
โครงสร้างบ้าน ถือเป็นส่วนที่ผู้ซื้อบ้าน หรือสร้างบ้านควรให้ความสำคัญ เพราะการซื้อ หรือสร้างบ้านสักหลัง นอกจากความสวยงามที่ปรากฏต่อสายตาแล้ว โครงสร้างบ้านต้องมีความแข็งแรง และปลอดภัย KACHA จึงอยากจะมาแชร์ความรู้ใน การตรวจสอบโครงสร้างบ้าน ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพียงไม่กี่ขั้นตอนขั้นตอน เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดที่อาจเกิดขึ้นได้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
รู้จักกับ โครงสร้างบ้าน
โครงสร้างบ้านถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ ที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพราะถือเป็นตัวชี้วัดว่าบ้านหลังนี้มีความมั่นคง รวมถึงฐานรากแข็งแรงพอหรือไม่ เพราะฉะนั้น ควรออกแบบโครงสร้างให้ได้มาตรฐาน และตรวจสอบโครงสร้างบ้านให้ละเอียด ว่ามีจุดที่เกิดปัญหา หรือได้รับความเสียหายอะไรหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่ต้องตามซ่อมภายหลัง และลดความเสี่ยงโครงสร้างพังลงมา ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุแรงร้ายต่อคนในบ้าน

องค์ประกอบโครงสร้างบ้านมี 2 ส่วน ดังนี้
- โครงสร้างบนดิน ได้แก่ เสา, คาน, พื้น, บันได และหลังคา
- โครงสร้างใต้ดิน ได้แก่ เสาตอม่อ, ฐานราก และเสาเข็ม โดยเป็นส่วนที่ถูกขึ้นก่อน
การตรวจสอบโครงสร้างบ้าน แบบง่าย ๆ ทำได้อย่างไร?
การตรวจสอบโครงสร้างบ้านง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้
ทดสอบเสาเข็ม
หากเป็นบ้านจัดสรร ควรมีการทดสอบเสาเข็มตามมาตรฐานของวิศวกร และต้องมีเอกสารยืนยัน รวมถึงมีการระบุวัน และเวลาอย่างชัดเจน โดยบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านทาวน์เฮาส์ มีการทดสอบ 2 แบบ ดังนี้
- Blow Count เป็นวิธีการประเมินกำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็ม
- Seismic Test เป็นการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม โดยไม่ว่าจะเป็นเข็มประเภทใด ต้องทำการตรวจสอบทุกต้น 100%
ตรวจสอบรอยร้าว
หากมีแพลนซื้อบ้าน หรือกำลังสร้างบ้านใหม่ สิ่งที่ต้องสังเกตเป็นลำดับต้น ๆ คือ รอยแตกร้าวภายในบริเวณบ้าน ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัว โดยลักษณะรอยร้าวที่เป็นอันตราย ได้แก่
- รอยร้าวที่คาน : เกิดจากการทรุดตัวต่างระดับของเสา หรือฐานราก
- รอยร้าวที่ผนัง : เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง
- รอยร้าวบนพื้น : เกิดรอยร้าว หรือรอยสนิมเหล็กที่ใต้ท้องพื้นเป็นตาราง
- รอยร้าวในเสา : เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง
- รอยร้าวจากฐานรากทรุดตัว : เกิดจากการทรุดตัวของฐานราก หรือเสา โดยมีลักษณะที่รอยร้าวด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง หรือเกิดร้าวเฉียง 45 องศา

ตรวจสอบโครงสร้าง
หากโครงสร้าง มีรอยร้าวขนาดร่องความกว้างมากกว่า 1 มม. ขึ้นไป ให้ทำการสังเกตว่ารอยร้าวมีการขยายมากแค่ไหน หากมีขนาดที่มากเกินไป แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการแก้ไขการซ่อมแซม
รอยร้าวภายในบ้าน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาบ้านทรุดตัว โดยรอยร้าวที่อันตราย และควรรีบทำการแก้ไข้ มีดังนี้
ถือเป็นรอยร้าวที่อันตรายมาก เกิดจากการแอ่นตัวของพื้น และคานที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น โดยรับน้ำหนักมากเกินไป หากพบรอยร้าวในลักษณะนี้ ให้รีบทำการย้ายของที่มีน้ำหนักมากออก |
เกิดจากการที่ไม่ได้หนุนลูกปูนขณะเทคอนกรีต ส่งผลให้น้ำซึมเข้ามาในเหล็กด้านในพื้นคอนกรีต จึงเกิดการขยายดันให้คอนกรีตหุ้มเหล็กหลุดลงมา ส่งผลให้พื้นไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้ |
เกิดจากการทรุดตัวของฐานราก หรือเสาบ้าน ที่อยู่ใกล้ผนังบริเวณนั้น โดยเป็นสัญญาณเตือนว่า โครงสร้างบ้านไม่มีความแข็งแรง ถือเป็นรอยร้าวที่อันตรายอย่างมาก ต้องรีบทำการซ่อมแซมโดยด่วน |
เกิดจากพื้นที่รับน้ำหนักมากเกินไป ถือเป็นสัญญาณเตือนถึงความอันตราย ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน |
(ขั้นตอนเพิ่มเติม) กรณีต่อเติมบ้าน
หลายคนทำการต่อเติมบ้าน เนื่องจากต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติมจากบริเวณรอบบ้าน ส่วนมาก จะการต่อเติมครัว ไทยหลังบ้าน ซึ่งเสาเข็มที่ใช้นั้น จะมีขนาดไม่เท่ากับตัวบ้าน นั่นหมายความว่า อัตราการทรุดตัวจะไม่เท่ากัน ดังนั้น ห้ามมิให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ต่อเติมเชื่อมกับโครงสร้างหลักของตัวบ้าน ไม่อย่างนั้น จะทำให้ดึงบ้านทรุดตัวตามไปด้วย

ถ้าไม่อยากมีปัญหาโครงสร้างบ้านทรุด หรือเกิดปัญหาชวนปวดหัวตามมาไม่รู้จบ สิ่งที่ไม่ควรละเลย คือ หมั่นตรวจเช็คโครงสร้างบ้าน หากพบจุดที่เกิดปัญหา ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการแก้ไขทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบ้านพัง บ้านทรุด ตามมาในอนาคตนั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง :
สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน
เราขอแนะนำ รถเข็นเครื่องมือช่าง เหมาะสำหรับ เก็บอุปกรณ์ช่าง ทำให้ประหยัดพื้นที่การใช้สอย เเละเป็นระเบียบมากขึ้น มาพร้อมล้อเลื่อน 4 ทิศทางเคลื่อนย้ายสะดวกได้ตามทุกความต้องการ เเละพื้นที่ใช้สอยกว้าง เเต่ละชั้นรับน้ำหนักได้เยอะ ทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถเก็บอุปกรณ์ได้อย่างมั่นคง
สนใจสินค้ารถเข็นเครื่องมือช่าง ????
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025