
ปัญหาหลัก ๆ ที่ผู้อยู่อาศัยหนีไม่พ้น และต้องพบเจอ เมื่ออยู่อาศัยได้ 1- 2 ปี โดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรร ที่ผุดขึ้นใหม่ในปัจจุบัน คือ พื้นดินโดยรอบบ้านทรุดตัว หรือเกิดดินยุบ จนเกิดเป็น โพรงใต้บ้าน ที่สร้างความกังวลใจ และปัญหาเรื้อรังให้กับเจ้าของบ้าน เพราะนอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นให้โครงสร้างบ้านเกิดการทรุดตัวแล้ว ยังเป็นช่องให้สัตว์เลื้อยคลาน โดยเฉพาะ งู และปลวก เข้าไปสร้างบ้านทำรังหลบซ่อน และพร้อมออกมาก่อกวนเจ้าของบ้านได้อีกด้วย KACHA อยากขอแชร์ วิธีแก้ปัญหาโพรงใต้บ้าน แบบเบื้องต้นมาฝากกัน ว่าสามารถทำได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน
โพรงใต้บ้าน เกิดจากอะไร?
ปัญหาโพรงใต้บ้าน ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาดินทรุดตัวทางธรรมชาติ ซึ่งปกติพื้นดิน มีโอกาสที่จะทรุดได้อยู่แล้ว แต่จะมาก หรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย ในบางกรณี หากละเลยอาจส่งผลให้บ้านทรุดในภายหลังได้ เช่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีลักษณะเป็นชั้นดินอ่อน ระดับการทรุดตัวค่อนข้างมาก ประมาณ 10 เซนติเมตร/ปี หรือหากการก่อสร้างนั้น เพิ่งมีการถมดิน ที่ยังทิ้งระยะเวลาไม่นานนัก ดินที่ถมใหม่ ยังไม่แน่นพอ เมื่อผ่านฝนไปอีก 2-3 ปี จะมีการทรุดเพิ่มภายหลัง และเมื่อดินทรุดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเริ่มมองเห็นฐานรากของบ้าน เสี่ยงต่อการที่บ้านทรุด จึงเกิดเป็นโพรงดินใต้บ้าน หากระบบฐานรากออกแบบไว้ดีแล้ว จะไม่ส่งผลกระทบใดกับตัวบ้าน มีเพียงปัญหาดินเป็นโพรงเท่านั้น

???? ดินทรุด เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการถมดิน และปลูกสิ่งก่อสร้าง อย่างบ้าน อาคารต่าง ๆ ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่รอให้ดินที่ถมลงไปเซ็ทตัวให้แน่นเสียก่อน โดยเฉพาะ ดินในพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน ซึ่งมีอัตราการยุบตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดฝนตกจึงทำให้ดินที่ถมไว้เกิดการทรุดตัว และไหลลงสู่ที่ตำ ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างคานด้านล่างบ้านกับพื้นดินจนเกิดเป็นโพรงใต้บ้าน และส่งผลต่อพื้นที่โดยรอบบ้าน ที่อาจเกิดการปริ หรือแตกออกจากโครงสร้างบ้าน โดยปกติ พื้นดินจะยุบประมาณ 10 เซนติเมตร ภายในระยะเวลา 1 ปี
???? ส่วนบ้านทรุดนั้น เป็นปัญหาที่เกิดจากบ้านทรุดตัวไปพร้อมกับชั้นดิน มักเกิดเป็นรอยร้าวบริเวณผนัง และพื้น ผนังบ้านแยกออกจากโครงสร้าง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่กว่าดินทรุดตัว โดยปกติแล้ว การสร้างบ้านควรใช้เสาเข็ม ที่มีความยาว และลึก เพื่อให้สามารถแบกรับน้ำหนักตัวบ้านได้ หากดินช่วงบนเกิดการทรุดตัว จะได้ไม่กระทบกับเสาเข็ม
วิธีแก้ปัญหาโพรงใต้บ้าน ขั้นตอนเบื้องต้น ทำได้อย่างไรบ้าง?
1. นำขอบคันหิน หรือกระถางต้นไม้ มาปิดบริเวณโพรงใต้บ้าน หรือช่องโหว่
วิธีนี้เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ที่ไม่ยุ่งยาก หลาย ๆ บ้านสามารถทำได้ด้วยตนเอง หากไม่แน่ใจว่าพื้นดินโดยรอบบ้านจะทรุดตัวลงเรื่อย ๆ อีกหรือไม่ เพียงนำกระถางต้นไม้ ตุ๊กตาหินแต่งสวน ไฟฝังพื้นตกแต่งสวน ขอบคันหิน หรืออุปกรณ์ตกแต่งสวนอื่น ๆ มาวางเรียงกัน แล้วจัดพื้นที่ให้กลายเป็นสวนต้นไม้ขนาดย่อม ให้สวยงาม สามารถเลือกทรงกระถางได้ตามความเหมาะสม แต่แนะนำควรใช้เป็นทรงสี่เหลียม เพื่อให้เข้ากับผนัง และมุมบ้าน
2. ใช้แผ่นพื้นคอนกรีตเสียบลงในดิน
เพื่อปิดโพรงใต้บ้าน เมื่อพื้นดินเกิดการทรุดตัว พื้นคอนกรีตโดยรอบ อาจเกิดการแตกร้าว ดังนั้น ควรทุบ และขุดดินโดยรอบให้ลึกกว่าดินใต้ตัวบ้าน แล้วนำแผ่นพื้นคอนกรีตเสียบลงในดินให้แน่น โดยให้ขอบด้านบนของแผ่นพื้นคอนกรีต อยู่ในระดับเดียวกับแนวคาน แล้วค่อย ๆ ปรับสภาพดินรอบตัวบ้าน หรือตกแต่งด้วยสวนต้นไม้ ดอกไม้ ตามความเหมาะสม แต่วิธีนี้ ควรระมัดระวังเรื่องระบบท่อน้ำ และท่อระบายน้ำรอบบ้านระหว่างการขุด และเสียบแผ่นคอนกรีต

3. ปรับระดับพื้นดิน
เป็นทางออกที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ถาวร แต่อาจเกิดความยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหา หากเจ้าของบ้านสังเกตการทรุดตัวของดินแล้วว่ามีความคงที่ และน่าจะไม่ทรุดตัวลงอีก ซึ่งปกติแล้วการทรุดตัวของดินจะอยู่ที่ 10 เซนติเมตร ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยถมดินให้สูงกว่าโพรงใต้บ้าน หากบริเวณพื้นที่ดังกล่าว มีการปูวัสดุตกแต่งทับ เช่น กระเบื้อง บล็อกคอนกรีต ควรลื้อออก และปรับหน้าดินด้วยการถมทราย หรือดินให้แน่น หรือ ยางมะตอยสำเร็จรูป แก้ปัญหาพื้นทรุด แตก ไม่แนะนำให้เติมดิน หรือทรายลงใต้ตัวบ้าน เพราะจะทำให้เสาเข็มรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจทำให้ตัวบ้านเกิดความเสียหายได้
4. ตอกเสาเข็ม
หลาย ๆ บ้านมักชอบต่อเติมครัวไทยหลังบ้าน ลาดจอดรถหน้าบ้าน ลานซักล้าง และพื้นที่นั่งเล่น ให้เชื่อมต่อกับตัวบ้าน โดยพื้นที่ต่อเติม บางครั้งไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ เมื่อพื้นดินบริเวณเกิดการทรุดตัว จึงทำให้ดึงโครงสร้างบ้านเดิมให้เกิดการแตกร้าว และเกิดความไม่สม่ำเสมอของระดับพื้น ดังนั้น หากต้องการต่อเติมพื้นที่ต่าง ๆ ควรตอกเสาเข็ม ให้ถึงชั้นดินแข็ง หรือลงให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดปัญหาพื้นดินทรุดตัว และเกิดเป็นโพรงใต้บ้าน หรือควรก่อสร้างส่วนต่อเติมกับโครงสร้างตัวบ้านแยกออกจากกันโพรงใต้บ้าน เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อโครงสร้างบ้านเป็นหลัก

แม้จะมีหลาย ๆ วิธีในการแก้ไขปัญหานี้ แต่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริงแล้ว ควรทำตั้งแต่ขั้นตอนก่อนเริ่มก่อสร้างบ้าน หรืออาคาร จะได้ไม่สร้างปัญหายุ่งยาก และชะลอปัญหาดินทรุดตัวให้กับเจ้าของบ้านได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
เป็นอย่างไรกันบ้างกับสาเหตุ วิธีแก้ไขต่าง ๆ เกี่ยวกับโพรงใต้บ้าน ที่นำมาฝากกันเบื้องต้น เรื่องรอยแตกร้าว บ้านทรุด ดินยุบนั้น เป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ของบ้าน เพราะมีการแก้ไขที่ค่อนข้างยุ่งยาก หลายขั้นตอน และเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนจึงดีกว่าแก้ไข บทความหน้าจะมีอะไรมาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ ????
>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เลือกดูสินค้า รถเข็นเครื่องมือช่าง คลิกเลย ????????
บทความที่เกี่ยวข้อง :
- บ้านทรุด สัญญาณเตือนภัย แก้ไข ซ่อมแซมได้อย่างไรบ้าง?
- รวมวิธีสำรวจ โครงสร้างบ้าน รู้ก่อน ป้องกันก่อนบ้านทรุดตัว
- “เสาบ้าน” แตกร้าว แก้ไข ซ่อมแซมด้วยตัวเองเบื้องต้นง่ายๆ
- รอยแตกร้าว ซ่อมง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อช่าง!
- โครงสร้างเหล็ก vs โครงสร้างปูน เลือกสร้างแบบไหนดีและต่างกันอย่างไร?
- สาระน่ารู้เกี่ยวกับ “การสร้างบ้าน” ที่ควรรู้!
- ชนิดของดิน มีกี่แบบ แบบไหนเหมาะกับถมดินสร้างบ้าน
ข้อมูลจาก : homeguru.homepro
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025