เราอาจจะรู้กันอยู่แล้วว่า บ้านไม้ ก็ยังคงเป็นที่นิยมสร้าง ด้วยดีไซน์ที่ดูมีเอกลักษณ์ เป็นธรรมชาติ เย็นสบาย แม้ว่าในปัจจุบัน อาจจะไม่ได้เยอะเท่าเมื่อก่อน เนื่องจากราคาของไม้ที่แพงมาก แต่ก็ยังมีหลาย ๆ คนที่ยังอยากจะสร้างบ้านไม้ไว้อยู่อาศัยสักหลัง บทความนี้ KACHA จะพาไม่รู้จักกับบ้านไม้ คืออะไร? และ โครงสร้างบ้านไม้ เป็นแบบไหน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยจ้า

โครงสร้างบ้านไม้ คือ?

ไม้จริง (Natural Wood) ก็ยังได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย ด้วยลวดลายของผิวสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบธรรมชาติแท้ ๆ ที่มีความสวยงาม ให้ความรู้สึกอบอุ่น และช่วยลดความตึงเครียดอึดอัด อีกทั้งยังถ่ายเทอากาศได้ดี จึงทำให้ไม้จริง ยังไม่มีวัสดุใด ๆ มาทดแทนได้แบบ 100% ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน จะมีวัสดุทดแทนไม้จริง ผลิตออกมาใช้กันมากมายในตลาด

สำหรับไม้ที่นำมาแปรรูปใช้ก่อสร้างอาคาร ได้มีการแยกประเภทไม้ ตามลักษณะความแข็งแรงของไม้ ดังนี้

  • ไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ที่มีวงปีกว้างมาก เนื่องจากเป็นไม้โดเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว แต่แปรรูปได้ง่าย เนื้อไม้มีสีจาง หรือค่อนข้างซีด ความทนทานมีขีดจำกัด ไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากเท่าที่ควร จึงเหมาะกับงานในที่ร่ม หรืองานชั่วคราวมากกว่าการนำมาปูพื้น 
  • ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่มีวงปีมากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า โดยเฉลี่ยมีอายุหลายสิบปี จึงจะนำมาใช้งานได้ ลักษณะทั่วไปของไม้เนื้อแข็ง ผิวสัมผัสของเนื้อไม้ จะมีความมัน ลวดลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข้ม แดงถึงดำ มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับงานปูพื้น งานเฟอร์นิเจอร์ และงานโครงสร้างไม้
  • ไม้เนื้อแกร่ง เป็นไม้ที่มีการเจริยเติบโตช้ามากที่สุด จึงทำให้มีวงปีถี่มากกว่าไม้ 2 ชนิดแรก โดยมีอายุเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 60-70 ปีขึ้นไป จึงจะนำมาใช้งานได้ เนื้อไม้มีสีเข้มค่อนข้างแดง น้ำหนักไม่มาก แต่แข็งกว่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นไม้ที่ใช้ในงานโครงสร้างเป็นหลัก เช่น พื้น คาน ตง ขื่อ และเสา 
220630-Content-รู้จักกับโครงสร้างบ้านไม้-องค์ประกอบต่าง-ๆ-มีอะไรบ้าง02

องค์ประกอบ โครงสร้างไม้

  • จันทัน (Rafter)

ส่วนที่วางเอียงลาดไปตามลักษณะของหลังคา ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงสร้างหลังคา มีหน้าที่รองรับ และถ่ายเทน้ำหนักจากแปไปสู่อกไก่ อเส และหัวเสาตามลำดับ โดยแบ่งออกเป็น จันทันเอก คือ จันทันที่พาดอยู่บนหัวเสา และอกไก่ และจันทันพราง คือ จันทันที่พาดอยู่บนอเส และอกไก่ โดยทั่วไป จันทันจะวางเป็นระยะทุก ๆ 1 เมตร โดยระยะห่างของจันทัน จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแป โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 5 นิ้ว และ 2 x 6 นิ้ว

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  

  • สะพานรับจันทัน (Bridge Rafter)

ส่วนที่วางอยู่บนขื่อคัด โดยทำหน้าที่รองรับจันทันพราง เพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนตัวที่จุดกึ่งกลาง และป้องกันไม่ให้จันทันพรางบิด หรือ แอ่นตัว โดยสะพานรับจันทัน โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว

  • อกไก่ (Ridge)

ส่วนโครงสร้างหลังคา ที่ทำจากไม้เนื้อแกร่ง หรือไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยอกไก่ จะวางอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนักจันทัน ส่วนบนยอดจั่วตามแนวสันหลังคา โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • อเส (Stud Beam)

ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา ที่พาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้ายคาน ทำหน้าที่ยึด และรัดหัวเสา โดยตำแหน่งการวาง มักจะวางอยู่บริเวณริมด้านนอกของเสา ถือเป็นส่วนโครงสร้างที่ช่วยรับแรงจากกระเบื้องหลังคา แปหลังคา และจันทัน โดยถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาตามลำดับ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว

  • ขื่อ (Tie Beam​)

ส่วนของโครงสร้าง ที่วางอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกับจันทัน ทำหน้าที่รับแรงดึง และยึดหัวเสาในแนวคานทางด้านจั่วหลังคา แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยยึดโครงผนังอีกด้วย โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • ขื่อคัด (Collar Beam)

ส่วนของโครงสร้าง ซึ่งทำหน้าที่ยึดจันทันเอก เพื่อรับน้ำหนักของอกไก่ ถ่ายเทไปที่จันทันเอก โดยขื่อคัด จะวางอยู่ในตำแหน่งใต้อกไก่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว

  • แป (Purlin)

ส่วนประกอบของโครงหลังคา ที่อยู่ตำแหน่งบนสุดของโครงสร้าง ทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้แดง มีลักษณะหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำหน้าที่รับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาประเภทต่าง ๆ โดยวางขนานกับแนวอกไก่ เริ่มต้นพาดยาวผ่านจันทันเอก และจันทันพราง แล้วไปสุดจันทันเอกที่อีกด้านหนึ่งของโครงหลังคา ซึ่งจะเว้นระยะวางห่างกันตามขนาดของวัสดุมุงหลังคาที่ใช้ โดยไม้แปมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว 

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • ดั้งเอก (King Post)

ส่วนโครงสร้าง ที่ถูกยึดอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของขื่อ ตั้งฉากตรงขึ้นไปต่อรับกับอกไก่ที่วางพาดตามแนวสันหลังคา ดั้งเอก ทำหน้าที่รับน้ำหนัก ที่ถ่ายมาจากวัสดุมุงหลังคา แป และอกไก่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว

  • ดั้งรอง (Queen Post)

ชิ้นส่วนโครงสร้าง ที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งระหว่างดั้งเอกกับปลายขื่อทั้ง 2 ข้าง  ดั้งรอง จะถูกใช้ในกรณีที่หลังคามีขนาดใหญ่มาก ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยจันทันเอกรับน้ำหนักโครงหลังคา ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้จันทันเอกอ่อนตัว และบิดตัวถล่มลงมา ทำหน้าที่คล้ายดั้งเอก โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • ค้ำยัน (Roof Bracing)

ส่วนโครงสร้างเสริม ในกรณีที่โครงสร้างหลังคามีขนาดใหญ่ ไม้ค้ำยัน มีตำแหน่งอยู่ระหว่างดั้งเอก และตั้งรอง ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงด้วยการช่วยค้ำยัน รับน้ำหนักจันทันเอก ดั้งเอก และตั้งรอง เพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนตัว หรือบิดตัว โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 4 นิ้ว

  • ปิดลอน (Fascia)

ส่วนประกอบโครงสร้างหลังคา ทำหน้าที่ปิดช่องว่างของลอนกระเบื้อง ที่อยู่ปลายหลังคา เพื่อไม่ให้สัตว์ และแมลงต่าง ๆ ลอดเข้าไปทำรัง หรืออาศัยอยู่ข้างในได้ ไม้ปิดลอน ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรือไม้เนื้อแข็งปานกลาง โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 x 6 นิ้ว

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • เสา (Column)

เสาอาคารที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรือไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวอาคาร โครงสร้างบ้านไม้ ทั้งหมด โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 4 x 4 นิ้ว, 6 x 6 นิ้ว และ 8 x 8 นิ้ว โดยมีลักษณะหน้าตัดอยู่ 2 รูปแบบ คือ เสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส และเสาทรงกลม

  • คาน (Beams)

ส่วนโครงสร้างบ้านไม้ ที่พาดอยู่ระหว่างหัวเสา 2 ต้น ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักวัสดุปูพื้น และตงโดยถ่ายน้ำหนักลงมาที่คานตามลำดับ ไม้คานที่ใช้ในอาคารโครงสร้างไม้ทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือไม้เนื้อแกร่ง โดยไม้คานมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว, 2 x 8 นิ้ว และ 2 x 10 นิ้ว

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • ตง (Joists)

ส่วนโครงสร้างที่วางพาดอยู่บนไม้คาน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักวัสดุปูพื้นประเภทต่าง ๆ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 6 นิ้ว และ 2 x 6 นิ้ว โดยติดตั้งเว้นระยะห่างทุกๆ 50 เซนติเมตร

  • ไม้กระดาน (Planks)

แผ่นไม้ที่ใช้สำหรับทำเป็นฝาบ้าน และทำพื้นอาคาร ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือ ไม้เต็ง โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1⁄2 x 6 นิ้ว และ 3/4 x 8 นิ้ว ในขณะที่ไม้กระดานสำหรับใช้ปูพื้นอาคาร มีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 x 4 นิ้ว ,1 x 6 นิ้ว และ 1 x 8 นิ้ว

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • ไม้เคร่า (Stud)

โครงไม้เนื้ออ่อน ที่ใช้สำหรับเป็นฉากรองรับน้ำหนักวัสดุผนังเบา หรือวัสดุฝ้าเพดาน เมื่อเราต้องการที่จะต่อเติมกั้นห้อง หรือทำฝ้าเพดาน สิ่งที่ต้องใช้เป็นส่วนขึ้นโครงฉากสำหรับยึด และพยุงรับน้ำหนักแผ่นผนัง และฝ้าเพดาน คือ ไม้เคร่านั่นเอง โดยขนาดของไม้เคร่าที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว

  • เชิงชาย (Eaves)

ไม้ที่ปิดทับปลายของจันทัน ทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างจันทัน และรับปลายกระเบื้องมุงหลังคา  ส่วนใหญ่แล้วทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยขนาดของไม้เชิงชายที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 1 x 4 นิ้ว, 1 x 6 นิ้ว, 1 x 8 นิ้ว และยาวท่อนละ 3-4 เมตร

อ่านบทความ “ไม้เชิงชาย” คืออะไร? ทำไมต้องใช้ไม้เชิงชาย

องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ  องค์ประกอบส่วนต่างๆของอาคารโครงสร้างไม้มีอะไรบ้าง (Wood Structure Detail) ภาพประกอบ

  • ปั้นลม (Gable Board or Eave)

ไม้ที่ใช้ปิดหัวท้ายริมโครงสร้างหลังคาจั่วด้านสกัด โดยพาดอยู่บนหัวแปและด้านล่างของครอบข้างหลังคา มีหน้าที่กันน้ำ และลมไม่ให้ปะทะกับกระเบื้องหลังคาโดยตรง และช่วยเป็นที่ยึดเกาะของครอบข้างเพิ่มช่วยเพิ่มความสวยงาม โดยขนาดของไม้ปั้นลมที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 3/4 x 6 นิ้ว และ 3/4 x 8 นิ้ว

ข้อมูลและภาพจาก เว็บไซต์ wazzadu 

บ้านไม้ กับ บ้านปูน มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร?

การปลูกบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่ ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมสร้าง บ้านไม้ และบ้านปูน ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถือเป็นวัสดุพื้นฐานที่คนนิยมใช้สร้างกัน ด้วยเหตุผลหลักคือ ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่ได้สะดวกสบาย อากาศถ่ายเท แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็มีรูปลักษณ์คุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปที่ไม่เหมือนกัน

  • บ้านไม้ จะสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีมากกว่าบ้านปูนทั่วไป เพราะมีช่องที่ลมสามารถพัดผ่านเข้าออกได้มากกว่า บรรยากาศภายในบ้านไม้ จึงมาพร้อมความรู้สึกที่สดชื่นอย่างเป็นธรรมชาติ และโปร่งสบาย ไม่อึดอัด
  • บ้านปูน ถึงแม้จะไม่โปร่งสบายเท่าบ้านไม้ แต่หากมีการจัดวางในทิศทางลมที่เหมาะสม หรือทำช่องอากาศที่มีขนาดกว้างขวางมากขึ้น ก็จะช่วยให้บรรยากาศภายในบ้านปูนเย็นสบายมากยิ่งขึ้น

บ้านไม้ปัญหาที่ยังพบบ่อย คือ เกิดปัญหาเรื่องปลวกกัดกิน และทำความเสียหายให้บ้านได้มากกว่าบ้านปูน แต่บ้านไม้ก็เป็นบ้านที่มาพร้อมความแข็งแรง ทนทาน และสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า โดยเฉพาะหากเกิดแผ่นดินไหว บ้านปูนสามารถเกิดรอยร้าวได้ง่ายกว่าบ้านไม้

220630-Content-รู้จักกับโครงสร้างบ้านไม้-องค์ประกอบต่าง-ๆ-มีอะไรบ้าง03

ข้อแตกต่างระหว่าง บ้านไม้กับบ้านปูน

บ้านไม้

ข้อดี ข้อเสีย
  • บ้านไม้มีความสวยงาม คลาสสิก ร่วมสมัยไม่ค่อยตกยุค
  • มีความแข็งแรง ทนทาน ว่ากันว่าบ้านไม้มีความทนต่อแรงแผ่นดินไหว
  • ง่ายต่อการรื้อถอน หรือปรับปรุงตกแต่งเพิ่มเติม หากจะสร้างใหม่ แค่รื้อของเดิมและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อึดอัดเวลาอยู่ภายในบ้าน
  • ให้ความรู้สึกบรรยากาศภายในบ้านเป็นธรรมชาติ สดชื่น เพราะสร้างจากไม้
  • ไม่สามารถป้องกันสภาพอากาศ เช่น อากาศร้อน อากาศเย็น ในแต่ละฤดูได้ดีเท่าที่ควร เช่น ในหน้าร้อน บ้านไม้จะร้อนกว่าบ้านปูน ในหน้าหนาว บ้านไม้จะเย็นกว่าเพราะลมหนาว จะลอดผ่านเข้ามาภายในตัวบ้าน การแก้ไขสามารถทำได้โดยการบุผนังด้านใน แต่อาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • อาจมีพวกปลวก มด แมลง มากัดเนื้อไม้ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอยู่ตลอดไม่สามารถป้องกันฝุ่น ควัน หรือกลิ่นต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในบ้านได้ดีเท่าที่ควร
  • หากสร้างบ้านโดยไม่ใช่ไม้เนื้อแข็ง ในระยะยาวอาจส่งผลให้ไม้ขาดความแข็งแรงแตกหักได้ ปัจจุบันไม้มีราคาสูง อาจทำให้เสียงบประมาณในการสร้างบ้านเพิ่มมากขึ้น

บ้านปูน

ข้อดี ข้อเสีย
  • แบบบ้านปูนในปัจจุบัน มีให้เลือกมากมายหลายแบบ เจ้าของบ้านสามารถออกแบบ และตกแต่งได้ตามชอบ
  • ผลิตภัณฑ์ และชนิดของปูน ในท้องตลาดปัจจุบัน มีให้เลือกหลากหลาย และราคาไม่แพงจนเกินไป
  • บ้านปูน สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศร้อน อากาศเย็น เช่น กลางวันในหน้าร้อนบ้านปูน จะอยู่เย็นสบายกว่าบ้านไม้ เพราะปูนช่วยดูดซับความร้อนเก็บไว้ และในหน้าหนาว บ้านปูนจะกำบังลมหนาวได้ดีกว่าบ้านไม้ ทำให้ภายในบ้านอบอุ่น
  • สามารถเก็บเสียง แถมยังป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกตัวบ้านได้เป็นอย่างดีบ้านปูนสามารถป้องกันฝุ่นละออง ควัน และกลิ่นต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามารบกวนคนในบ้านได้ดี
  • ส่วนใหญ่บ้านปูน จะมีปัญหา สีบ้าน นานไปจะหมอง สีหลุดลอกร่อน ต้องหมั่นบำรุงรักษา
  • หากเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ส่วนใหญ่บ้านปูน จะเกิดผนังแตกร้าวได้ง่ายกว่าบ้านไม้
  • มีกลิ่นอับชื้นได้ง่าย
  • บ้านปูนหากออกแบบไม่ดี และเลือกใช้โทนสีไม่เหมาะสม จะทำให้บ้านดูมืดทึบ
  • บ้านปูนหากต้องการเคลื่อนย้าย หรือปรับปรุงบ้าน จะทำได้ยากกว่าบ้านไม้บางทีต้องทุบทิ้งอย่างเดียว

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ โครงสร้างบ้านไม้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ก่อนสร้าง บ้านไม้ ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นกันใช่ไหม บทความหน้า จะมีสาระดี ๆ อะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :

● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● 

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!

สนใจสินค้า รอกโซ่ไฟฟ้า คลิกเลย????