสำหรับทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับมัก จะมีสัญลักษณ์ V~, ACV หรือ VAC กำกับไว้
- หากต้องการทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ให้ตั้งค่ามัลติมิเตอร์เป็น V–, V—, DCV หรือ VDC
- การตั้งค่ามัลติมิเตอร์ เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่วัดได้มีหน่วยเป็นแอมแปร์ จึงใช้ตัวอักษร A เป็นตัวย่อ โดยให้เลือกเป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือกระแสสลับตามวงจรไฟฟ้าที่กำลังทดสอบ แต่มัลติมิเตอร์แบบเข็มทั่วไปมักไม่สามารถใช้ทดสอบค่ากระแสไฟฟ้าได้
- A~, ACA และ AAC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ
- A–, A—, DCA และ ADC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง
- หาค่าความต้านทาน ค่าความต้านทานจะมีตัวอักษรโอเมกา Ω ในภาษากรีกกำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บอกค่าโอห์ม หรือหน่วยที่ใช้ในการวัดความต้านทานนั่นเอง แต่มัลติมิเตอร์รุ่นเก่า ๆ บางชนิดอาจจะใช้ตัวอักษร R ในการแสดงค่าความต้านทาน
- การใช้ DC+ และ DC- หากมัลติมิเตอร์ของคุณมีการตั้งค่านี้ ให้เลือก DC+ ไว้เสมอ เมื่อทดสอบไฟฟ้ากระแสตรง แต่ถ้ามิเตอร์ไม่แสดงค่าใด ๆ และสงสัยว่า อาจจะต่อขั้วบวกขั้วลบไว้ผิดด้าน คุณก็สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเป็น DC- เพื่อแก้ปัญหาโดยที่ไม่ต้องปรับแต่งสายไฟ
- ทำความเข้าใจสัญลักษณ์อื่น ๆ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าทำไมค่าแสดงแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า หรือความต้านทานถึงต้องมีหลายๆ แบบ ให้ลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับช่วงการวัด (range) จากหัวข้อการแก้ไขปัญหา แต่นอกจากค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้ว มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่มักจะแสดงค่าเพิ่มเติมอีก 2-3 ค่า แต่ถ้าเกิดมีเครื่องหมายกำกับค่าเดียวกันมากกว่า 1 เครื่องหมาย อาจเป็นเพราะมิเตอร์วัดค่าทั้ง 2 ค่าในเวลาเดียวกัน หรืออาจต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือ
- ))) หรือสัญลักษณ์ที่มีเส้นโค้งขนานกันหลายเส้นคล้าย ๆ กันนี้ หมายถึง “การทดสอบความต่อเนื่อง” เมื่อทำการวัดค่านี้ มัลติมิเตอร์ จะส่งเสียงบี๊บเมื่อหัวตรวจสอบ (probe) 2 หัวเชื่อมต่อเข้าด้วยกันทางไฟฟ้า
- ลูกศรชี้ขวาที่มีเครื่องหมายบวกลากผ่านลูกศร หมายถึง “การวัดไดโอด” ใช้สำหรับทดสอบว่ามีการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าทางเดียวหรือไม่
- Hz ย่อมาจาก เฮิรตซ์ (Hertz) เป็นหน่วยสำหรับวัดค่าความถี่ในวงจรกระแสสลับ
- สัญลักษณ์ –|(– หมายถึง ค่าความจุ
- อ่านสัญลักษณ์กำกับช่องต่อ มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่ จะมีช่อง หรือรูต่อ 3 จุดด้วยกัน และบางครั้ง ช่องต่อเหล่านี้ อาจจะมีสัญลักษณ์กำกับไว้ ซึ่งตรงกับสัญลักษณ์ที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ โดยสามารถนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปใช้ในกรณีที่สัญลักษณ์มีความคลุมเครือ
- หัวตรวจสอบสีดำต้องต่อเข้ากับช่องต่อที่มีสัญลักษณ์ COM ซึ่งย่อมาจาก “common” เสมอ (เรียกได้อีกอย่างว่ากราวด์) และปลายอีกด้านของสายวัดสีดำต้องต่อเข้ากับขั้วลบเสมอ
- เมื่อต้องการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือความต้านทาน ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีค่ากระแสไฟฟ้ากำกับต่ำสุด (มักเป็น mA ที่ย่อมาจากมิลลิแอมป์)
- เมื่อต้องการวัดค่ากระแสไฟฟ้า ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีข้อความกำกับว่า สามารถทนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่คาดว่าจะวัดได้ โดยทั่วไป ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ มักมีฟิวส์ป้องกันไฟฟ้า 200mA ในขณะที่ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงสูงจะป้องกันไฟฟ้าได้ถึง 10A
???? การอ่านผลลัพธ์จากมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
(ภาพจาก wikiHow)
- ค้นหาสเกลที่ถูกต้องบนมัลติมิเตอร์แบบเข็ม มัลติมิเตอร์แบบเข็ม จะมีเข็มอยู่ด้านหลังกรอบกระจก โดยเจ้าเข็มนี้ จะเคลื่อนที่ไปมาเพื่อแสดงค่าผลลัพธ์ และมักมีเส้นโค้ง 3 เส้นพิมพ์อยู่ด้านหลังเข็ม เส้นโค้งเหล่านี้ คือ สเกล 3 รูปแบบที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
- สเกล Ω ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน มักเป็นสเกลที่ใหญ่ที่สุด และอยู่ด้านบนสุด โดยมีค่า 0 (ศูนย์) อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ด้านซ้ายเหมือนอย่างสเกลอื่น ๆ
- สเกล “DC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง
- สเกล “AC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ
- สเกล “dB” เป็นตัวเลือกที่มีการใช้งานน้อยที่สุด
- อ่านค่าจากสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามช่วงการวัดของคุณ อย่าลืมตรวจดูสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ดีด้วยว่า เป็นกระแสตรง หรือกระแสสลับ โดยใต้สเกลมักจะมีตัวเลขหลาย ๆ แถวเรียงอยู่ ให้ดูว่าคุณได้เลือกช่วงการวัดใดไว้บนสวิตช์ (เช่น 10 โวลต์) จากนั้น จึงมองหาสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านข้างของแถวเหล่านี้ โดยคุณจะต้องอ่านผลลัพธ์จากแถวนั้น ๆ นั่นเอง
-
ประเมินค่าระหว่างตัวเลข สเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนมัลติมิเตอร์แบบเข็ม จะทำงานเหมือนกับไม้บรรทัดทั่วไป แต่สเกลวัดความต้านทาน จะแสดงค่าในรูปแบบลอการิทึม คือ ระยะห่างที่เท่ากัน หมายถึง ค่าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจุดที่คุณอยู่บนสเกล ในขณะที่เส้นระหว่างตัวเลข 2 ตัวยังคงหมายถึง การแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน เช่น ถ้ามีเส้น 3 เส้นอยู่ระหว่างตัวเลข “50” และ “70” แสดงว่าค่าที่ได้คือ 55, 60 และ 65 แม้ว่าช่องว่างระหว่างตัวเลขจะดูไม่เท่ากันก็ตาม
- นำค่าความต้านทานที่อ่านได้จากมัลติมิเตอร์แบบเข็มมาคูณ ดูช่วงการวัดที่ตั้งค่าไว้บนสวิตช์มัลติมิเตอร์ เพราะเป็นตัวเลขที่เราต้องนำมาคูณกับค่าที่อ่านได้ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่ามัลติมิเตอร์ไว้ที่ R x 100 และเข็มชี้ไปที่ 50 โอห์ม แสดงว่าค่าความต้านทานที่แท้จริงของวงจร คือ 100 x 50 = 5,000
- ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเกล dB สเกล “dB” (เดซิเบล) มักเป็นสเกลที่อยู่ด้านล่างสุด และเล็กที่สุดบนมิเตอร์แบบเข็ม อีกทั้งต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้ใช้งานได้ สเกล dB เป็นสเกลแบบลอการิทึมสำหรับวัดอัตราแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการขยาย หรือการสูญเสีย สเกล dBv ตามมาตรฐานของสหรัฐกำหนดไว้ว่า 0 dbv เท่ากับ 0.775 โวลต์ ซึ่งวัดได้ที่ความต้านทานมากกว่า 600 โอห์ม แต่ก็มีสเกลอื่น ๆ อย่าง dBu, dBm และ dBV (ตัว V พิมพ์ใหญ่) ที่ใช้แพร่หลายไม่แพ้กัน
???? การแก้ไขปัญหา
(ภาพจาก wikiHow)
- กำหนดช่วงการวัด โหมดพื้นฐานแต่ละโหมด (แรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต้านทาน และกระแสไฟฟ้า) จะมีค่ามากมายให้คุณเลือก ยกเว้นในกรณีที่ใช้มัลติมิเตอร์แบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติ โดยช่วงการวัดเป็นสิ่งที่คุณจะต้องกำหนดก่อนที่จะต่อสายวัดเข้ากับวงจร โดยเริ่มจากการเดาสุ่มค่าที่อยู่ถัดขึ้นมาจากผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าคิดว่าค่าที่วัดได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 12 โวลต์ ก็ให้ตั้งค่ามิเตอร์ไว้ที่ 25 โวลต์ ไม่ใช่ 10 โวลต์ (สมมุติว่า 2 ค่านี้เป็นตัวเลือกที่ใกล้เคียงที่สุด)
- แต่ถ้าไม่รู้เลยจริง ๆ ว่าจะได้ค่ากระแสไฟฟ้าเท่าไร ให้ตั้งช่วงการวัดให้สูงที่สุดไว้ก่อนในการลองครั้งแรก เพื่อป้องกันไม่ให้มิเตอร์ของเราเสียหายนั่นเอง
- โหมดอื่น ๆ มีโอกาสที่จะทำให้มิเตอร์เสียหายค่อนข้างน้อย แต่ให้ลองพิจารณาถึงการตั้งค่าความต้านทานให้ต่ำที่สุดและใช้ค่าเริ่มต้นที่ 10 โวลต์
- การปรับแต่งเมื่อค่าที่ได้ “อยู่นอกขอบเขตสเกล” สำหรับมิเตอร์แบบดิจิตอล สัญลักษณ์ “OL,” “OVER” หรือ “overload” แสดงให้เห็นว่าคุณจะต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น แต่ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับศูนย์มาก นั่นหมายความว่าการเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงจะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า ส่วนในมิเตอร์แบบเข็ม การที่เข็มหยุดนิ่งมักหมายความว่าต้องเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงมา แต่ถ้าเข็มพุ่งไปที่ค่าสูงสุดแสดงว่าต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น
- ปิดแหล่งจ่ายไฟก่อนลงมือวัดความต้านทาน ควรปิดสวิตช์แหล่งจ่ายไฟ หรือถอดแบตเตอรี่ที่จ่ายพลังงานให้กับวงจรออก เพื่อให้วัดค่าความต้านทานได้อย่างความแม่นยำ เพราะมัลติมิเตอร์จะส่งกระแสไฟฟ้าออกมา เพื่อวัดความต้านทาน แต่ถ้ามีกระแสไฟฟ้าอื่นไหลเวียนอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความคลาดเคลื่อนนั่นเอง
- วัดค่ากระแสไฟฟ้าตามลำดับ ถ้าอยากวัดค่ากระแสไฟฟ้า คุณจะต้องสร้างวงจรหนึ่งขึ้นมา โดยต่อมัลติมิเตอร์ “ตามลำดับ” กับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ถอดสายไฟเส้นหนึ่งออกจากขั้วแบตเตอรี่ จากนั้นจึงต่อหัวตรวจสอบหนึ่งเข้ากับสายไฟ และอีกหัวเข้ากับแบตเตอรี่ เพื่อปิดวงจรอีกครั้ง
- วัดค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าในแนวขนาน แรงเคลื่อนไฟฟ้า คือ การเปลี่ยนแปลงของพลังงานไฟฟ้าในบางส่วนของวงจร โดยควรปิดวงจรไว้ก่อนแล้ว ในขณะที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ จากนั้น จึงติดตั้งหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวของมิเตอร์ไว้ในจุดที่ต่างกันไปบนวงจรเพื่อเชื่อมต่อ “ในแนวขนาน” กับวงจร ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อน
- สอบเทียบค่าโอห์มบนมิเตอร์แบบเข็ม มิเตอร์แบบเข็ม จะมีสวิตช์เสริมสำหรับปรับสเกลความต้านทาน ซึ่งมักมีเครื่องหมาย Ω กำกับอยู่ ก่อนที่จะลงมือวัดความต้านทาน ให้เชื่อมปลายหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวเข้าด้วยกันเสียก่อน จากนั้น ให้หมุนสวิตช์จนกระทั่งสเกลโอห์มมีค่าเป็นศูนย์ เพื่อทำการสอบเทียบ แล้วจึงทำการทดสอบจริง
เคล็ดลับ
- หากพื้นที่ด้านหลังเข็มมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีกระจกติดอยู่ ให้หมุนมิเตอร์ไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อให้เข็มปิดทับเงาของตัวเอง เพื่อให้วัดค่าได้แม่นยำขึ้น
- หากพบปัญหาในการอ่านค่าบนมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากคู่มือ โดยทั่วไป มิเตอร์จะแสดงผลลัพธ์เป็นตัวเลขตามเริ่มต้น แต่ก็มีมิเตอร์บางชนิดที่แสดงค่าเป็นแผนภูมิแท่งหรือข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ
- หากเข็มบนมัลติมิเตอร์แบบเข็มชี้ต่ำกว่าเลขศูนย์ (แม้เลือกช่วงการวัดต่ำสุดไว้ก็ตาม) แสดงว่าขั้วต่อ “+” และ “-” น่าจะมีการเคลื่อนถอยหลัง ให้ลองสับเปลี่ยนขั้วต่อและอ่านค่าใหม่อีกครั้ง
- ในขณะที่วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ ค่าที่วัดได้จะมีความผันผวนในช่วงเริ่มต้น แต่จะให้ค่าที่คงที่และแม่นยำในที่สุด
คำเตือน
- ถ้าไม่เลือกช่วงการวัดให้สูงกว่าผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้จากวงจร หรือแบตเตอรี่ การอ่านค่าอาจทำให้มัลติมิเตอร์เกิดความเสียหาย โดยมัลติมิเตอร์แบบเข็มมักทนทานน้อยกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล และมัลติมิเตอร์ดิจิตอลแบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติจะแข็งแรงที่สุด
ขอแนะนำสินค้าจาก KACHA
เลือกซื้อสินค้า กล่องใส่อะไหล่ ชั้นวางเครื่องมือช่าง ???? คลิกเลย รับรองสินค้าดี มีคุณภาพอย่างแน่นอน
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025