
รู้จักกับ ระบบกันไฟกระชาก (Surge Protection) คืออะไร?
หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เรามักพบเจอกันบ่อย ๆ เมื่อมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าก็คือ “ไฟกระชาก” ซึ่งความรุนแรงนั้น ก็จะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ไม่รู้สึกว่าเกิดขึ้น จนถึงสร้างความเสียหายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า นั่นทำให้มีการคิดสิ่งที่เรียกว่า ระบบกันไฟกระชาก ขึ้นมา เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
ในบทความนี้ KACHA จะมาทำความรู้จักกับ Surge Protection หรือระบบกันไฟกระชาก ผู้ช่วยที่อยู่ในปลั๊กไฟกันว่า มีหน้าตาเป็นอย่างไร? รวมถึงกลไกการทำงานเป็นอย่างไร?
Surge Protection (ระบบกันไฟกระชาก) คือ ในบางครั้ง อาจจะมีเหตุการไม่ปกติในการใช้ไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟกระชาก ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ในบางครั้ง Surge Protector สามารถเรียกได้หลายชื่อไม่ว่าจะเป็นคำว่า Surge Protection Device (SPD), Surge Suppression Equipment (SSE) หรือ Transient Voltage Surge Suppressor (TVSS)
หลักการทำงานทั่วไปของ Surge Protector
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ได้รับการออกแบบให้สามารถเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสร้างแนวที่มีความต้านทานต่ำเชื่อมต่อไปสู่ตำแหน่งของสายดิน เพื่อให้แรงดันที่สูงขึ้นชั่วขณะไหลไปตามแนวความต้านทานต่ำไปยังสายดิน
ส่วนประกอบของ Surge Protector
การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะสำหรับแต่ละลักษณะการใช้งาน จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ชิ้นส่วนที่ประกอบอยู่ภายในอุปกรณ์ก็จะแตกต่างกันด้วย แต่มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกัน คือ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ, เชื่อถือได้ และตอบสนองต่อพลังงานสูงได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนมากชิ้นส่วนที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ฯ ที่พบ จะต้องมีหน้าที่ทำให้เกิดความต้านทานต่ำ เช่น MOV (Metal Oxide Varistor), Gas Discharge Tube (GDT) และ Silicon Avalanche Diode (SAD) ฯลฯ หรือรวมเอาชิ้นส่วนของอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน
ชิ้นส่วนที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์แต่ละชนิด มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
-
MOV (Metal Oxide Varistor)
จะมีการตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นได้เร็ว (ประมาณ 20 นาโนวินาที) แต่ถ้ารับกระแสไฟฟ้าสูง (100 A) เข้ามา จะทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ลดลง ภายใต้สภาวะปกติ MOV จะมีความต้านทานสูง แต่เมื่อมีการรับแรงดันไฟฟ้าสูงเข้ามา ความต้านทานของ MOV จะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างแนวที่มีความต้านทานต่ำสำหรับให้แรงดันไฟฟ้าสูงไหลไปสู่สายดิน นอกจากนี้ MOV ยังมีความสามารถในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าอีกด้วย
-
Gas Discharge Tube (GDT)
มีความสามารถในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก (20 kV) และกระแสไฟฟ้าที่สูงมาก (2500 A) แต่มีการตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นได้ช้า
-
Silicon Avalanche Diode (SAD)
จะมีการตอบสนองต่อแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นได้เร็วมาก (ประมาณ 5 นาโนวินาที) และสามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าในปริมาณมาก (1000 A) แต่มีความไวต่ออัตราการเพิ่มขึ้นของแรงดันไฟฟ้า (dv/dt) และสภาวะเกิดข้อผิดพลาดเมื่อแรงดันไฟฟ้าสูงสุด (Peak Voltage Failure Modes)
นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ได้มีการรวมเอาชิ้นส่วนของอุปกรณ์อื่น ๆ เข้าไว้ด้วยกันในอุปกรณ์ป้องกันแรงดันสูงชั่วขณะ เช่น ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุ ฯลฯ
ทำความรู้จักระบบกันไฟกระชาก
ระบบกันไฟกระชาก หรือSurge Protector เป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยป้องกันความเสียหายจากการที่แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นในชั่วขณะ หรือในช่วงที่เกิดไฟกระชากนั่นเอง ซึ่งในปลั๊กพ่วงนั้นรูปร่างหน้าตาของมันจะเป็นแบบนี้

ชิ้นส่วนที่เราเห็นเป็นวงกลมมีสองขานี้เรียกว่า Metal Oxide Varistor หรือ MOV ที่ทางผู้ผลิต จะติดตั้งมาในตัวปลั๊กไฟ โดยเป็นสารกึ่งตัวนำแบบหนึ่ง ที่ช่วยปรับค่าความต้านทานได้ตามแรงดันของกระแสไฟฟ้าที่เข้ามา นึกภาพง่าย ๆ ว่าในช่วงที่ทุกอย่างปกติ เจ้าตัว MOV ก็จะอยู่เฉย ๆ ของมันไป แต่ถ้าเกิดว่าแรงดันไฟฟ้าสูงในช่วงไฟกระชาก มันก็จะเริ่มทำหน้าที่ของมันอย่างขยันขันแข็งราวกับเป็นฮีโร่มาช่วยปกป้องระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ นั่นเอง
ตัว MOV อย่างที่เราบอกไปในตอนต้นว่า มันสามารถปรับค่าความต้านทานให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามา นั่นทำให้พอเกิดไฟกระชาก จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม มันจะทำหน้าที่แบกรับความผิดปกติเอาไว้ในช่วงสั้น ๆ แล้วแต่คุณภาพ หรือเกรดของมันด้วย นอกจากนี้ การเกิดไฟกระชาก อาจมาจากสายไฟทุกเส้นทั้ง L G N ทำให้ผู้ผลิตบางเจ้าใส่ ตัว MOV มาให้ในสายทุกเส้น เพื่อเป็นการป้องกันที่ดีขึ้น เพราะเหตุนี้ เราจึงเห็น ฉลากปลั๊กไฟบางรุ่นเขียนว่า Surge Protection X 2 หรือ Surge Protection X 3 นั่นเอง

ความสามารถอีกอย่างที่ทำให้ MOV ช่วยดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าเราได้ดี คือ ในกรณีที่แรงดันไฟฟ้าเข้ามาเยอะเกินกว่าที่จะรับไว้ได้ กระแสไฟที่เกินมา ก็จะถูกส่งต่อไปยังสายดินอีกทีหนึ่ง หรือถ้าไม่มีสายดินเจ้า MOV ก็จะรับไว้จนตัวเองพังไป แม้จะไม่สามารถการันตีได้ว่าปลอดภัย 100% แต่ก็อุ่นใจกว่าปลั๊กไฟที่ไม่มีแน่นอน และนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ตาม มอก. ปลั๊กไฟฉบับล่าสุดบังคับให้ต้องมีการเดินสายดินจริง ไม่ใช่แค่ทำกราวด์หลอกเอาไว้ ซึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้นั่นเอง
ไฟกระชากเกิดจากอะไร? เกิดจากสาเหตุใดบ้าง?
ไฟกระชาก คือ การที่แรงดันไฟฟ้าเกิดความปิดปกติ กล่าวคือเกิน 220V ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็อาจส่งผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังทำงานอยู่ได้

สำหรับสาเหตุของการเกิดไฟกระชากนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็น ฟ้าร้อง, ฟ้าผ่า, สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า, การวางระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน, การเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะ ๆ สังเกตได้จากเวลาที่เราเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือตู้เย็น โดยกระแสไฟที่ผิดปกตินั้นจะมาทางสายไฟทั้ง L, N, G สายสัญญาณต่าง ๆ เช่น สาย LAN, สายโทรศัพท์, สายจานดาวเทียม ซึ่งเมื่อเกิดไฟกระชากขึ้น อาจสร้างความเสียหาย หรือทำให้อายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ สั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น และอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาด้วย นั่นทำให้ในปลั๊กไฟรุ่นใหม่ ๆ จึงได้มีการติดติดตั้ง ระบบกันไฟกระชาก เสริมเข้ามานั่นเอง
ประโยชน์ของ Surge Protection
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ มีประโยชน์ในด้านการปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิคส์ ที่มีสาเหตุมาจากสภาวะ Transient และ Surge เช่น ปัญหาทางไฟฟ้าที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า, ปัญหาที่เกิดจากระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเหนี่ยวนำไฟฟ้าม สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า เป็นต้น
???? อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ ซึ่งพลังงานที่สูงมากเช่นนี้ สามารถสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ มีหน้าที่หลักอยู่ 2 ประการ คือ
- สร้างบริเวณหนึ่งให้มีความต้านทานต่ำ เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นกลับอยู่ในสภาวะปกติ ได้แก่ สายดิน
- ทำการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงเกินไปยังบริเวณที่สร้างขึ้น (สายดิน) เพื่อป้องกันความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นได้
???? ชนิดของ Surge Protector
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้
- Filter เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ที่มีลักษณะเป็นตัวกีดขวาง คอยสกัดกั้นพลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่สูง (มักจะเป็นสัญญาณรบกวน) ในขณะเดียวกัน ก็จะปล่อยให้พลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำไหลผ่านได้โดยสะดวก
- Transients Diverters เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ที่มีการสร้างแนวซึ่งมีความต้านทานต่ำ สำหรับให้แรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นชั่วขณะไหลไปตามแนวนั้นลงสู่สายดิน
เห็นไหมว่า ระบบกันไฟกระชาก (Surge Protection) นั้นมีความสำคัญมากแค่ไหนกับปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งาน ดังนั้น เลือกปลั๊กไฟครั้งต่อไปเลือกปลั๊ก มอก. ที่อย่างน้อยก็ช่วยการันตีได้ในระดับหนึ่งว่ามีคุณภาพ ทนทาน ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของเรา และครอบครัว ส่วนระบบกันไฟกระชากนั้น ต้องอ่านรายละเอียดข้างกล่องให้ดีว่ามีหรือไม่มีในปลั๊กไฟรุ่นนั้น สอบถามผู้รู้ขอคำแนะนำเพื่อให้คุณได้ปลั๊กไฟที่ดีที่สุดเอาไว้ใช้งานกัน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
- ไฟตก สาเหตุเกิดจากอะไร? แก้ไขได้อย่างไร?
- เรื่องที่ต้องรู้! ก่อนซื้อ ปลั๊กไฟ
- ตรวจ “ระบบไฟฟ้า” ด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร?
- เลือก “มิเตอร์ไฟฟ้า” แบบไหนให้เหมาะสมกับบ้าน
- เรื่องที่ต้องรู้! ก่อนซื้อ ปลั๊กไฟ
- สายดิน คืออะไร? ทำไมต้องติดตั้ง!
- เครื่องปั่นไฟ มีประโยชน์อย่างไร?
- เครื่องสำรองไฟ (UPS) คืออะไร? มีกี่แบบ จำเป็นต้องมีไหม
- อินเวอร์เตอร์ คืออะไร? มีหน้าที่การทำงานเป็นอย่างไร?
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025