
วิธีคำนวณค่าไฟ ด้วยตัวเองง่าย ๆ ไม่ยากอย่างที่คิด!
ในช่วงที่หลาย ๆ คนต้อง Work from home นั้นทำให้ผู้คนทั้งประเทศต้องอาศัยอยู่ในบ้านมากขึ้น เป็นผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้พอสิ้นเดือน บิลเรียกเก็บ ค่าไฟ มาถึงหลายคนเห็นตัวเลขแล้วถึงกับช็อคว่าทำไมถึงแพงแบบนี้! ????⚡️
ในบทความนี้ KACHA จะพาไปรู้ วิธีคำนวณค่าไฟ ให้เราสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าได้เองง่าย ๆ เพื่อความสบายใจใรการใช้ไฟฟ้าอย่างไร ไม่ใช้เปลืองไฟจนเกิดเหตุ ตามไปดูกัน
วิธีคำนวณค่าไฟ ทำได้อย่างไร?
ระบบการคิด ค่าไฟ ของการไฟฟ้านั้น คิดแบบ “อัตราก้าวหน้า” หมายถึง การไฟฟ้ามีการกำหนดขั้นบันไดการใช้ไฟฟ้าเอาไว้ ยิ่งบ้านไหนใช้เยอะ ก็จะต้องจ่ายค่าไฟเยอะขึ้น ประกอบกับช่วงนี้เข้าสู่หน้าร้อน ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องใช้ระบบทำความเย็นต้องทำงานหนักขึ้น
ซึ่งรายละเอียดการคิดค่าไฟตามอัตราก้าวหน้า อ้างอิงจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คือ
- 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท
- 115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท
- 250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท
- ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226 บาท
ถ้าบ้านไหนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้ใช้พลังงานสูงอย่าง แอร์, เครื่องฟอกอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องซักผ้า และเตารีด พอสมาชิกในบ้านกลับมาใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้น ยิ่งทำให้ค่าไฟแพงยิ่งขึ้นนั่นเอง
เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใด กินไฟมากที่สุด
ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า |
ใช้กำลังไฟฟ้า (วัตต์) |
---|---|
เครื่องทำน้ำอุ่น | 1,500 – 12,000 |
เครื่องปรับอากาศ | 1,200 – 3,300 |
เครื่องซักผ้า แบบมีเครื่องอบ | 3,000 |
เตารีดไฟฟ้า | 700 – 2,000 |
หม้อหุงข้าว | 450 – 1,500 |
เตาหุงต้มไฟฟ้า | 200 – 1,500 |
เครื่องดูดฝุ่น | 750 – 1,200 |
เครื่องปิ้งขนมปัง | 800 – 1,000 |
ไดร์เป่าผม | 100 – 1,000 |
เตาไมโครเวฟ | 100 – 1,000 |
เครื่องชงกาแฟ | 200 – 600 |
โทรทัศน์สี | 80 – 180 |
ตู้เย็น | 70 – 145 |
พัดลมเพดาน | 70 – 100 |
พัดลมตั้งพื้น | 20 – 75 |
ตัวอย่าง วิธีคำนวณค่าไฟฟ้า ด้วยตนเอง
วิธีคำนวณค่าไฟ เราต้องรู้อัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดนั้น โดยสังเกตได้จากกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นวัตต์ ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์มาก ก็หมายความว่าจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปด้วย

ดังนั้น ก่อนที่จะทำการคำนวนค่าใช้ไฟฟ้า จะต้องสำรวจว่าภายในที่อยู่อาศัยนั้น มีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนบ้าง และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง จากนั้น นำมาคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าด้วยสูตรดังต่อไปนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต) |
---|
ยกตัวอย่างการคำนวณ ค่าไฟ ของบ้านพัก A ซึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้
- หลอดไฟ ขนาด 50 วัตต์จำนวน 10 ดวง เปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง
วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของหลอดไฟ คือ 50 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 10 ดวง ÷ 1,000 x 6 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)
- ไมโครเวฟขนาด 600 วัตต์จำนวนหนึ่งเครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที
วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 600 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 0.5 ชม. = 0.3 หน่วย/วัน (เดือนละ 9 หน่วย)
- ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ หนึ่งตู้ เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง
วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 125 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 ตู้ ÷ 1,000 x 24 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)
- แอร์ขนาด 2,000 วัตต์จำนวน 2 เครื่องเปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง
วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 2,000 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 2 เครื่อง ÷ 1,000 x 6 ชม. = 24 หน่วย/วัน (เดือนละ 720 หน่วย)
- เตาอบ ขนาด 850 วัตต์จํานวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 30 นาที
วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 850 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 0.5 ชม. = 0.425 หน่วย/วัน (เดือนละ 12.75 หน่วย)
- เครื่องชงกาแฟขนาดเล็ก 100 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิด 1 ชั่วโมง
วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 100 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 1 ชม. = 0.1 หน่วย/วัน (เดือนละ 3 หน่วย)
- ทีวี ขนาด 300 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 5 ชั่วโมง
วิธีคำนวณกำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 300 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1,000 x 5 ชม. = 1.5 หน่วย/วัน (เดือนละ 45 หน่วย)
สรุปได้ว่า บ้านพัก A จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 969.75 หน่วยต่อเดือน
วิธีคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านพัก A นั้น ใช้ค่าไฟฟ้าไปประมาณ 969.75 หน่วยต่อเดือน ดังนั้น จะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้า ที่อ้างอิงจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดังนี้
???? 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท
???? 115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท = 115 x 1.1236 บาท รวมทั้งสิ้น 129.21 บาท
???? 250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท = 250 x 2.1329 บาท รวมทั้งสิ้น 533.23 บาท
???? ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226 บาท = (969.75 – 400) = 569.75 x 2.4226 บาท) 1,380.28 บาท

รวมเป็นเงิน (85.21 + 129.21 + 533.23 + 1,380.28) = 2,127.93 บาท
ทั้งนี้ รายละเอียดตามตัวอย่างเป็นวิธีการคำนวณ ค่าไฟ ในเบื้องต้น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บ นอกจากนี้ ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยนั้น อาจมีเปลี่ยนแปลงได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025