รู้จักกับ บ้านหน้าแคบ ออกแบบให้ลงตัว ไม่อึดอัด ทำได้ไม่ยาก

ใครที่กำลังมีแผนจะสร้างบ้าน แต่แอบกังวลกับขนาดของที่ดินที่มีจำกัด ทั้งเล็ก และที่ดินหน้าแคบ ในบทความนี้ KACHA ขอแชร์ไอเดียออกแบบ บ้านหน้าแคบ พื้นที่น้อย ให้มีพื้นที่ฟังก์ชั่น การใช้สอยครับครัน จะมีแบบไหนบ้าง ตามไปดูกันเลย

ออกแบบบ้านหน้าแคบ ทำได้อย่างไร?

บ้านในเขตชุมชนเมือง ส่วนใหญ่มีลักษณะหน้าแคบ แต่ลึก เนื่องจาก ราคาที่ดินในเมือง มีราคาสูง การแบ่งซอยพื้นที่เล็ก ๆ จึงสามารถขายได้ง่ายกว่าที่ดินผืนใหญ่ บ้านหน้าแคบแต่ลึก มักจะเป็นบ้านที่ถูกปิดทึบด้วยผนังทั้ง 2 ด้าน ทำให้รู้สึกอึดอัด คับแคบ ต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน มาดูแนวทางแก้ปัญหาเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูมีพื้นที่ ไม่แออัด ดังนี้

1. ยอมสละพื้นที่ใช้สอยอีก 50 เซนติเมตร

ตามกฎหมายระยะร่น อนุญาตให้สามารถร่นระยะอาคารได้น้อยสุด 50 เซนติเมตร โดยบริเวณดังกล่าว จะต้องออกแบบในลักษณะ ผนังทึบ หากออกแบบโปร่ง มีช่องแสง ช่องลม จำเป็นต้องร่นระยะอาคาร 2 เมตรขึ้นไป การออกแบบบ้านในที่ดินหน้าแคบ ส่วนใหญ่จึงออกแบบในลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม ปิดทึบด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ซึ่งทำให้ภายในบ้านมืด อับแสง

การกำหนดระยะร่น จะอิงตามด้านขนานของขอบที่ดินในด้านนั้น ๆ แต่ไม่รวม การเปิดช่องแสงในด้านตั้งฉาก ผังห้องที่ติดกำแพง จะต้นเว้นระยะร่นอย่างน้อย 50 เซนติเมตร แต่ผนังที่หันไปทางหน้าบ้านจะไม่ได้อิงจากขอบที่ดินติดกำแพง จึงสามารถเปิดช่องแสงได้ อาจจะเว้นระยะร่นในบางส่วนเพิ่มขึ้นอีก 50 เซนติเมตร เพื่อเว้นพื้นที่ไว้สำหรับทำช่องแสง ช่องหน้าต่าง เพื่อเปิดรับแสงให้ห้องได้

2. พื้นที่ทำส่วนนอกบ้านไม่พอ ทำสวนในบ้านได้

อยากมีสวนไว้ที่บ้าน แต่พื้นที่มีจำกัด การออกแบบสวนไว้ในบ้าน หรือที่เรียกกันว่า คอร์ตในบ้าน (Courtyard) เป็นอีกแนวทาง ที่สามารถเติมเต็มธรรมชาติมาไว้ภายในบ้านได้ ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ปลอดภัย และได้รับแสงสว่าง แม้ผนังบ้านจะปิดทึบก็ตาม

สิ่งที่ต้องระวัง ในการจัดสวนภายในบ้าน คือ การเลือกพันธุ์ไม้ ที่ใบร่วงน้อย กินน้ำน้อย และต้องมั่นใจได้ว่า เราสามารถดูแลต้นไม้เหล่านี้ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ หากดูแลไม่ดี อาจจะกลายเป็นภาระให้บ้านแทน หรือที่ดินของใคร มีลักษณะแคบ แต่ลึก การทำสวนส่วนตัวไว้หลังบ้านก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจเช่นกัน

221207-Content-รู้จักกับ-บ้านหน้าแคบ02

3. เปิดผนังติดระยะร่น ทำหลังคาเปิด

การรับแสงสว่าง ในการออกแบบบ้านทั่วไป จะรับผ่านทางผนัง กระจก ช่องหน้าต่าง จนอาจลืมไปว่า ด้านบนหลังคาบ้าน ก็สามารถรับแสงสว่างได้เช่นกัน การทำหลังคา Sky Light ในตำแหน่งที่ต้องการแสง สามารถเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูโปร่งกว้างได้

โดยเทคนิคนี้ สถาปนิก นิยมนำมาใช้ร่วมกับ โถงบันได ทางเดิน ห้องน้ำกึ่ง Outdoor หรือแม้แต่ภายในห้องนอน ก็สามารถใช้เทคนิคเหล่านี้ได้ แต่จุดที่ต้องระวัง สำหรับการทำหลังคา Sky Light คือ ต้องเลือกกระจกที่สามารถป้องกันแสง UV และกันความร้อนได้ เพื่อให้บ้านได้รับแสงสว่าง แต่ไม่นำพาความร้อนนั่นเอง

221207-Content-รู้จักกับ-บ้านหน้าแคบ03

4. โปร่ง ปลอดภัย เป็นส่วนตัว

สำหรับพื้นที่บางส่วน ที่สามารถเว้นระยะร่นได้ เช่น หน้าบ้าน หลังบ้าน การออกแบบให้โปร่ง โล่ง สามารถรับแสงตลอดทั้งวัน จำเป็นต้องออกแบบด้วยวัสดุกระจก อาจทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัวได้ แต่เราสามารถออกแบบ เปลือกอาคารภายนอกด้วย facade สวยงาม เลือกใช้ระแนง บล็อกคอนกรีต มาปิดกั้นความเป็นส่วนตัว พร้อมกับออกแบบประตูกระจกบานเลื่อน ที่สามารถเปิดรับลมธรรมชาติได้

5. ออกแบบ้านให้ชิดด้านใด ด้านหนึ่ง

บ้านเดี่ยวทั่วไป ที่มีขนาดที่ดินประมาณ 15-20 เมตร นิยมวางผังบ้านไว้กึ่งกลางที่ดิน พร้อมกับเว้นระยะร่นด้านละ 2 เมตร ตามกฎหมายกำหนด แต่สำหรับที่ดินหน้าแคบ การเว้นระยะร่นในลักษณะดังกล่าว อาจส่งผลเหลือพื้นที่ก่อสร้างน้อย การเลือกเว้นด้านใด ด้านหนึ่ง เพื่อใช้เป็นพื้นที่สวน พื้นที่โปร่ง พร้อมกับออกแบบให้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามเป็นลักษณะผนังทึบ เพื่อสามารถเว้นระยะร่นด้านข้างเพียง 50 เซนติเมตร จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างนอกอาคารมากขึ้น ใช้งานจริงได้ดีกว่าเดิม

ส่วนภายในด้านผนังทึบ เหมาะกับออกแบบไว้เป็นพื้นที่บันได บ้านหน้าแคบ จะเหมาะกับบันไดตรง ขึ้นลงตามแนวลึก หากผนังด้านดังกล่าว อยู่ฝั่งทิศตะวันตก หรือทิศใต้ จะยิ่งเกิดประโยชน์ เพราะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ด้วย

รวม 3 ไอเดีย บ้านหน้าแคบ

บ้านหน้าแคบทรงสามเหลี่ยม

ออกแบบ DELUTION / ภาพ : Feranando Gumulya

ที่ดินหน้ากว้างเพียง 5.50 เมตร ซึ่งมีขนาดสวนทางกับความต้องการพื้นที่ในการใช้งานของเจ้าของบ้าน ออกแบบพื้นที่ของห้อง ด้วยฝ้าเพดานทรงสามเหลี่ยม ที่ครอบตัวบ้านไว้ พื้นที่ภายใน เป็น Duble Space ช่วยในการระบายอากาศ การจัดวางพื้นที่ แบบเป็นเส้นตรงแนวยาว ช่วยให้บ้านดูโปร่งโล่ง พร้อมแบ่งโซนของบ้าน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่แคบ จัดวางเฟอร์นิเจอร์แบบ Open Plan เชื่อมพื้นที่แต่ละห้องเข้าหากันได้อย่างลงตัว

บ้านกล่องบนที่ดินหน้าแคบ

221207-Content-รู้จักกับ-บ้านหน้าแคบ05

เจ้าของ : ครอบครัวคุปตะวาทิน / ออกแบบ : คุณวัฒน์ – คุณคณิต คุปตะวาทิน

บ้านสีเทาเข้ม ทรงกล่องปิดทึบ เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาการสร้างบ้านในที่ดินหน้าแคบ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยเพียงพอ สำหรับสมาชิกในครอบครัว โดยนำวัสดุของบ้านเก่า มาใช้อย่างคุ้มค่า จนกลายเป็น บ้านหน้าแคบ ที่โปร่ง และอยู่สบาย น่าอยู่สุด ๆ

บ้านหน้าแคบเพียง 4 เมตร

221207-Content-รู้จักกับ-บ้านหน้าแคบ06

ออกแบบสถาปัตยกรรม : ODDO Architects / ภาพ : Hoang Le photography

บ้านหน้าแคบเพียง 4 เมตร แต่จัดการพื้นที่ได้อย่างชาญฉลาด การออกแบบให้อาคารสูงชะลูด เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก แอบซ่อนมุมสีเขียวไว้ข้างใน พร้อมผสานการอยู่แบบเวียดนาม เข้ากับงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นได้อย่างลงตัว ช่วยให้การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ เป็นเรื่องง่าย และมีความสุขมากขึ้น

จบไปแล้วกับการออกแบบบ้านหน้าแคบ ที่บอกเลยว่า สามารถเปลี่ยนบ้านพื้นที่เล็ก ๆ เป็นบ้านที่น่าอยู่ได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว หวังว่าบทความที่เรานำมาแชร์ในวันนี้ จะทำให้หลาย ๆ คนได้มีไอเดีย และนำไปเป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจสร้างบ้านกันนะจ๊ะ

บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ : 

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

เลือกดูสินค้า สินค้าจาก KACHA  คลิกเลย ????????

อ้างอิงข้อมูลจาก banidea.com, baanlaesuan.com