เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน

 ในการใช้ไฟฟ้านั้น ต้องมีมาตรฐานในการจดบันทึกว่าบ้านแต่ละหลังใช้ไฟไปปริมาณเท่าไหร่ เป็นเงินกี่บาท โดยผ่านอุปกรณ์มาตรฐานที่เรียกว่า มิเตอร์ไฟฟ้า วันนี้ KACHA ขอพาไปทำความความรู้จักมิเตอร์ไฟฟ้ากันให้มากขึ้นดีกว่า ว่าความสำคัญของมิเตอร์ไฟ มิเตอร์ไฟมีกี่ขนาด และวิธีการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบ้านคุณนั่นเอง

มิเตอร์ไฟฟ้า คืออะไร?

มิเตอร์ไฟฟ้า(Kilowatt-Hour Meter) เป็นเครื่องวัดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัด ปริมาณกำลังไฟฟฟ้ากระแสสลับทั้งในบ้านเรือน และในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าเป็น กิโลวัตชั่วโมง (Kilowatt-hour)

210204-Content-เลือก-มิเตอร์ไฟฟ้า-แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน-02

ประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้า

สามารถจําแนกตามระบบไฟฟ้าได้ 2 ประเภท ดังนี้

วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส (Single phase watt-hour meter)

มีหลักการ ทํางานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า และมีส่วนประกอบที่และมีส่วนประกอบที่เหมือนกัน คือ ขดลวดกระแสไฟฟ้า (Current coil) และขดลวดแรงดันไฟฟ้า (Potential coil) ส่วนที่แตกต่างกันคือ ในวัตต์มิเตอร์จะแสดงค่าด้วยการบ่ายเบนของเข็มชี้ซึ่งใช้ชี้ค่าบนสเกล ส่วนวัตต์ฮาวร์มิเตอร์จะแสดงค่าโดยใช้ แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลวนทำให้จานหมุนและใช้ชุดเฟืองไปขับ ชุดตัวเลขหรือชุดเข็มชี้ให้ แสดงค่าออกมาบนหน้าปัทม์

  • โครงสร้างมิเตอร์ไฟฟ้า

ประกอบด้วย ขดลวดกระแสต่ออนุกรมกับโหลด และขดลวดแรงดันต่อขนานกับโหลดขดลวด ทั้งสองชุดนี้จะพันอยู่บนแกนเหล็กที่ออกแบบโดยเฉพาะ และมีจานอะลูมิเนียมบาง ๆ ยึดติดกับแกนหมุนวางอยู่ในช่องว่างระหว่างแกนลวดทั้งสอง

210204-Content-เลือก-มิเตอร์ไฟฟ้า-แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน-03
  • หลักการทํางานขดลวดกระแสและขดลวดแรงดัน

ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก ส่งผ่านไปยังจานอะลูมิเนียมที่วางอยู่ระหว่างขดลวดทั้งสองทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำและมีกระแสไหลวน (Eddy current) เกิดขึ้นในจานอะลูมิเนียม แรงต้านระหว่างกระแสไหลวน และสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดันจะทำให้เกิดแรงผลักขึ้นกับจานอะลูมิเนียมจึงหมุนไปได้ที่แกนของจานอะลูมิเนียมจะมีเฟืองติดอยู่ เฟืองนี้จะไปขับ ชุดตัวเลขที่หน้าปัทมข์องเครื่องวัด แรงผลักที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนระหว่างความเข้มของสนามแม่เหล็กของขดลวดแรงดัน  และกระแสไหลวนในจานอะลูมิเนียมและขึ้นอยู่กับจานวนรอบของขดลวดด้วย ส่วนจำนวนรอบการหมุนของจานอะลูมิเนียมขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานไฟฟ้าของโหลด

210204-Content-เลือก-มิเตอร์ไฟฟ้า-แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน-04
  • การนําไปใช้งาน

การต่อวัตต์ฮาวร์มิเตอร์หรือกิโลวตัตต์ฮาวร์มิเตอร์ เพื่อใช้วัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ต่อกับแหล่งจ่ายจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1S และ 2S ส่วนด้านที่ต่อไปยังโหลดจะมีตัวเลขกำกับไว้ คือ 1L และ 2L ตัวอักษร S ย่อมาจากคำว่า “Supply” หมายถึงด้านที่จ่ายไฟเข้า ส่วนอักษร L ย่อมาจากคำว่า “Load” หมายถึง ด้านที่ต่อกับโหลดไฟฟ้า ส่วนตัวเลข 1 หมายถึง ต่อกับสายไฟ (Line) และเลข 2 หมายถึง สายนิวทรอล (Neutral)

วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส (Three phase watt-hour meter) แบบ 3 จานหมุนและ 2 จานหมุน

เครื่องวัดแบบนี้มีส่วนประกอบเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิด 3 เฟส หรืออาจจะเอาวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 3 ตัวมาประกอบรวมกันเป็น วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส หลักการทํางานจะอาศัยการทำงานเหมือนกับวัตต์มิเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการต่อใช้งานวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟสแบบ 3 จานหมุน อาจจะนําวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส 2 ตัวมาประกอบรวมกัน เป็นกิโลวตัตฮ์าวร์มิเตอร์ 3 เฟส แบบ 2 จานหมุนได้

210204-Content-เลือก-มิเตอร์ไฟฟ้า-แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน-05

ในปัจจุบบันนี้มิเตอร์ไฟฟ้าก็จะมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย
  2. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดเล็ก
  3. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดกลาง
  4. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดใหญ่
  5. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
  6. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
  7. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  8. มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว

มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้าน มีขนาดไหนบ้าง?

มิเตอร์ไฟฟ้าและที่พักอาศัย มีด้วยกันหลายขนาด โดยสามารถสังเกตได้จากตัวเลขในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5 (15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้า ดังนี้

  • ขนาดมิเตอร์ 5 (15) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15 (45) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30 (100) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50 (150) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 15 (45) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 30 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 30 (100) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 50 (150) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
  • ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์

เลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน

ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในบ้านเรือนทั่วไปนั้น ต้องพิจารณาถึงจำนวนสมาชิกในบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปัจจุบันและในอนาคตสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองว่าบ้านของเราเหมาะกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่ โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต) เช่น

  • พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ จำนวน 2 ตัว คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (75 ÷ 220) x 2 = 0.68 แอมแปร์
  • หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (36 ÷ 220) x 6 = 0.98 แอมแปร์
  • เครื่องปรับอากาศ 1,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 1,000 ÷ 220 = 4.54 แอมแปร์
  • หม้อหุงข้าว 500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 500 ÷ 220 = 2.27 แอมแปร์
  • เตารีด 430 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 430 ÷ 220 = 1.95 แอมแปร์
  • โทรทัศน์ 43 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 43 ÷ 220 = 0.2 แอมแปร์
  • ตู้เย็น 70 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 70 ÷ 220 = 0.32 แอมแปร์

กระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันจะเท่ากับ 10.94 แอมป์ เมื่อนำมาคูณกับ 1.25 จะได้ประมาณ 13.68 แอมแปร์ ถือว่ายังสามารถใช้ขนาดเมิเตอร์ 5(15) ได้เนื่องจากยังไม่เกิน 15 แอมแปร์ และปกติเราจะไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กันอยู่แล้ว แต่หากเผื่อในอนาคตจะพบว่า มิเตอร์ไฟอาจมีขนาดไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหากต้องการติดเครื่องปรับอากาศเพิ่มอีก 1 ตัว ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วย เพื่อความปลอดภัย ????

คุณสมบัติของผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้า

ผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้าได้ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า
  3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า

เอกสารที่ผู้ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าต้องนำมาแสดง

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า หลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ มีดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
  7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่าง ๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม
  8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)
210204-Content-เลือก-มิเตอร์ไฟฟ้า-แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน-07

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าทำได้อย่างไร?

  1. หลังจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ
  2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง
  3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน เป็นอันเสร็จสิ้น

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่งทั่วประเทศ

สอบถามการไฟฟ้า

ราคาติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

ขอแชร์ราคาการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าคร่าว ๆ โดยจะมีทั้งการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ และ การติดตั้งมิเตอร์ไไฟ้าแบบชั่วคราว ดังนี้

ราคาติดตั้งมิเตอร์ใหม่

  • 5(15) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 728.00 บาท
  • 15(45) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 4,621.50 บาท
  • 30(100) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 12,383.00 บาท
  • 15(45) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 16,004.50 บาท
  • 30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 38,754.00 บาท

ราคาขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแบบชั่วคราว

โดยการขอจะเป็นการขอเพื่อการใช้งานระหว่างก่อสร้าง ค่าขอและราคาค่าไฟต่อหน่วยแพงกว่ามิเตอร์ไฟฟ้าแบบถาวร การขอมิเตอร์ชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอ้าท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย โดยราคาขอติดตั้งมิเตอร์แบบชั่วคราว มีดังนี้

  • 15(45) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 10,802.50 บาท
  • 30(100) แอมป์ 1 เฟส 2 สาย 26,605.00 บาท
  • 15(45) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 32,407.50 บาท
  • 30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 79,815.00 บาท
  • 30(100) แอมป์ 3 เฟส 4 สาย 38,754.00 บาท

มิเตอร์ไฟฟ้า นั้นมีหลายขนาด ซึ่งแต่ละบ้านจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกภายในบ้าน รวมถึงจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งปัจจุบันและในระยะยาวด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย

KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th