ราวกันตก หรือราวระเบียง ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับอาคาร การเลือกวัสดุราวกันตกให้เหมาะสมกับบ้าน หรืออาคาร ถือเป็นเรื่องสำคัญ ตาม KACHA ไปรู้จักกับ ราวกันตก ราวระเบียง ว่าคืออะไร? มีกี่ประเภท? เลือกใช้แบบไหน ให้เหมาะสมกับบ้าน อาคารกัน ตามไปดูเลย

ประเภทราวกันตก ราวระเบียง มีแบบไหนบ้าง?

ราวกันตกไม้ (Wood Railing)

ประเทศไทยสมัยก่อน นิยมใช้ไม้ในการก่อสร้างบ้าน จึงนิยมนำไม้มาทำราวกันตก ซึ่งไม้แต่ละชนิด จะมีสี และคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ปัจจุบันนิยมกลับมาใช้ไม้อีกครั้ง ทั้งไม้จริง และไม้เทียม เนื่องจากไม้ให้ความสวยงาม และเหมาะกับอาคารหลากหลายประเภท ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการทำราวกันตก ส่วนใหญ่มักเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากมีความเหนียว แข็งแรง ทนแดดทนฝนได้ดี เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ตะแบก ไม้แดง ซึ่งไม้แต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติ ลวดลาย และสีที่แตกต่างกัน การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ข้อดี คือ มีความสวยงามเป็นธรรมชาติ อบอุ่น มีหลากหลายสี และเนื้อไม้ให้เลือก ตอบโจทย์อาคารหลากหลายสไตล์

ข้อเสีย คือ ดูแลรักษายาก อาจเกิดความชื้น เกิดการบิดหดของไม้ และปัญหามอด ปลวก

220718-Content-ราวกันตกมีกี่แบบ-หลักการออกแบบสำหรับบ้าน-เป็นอย่างไร02

ราวกันตกเหล็ก (Metal Railing)

เหล็ก เป็นวัสดุที่ออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ และหลากหลายสไตล์ มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสามารถซ่อมแซมได้ง่าย ต้องใช้ช่างที่มีฝีมือในการเชื่อมเหล็ก เพื่อให้ได้ราวกันตกเหล็กที่มีคุณภาพ โดยราวกันตกเหล็ก มักนิยมใช้ เหล็กชุบกัลวาไนซ์ หรือเหล็กชุบสี เนื่องจากทำความสะอาดง่าย และไม่เป็นสนิม

ข้อดี คือ ติดตั้งง่าย มีความทนทาน ช่วยทำให้พื้นที่โปร่งขึ้น เหมาะกับสไตล์ลอฟท์

ข้อเสีย คือ หากเชื่อมไม่ดี อาจเกิดความเสียหายได้ง่าย และต้องเคลือบกันสนิมให้ดี

ราวกันตกอลูมิเนียม (Aluminum Railing)

อลูมิเนียม ถือเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะใช้ในการก่อสร้าง หรือใช้ในงานตกแต่ง ซึ่งสามารถใช้ทดแทนวัสดุไม้ และเหล็กได้ในบางจุด สำหรับการออกแบบราวกันตกอลูมิเนียม ในงานสถาปัตยกรรมนั้น มีการใช้อลูมิเนียมโปรไฟล์ (อลูมิเนียมเส้น) ทั้งแบบเหลี่ยม แบบกลม และแบบสำเร็จรูป ค่อนข้างแพร่หลาย นอกจากนี้ ยังสามารถสั่งทำลวดลาย และสีตามความต้องการของเจ้าของอาคารได้

ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา ทนต่อการหัก ทนความร้อน ทนการกัดกร่อน สะท้อนแสง และความร้อนได้ดีมาก นอกจากนี้ ยังมีราคาไม่แพงอีกด้วย

ข้อเสีย คือ เป็นวัสดุที่ไม่แข็งแรงมาก หากมีการกระแทกเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะบุบบี้ หรือเสียรูปทรงได้

220718-Content-ราวกันตกมีกี่แบบ-หลักการออกแบบสำหรับบ้าน-เป็นอย่างไร03

ราวกันตกสแตนเลส (Stainless Railing)

สแตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม คือ โลหะผสมระหว่างเหล็ก และคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คุณสมบัติของสแตนเลส คือ ไม่เกิดสนิม ทนความชื้น ทนต่อการกัดกร่อน และมีความมันวาว โดยสามารถเลือกใช้สแตนเลส ได้ทั้งแบบกลม และสแตนเลสแบบเหลี่ยมตามความต้องกาารของเจ้าของอาคาร ราคาของราวกันตกสแตนเลสนั้น ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของลวดลาย และปริมาณของงาน

ข้อดี คือ มีความสวยงาม ด้วยผิวที่เรียบมันวาว ดูสะอาด ทำความสะอาดง่าย ไม่ยุ่งยาก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อเสีย คือ ต้องให้ช่างที่มีความชำนาญ ในการติดตั้ง

ราวกันตกกระจก (Glass frameless Railing)

ราวกันตกกระจก เป็นที่นิยมสำหรับอาคารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารสำนักงาน เป็นต้น เนื่องจากช่วยทำให้อาคารดูโปร่ง โล่งขึ้น สบายตา โดยการเลือกใช้กระจกนั้น กระจกเทมเปอร์ จะเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ ที่ไม่สูงมากนัก หากเกิดอุบัติเหตุกระจกลามิเนตเทมเปอร์จะแตกออกเป็นลักษณะเม็ดข้าวโพดเล็ก ๆ ไม่เป็นอันตราย เมื่อเทียบกับกระจกธรรมดา ที่จะแตกเป็นแฉกแหลมคม

แต่ถ้าหากเป็นการใช้งานในพื้นที่ ที่มีความสูงมาก ๆ แนะนำให้เลือกใช้ กระจกลามิเนตเทมเปอร์ จะปลอดภัยกว่า หากเกิดอุบัติเหตุกระจก จะแตกออกเป็นลักษณะเม็ดข้าวโพด แต่จะไม่ร่วงหล่นลงมา เพราะมีฟิล์ม PVB ยึดเกาะไว้อยู่นั่นเอง

ข้อดี คือ ช่วยทำให้อาคารดูโมเดิร์นขึ้น โปร่ง โล่งตา และทำให้อาคารดูกว้างขึ้น ไม่ทึบตัน

ข้อเสีย คือ มีราคาสูง ต้องเลือกประเภทกระจกให้ดี และมีช่างติดตั้งที่ชำนาญ

220718-Content-ราวกันตกมีกี่แบบ-หลักการออกแบบสำหรับบ้าน-เป็นอย่างไร04

ราวกันตกคอนกรีต (Concrete Railing)

ราวกันตกคอนกรีต ถือเป็นวัสดุที่ก่อสร้างได้ง่าย และรวดเร็ว สามารถออกแบบให้มีแพทเทิร์นลวดลาย หรือช่องลมได้ เหมาะกับอาคารทุกประเภท

โดยราวกันตกคอนกรีตนั้น สามารถเลือกใช้ได้ทั้งคอนกรีตหล่อในที่ หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และแผ่นคอนกรีตราวกันตกสำเร็จรูป ก็ได้เช่นกัน

ข้อดี คือ ก่อสร้างง่าย แข็งแรงทนทาน สามารถเพิ่มลูกเล่นให้ราวกันตกได้ ด้วยการเจาะช่องลม

ข้อเสีย คือ ทำให้อาคารดูทึบตัน และแคบ

ออกแบบราวกันตกอย่างไร? ป้องกันอันตราย

การออกแบบอาคารสถานที่ต่าง ๆ โดยปกติ สถาปนิก จะมุ่งเน้นออกแบบ ให้เกิดความสวยงาม และความปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน ด้านความปลอดภัย จะมี พรบ. ควบคุมอาคาร กำหนดขนาดสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการอยู่อาศัยเบื้องต้น แต่การทำตาม พรบ. ควบคุมอาคารทั้งหมด ก็ไม่ได้เป็นคำตอบการันตีได้ว่าจะปลอดภัย 100% โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กอายุ 1-7 ขวบ เด็กในวัยกำลังคลาน กำลังฝึกเดิน ฝึกปีนป่าย ผู้ปกครอง จำเป็นต้องดูแลบุตรหลาน ให้คำแนะนำตักเตือน พร้อมกับมองหาจุดเสี่ยง เพื่อปิดช่องโหว่ต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน เราสามารถป้องกันได้ ดังนี้

ราวกันตกสูงกว่า 110 เซนติเมตรขึ้นไป

สำหรับบ้านทั่วไป ที่ไม่มีเด็ก อาจจะออกแบบราวกันตก ให้สูงอย่างน้อย 90 เซนติเมตรได้ แต่สำหรับบ้านที่มีเด็ก จำเป็นต้องเผื่อความสูงไว้ เพื่อป้องกันการปีนป่าย ราวกันตกควรมีความสูงระยะ 110-150 เซนติเมตร ซึ่งจะเป็นระยะที่เด็กวัยซนปีนป่ายได้ยาก โดยความสูงเฉลี่ยเด็ก 7 ขวบ เด็กที่สูงมาก จะสูงประมาณ 120-135 เซนติเมตร หากราวบันไดสูงเพียง 90 เซนติเมตร อาจจะง่ายต่อการปีนป่ายได้

220718-Content-ราวกันตกมีกี่แบบ-หลักการออกแบบสำหรับบ้าน-เป็นอย่างไร05

ราวกันตกแบบโปร่ง ควรใช้ลูกกรงแนวตั้ง

วัสดุสำหรับทำราวกันตก สามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย ทั้งงานไม้ เหล็ก กระจก แต่สำหรับบ้านที่มีเด็ก แนะนำให้ออกแบบเป็นลูกกรงเหล็ก วางเรียงลักษณะแนวตั้ง และไม่มีแนวขวางใดมาเป็นส่วนยึดโครง เพราะลูกกรงแนวตั้ง เด็กจะไม่สามารถใช้เท้าค้ำปีนป่ายได้ ในขณะที่ลูกกรงเหล็กแนวนอน จะกลายเป็นฐานไว้สำหรับปีนป่าย และควรเว้นความถี่ของเหล็ก ไม่เกิน 12 เซนติเมตร เพื่อป้องกันเด็กเล็ก เด็กผอม สามารถลอดตัวเข้าไปในช่องระหว่างลูกกรง

เพิ่มตาข่ายกันเด็กให้ราวกันตก

สำหรับบ้านที่สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัย เช่น มีราวกันตกที่ต่ำเกินไป ความห่างของช่องกรงเหล็กกว้างเกินไป เด็กสามารถลอดผ่านได้ หรือครอบครัวที่ต้องอยู่อาศัยภายในคอนโดมิเนียมที่มีระเบียง แนะนำให้ติดตั้งตาข่ายป้องกันไว้ชั่วคราว ข้อดี ของตาข่าย คือ สามารถติดตั้งได้ง่าย และถอดออกได้เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ราวกันตก ราวระเบียง ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อย่างไรก็ดีก่อนจะติดตั้ง หรือต่อเติม อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดี หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนลงมือทำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาตามมาภายหลังด้วย ^^

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก banidea.com, baanlaesuan.com, condonewb.com, modulum.com