
รู้จัก “โครงคร่าวไม้” อุปกรณ์ที่คนสร้างบ้านต้องรู้ ใช้ทําอะไรได้บ้าง?
โครงคร่าว คือ โครงที่ใช้สำหรับการติดตั้งวัสดุผนังเบา ฝ้าเพดาน เวลาที่จะต่อเติมกั้นห้อง หรือทำฝ้าเพดาน สิ่งที่ต้องใช้เป็นส่วนขึ้นโครงฉาก คือ โครงคร่าว โดยปัจจุบันวัสดุที่สามารถนำมาประกอบเป็นโครงคร่าวมีให้เลือกใช้มากมาย โดยเฉพาะ โครงคร่าวไม้
ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ ประโยชน์ และวิธีการนำไปใช้งานของโครงคร่าวไม้กัน
ไม้ที่นิยมนำทาทำ โครงคร่าว มีอะไรบ้าง?
- ไม้สักสวนป่า เป็นไม้เนื้ออ่อน ใช้ทำงานง่าย ไม่โก่ง หรือบิดตัว
- ไม้สักเนื้อ เป็นไม้เนื้ออ่อน ใช้ทำงานง่าย ไม่โก่ง หรือบิดตัว ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก ราคาแพง
- ไม้แดง เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก ราคาแพง
- ไม้ตะแบก เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ทำงานง่าย ไม่โก่ง หรือบิดตัว ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก มีราคาถูกกว่าไม้สัก
- ไม้ตะเคียน เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้งานยาก เพราะเนื้อไม้แข็งมาก ไม่โก่ง หรือบิดตัว เนื้อไม้สามารถยึดเกาะกับน็อต หรือตะปูได้ดี
- ไม้เบญจพรรณ เป็นไม้เนื้ออ่อนผสมแข็ง ไม่โก่ง หรือบิดตัว รับน้ำหนักได้ดี มักใช้ในงานก่อสร้าง
- ไม้ยางพารา เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้งานง่าย เนื้อไม้ยึดเกาะกับน็อต หรือตะปูได้ดี แต่มีปัญหาเรื่องการโก่ง และมอด
- ไม้ทุเรียน เป็นไม้เนื้ออ่อน การยึดเกาะของเนื้อไม้กับน็อต และตะปูไม่ค่อยดี มีปัญหาเรื่องปลวก และมอด มีราคาถูก
- ไม้สยา เป็นไม้เนื้ออ่อน ใช้งานง่าย ไม่โก่ง หรือบิดตัว การยึดเกาะของเนื้อไม้กับน็อต และตะปูไม่ค่อยดี ความแข็งแรงทนทานน้อย มีราคาถูก

การเลือกใช้โครงคร่าวไม้
ไม้ที่ใช้ทำโครงคร่าว มี 2 อย่าง คือ ไม้ท่อนเดียว และแบบไม้จ๊อย ไม้ที่นิยมเลือกใช้ คือ ไม้จ๊อย เพราะการนำมาใช้งานง่าย โดยใช้การต่อกันในรูปแบบของ ฟิงเกอร์จ๊อยส์ (Finger Joint) ซึ่งมีความแข็งแรง และเป็นการนำไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลักษณะของไม้บริเวณแนวคัตเตอร์ จะเห็นรอยฟันปลาอยู่ที่ด้านความกว้างของไม้ ส่วนด้านหนาจะเห็นเป็นเส้นตรง เป็นวิธีการเพิ่มความยาวของไม้ ในส่วนของไม้ท่อนเดียว จะไม่ค่อยนิยม เพราะมีราคาแพง และมีโอกาสบิดตัวสูงนั่นเอง
โครงคร่าวไม้ ใช้งานประเภทไหนได้บ้าง?
ใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์
งานเฟอร์นิเจอร์ ส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้เป็นโครงคร่าวไม้ในการทำโครงสร้าง เพราะสามารถติดตั้งวัสดุ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้ง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน โดยโครงสร้างของโครงคร่าวไม้ จะต้องมีขนาดที่เหมาะสม มีความแข็งแรง พอที่จะรับน้ำหนักของวัสดุอุปกรณ์ที่จะติดตั้งได้
เฟอร์นิเจอร์ เช่น ตู้ จะใช้ขนาดโครงไม้ขนาด 1 x2 นิ้ว (25 x 50 มิลลิเมตร) โดยนำมาไส เพื่อเตรียมใช้งาน จะเหลือขนาดประมาณ 17.5 x 42 มิลลิเมตร หลังจากประกบกับแผ่นไม้อัดขนาด 4 มิลลิเมตร ทั้งสองด้าน จะทำให้มีขนาดรวมประมาณ 25 มิลลิเมตร สามารถเลือกไม้อัดที่เหมาะสมกับประเภทของการใช้งาน โดยมีขนาด 4, 6 หรือ10 มิลลิเมตร แล้วปิดผิวด้วยวัสดุตกแต่ง เช่น วีเนียร์ ลามิเนต หินสังเคราะห์ เพื่อเพิ่มความสวยงาม

ใช้ในงานฝ้าเพดาน
โครงคร่าวไม้นั้น เหมาะกับงานฝ้า ที่ตกแต่งด้วยวัสดุที่มีน้ำหนัก เช่น ไม้ หรือกระจก เพราะโครงคร่าวไม้ จะมีความแข็งแรง รับแรงดึง และแรงดันได้ดี
โครงคร่าวไม้ในงานฝ้า จะใช้ขนาด 1×2 นิ้ว (25 x 50 มิลลิเมตร) ซึ่งใกล้เคียงกับโครงคร่าวไม้ของเฟอร์นิเจอร์ โดยนำไปไส เพื่อเตรียมใช้งาน จะเหลือขนาดประมาณ 17.5 x 42 มิลลิเมตร แล้วปิดด้วย ฝ้ายิปซัมบอร์ด ขนาด 9 มิลลิเมตร
ใช้ในงานงานผนัง
โครงคร่าวไม้ สามารถทำเป็นโครงผนังได้ ทั้งงานตกแต่งภายนอก และงานตกแต่งภายใน โดยออกแบบให้มีช่องว่าง ระหว่างโครงไม้ สำหรับกรุฉนวนกันความร้อน หรือวัสดุกันเสียง และปิดด้วยแผ่นยิปซั่มบอร์ด หรือไม้อัด
โครงคร่าวไม้ในงานผนัง จะใช้ขนาดโครงไม้ 1.1/2×3 นิ้ว (37x 75 มิลลิเมตร) เมื่อนำไปไสเพื่อเตรียมใช้งานจะเหลือขนาดประมาณ 24 x 73 มิลลิเมตร นำไปประกบกับแผ่นซิปซัมบอร์ดขนาด 12 มิลลิเมตร ทั้ง 2 ด้าน จะทำให้มีขนาดรวม ประมาณ 97 มิลลิเมตร
ข้อดีของโครงคร่าวไม้
โครงคร่าวไม้นั้น สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างได้ทั้งภายใน และภายนอก มีความแข็งแรง ทนทาน มีความยืดหยุ่น เมื่อต้องการปรับเปลี่ยนแบบภายหลัง ช่วยประหยัดงบประมาณได้ด้วย
จบไปแล้วกับ โครงคร่าว ไม้ ที่เรานำมาฝากกัน คงทำให้หลาย ๆ คน เข้าใจและรู้จักกันมากขึ้นแล้วใช่ไหม อย่างไรก็ตาม ก่อนนำโครงคร่าวไม้ไปใช้งาน การเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสม จะช่วยให้การใช้งานอยู่คงทนยาวนานมากขึ้นด้วย
บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ:
- รู้จักกับ โครงสร้างบ้านไม้ องค์ประกอบต่าง ๆ มีอะไรบ้าง?
- “ไม้โครง” ที่ใช้ในงานงานเฟอร์นิเจอร์ มีคุณสมบัติอย่างไร?
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย
อ้างอิงข้อมูลจาก: content.collacreate.com, wazzadu.com
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025