ลูกบิดประตู เลือกอย่างไร ใช้งานทนทาน เหมาะกับประตูบ้าน
อุปกรณ์อย่างหนึ่งเมื่อเราสร้างบ้าน หากมีประตูบ้านแล้วก็ควรมี ลูกบิดประตู ที่แข็งแรง เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับบ้าน ส่วนใหญ่แล้วพื้นฐานลูกบิดจะมีความแข็งแรง ทนทานต่อการงัดแงะ แต่ทั้งนี้ถ้าใช้งานไปนาน ๆ หรือ ติดตั้งไม่ถูกวิธี ลูกบิดก็อาจจะพัง หรือชำรุดได้ และอาจจะเกิดปัญญหา ที่คนภายนอกที่อาจจะเข้ามาทำร้ายคนในบ้านได้ เราจึงควรศึกษาเรื่องข้อมูลเบื้องต้นในการใช้ ลูกบิด เพื่อให้การใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ตาม KACHA ไปรู้จักกับ ลูกบิดประตู กันดีกว่า ว่าเลือกใช้อย่างไร ให้ทนทานและเหมาะสมกับบ้านของเรา
ลูกบิดประตู คืออะไร?
ลูกบิดประตูทำหน้าที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับบ้าน ลูกบิด มีหลายประเภท ความแข็งแรงทนทานแตกต่างกันไปตามลักษณะ และประเภทของประตูบ้านนั่นเอง เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับบ้าน ส่วนใหญ่แล้วพื้นฐานลูกบิดจะมีความแข็งแรง ทนทานต่อการงัดแงะนั่นเอง
ชนิดของลูกบิดประตู
ลูกบิดประตูธรรมดาทั่วไป เช่น ประตูบ้าน ประตูห้องน้ำ ประตูห้องเก็บของ ซึ่งจะมีทั้งแบบ ล็อคได้และล็อคไม่ได้ โดย ลูกบิด แบบทางผ่านจะล็อคไม่ได้เป็นมือจับอย่างเดียว ไม่สามารถปิดล็อคได้ทั้งสองด้านเหมาะสำหรับ ประตูทางผ่าน ที่ไม่สำคัญ หรือประตู ปิด-เปิด ห้องน้ำสาธารณะ ส่วน ลูกบิดประตูบ้าน หรือห้องนอน ใช้การล็อคจากด้านใน ส่วนด้านนอกสามารถปลดล็อคได้ด้วยกุญแจ เนื่องจากต้องการเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก มีลวดลาย และสีสันหลากหลาย สามารถล็อคได้จากด้านใน และสามารถปลดล็อคได้ด้วยกุญแจจากด้านนอก มีไส้กุญแจให้เลือกทั้ง ระบบ 5 พิน, ระบบ 6 พิน, ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีความปลอดภัยที่สูงกว่า
ชนิดของลูกบิดประตู มี 2 ชนิด คือ ลูกบิดแบบมีล็อค และ ลูกบิดที่ไม่มีกุญแจล็อค
1. ลูกบิดแบบมีล็อค
แต่ละชนิด มีลักษณะแตกต่างในการใช้งาน ดังนี้
-
ลูกบิดแบบ Entrance Lockเมื่อกดล็อคประตูจากปุ่มด้านในแล้ว ก็สามารถปลดล็อคโดยใช้กุญแจจากทางด้านนอก หรือบิดลูดบิดด้านใน เพื่อปลดล็อค
-
ลูกบิดแบบ Entrance Lockลูกบิดชนิดนี้ มีความพิเศษที่สามารถล็อคการเปิดประตูได้ 2 ชั้น ลักษณะจะคล้ายกับแบบที่ 1 แต่จะมีตัวยื่นให้ไขปุ่มที่สามารถหมุนได้ เมื่อปิดประตู ประตูจะล็อคทุกครั้งป้องกันการลืมล็อคประตู
- ลูกบิดแบบ Vestibule Lock
เป็นชนิดนี้ ต้องปลดล็อคด้วยกุญแจด้านนอก และล็อคด้วยกุญแจด้านในเท่านั้น แต่ลูกบิดประตู ด้านในสามารถเปิด-ปิดได้ตลอดเวลา - ลูกบิดห้องพักในโรงแรม
เป็นชนิดที่ประตูด้านนอกเปิดไม่ได้ ต้องใช้กุญแจไขเข้าเท่านั้น เมื่อกดปุ่มล็อคด้านใน จะใช้กุญแจเปิดไม่ได้ ยกเว้นกุญแจฉุกเฉินพิเศษเท่านั้น - ลูกบิดสำหรับห้องเรียน เป็นชนิดที่ล็อคจากภายนอก และคลายล็อคด้วยกุญแจ แต่ลูกบิดภายใน หมุนเปิดออกได้ตลอดเวลาไม่มีปุ่มล็อค
- ลูกบิดประตูห้องเก็บของแบบที่ 1 ต้องใช้กุญแจล็อค และปลดล็อคจากทั้ง 2 ด้านของลูกบิด
- ลูกบิดประตูห้องเก็บของแบบที่ 2 ใช้สำหรับประตูภายนอก จะล็อคตลอดเวลา เวลาเข้าห้องต้องใช้กุญแจเท่านั้น แต่ลูกบิดภายในหมุนเปิดออกได้ตลอดเวลา
- ลูกบิดสำหรับเดินทาง ล็อคด้วยกุญแจที่ลูกบิดด้านหน้า หรือกดปุ่มที่ลูกบิดด้านใน ปลดล็อคด้วยกุณแจที่ลูกบิดด้านนอก หรือหมุนลูกบิดด้านใน หรือปิดประตู สามารถล็อคด้วยกุญแจจากภายนอก
2. ลูกบิดประตูแบบไม่มีกุญแจล็อค
ลูกบิดประตู แบบไม่มีกุญแจล็อค เป็นลูกบิดประตู ที่นิยมใช้กั้นห้องที่ไม่จำเป็นต้องปิดล็อค มี 6 ชนิด ดังนี้
- ลูกบิดชนิดไม่มีกุญแจล็อค
ลูกบิดประตู ชนิดนี้ ทั้ง 2 ด้านหมุนเปิดออกได้ตลอดเวลา ส่วนใหญ่จะใช้กับประตูที่ไม่ต้องการปิดล็อคเลย - ลูกบิดชนิดเปิดได้ด้านเดียว
- เป็นลูกบิดประตู ชนิดด้านในเปิดได้ตลอดเวลา ด้านนอกล็อคตลอดเวลา ใช้สำหรับประตู ที่ให้คนออกอย่างเดียว ไม่ให้คนด้านนอกเข้ามาด้านใน เช่น ประตูหนีไฟ
-
ลูกบิดแบบเฉลียง ด้านในจะมีปุ่มกดให้ล็อคเมื่อหมุนลูกบิดด้านใน จะทำให้คลายล็อค ด้านนอกลูกบิดเรียบ ไม่มีกุญแจ เมื่อปิดประตู ปุ่มล็อคจะคลายออกโดยอัตโนมัติ และจะล็อคได้อีกครั้งจากการกดปุ่มล็อคซ้ำเท่านั้น เพื่อป้องกันการถูกล็อคไว้โดยไม่ตั้งใจ เมื่อเราอยู่ภายนอก
-
ลูกบิดดัมมี่ลูกบิดชนิดที่ไม่มีตัวล็อคเช่นกัน เป็นลูกบิดชนิดติดตายสำหรับแทนมือจับประตู หรือประตูบานคู่
- ลูกบิดห้องนอน หรือห้องเด็ก
ลูกบิด ชนิดนี้ ด้านในมีปุ่มล็อคตามปกติ ด้านนอกสามารถเปิดได้ ด้วยปลายโลหะเล็ก ๆ ลูกบิดประตูชนิดนี้ เวลาปิดประตู ปุ่มล็อคจะปลดออกทันที ต้องล็อคจากด้านในเท่านั้น - ลูกบิดโรงพยาบาล
มักจะใช้หลักความปลอดภัยของคนไข้สามารถล็อคได้จากปุ่มด้านใน แต่พอปิดประตู ปุ่มจะปลดล็อค และลูกบิดจากด้านนอก ก็ยังมีที่ปิด-เปิด ในกรณีฉุกเฉินอีกด้วย
หลักการเลือกซื้อลูกบิดประตู
- สถานที่ติดตั้ง : ประตูภายนอก ควรเลือกใช้ลูกบิดที่มีความแข็งแรงทนทาน มีการชุบสีที่ดีไม่หลุดลอกง่าย ถ้าอยู่ติดริมทะเล หรือเขตที่มีความชื้นสูงควรเลือกวัสดุที่มีคุณภาพสูง เพื่อป้องกันการเกิดสนิม เช่น สเตนเลส เกรด 304 จะเกิดสนิมยากที่สุด
- ลักษณะการใช้งาน : เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ชนิดและความหนาของบานประตู ควรเลือกให้สัมพันธ์กับความหนาของบานประตู เช่น บานไม้ บาน PVC เป็นต้น ความหนาของบานประตูมาตรฐาน คือ 35 มม.
- ลิ้นสลักนิรภัย : มีไว้เพื่อป้องกันการงัดแงะจากภายนอก และช่วยให้ลิ้นของลูกบิดไม่สามารถกดให้เปิดได้จากภายนอก
- การเพิ่มระดับความปลอดภัยให้มากขึ้น ระบบมาสเตอร์คีย์ : ในกรณีมีหลายห้องในความดูแล ควรพิจารณาระบบมาสเตอร์คีย์ เพื่อความสะดวก และความปลอดภัย หลักการเซ็ตระบบ แนะนำให้สั่งโดยตรงจากบริษัทฯ ไม่ซื้อแบบสำเร็จรูป ร่องลูกปืน ลูกบิดที่มีร่องลูกปืนมาก จะทำให้เกิดการสร้างรหัสในการล็อคของลูกบิดมากตามไปด้วย ระบบล็อคของลูกบิด คือ ระบบล็อคแบบการกด มีความสะดวกในการใช้งานแต่ความปลอดภัยน้อยกว่าระบบ Tubular Lock คือ ระบบล็อคแบบบิดล็อค มีความปลอดภัยมากกว่าระบบแรก เนื่องจากต้องทำการล็อคหลังจากประตูปิดล็อคแล้วเท่านั้น ขนาดของจานรอง หากเป็นการซื้อเพื่อเปลี่ยนกับของเดิมควรดูขนาดของจานรอง
สาเหตุที่ทำให้ลูกบิดเสีย
เนื่องจาก ลูกบิด มีส่วนประกอบ และกลไกการทำงานที่ค่อนข้างจะซับซ้อน การที่ลูกบิดเสีย ชำรุด หรือใช้งานไม่ได้นั้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ลิ้นไม่ล็อกจนทำให้สามารถเขี่ยลิ้นได้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก การติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง
- หัวลูกบิดหลุดจากชุดตัวเรือนกุญแจ สาเหตุเกิดจาก การถอดหัวลูกบิดในระหว่างการติดตั้งแล้วใส่กลับไม่ได้ หรือไม่เข้าล็อก
- ปุ่มกดกดยาก หรือลงไม่สุด สาเหตุเพราะเกิดจากลูกบิดเสียรูปทรง ทำให้กล่องลิ้นเคลื่อนที่ไม่สุด
- ลูกบิดฝืด สาเหตุเกิดจาก การติดตั้ง หรือลูกบิด อาจจะเกิดจากการถูกกระแทกจนเสียสภาพ
- ลูกกุญแจไขไม่ได้ สาเหตุเพราะเกิดจากการสลับลูกกุญแจ
- หัวลูกบิดสีลอก สาเหตุเกิดจากแลคเกอร์ที่เคลือบสีหลุดลอก ทำให้ผิวชิ้นงานสัมผัสกับฝุ่นละออง และความชื้น
- ลูกบิดที่ใช้นาน ๆ หลวมไม่พอดีกับประตู สาเหตุเกิดจากการหด และบิดตัวของบานประตู หรือเกิดจากการคลายตัวของสกรู
- หัวลูกบิดด้านในหมุนไม่ได้ สาเหตุเกิดจากการหด และบิดตัวของบานประตู หรือเกิดจากการคลายตัวของสกรู
- หัวลูกบิดเป็นคราบดำ หรือคราบด่าง สาเหตุเกิดจากสารเคมีบางตัวในสารทำความสะอาด เช่น คลอรีน กำมะถัน และแคลเซียม ซึ่งส่วนมากจะเป็นส่วนผสมของสารทำความสะอาดเกือบทุกชนิด
- ลูกกุญแจเสียบลูกยาก หรือดึงลูกยาก สาเหตุเกิดจากฟันกุญแจบุบ บิ่น หรือลูกกุญแจบิดงอ