หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้าง สำหรับ “การกลึง” เป็นกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะในรูปแบบทรงกระบอกเป็นหลัก โดยอาศัยเทคนิค การทำงานที่หลากหลาย ตามความต้องการ ทั้งนี้สิ่งที่ควรจะต้องรู้จักในเบื้องต้น ก่อนการเรียนรู้การกลึงงานจริงมีหลายประการ

บทความนี้ KACHAจะพาไปรู้จักกับ งานกลึง การกลึง ให้มากขึ้นกันว่าคืออะไร? มีกี่ประเภทบ้าง? ไปดูกัน

งานกลึง คือ?

งานกลึง (turning-operation) เป็นการสร้างรูปทรงกระบอก และรูปทรงกลมขึ้นมา โดยใช้เครื่องมือ แบบหนึ่งคมตัด โดยการกลึง หมายถึง การที่เครื่องมืออยู่กับที่ ขณะที่ชิ้นงานมีการหมุน การกลึง สามารถแบ่งเป็นรูปแบบ การใช้งานขั้นพื้นฐานได้หลายแบบ คือ การกลึงตามยาว การกลึงปาด และการกลึงขึ้นรูป งานกลึงปาดหน้า, งานกลึงปอก, งานกลึงเกลียว, งานกลึงคว้านรูใน, งานกลึงเซาะร่อง และงานกลึงตัด ซึ่งต้องใช้เครื่องมือ ค่าการตัด และการตั้งโปรแกรมโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

(ภาพจาก sumipol.com)

เครื่องจักที่ใช้ขึ้นรูปงานกลึง คือ เครื่องกลึง (Lathe) มีทั้งเครื่องกลึง ที่เป็นการควบคุม แบบธรรมดา (manual) และเครื่องกลึงที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ (CNC Lathe) และเครื่องกลึง ยังสามารถทำงาน ได้อีกหลายอย่าง เช่น เจาะรู (drill), ต๊าปเกลียว (Tapping) ลักษณะการขึ้นรูปของงานกลึงนั้น ชิ้นงานจะยึดติดอยู่กับที่ และหมุนอยู่บนหัวจับ (spindle) ของเครื่องกลึง หลังจากนั้น เครื่องมือตัด (cutting tool) จะเคลื่อนที่เข้าตัดชิ้นงาน เป็นรูปร่างต่าง ๆ

ประเภทการกลึง

งานกลึงคือ การขึ้นรูปโลหะโดยให้ชิ้นงานหมุนรอบตัวเอง โดยมีดกลึงเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงาน ซึ่งการเสียดสีนี้ สามารถทำให้เกิดอุณหภูมิสูงถึง 1,700 องศาฟาเรนไฮต์ งานกลึง มี 2 ลักษณะ คือ

  1. การกลึงปาดหน้า โดยใช้มีดตัดชิ้นงานไปตามแนวขวาง (Across the work)
  2. การกลึงปอก คือ การเคลื่อนมีดตัดไปตามแนวขนาน กับแนวแกนของชิ้นงาน
220623-Content-รู้จักกับ-งานกลึง-คืออะไร-และการกลึงมีกี่ประเภท02

งานกลึงปาดหน้า

การกลึงปาดหน้า เป็นลักษณะการกลึงปาดผิวหน้าตัดของชิ้นงานออก ชิ้นงานจะหมุน ส่วนมีดกลึง จะเคลื่อนที่เข้าออกในแนว Y (ด้านตั้งฉากกับ spindle) เพื่อปาดผิวหน้า และเลื่อนซ้าย-ขวาในแนวแกน Z (แนวเดียวกับ spindle) เพื่อควบคุมความยาว มีดที่ใช้ในการกลึงปาดหน้า

(ภาพจาก cncprog.blogspot.com)

มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปาดหน้า

มีหลายรูปทรง แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ รูปทรงสามเหลี่ยม หรือมีดกลึงชนิด T (Triangle) มีมุม 60 องศา สามารถกลึงงานได้ 3 มุม การเลือกขนาดรัศมีปลายมีดกลึง (R) ขึ้นอยู่กับความละเอียดของผิวปาดหน้าที่ต้องการ ถ้าต้องการละเอียดมากก็ใช้ R ที่มีขนาดเล็ก เช่น 0.2-0.4 mm.

งานกลึงปอก

การกลึงปอก เป็นลักษณะของการกลึงชิ้นงาน ตามแนวขนานเพลาจับยึด ของเครื่องกลึง ถ้าเป็นการกลึงปอกภายนอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของชิ้นงาน จะเล็กลง และถ้าเป็นการกลึงปอกภายใน หรือการกลึงคว้านรู จะทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางของรู มีขนาดโตขึ้น

มีดกลึงสำหรับงานกลึงปอก

1) มีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายนอก : สำหรับงานกลึงภายนอกทั่วไป เช่น กลึงลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตลอดแนวความยาว ไม่มีร่อง ไม่มีตกบ่า ส่วนมาก จะใช้มีดกลึงที่มีรูปร่างเหมือนตัว W มีข้อดี คือ สามารถรับแรงในการกลึงได้มาก ปกติจะใช้ปลายมีดรัศมี R04, R08 สำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก หากต้องการผิวงาน ที่มีความละเอียดมากขึ้น อาจจะต้องใช้มีด T ขนาด R02 เก็บผิวอีกครั้ง ลักษณะของด้ามมีดกลึง ก็จะเป็นสี่เหลี่ยม

(ด้ามมีดกลึง สำหรับการกลึงปอกภายนอก)

(มีดกลึง ที่ใช้ในการกลึงปอกทั่วไป)

2) มีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายในหรือการกลึงคว้านรู : ด้ามสำหรับจับยึดมีดกลึง จะถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก เนื่องการจากเป็นการทำงานตัดเฉือนภายในรู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของด้าม จะต้องเล็กกว่าขนาดของรู เพื่อป้องกันมีดกลึงชนกับชิ้นงาน สำหรับมีดกลึงในการคว้านรู จะมีขนาดเล็กกว่ามีดกลึง สำหรับการกลึงปอกภายนอก เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด

(ด้ามมีดกลึง สำหรับการกลึงคว้านรู)
(มีดกลึง สำหรับการกลึงคว้านรู)

เป็นอย่างไรกันบ้าง งานกลึง ที่เรานำมาฝากกัน ในบทความนี้ คงทำให้หลาย ๆ คนได้รู้จักกับ การกลึงกันมากขึ้น บทความหน้า KACHA จะมีบทความอะไรดี ๆ มาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันเหมือนเดิมน้า ????

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่าง ราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขาย ที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????