
วัสดุมุงหลังคา เลือกแบบไหนให้เหมาะสม?
การเลือก วัสดุมุงหลังคานอกจากจะให้ความสำคัญของดีไซน์ และรูปลักษณ์สวยงามภายนอกแล้ว ต้องคำนึงถึงความทนทาน ความแข็งแรง รวมถึงการวัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ดีด้วย เพื่อป้องกันในช่วงอากาศร้อนอบอ้าว หรือฝนตกหนัก ก็จะสามารถช่วยให้บ้านมีความสงบ ไม่รบกวนเวลาพักผ่อนของคุณได้
สำหรับวันนี้ KACHA ก็มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากกัน จะพาไปรู้จักกับ วัสดุมุงหลังคา ว่าแต่ละแบบใช้งานแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี – ข้อเสียมากแค่ไหน รวมถึงการเลือกตกแต่งให้ถูกกับบ้านแต่ละสไตล์ ตามไปดูกัน
วัสดุมุงหลังคา มีอะไรบ้าง?แตกต่างกันอย่างไร?
-
กระเบื้องหลังคาคอนกรีต
กระเบื้องหลังคาคอนกรีต มีจุดเด่น คือ เนื้อวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน มีปัญหารั่วซึมน้อย แต่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จำเป็นต้องใช้โครงสร้างหลังคาที่แข็งแรงเช่นกัน เหมาะกับบ้านแบบไทย เช่น บ้านสไตล์คอนเทมโพรารี หรือบ้านสไตล์ไทยยุกต์ เป็นต้น

-
กระเบื้องหลังคาเซรามิก
กระเบื้องหลังคาเซรามิก ได้รับความนิยมมาก จุดเด่นเนื้อผิวเรียบเนียน ถูกเคลือบให้มีความมันเงา ช่วยในการชะลอการซีดจาง และช่วยให้น้ำฝนชะล้างคราบสกปรกได้ง่าย ป้องกันความร้อนได้สูงกว่ากระเบื้องชนิดอื่น ๆ เหมาะกับการมุงหลังคาบ้านทรงปั้นหยา และบ้านสไตล์ร่วมสมัยทั่ว ๆ ไป
-
กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์
กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือกระเบื้องลอนคู่ ถึงแม้จะเป็นวัสดุที่ดูเบาบางกว่ากระเบื้องมุงหลังคารูปแบบอื่น แต่ในความจริงแล้ว มีความแข็งแรง และทนทานสูง ป้องกันความร้อนได้ดี มีราคาประหยัด อีกทั้งยังแต่งบ้านได้หลากหลายสไตล์ด้วย

-
กระเบื้องหลังคาดินเผา
กระเบื้องหลังคาดินเผา เหมาะกับบ้านสไตล์ย้อนยุค ตกแต่งสวยงามเข้ากับยุคสมัย อีกทั้งยังบ่งบอกถึงความเป็นไทยได้ดี คนส่วนใหญ่จึงนิยมนำกระเบื้องหลังคาคาดินเผาไปใช้ตกแต่งวัด ศาลา หรือเรือนไทยเป็นจำนวนมาก
-
กระเบื้องโปร่งแสง
กระเบื้องโปร่งแสง ผลิตมาจากใยแก้วและโพลีเอสเตอร์เรซิน เคลือบด้วยแผ่นฟิล์มพิเศษที่มีคุณสมบัติป้องกันรังสีจากแสงแดด แต่ในขณะเดียวกันก็โปร่งแสงช่วยให้พื้นที่ใช้งานสว่างไม่มืดทึบ นอกจากนี้ กระเบื้องแบบโปร่งแสง ยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย หนาเพียง 1.2 มม. เท่านั้น เหมาะแก่การติดตั้งในโรงจอดรถ ชานนอกบ้าน และระเบียง เป็นต้น

-
ชิงเกิ้ล
ในสมัยก่อนหลังคาชิงเกิ้ล ทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ มันจึงไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ รั่วง่าย และไม่ทนไฟ ปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนวัสดุให้กลายเป็นไฟเบอร์เคลือบผิวด้วยยางมะตอย ทำให้แผ่นกระเบื้องดูมีมิติสวยงาม และมีอายุการใช้งานสูงถึง 40 ปี เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากในบ้านต่างประเทศ
-
เมทัลชีท
เมทัลชีท หรือหลังคาโลหะเคลือบ เป็นรูปแบบหลังคาที่พัฒนามาจากหลังคาสังกะสี ผ่านการผสมโลหะชนิดต่าง ๆ รวมถึงใช้วิธีการเคลือบและอบ เพื่อช่วยในการลดปัญหาการเกิดสนิม ลดการกัดกร่อน และช่วยสะท้อนความร้อนออกไปได้ดี เหมาะสำหรับบ้านแนวโมเดิร์นแบบประหยัดงบ หรือใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

-
กระเบื้องว่าว
ก่อนหน้านี้กระเบื้องว่าวผลิตขึ้นจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่อมน้ำ อมความชื้น และมีรูปร่างบิดเบี้ยว ภายหลังจึงมีการปรับปรุงวิธีการผลิต โดยใช้ซีเมนต์ และเครื่องจักรอัดไฮโดรลิคแรงสูง ตามด้วยการเคลือบมัน เพื่อป้องกันความชื้นแทรกซึมลงไปในกระเบื้อง
ข้อเสีย คือ รอยต่อระหว่างแผ่น อาจก่อเกิดปัญหาน้ำไหลย้อนได้ง่ายกว่ากระเบื้องชนิดอื่น ๆ ควรตรวจสอบมาตราฐานให้ดีก่อนติดตั้ง อย่างไรก็ตาม กระเบื้องว่าว ยังเป็นอีกหนึ่งรูปแบบหลังคาที่เหมาะกับบ้านสไตล์โคโลเนียลเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย
วิธีดูแลรักษากระเบื้องหลังคาให้ถูกวิธี
- เดินสำรวจตรวจเช็คว่า การปูกระเบื้องบนหลังคาเป็นระเบียบเรียบร้อย การวางระยะห่างระหว่างกระเบื้องต้องเท่ากัน การปูกระเบื้องหลังคาที่ถูกต้อง จะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ หากมีกระเบื้องที่เหลื่อมทับซ้อนกัน หรือชำรุด ควรรีบแก้ไขโดยทันที เพราะอาจจะทำให้หลังคารั่ว หรือหล่นลงมาได้
- กระเบื้องหลังคา ต้องไม่มีรอยแตกร้าว รอยแตกร้าวบนแผ่น สามารถทำให้น้ำรั่วซึมลงมาได้ และถ้าทิ้งไว้นาน ๆ รอยร้าวอาจจะมีมากขึ้นจนแตก และหล่นลงมาได้ทับผู้สัญจรได้
- หากมีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้กับหลังคาบ้าน เศษกิ่งไม้ อาจจะหล่นใส่กระเบื้องหลังคาแตกได้ ควรตัดแต่งกิ่งออกสม่ำเสมอ
- ใต้ครอบมุมหลังคามักจะมีช่องว่างอยู่ ควรทำการอุดช่องว่างนี้ ด้วยปูน เพราะนก และแมลงบางชนิด สามารถเข้าไปทำรังในนั้นได้
- ตรวจเช็กดูคราบสกปรก รอยด่างต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามกระเบื้อง หากมีคราบฝังแน่นเหล่านั้น ให้หาทางขจัดออกให้มากที่สุด หลังคาจะได้ดูใหม่ขึ้น
- ลองขึ้นไปตรวจหลังคาด้านนอกด้วยความระมัดระวัง แล้วใช้สายตากวาดดูรอบ ๆ ว่ามีกระเบื้องหลังคาแผ่นไหนแตก เป็นรูรั่ว และอันไหนกระเบื้องหลังคาหายไปบ้าง จะได้จัดแจงซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ได้ตรงจุด
- ควรระวังก้อนกรวดเล็ก ๆ จะเข้าไปอุดในท่อน้ำมากเกินไป จะเกิดปัญหาท่อระบายน้ำฝนอุดตันได้ อย่าลืม ตรวจเช็กความเรียบร้อยของท่อน้ำ ไม่ให้มีเศษใบไม้ลงไปคาอยู่ได้
- การตรวจสอบที่ระบายน้ำ จะต้องให้ท่อระบายน้ำกับหลังคาเชื่อมติดกันอย่างมั่นคงแข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดน้ำรั่วออกมานอกท่อ
- อย่าลืมเช็กดูความเรียบร้อยของหลังคาตรงห้องน้ำ ห้องครัว และตรงช่องระบายอากาศด้วย เมื่อเจอข้อบกพร่องของหลังคา ให้รีบจัดการให้เรียบร้อย จะช่วยให้การดูแลหลังคาง่ายยิ่งขึ้น ไม่ควรรอจนกว่าจะถึงวันที่มีปัญหา จะทำให้การซ่อมหลังคาในวันนั้นยุ่งยากมากกว่าเดิมได้
เมื่อรู้จักกับ วัสดุมุงหลังคา กันดีแล้ว อย่าลืมเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับสไตล์บ้านของคุณด้วย รับรองว่า คุณจะได้ทั้งความสวยงาม และมีการใช้งานที่ถูกใจ และควรหมั่นดูแลรักษา หลังคาบ้าน เพื่อการใช้งานที่ยาวนานนั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- “แผ่นโพลีคาร์บอเนต” คุณสมบัติพร้อมวิธีการติดตั้ง
- ข้อดี หลังคาเมทัลชีท ดีกว่า หลังคากระเบื้อง จริงหรือ?
- ข้อดี-ข้อเสีย หลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ หลังคาเมทัลชีท
- หลังคาไวนิล และ หลังคาสเตนเลส ข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025