บ้านทรงไทย บ้านเรือนไทย มีลักษณะเด่น คือ ใต้ถุนสูง หลังคาหน้าจั่ว ชายคายื่น ชานเรือนกว้าง ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศซึ่งค่อนข้างร้อน และความชื้นสูง บทความนี้ KACHA จะมาแชร์สาระดี ๆ ก่อนจะ สร้างบ้านทรงไทย ที่ต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เรื่องควรรู้ก่อน สร้างบ้านทรงไทย

1.ราคาสูง

เรียกได้ว่า ราคาไม้ ในปัจจุบันนั้น สูงมาก ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วจะซื้อได้ เพราะว่าบ้านแต่ละหลัง มีความแตกต่างกันในรายละเอียดนั่นเอง บ้านแต่ละหลังที่สร้างบ้านทรงไทย หากเป็นแบบขนาดใหญ่ เชื่อได้เลยว่า จะต้องประสบกับปัญหาหลายต่อหลายประการด้วยกัน ทั้งราคาไม้ที่แพง ไม่นับรวมปัญหาบันไดที่อาจจะมีราคาแพงจนจับไม่ติดเลยก็ว่าได้ 

2.ห้องไม่ลงตัว

การทำห้องของ บ้านเรือนไทย บอกได้เลยว่า ไม่ลงตัวสักเท่าไรนัก เพราะขนาดของห้อง ขึ้นอยู่กับขนาดบ้านนั่นเอง การกั้นห้องใหม่ ก็ทำได้ยาก อาจไม่เหมาะกับคนที่มีสมาชิกในบ้านเยอะ เพราะเมื่อห้องไม่พอ ก็เกิดความไม่ส่วนตัวได้ หรือในบางกรณี อาจจะแก้ปัญหาได้ด้วยการ กั้นห้องใต้ถุน โดยทำการเทปูนแล้วกั้นเป็นห้องปูน แต่จะมีข้อเสีย คือ เสียทรงบ้านได้ และเปลืองเงิน และที่สำคัญ คือ ใต้ถุนทรงไทยจะเตี้ย นอนแล้วก็เกิดอันตรายได้อีกด้วย 

3.มีเสียงเวลาเดิน

บ้านไม้ จะมีเสียงเวลาเดิน หรือแม้แต่ตอนไม่เดิน ก็มีเสียงไม้ลั่นได้เหมือนกัน ยิ่งในช่วงหน้าหนาว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนถึงเสียงไม้ลั่น จะดีกว่าหรือไม่ หากว่าเราจะเลือกบ้านปูนเพราะว่าหนักแน่น ไม่มีเสียงรบกวนให้ตื่นกันทั้งบ้าน 

อ่านบทความ: บ้านปูน คืออะไร? ทำไมนิยมสร้าง ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้

4.ปลวก

ปัญหาบ้านทรงไทย หนีไม่พ้นปลวก เพราะว่าปลวกได้ก่อให้เกิดความรำคาญเป็นอย่างมาก การมีปลวกจะทำให้คุณเสียรายได้มากกว่าเดิมอย่างแน่นอน เพราะว่าเมื่อถึงรอบอายุการซ่อม อาจจะต้องเปลี่ยนในหลายส่วน นำมาสู่การสิ้นเปลืองเงินทองได้โดยง่ายเลยทีเดียว

อ่านบทความ: กำจัดปลวก แบบง่ายๆไม่ทำลายบ้าน และทรัพย์สินที่คุณรัก

220627-รู้ก่อนสร้าง-บ้านทรงไทย-ข้อดี-ข้อเสีย-เป็นอย่างไร02

ข้อดี-ข้อเสีย ของบ้านทรงไทย

การสร้างบ้านทรงไทย มีข้อดี-ข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของบ้านทรงไทย

  1. เป็นเรือนสำเร็จรูป บ้านทรงไทยเป็นเรือนสำเร็จรูป เนื่องจากต้องปรุงเครื่องเรือน เช่น เสา ฝา จั่วปั้น ระเบียง ประตู-หน้าต่าง ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงนำไปประกอบในสถานที่ปลูกสร้าง ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน แล้วมุงหลังคา เป็นอันแล้วเสร็จ หลังจากนั้น เก็บงาน ขัด ทาสี พร้อมเข้าอยู่ได้
  2. สามารถสร้างมาก หรือน้อยหลังก็ได้สามารถต่อ หรือขยาย บ้านทรงไทยออกไปอีกกี่หลังโดยไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของเจ้าของบ้าน
  3. แสดงออกถึงวัฒนธรรมไทย ท่านที่มีบ้านทรงไทย หรืออาศัยอยู่บ้านทรงไทยนับได้ว่า เป็นคนไทยที่ช่วยอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมไทยไว้ปรากฏแก่ลูกหลานสืบไป หากเราปลูกแต่บ้านสไตล์ยุโรป หรือแนวตะวันตก บ้านเรือนไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทย อาจสูญหายไปได้
  4. สร้างโดยคนไทย บ้านทรงไทยควรจะสร้างโดยคนไทย เพื่อคนไทย เพื่อลูกหลานไทย
  5. แสดงลักษณะสถาปัตยกรรมประจำชาติ บ้านทรงไทยนั้น มีศิลปะการก่อสร้างที่น่าทึ่ง เป็นสถาปัตยกรรมประจำชาติที่โดดเด่นมาก
  6. ใต้ถุนบ้านใช้สอยเอนกประสงค์ บ้านทรงไทยใต้ถุนโล่ง สามารถใช้งานได้แบบเอนกประสงค์ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ หรือจะต่อเติมกั้นห้องได้อีกมาก
  7. ใต้ถุนเรือนโปร่งถ่ายเทอากาศ ทำให้ใต้ถุนเย็นสบาย หากไม่มีการกั้นห้องเพิ่มเติม ทำให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศเลยทีเดียว
  8. หลังคาทรงสูงกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ห้องได้ดี หลังคาทรงสูง ทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ดี อากาศร้อน จะลอยไปอยู่ในช่วงหลังคา ทำให้ข้างล่างอากาศเย็นสบาย
  9. ประกอบสร้างได้ในวันเดียว บ้านทรงไทยเป็นเรือนสำเร็จรูป แต่ก็มีองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ระยะเวลาในการสร้าง หรือประกอบ จะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวบ้าน ถ้าเป็นบ้านขนาดเล็ก สามารถสร้างเสร็จในวันเดียว ถ้าหากบ้านมีขนาดใหญ่ จะใช้เวลาประกอบหลายวัน จำนวนช่างก็ต้องมีมากด้วย และวัสดุที่ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้องมีการไส ขัด ทาสีและเก็บงานต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาหลายวัน
  10. มีรูปทรวดทรงสวยงาม บ้านทรงไทยมีรูปทรงงดงาม อ่อนช้อย มีความสุนทรีอยู่ในตัว บ่งบอกถึงรสนิยมของเจ้าของบ้าน

ข้อเสียของบ้านทรงไทย

  1. มีขีดจำกัดต่อการใช้สอย มีข้อกำจัดในการจัดวางห้องน้ำ ในกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการทำห้องน้ำในห้องนอน หรือทำห้องครัวแบบสมัยใหม่ รวมทั้ง การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเคหภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วย
  2. ขาดการสัมพันธ์ของห้องต่อห้อง เมื่อสร้างมากหลัง หรือมีการต่อเติมเพิ่มขึ้น ทำให้ขาดความสัมพันธ์ของห้อง หรือบ้านแต่ละหลัง ซึ่งสามารถแก้ไข โดยให้สถาปนิกออกแบบไว้ก่อนมีการก่อสร้างเพิ่มเติม
  3. เปลืองพื้นที่ในการปลูกสร้าง เรือนไทย ถ้าจะให้เป็นเรือนไทยที่ได้ขนาด ต้องปลูกสร้างบนพื้นที่ดิน ประมาณ 100 ตารางวา พื้นที่อาจลดลงตามฐานะของผู้ปลูก แต่ส่วนมากไม่ต่ำกว่า 50 ตารางวา ซึ่งควรมีต้นไม้ที่ดอกหอมแบบไทย ๆ ปลูกประกอบ เช่น พิกุล ลำดวน จำปี จำปา หรือการะเวก เป็นต้น
  4. ทำให้ขนาดกว้างใหญ่ได้ยาก ขนาดของบ้านทรงไทย มีมาตรฐานที่จำกัด ยากแก่การขยายแบบให้มีขนาดใหญ่ โดยทั่วไป จะมีขนาดความกว้างของห้อง ประมาณ 3.0 เมตร, 3.5 เมตร 4 เมตร และ4.5 เมตร ส่วนความยาวของห้อง ประมาณ 5 เมตร, 7.5 เมตร และ 9 เมตร
  5. ต้านลม และสิ้นเปลืองวัสดุ บ้านทรงไทยมีหลังคาทรงสูง ทำให้มีรูปแบบที่ต้านลม และทำให้การ สร้างบ้านทรงไทย ต้องใช้วัสดุมุงหลังคา เช่น กระเบื้องดินเผามากกว่าปกติ
  6. ขาดการใช้ประโยชน์ส่วนตัว หมายถึงบ้านทรงไทยเดิม ที่ห้องน้ำ และห้องครัวแยกออกมาอีกหลังหนึ่ง ทำให้เวลาอาบน้ำ ต้องเดินมาอีกเรือนหนึ่ง ปัจจุบัน เราสามารถสร้าง หรือประยุกต์ให้ห้องน้ำติดกับห้องนอนได้ ทำให้มีความเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้น
  7. ใต้ถุนของนอกชานใช้ประโยชน์ได้น้อย เพราะเตี้ยเดินลอดไม่ได้ ปัจุจุบัน สามารถสร้างให้ชานนอก มีระดับสูงได้ โดยทั่วไประดับชานนอก จะประมาณ +2.60 เมตร ซึ่งสามารถจอดรถยนต์ได้ ระดับพื้นระเบียง ประมาณ +2.80 เมตร และระดับพื้นห้องนอน ประมาณ +3.00 เมตร
  8. ภายในห้องอบอ้าว อากาศเข้าทางหน้าต่าง ทางอากาศผ่านออกน้อยมาก สามารถออกแบบ หรือสร้างให้มีหน้าต่างเพิ่มขึ้นได้ ทำให้อากาศผ่านได้มากขึ้น
  9. ฐานรากไม่แข็งแรงทรุดตัวง่าย แต่ในปัจจุบัน การออกแบบฐานราก จะใช้วิธีตั้งเสาบ้านทรงไทยบนฐานรากตอม่อเสาเข็ม ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยคานคอดิน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการทรุดตัว
  10. ฝนรั่วได้ได้ตามแนวบานหน้าต่าง และที่นอนลูกปะกน เป็นต้น หากมีการนำไม้ใหม่ มาใช้ในการทำบานหน้าต่าง และที่นอนลูกปะกนของฝา อาจทำให้มีการหดตัวของไม้แล้วเกิดช่องว่าง ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าได้ หากได้ช่างดีมีคุณภาพ ปัญหานี้จะหมดไป

บ้านทรงไทย ป้องกันความร้อน และน้ำท่วมได้อย่างไร?

บ้านทรงไทย บ้านเรือนไทย ถือเป็นอีกหนึ่งแบบบ้านที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ถึงแม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมเท่ากับแบบบ้านทรงอื่น ๆ แต่ก็ยังมีหลายครอบครัว ที่ยังคงชื่นชอบ สร้างบ้านทรงไทย กันอยู่ ด้วยรูปแบบบ้านที่มีเอกลักษณ์ และแสดงถึงความเป็นไทยนั่นเอง และบ้านทรงไทย ป้องกันความร้อน และน้ำท่วมได้อย่างไร? ดังนี้

  • วัสดุและหลังคาทรงจั่ว ที่ระบายความร้อนได้ดี

ทำไมบ้านทรงไทย ถึงเป็นแบบบ้านที่เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย ที่มีอากาศร้อนจัดตลอดทั้งปี ทั้งนี้ คือ แบบบ้านทรงไทยทั่วไปนั้น นิยมใช้วัสดุหลักในการประกอบบ้านเป็นไม้ ซึ่งสามารถคลายความร้อนได้ดีกว่าวัสดุที่ทำมาจากคอนกรีต ที่มีคุณสมบัติอมความร้อนสูงกว่าวัสดุประเภทไม้

ดังนั้น เมื่ออากาศร้อนจัดมาก ๆ พื้นไม้ จะคลายความร้อน และเย็นตัวกว่าวัสดุอื่น ๆ ทำให้อุณหภูมิในบ้านเย็นตัวไปด้วย รวมไปถึงเรื่องโครงสร้างหลังคาทรงจั่วของแบบบ้านทรงไทย ที่สูงกว่าแบบบบ้านอื่น ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญ ที่ช่วยให้บ้านทรงไทยนั้น รับมือกับความร้อนได้ ด้วยพื้นที่โปร่ง ที่มีพื้นจรดเพดานที่สูง อย่างน้อย 35 องศาขึ้นไป ตามสเปกของแบบบ้านทรงไทย จะช่วยให้บ้านสามารถกักเก็บมวลอากาศไว้ในบ้านได้ และยังสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีด้วย

หลังคาทรงจั่วของบ้านทรงไทย ยังเป็นเสมือนฉนวนกันความร้อน ในระยะห่างของผู้อาศัยกับหลังคาที่ไกลกันพอสมควรก็แทบไม่รู้สึกถึงไอร้อน ยิ่งถ้าหากใครที่ปลูก หรือสร้างบ้านทรงไทย และติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือกระเบื้องหลังคาแบบสะท้อนความร้อนเข้าไปอีก รับรองว่า ต่อให้ไม่ได้เปิดแอร์ ก็ยังไม่รู้สึกร้อน ประหยัดพลังงานนั่นเอง 

  • ป้องกันน้ำท่วม และสัตว์ร้ายที่มาในช่วงหน้าฝน

สิ่งที่น่าเป็นห่วงในฤดูฝนมากที่สุด คือ เรื่องของโครงสร้างวัสดุส่วนใหญ่ที่เป็นไม้ ซึ่งปัญหาจะมาในรูปแบบของความชื้น ที่อาจทำให้ไม้บวมได้ แต่หากบ้านไหนเลือกใช้ไม้จริงประเภทไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่า ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องความแข็งแรง ทนทาน รับมือได้ทุกสภาพอากาศเลย นอกจากเรื่องโครงสร้างวัสดุดังกล่าว สิ่งที่เป็นจุดเด่นของบ้านทรงไทย และสามารถปกป้องทุกคนในครอบครัวให้รอดพ้นจากภัยพิบัติได้ คือ ใต้ถุนบ้าน ที่ยกขึ้นสูง เรียกได้ว่าบ้านทรงไทยบางหลัง มีโครงสร้างใต้ถุนบ้านสูงกว่า 2 เมตรด้วยซ้ำไป

เอกลักษณ์ของใต้ถุนบ้านนั้น ถือเป็นสิ่งที่คู่กับบ้านทรงไทยมาช้านาน จุดประสงค์หลัก เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในบ้าน จากอากาศที่ถ่ายเทสะดวกเหมือนเป็นที่กักเก็บมวลอากาศเอาไว้ แต่ด้วยความสูงของใต้ถุนบ้าน ถือเป็นข้อดี เมื่อเกิดน้ำท่วมขัง ข้าวของภายในบ้าน จะไม่เสียหาย และทำให้ทุกชีวิตภายในบ้านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายภายในบ้าน นอกจากนั้น ยังปลอดภัยจากอันตรายจากสัตว์ที่มากับน้ำด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้าง เรื่องที่คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับการ สร้างบ้านทรงไทย บ้านทรงไทย แม้มีข้อดีมากแค่ไหน แต่อาจไม่เหมาะสมกับยุคสมัยแล้ว ดังนั้น เลือกแบบบ้านเหมาะสมกับคุณเองมากที่สุด เพื่อการอยู่อาศัยในระยะยาวด้วย 🙂 สามารถศึกษาหาข้อมูล สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “การสร้างบ้าน” ที่ควรรู้! ได้ที่นี่

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????