
เราอาจจะรู้กันอยู่แล้วว่า บ้านไม้ ก็ยังคงเป็นที่นิยมสร้าง ด้วยดีไซน์ที่ดูมีเอกลักษณ์ เป็นธรรมชาติ เย็นสบาย แม้ว่าในปัจจุบัน อาจจะไม่ได้เยอะเท่าเมื่อก่อน เนื่องจากราคาของไม้ที่แพงมาก แต่ก็ยังมีหลาย ๆ คนที่ยังอยากจะสร้างบ้านไม้ไว้อยู่อาศัยสักหลัง บทความนี้ KACHA จะพาไม่รู้จักกับบ้านไม้ คืออะไร? และ โครงสร้างบ้านไม้ เป็นแบบไหน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยจ้า
โครงสร้างบ้านไม้ คือ?
ไม้จริง (Natural Wood) ก็ยังได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย ด้วยลวดลายของผิวสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบธรรมชาติแท้ ๆ ที่มีความสวยงาม ให้ความรู้สึกอบอุ่น และช่วยลดความตึงเครียดอึดอัด อีกทั้งยังถ่ายเทอากาศได้ดี จึงทำให้ไม้จริง ยังไม่มีวัสดุใด ๆ มาทดแทนได้แบบ 100% ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน จะมีวัสดุทดแทนไม้จริง ผลิตออกมาใช้กันมากมายในตลาด
สำหรับไม้ที่นำมาแปรรูปใช้ก่อสร้างอาคาร ได้มีการแยกประเภทไม้ ตามลักษณะความแข็งแรงของไม้ ดังนี้
- ไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ที่มีวงปีกว้างมาก เนื่องจากเป็นไม้โดเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว แต่แปรรูปได้ง่าย เนื้อไม้มีสีจาง หรือค่อนข้างซีด ความทนทานมีขีดจำกัด ไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากเท่าที่ควร จึงเหมาะกับงานในที่ร่ม หรืองานชั่วคราวมากกว่าการนำมาปูพื้น
- ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่มีวงปีมากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า โดยเฉลี่ยมีอายุหลายสิบปี จึงจะนำมาใช้งานได้ ลักษณะทั่วไปของไม้เนื้อแข็ง ผิวสัมผัสของเนื้อไม้ จะมีความมัน ลวดลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข้ม แดงถึงดำ มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับงานปูพื้น งานเฟอร์นิเจอร์ และงานโครงสร้างไม้
- ไม้เนื้อแกร่ง เป็นไม้ที่มีการเจริยเติบโตช้ามากที่สุด จึงทำให้มีวงปีถี่มากกว่าไม้ 2 ชนิดแรก โดยมีอายุเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 60-70 ปีขึ้นไป จึงจะนำมาใช้งานได้ เนื้อไม้มีสีเข้มค่อนข้างแดง น้ำหนักไม่มาก แต่แข็งกว่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นไม้ที่ใช้ในงานโครงสร้างเป็นหลัก เช่น พื้น คาน ตง ขื่อ และเสา

องค์ประกอบ โครงสร้างไม้
-
จันทัน (Rafter)
ส่วนที่วางเอียงลาดไปตามลักษณะของหลังคา ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งของโครงสร้างหลังคา มีหน้าที่รองรับ และถ่ายเทน้ำหนักจากแปไปสู่อกไก่ อเส และหัวเสาตามลำดับ โดยแบ่งออกเป็น จันทันเอก คือ จันทันที่พาดอยู่บนหัวเสา และอกไก่ และจันทันพราง คือ จันทันที่พาดอยู่บนอเส และอกไก่ โดยทั่วไป จันทันจะวางเป็นระยะทุก ๆ 1 เมตร โดยระยะห่างของจันทัน จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแป โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 5 นิ้ว และ 2 x 6 นิ้ว
-
สะพานรับจันทัน (Bridge Rafter)
ส่วนที่วางอยู่บนขื่อคัด โดยทำหน้าที่รองรับจันทันพราง เพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนตัวที่จุดกึ่งกลาง และป้องกันไม่ให้จันทันพรางบิด หรือ แอ่นตัว โดยสะพานรับจันทัน โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว
-
อกไก่ (Ridge)
ส่วนโครงสร้างหลังคา ที่ทำจากไม้เนื้อแกร่ง หรือไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ โดยอกไก่ จะวางอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนักจันทัน ส่วนบนยอดจั่วตามแนวสันหลังคา โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว
-
อเส (Stud Beam)
ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา ที่พาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้ายคาน ทำหน้าที่ยึด และรัดหัวเสา โดยตำแหน่งการวาง มักจะวางอยู่บริเวณริมด้านนอกของเสา ถือเป็นส่วนโครงสร้างที่ช่วยรับแรงจากกระเบื้องหลังคา แปหลังคา และจันทัน โดยถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาตามลำดับ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว
-
ขื่อ (Tie Beam)
ส่วนของโครงสร้าง ที่วางอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกับจันทัน ทำหน้าที่รับแรงดึง และยึดหัวเสาในแนวคานทางด้านจั่วหลังคา แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยยึดโครงผนังอีกด้วย โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว และ 2 x 8 นิ้ว
-
ขื่อคัด (Collar Beam)
ส่วนของโครงสร้าง ซึ่งทำหน้าที่ยึดจันทันเอก เพื่อรับน้ำหนักของอกไก่ ถ่ายเทไปที่จันทันเอก โดยขื่อคัด จะวางอยู่ในตำแหน่งใต้อกไก่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว
-
แป (Purlin)
ส่วนประกอบของโครงหลังคา ที่อยู่ตำแหน่งบนสุดของโครงสร้าง ทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้แดง มีลักษณะหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำหน้าที่รับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาประเภทต่าง ๆ โดยวางขนานกับแนวอกไก่ เริ่มต้นพาดยาวผ่านจันทันเอก และจันทันพราง แล้วไปสุดจันทันเอกที่อีกด้านหนึ่งของโครงหลังคา ซึ่งจะเว้นระยะวางห่างกันตามขนาดของวัสดุมุงหลังคาที่ใช้ โดยไม้แปมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว
-
ดั้งเอก (King Post)
ส่วนโครงสร้าง ที่ถูกยึดอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของขื่อ ตั้งฉากตรงขึ้นไปต่อรับกับอกไก่ที่วางพาดตามแนวสันหลังคา ดั้งเอก ทำหน้าที่รับน้ำหนัก ที่ถ่ายมาจากวัสดุมุงหลังคา แป และอกไก่ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว
-
ดั้งรอง (Queen Post)
ชิ้นส่วนโครงสร้าง ที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งระหว่างดั้งเอกกับปลายขื่อทั้ง 2 ข้าง ดั้งรอง จะถูกใช้ในกรณีที่หลังคามีขนาดใหญ่มาก ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยจันทันเอกรับน้ำหนักโครงหลังคา ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้จันทันเอกอ่อนตัว และบิดตัวถล่มลงมา ทำหน้าที่คล้ายดั้งเอก โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว
-
ค้ำยัน (Roof Bracing)
ส่วนโครงสร้างเสริม ในกรณีที่โครงสร้างหลังคามีขนาดใหญ่ ไม้ค้ำยัน มีตำแหน่งอยู่ระหว่างดั้งเอก และตั้งรอง ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงด้วยการช่วยค้ำยัน รับน้ำหนักจันทันเอก ดั้งเอก และตั้งรอง เพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนตัว หรือบิดตัว โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 4 นิ้ว
-
ปิดลอน (Fascia)
ส่วนประกอบโครงสร้างหลังคา ทำหน้าที่ปิดช่องว่างของลอนกระเบื้อง ที่อยู่ปลายหลังคา เพื่อไม่ให้สัตว์ และแมลงต่าง ๆ ลอดเข้าไปทำรัง หรืออาศัยอยู่ข้างในได้ ไม้ปิดลอน ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรือไม้เนื้อแข็งปานกลาง โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 x 6 นิ้ว
-
เสา (Column)
เสาอาคารที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง หรือไม้เนื้อแกร่ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า และไม้ประดู่ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวอาคาร โครงสร้างบ้านไม้ ทั้งหมด โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 4 x 4 นิ้ว, 6 x 6 นิ้ว และ 8 x 8 นิ้ว โดยมีลักษณะหน้าตัดอยู่ 2 รูปแบบ คือ เสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส และเสาทรงกลม
-
คาน (Beams)
ส่วนโครงสร้างบ้านไม้ ที่พาดอยู่ระหว่างหัวเสา 2 ต้น ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักวัสดุปูพื้น และตงโดยถ่ายน้ำหนักลงมาที่คานตามลำดับ ไม้คานที่ใช้ในอาคารโครงสร้างไม้ทำจากไม้เนื้อแข็ง หรือไม้เนื้อแกร่ง โดยไม้คานมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 2 x 6 นิ้ว, 2 x 8 นิ้ว และ 2 x 10 นิ้ว
-
ตง (Joists)
ส่วนโครงสร้างที่วางพาดอยู่บนไม้คาน ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักวัสดุปูพื้นประเภทต่าง ๆ โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 6 นิ้ว และ 2 x 6 นิ้ว โดยติดตั้งเว้นระยะห่างทุกๆ 50 เซนติเมตร
-
ไม้กระดาน (Planks)
แผ่นไม้ที่ใช้สำหรับทำเป็นฝาบ้าน และทำพื้นอาคาร ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือ ไม้เต็ง โดยมีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1⁄2 x 6 นิ้ว และ 3/4 x 8 นิ้ว ในขณะที่ไม้กระดานสำหรับใช้ปูพื้นอาคาร มีขนาดที่ใช้กันทั่วไป คือ 1 x 4 นิ้ว ,1 x 6 นิ้ว และ 1 x 8 นิ้ว
-
ไม้เคร่า (Stud)
โครงไม้เนื้ออ่อน ที่ใช้สำหรับเป็นฉากรองรับน้ำหนักวัสดุผนังเบา หรือวัสดุฝ้าเพดาน เมื่อเราต้องการที่จะต่อเติมกั้นห้อง หรือทำฝ้าเพดาน สิ่งที่ต้องใช้เป็นส่วนขึ้นโครงฉากสำหรับยึด และพยุงรับน้ำหนักแผ่นผนัง และฝ้าเพดาน คือ ไม้เคร่านั่นเอง โดยขนาดของไม้เคร่าที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 1 1⁄2 x 3 นิ้ว
-
เชิงชาย (Eaves)
ไม้ที่ปิดทับปลายของจันทัน ทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างจันทัน และรับปลายกระเบื้องมุงหลังคา ส่วนใหญ่แล้วทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยขนาดของไม้เชิงชายที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 1 x 4 นิ้ว, 1 x 6 นิ้ว, 1 x 8 นิ้ว และยาวท่อนละ 3-4 เมตร
อ่านบทความ “ไม้เชิงชาย” คืออะไร? ทำไมต้องใช้ไม้เชิงชาย
-
ปั้นลม (Gable Board or Eave)
ไม้ที่ใช้ปิดหัวท้ายริมโครงสร้างหลังคาจั่วด้านสกัด โดยพาดอยู่บนหัวแปและด้านล่างของครอบข้างหลังคา มีหน้าที่กันน้ำ และลมไม่ให้ปะทะกับกระเบื้องหลังคาโดยตรง และช่วยเป็นที่ยึดเกาะของครอบข้างเพิ่มช่วยเพิ่มความสวยงาม โดยขนาดของไม้ปั้นลมที่นิยมใช้ทั่วไป คือ 3/4 x 6 นิ้ว และ 3/4 x 8 นิ้ว
ข้อมูลและภาพจาก เว็บไซต์ wazzadu
บ้านไม้ กับ บ้านปูน มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร?
การปลูกบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่ ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมสร้าง บ้านไม้ และบ้านปูน ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถือเป็นวัสดุพื้นฐานที่คนนิยมใช้สร้างกัน ด้วยเหตุผลหลักคือ ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่ได้สะดวกสบาย อากาศถ่ายเท แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็มีรูปลักษณ์คุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปที่ไม่เหมือนกัน
- บ้านไม้ จะสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีมากกว่าบ้านปูนทั่วไป เพราะมีช่องที่ลมสามารถพัดผ่านเข้าออกได้มากกว่า บรรยากาศภายในบ้านไม้ จึงมาพร้อมความรู้สึกที่สดชื่นอย่างเป็นธรรมชาติ และโปร่งสบาย ไม่อึดอัด
- บ้านปูน ถึงแม้จะไม่โปร่งสบายเท่าบ้านไม้ แต่หากมีการจัดวางในทิศทางลมที่เหมาะสม หรือทำช่องอากาศที่มีขนาดกว้างขวางมากขึ้น ก็จะช่วยให้บรรยากาศภายในบ้านปูนเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
บ้านไม้ปัญหาที่ยังพบบ่อย คือ เกิดปัญหาเรื่องปลวกกัดกิน และทำความเสียหายให้บ้านได้มากกว่าบ้านปูน แต่บ้านไม้ก็เป็นบ้านที่มาพร้อมความแข็งแรง ทนทาน และสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า โดยเฉพาะหากเกิดแผ่นดินไหว บ้านปูนสามารถเกิดรอยร้าวได้ง่ายกว่าบ้านไม้

ข้อแตกต่างระหว่าง บ้านไม้กับบ้านปูน
บ้านไม้
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
|
|
บ้านปูน
ข้อดี | ข้อเสีย |
---|---|
|
|
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ โครงสร้างบ้านไม้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ก่อนสร้าง บ้านไม้ ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นกันใช่ไหม บทความหน้า จะมีสาระดี ๆ อะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
- บ้านปูน คืออะไร? ทำไมนิยมสร้าง ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้
- รวมวิธีสำรวจ โครงสร้างบ้าน รู้ก่อน ป้องกันก่อนบ้านทรุดตัว
- โครงสร้างเหล็ก vs โครงสร้างปูน เลือกสร้างแบบไหนดีและต่างกันอย่างไร?
- สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “การสร้างบ้าน” ที่ควรรู้!
- งาน ฐานราก และเสาเข็ม มีความสำคัญอย่างไร?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
สนใจสินค้า รอกโซ่ไฟฟ้า คลิกเลย????
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025