ปัญหา น้ำรั่ว น้ำซึม ตามพื้น หรือผนังบ้าน เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะสร้างความรำคาญให้แก่ผู้อยู่อาศัยแล้ว หลายครั้งที่มักจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ตั้งแต่พื้นหรือผนังเกิดความชื้นจนเชื้อรา หรือตะไคร่ขึ้น สีทาบ้านลอกล่อน วัสดุกรุผิวโป่งพองหรือหลุดร่วง ไปจนถึงโครงสร้างบ้านได้รับความเสียหายจากการที่เหล็กเสริมในคอนกรีตเป็นสนิม ปัญหาน้ำซึมดังกล่าวมีที่มาจากทั้งภายนอกและภายในบ้าน โดยมีสาเหตุและแนวทางการแก้ไขต่างกันไป

บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้ถึงวิธี แก้ปัญหาน้ำรั่ว น้ำซึม ที่เราสามารถแก้ได้ ก่อนปัญหาจะบานปลาย ไปดูกัน

สาเหตุน้ำรั่ว เกิดจากอะไร?

  • รอยแตกร้าว

รอยแตกร้าวของผนัง หรือระหว่างผนัง และพื้น อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ไปกระทบกับท่อน้ำที่ถูกฝังอยู่ในผนังบ้าน 

  • ข้อต่อท่อ

เป็นจุดที่เกิดปัญหาค่อนข้างบ่อย เพราะตอนวางระบบน้ำ ช่างอาจจะใช้แรงมากเกินไปจนท่อร้าวได้ หรือบางกรณีอัดกาวไม่แน่นพอ จะเกิดท่อหลวม ซึ่งเมื่อเป็นการร้าวของท่อที่ฝังอยู่ในกำแพงแล้ว ต้องสกัดปูน เพื่อเปลี่ยนข้อต่อท่อในส่วนนั้น 

220113-Content-รวมปัญหาน้ำรั่วน้ำซึม-พร้อมวิธีแก้ปัญหาและรับมือ02
  • แรงดันภายในท่อน้ำ

ช่วงที่ไฟฟ้าดับ ทำให้เครื่องสูบน้ำหยุดทำงานฉับพลัน แต่เมื่อไฟฟ้ากลับมาปกติ อาจเกิดการกระแทกกลับของน้ำในท่อ เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ท่อประปาแตกได้ หรือการที่ปล่อยให้ถังเก็บน้ำแห้งเป็นประจำ อากาศจะเข้าไปแทนที่ภายในท่อ และเมื่อเปิดใช้น้ำ จะเกิดแรงอัดจนท่อแตกได้

  • ดินทรุด

เป็นสาเหตุที่สังเกตได้ค่อนข้างยาก เพราะบ้านที่ปลูกสร้างไว้หลายปีอาจเกิดปัญหาดินทรุดแบบไม่รู้ตัว หรืออาจทรุด เฉพาะส่วนที่ต่อเติมบ้านออกไป จนกระทบท่อน้ำขยับ จนหลุดตามไปด้วย 

สาเหตุ น้ำรั่ว เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แม้เป็นจุดเล็ก ๆ ก็อย่ามองข้าม เพราะถ้าปล่อยไว้ให้น้ำไหลซึมมากผิดปกตินอกจากค่าน้ำประปาที่ต้องจ่ายแพงเกินความจำเป็น และสิ้นเปลืองทรัพยากรแล้ว อาจเกิดกระทบกับโครงสร้างบ้านทรุดตาม ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่อยากแนะนำ คือ การปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวบ้านในหลาย ๆ ด้าน

แก้ปัญหาน้ำรั่ว น้ำซึม อย่างไร?

เมื่อเกิดปัญหาท่อน้ำรั่ว ในจุดที่มองไม่เห็น น้ำรั่วซึม ท่อน้ำรั่ว ท่อประปาแตก หนึ่งในปัญหายอดฮิต ที่สร้างความเสียหายให้ตัวบ้าน และสร้างความปวดหัวให้ผู้อยู่อาศัย แทบจะทุกหลังคาเรือน เพราะไม่เพียงแค่ตัวเลขในยอดบิลค่าน้ำจะพุ่งสูงขึ้น แต่ยังต้องจ่ายค่าไฟจากปั๊มน้ำ ที่ทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วย และปัญหาที่ใหญ่ที่สุด คือ ถ้าปล่อยให้บ้านถูกน้ำท่วมนอง หรือน้ำขังโดยไม่รีบแก้ไข บ้านที่เรารักก็อาจเกิดปัญหาเชื้อรา และผุพังเอาได้ง่าย ๆ

การแก้ไขปัญหาท่อน้ำรั่ว หรือท่อประปาแตก ทำได้ดังนี้

  • ท่อน้ำเหนือฝ้าเพดานรั่วซึม

กรณีมี น้ำรั่ว จากท่อน้ำเหนือฝ้าเพดานนั้น สามารถสังเกตได้จากคราบน้ำที่เปื้อนเป็นวง ๆ ที่เกิดจากน้ำซึมลงมาบนฝ้า จนฝ้าเกิดอาการบวมน้ำ กรณีที่มีปัญหาน้ำรั่วหนัก ๆ ตัวฝ้าเพดาน อาจแบกรับน้ำหนักไม่ไหวจนพังลงมาในที่สุด ซึ่งปัญหาน้ำรั่วเหนือฝ้าเพดานนี้ มักพบว่าเกิดขึ้นบริเวณชั้นล่างของบ้านในตำแหน่งที่ตรงกับห้องน้ำชั้นบนมากที่สุด

220113-Content-รวมปัญหาน้ำรั่วน้ำซึม-พร้อมวิธีแก้ปัญหาและรับมือ03

การแก้ไขเบื้องต้น เมื่อเจอจุดที่ต้องแก้ไขแล้ว ให้เปิดฝ้าบริเวณส่วนที่เป็นคราบน้ำออกก่อน เพื่อสังเกตอาการของท่อประปาด้านบน เมื่อทราบจุดที่แน่นอน ให้นำฝ้าในบริเวณที่เกิดปัญหาออกให้หมด จากนั้น จึงซ่อมท่อตามอาการที่พบ ถ้าเล็กน้อยก็อาจเพียงอุดบริเวณที่รั่ว แต่หากเสียหายมาก อาจต้องทำการตัดข้อต่อส่วนที่รั่วออก แล้วเปลี่ยนเชื่อมใหม่ จากนั้น แนะนำให้ยึดขาแขวนกับส่วนโครงของบ้านเพิ่มเติมให้แน่นหนา เพื่อความแข็งแรงยิ่งขึ้น เมื่อซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าเพิ่งใจร้อนไปปิดฝ้า แต่ให้ทดสอบปล่อยน้ำเข้าท่อเส้นที่มีปัญหาดูสัก 2-3 วัน ดูจนแน่ใจว่าไม่มีอาการน้ำรั่วซึมแล้ว จึงค่อยปิดฝ้า จัดการรอยต่อฝ้าเพดาน และทาสีให้เรียบร้อย สวยงามเหมือนเดิม

  • ท่อน้ำในผนังรั่วซึม

ท่อน้ำในผนัง คือ ท่อที่จ่ายน้ำไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อ่างล้างมือ ชักโครก ฝักบัว หรือก๊อกน้ำทั่ว ๆ ไป หากสงสัยว่าท่อน้ำในผนังเกิดการรั่วซึม ให้สังเกตบริเวณผนัง หรือพื้นที่ที่ติดกับผนังว่ามีจุดน้ำหยด หรือเปียกซึมหรือไม่ อาการที่พบส่วนมาก คือ สีผนังที่ทาไว้ปูดบวม ลอกร่อน มีความชื้นสูง หรือมีเชื้อราขึ้นเป็นแนวเส้นยาวนตามลักษณะของแนวท่อน้ำในผนัง แต่หากเป็นผนังภายในห้องน้ำที่มีการปูกระเบื้องผนังทับไว้ ให้สังเกตว่าจะมีน้ำกองอยู่บริเวณล่าง ๆ หรือพื้นห้องด้านที่ติดผนังที่มีปัญหา เพราะน้ำที่ไหลซึมอยู่หลังกระเบื้อง จะไหลรวมกันลงด้านล่าง ซึ่งจะประเมินได้ยากว่าจุดรั่วซึมนั้น เริ่มจากตรงไหน อาจจำเป็นต้องใช้วิธีเลาะกระเบื้องออกเป็นวงกว้าง เพื่อหาจุดรั่วที่ชัดเจน

220113-Content-รวมปัญหาน้ำรั่วน้ำซึม-พร้อมวิธีแก้ปัญหาและรับมือ04

การแก้ไขเบื้องต้น หลังจากพบรอยซึมน้ำบนผนังแล้ว ต้องสกัดผิวผนังออกด้วยค้อน หรือสว่านไฟฟ้าแบบเจาะกระแทก ซึ่งจะเลือกใช้อุปกรณ์ชนิดใด ก็ขึ้นอยู่กับตัววัสดุผนังด้วย ข้อควรระวัง คือ ต้องค่อย ๆ สกัดผิวผนังออกโดยไม่ให้กระทบกระเทือนโครงสร้างบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาลุกลามใหญ่โต เมื่อสกัดผิวผนังออกจนเจอจุดรั่วซึมแล้ว ก็สามารถซ่อมแซมตามอาการรั่วได้เลย อาจเลือกใช้วิธีอุด หรือตัดต่อท่อน้ำใหม่ จากนั้น เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว ก็ให้ทดลองปล่อยน้ำเข้าท่อน้ำสัก 2-3 วัน เพื่อทดสอบให้แน่ใจว่าจุดที่ซ่อมแซมนั้น ไม่มีการรั่วซึมอีก แล้วจึงเก็บงานผนังโดยการฉาบปูนปิดให้เรียบร้อย ตามด้วยการเก็บงานสีเป็นขั้นตอนสุดท้าย

  • ท่อน้ำใต้ดินรั่วซึม

สำหรับท่อประปาใต้ดิน หรือใต้บ้านนั้น ค่อนข้างยากที่จะตรวจสอบหรือพบเห็น แต่ก็สามารถสังเกตได้จากการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ว่าน้ำประปาไหลอ่อนกว่าปกติ ซึ่งถ้าไม่พบความผิดปกติที่จุดอื่น ให้ลองตรวจสอบดูทั้งบริเวณภายในและภายนอกบ้านว่า มีน้ำรั่วซึมจนขังที่พื้นบ้าน หรือสนามหญ้าตลอดเวลาหรือไม่ และกรณีที่ท่อน้ำรั่วซึมจากการทรุดตัวของบ้าน หรือส่วนต่อเติมบ้านทรุด จะสังเกตได้ว่าบริเวณที่อาจเป็นปัญหา จะมีการทรุดตัวมากกว่าส่วนอื่น ๆ เนื่องจากดิน หรือทรายใต้ดินมีการเคลื่อนตัว

220113-Content-รวมปัญหาน้ำรั่วน้ำซึม-พร้อมวิธีแก้ปัญหาและรับมือ05

การแก้ไขเบื้องต้น กรณีที่พบว่า มีท่อน้ำรั่วใต้ดิน หรือท่อน้ำรั่วใต้บ้าน ต้องใช้วิธีขุดเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อทำการซ่อมแซม แต่จะขุดมากน้อยแค่ไหน อาจต้องประเมินดูตามโครงสร้างของบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้ว ตัวโครงสร้างบ้าน จะมีฐานรากรองรับอยู่ ซึ่งจะมีช่องว่างพอ ที่จะสามารถมุดเข้าไปซ่อมแซม แก้ไขท่อบริเวณใต้บ้านได้

แก้ปัญหาน้ำรั่ว น้ำซึม ที่เราเคยมองข้ามจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องไกลตัว และไม่ใช่เรื่องที่ควรปล่อยปละละเลย เพราะหากเกิดปัญหาแล้วไม่เร่งแก้ไขให้เรียบร้อย จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึงตามมาอีกแน่นอน รู้อย่างนี้ แล้วอย่าลืมเช็คความเรียบร้อยของระบบน้ำในบ้านกันด้วย ????

สำหรับใคร ที่สนใจตัวช่วยในการเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เราขอแนะนำ ที่แขวนเครื่องมือช่าง สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขาย สุดประทับใจอย่างแน่นอน

เลือกซื้อ เลือกดูสินค้า คลิกเลย ????

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<< 

บทความที่เกี่ยวข้อง :