
“สิ่ว” คือ เครื่องมือช่าง ใช้สำหรับงานไม้ ทำด้วยโลหะ มีลักษณะรูปร่างหลากหลายแบบ เช่น สิ่วปากบาง สิ่วปากหนา เป็นเครื่องมือในงานไม้ ที่ใช้งานร่วมกับค้อน ใช้ขุดเซาะร่อง ตกแต่งไม้ในการเข้าเดือย ติดบานพับ สายยู ลิ้นชักตู้ หรือโต๊ะ ซึ่งสิ่วที่เรารู้จักนั้นก็มีหลากหลายแบบ แต่ละแบบใช้งานอย่างไร? ตาม KACHA ไปดูกันเลยดีกว่า . . .
สิ่ว จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ตัวสิ่วที่เป็นโลหะ ซึ่งส่วนปลายจะแบน คม คล้ายลิ่ม และมีด้ามจับที่เป็นไม้ หรือพลาสติก โดยทั่วไป สิ่วจะใช้ในงานประติมากรรม, แกะสลักไม้, หิน หรือใช้โดยช่างไม้ เพื่อแต่งขอบ และมุมของไม้แต่ละชิ้น ให้ประกอบรวมกันเป็นชิ้นงานได้พอดี
ประเภทของสิ่ว (CHISELS) มีอะไรบ้าง?
สิ่วเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเจาะไม้ แต่งปากไม้ มีหลายชนิด แบ่งได้ตามประเภท ดังนี้
-
สิ่วปากบาง (Parting Chisel)
สิ่วปากบาง เป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่งที่ออกแบบใบสิ่ว ให้มีความคมมากกว่าสิ่วเจาะ มุมของใบสิ่ว 25-30 องศา เหมาะสำหรับเจาะ เฉือน แต่งระดับผิวไม้ให้เรียบ

-
สิ่วเจาะ (Mortise Chisel)
สิ่วเจาะ เป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งออกแบบใบสิ่ว ไว้ใช้เจาะแต่งไม้ให้เป็นรู มีความคม และแข็งแรง

-
สิ่วเล็บมือ (Gouge Chisel)
สิ่วเล็บมือ เป็นเครื่องมือตัดแต่งไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งออกแบบ ให้ใบสิ่วคล้ายเล็บมือ จึงเรียกว่า สิ่วเล็บมือ ใช้สำหรับเจาะ, เฉือน, แชะ ตกแต่งผิวไม้ให้เป็นร่องโค้งมน หรือกลม สิ่วเล็บมือ มี 2 แบบ คือ แบบมุมโค้งภายนอก และ แบบมุมโค้งภายใน

วิธีการใช้สิ่ว เพื่อความปลอดภัย
- การใช้สิ่วทุกชนิดในการทำงาน จะต้องจับด้ามสิ่วให้กระชับ และตรงกับรอยที่ต้องการเจาะ หรือตกแต่ง
- การตอกสิ่ว เพื่อเจาะชิ้นงาน ควรให้สิ่วกินเนื้อไม้ แต่เพียงเล็กน้อย จนครอบคลุมร่องที่จะเจาะแล้ว จึงทำการเจาะ ทั้งนี้ การเจาะแต่ละครั้ง ไม่ควรเจาะให้ลึกทีเดียว เพราะจะทำเกิดอันตรายได้
- การใช้สิ่วปากบาง ตกแต่งชิ้นงานต้องแน่ใจว่าชิ้นงานที่จะปฏิบัติปราศจากเศษโลหะ หรือตะปู ซึ่งจะทำให้ปากสิ่วบิ่น หรือหักได้ และอาจทำให้เกิดอันตราย
- ไม่ควรนำสิ่ว ไปใช้งานผิดประเภท เพราะอาจทำให้สิ่วเสียหายได้
ข้อปฏิบัติในการใช้งานสิ่ว
- เลือกสิ่วที่ใช้ ให้มีขนาดตามความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน
- สิ่วที่ใช้ ต้องมีความคม
- ก่อนใช้สิ่วสกัด ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีนอต, ห่วง, ตะปู, สกรู หรือสิ่งอื่น ๆ ก่อนการใช้สิ่ว
- ควรให้เศษของชิ้นงาน จำพวกเศษไม้ ให้กระเด็นออกจากตัวขณะสกัด
- ไม่ควรใช้ค้อนเหล็ก ตอกสิ่วในการสกัด ควรใช้ตะลุมพุก หรือค้อนไม้ หรือพลาสติกแทน
- เลือกใช้สิ่วที่มีด้ามเป็นเหลี่ยมเรียบ ไม่มีเสี้ยน และยึดติดแน่นกับแกนของสิ่ว
- เมื่อสิ่วมีการชำรุด หรือหัก,งอ, บิ่น ควรเปลี่ยนทันที ไม่ควรนำมาใช้
การรักษาสิ่ว
- อย่าใช้สิ่วตัด หรือสกัดสิ่งอื่นใดนอกจากไม้
- อย่าใช้สิ่วในการอื่น เช่น งัดหรือตอก ใช้แทนไขควง ใช้ขูดสี ใช้งัดเปิดกระป๋องสี
- อย่าใช้สิ่วที่มีด้ามบาน ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วควรทำการแก้ไขอุปกรณ์ช่าง โดยขัดด้วยตะไบหรือลับ
- อย่าเจียรสิ่วเพื่อปรับแต่ง ให้เปลี่ยนมาใช้หินลับแทน
- เก็บปลายสิ่วด้วยปลอกพลาสติก หรือ ม้วนใส่กับผ้า แล้วเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย
- ลับคมสิ่วให้คมอยู่เสมอ ตามมุมคมของใบสิ่ว 20 – 30 องศา การลับคมสิ่ว ให้ล้บด้วยหินที่ใช้กับสิ่วโดยเฉพาะ
- ทำความสะอาดสิ่ว ให้ชโลมน้ำมันเครื่องชนิดใส ก่อนนำไปจัดเก็บในแผงเครื่องมือ
❝ สิ่วนั้นมีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป เพียงแค่เรา เลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การใช้งานให้ถูกต้อง รู้จักเก็บรักษาสิ่ว และข้อปฏิบัติการใช้งาน เครื่องมือช่างต่าง ๆ ก็จะสามารถใช้งานไปได้อีกนาน หวังงว่า บทความนี้จะทำให้หลาย ๆ คนรู้จัก และเข้าใจสิ่วแต่ละชนิดไม่มากก็น้อย ???? ❞
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025