สีกันความร้อน หรือสีสะท้อนความร้อน เป็นสีที่สร้างขึ้นมา เพื่อช่วยลดความร้อนสำหรับบ้าน ที่พักอาศัย หรืออาคารสำนักงานต่าง ๆ โดยไม่ต้องต่อเติมโครงสร้าง หรืออาศัยการติดตั้งเพิ่มเติมเหมือน ฉนวนกันความร้อนใต้ฝ้าเพดาน ระแนง กันสาด หลังคา หรืออุปกรณ์กันความร้อนแบบอื่น ๆ แต่เป็นการทา สีทาบ้านกันความร้อน หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า สีบ้านเย็น นั่นเอง

บทความนี้ KACHA จะพาไปรู้จักกับ สีกันความร้อน ว่าเป็นอย่างไร? มีวิธีเลือกอย่างไร? จะสามารถช่วยป้องกันความร้อนได้จริงหรือไม่? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

สีกันความร้อน คืออะไร?

สีสะท้อนความร้อน หรือสีกันความร้อน บางครั้งเรียก เซรามิคโค๊ตติ๊ง (Ceramic Coating) คือ สีคุณภาพสูง มีสารที่เป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งพัฒนามาจาก Ceramic Microspheres ที่ใช้เคลือบกระสวยอวกาศ NASA เพื่อเสริมความแข็งแรง ด้วยสารอะคริลิก โพลีเมอริคเรซิน (Acrylic Poly Maleic Resin) ใยโพลีเอสเตอร์ (Polyester Fabric) และไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) ที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์สูง แต่มีค่าการดูดซึมความร้อนต่ำ สามารถสะท้อนความร้อน และคลายความร้อนได้ดี จนได้นำมาพัฒนาต่อยอดเป็น สีกันความร้อน ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

220520-Content-สีกันความร้อนเลือกอย่างไร-ช่วยลดอุณหภูมิบ้านได้จริงหรือ02

เรียกได้ว่าสีทาบ้านกันความร้อน เป็นนวัตกรรมป้องกันความร้อน เพื่อบ้าน ที่พักอาศัย หรืออาคารสำนักงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถสะท้อนรังสียูวี และป้องกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม เป็นที่ยอมรับในระดับโลก จึงไม่น่าแปลกใจหาก สีบ้านเย็น จะกลายเป็นสีที่ครองใจผู้บริโภคในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะช่วยลดความร้อนได้จริงแล้ว ยังส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทเครื่องทำความเย็น อย่างเช่น เครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องทำงานหนัก ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น รวมถึงทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงตามมา การเลือกใช้สีกันความร้อน จึงถือเป็นการลงทุน เพื่อบ้านในระยะยาวที่คุ้มค่า และเหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทยอย่างมาก

ควรเลือกใช้สีกันความร้อน แบบไหนดี?

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสีทาบ้านกันความร้อน มีการผลิตออกมาหลายแบบ หลายประเภท ทั้งสำหรับทาผนังบ้าน ทาดาดฟ้า หรือแม้แต่ทาหลังคาบ้าน ซึ่งจะช่วยทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ ในการสะท้อนความร้อนให้บ้าน และช่วยทำให้สีภายนอกบ้าน กลับมาดูสวย สดใส เหมือนใหม่ไปด้วยในตัว แต่ทั้งนี้ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มีการกำหนดให้ สีกันความร้อน ต้องมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีได้ไม่ต่ำกว่า 80% 

220520-Content-สีกันความร้อนเลือกอย่างไร-ช่วยลดอุณหภูมิบ้านได้จริงหรือ03

สีบ้านเย็น ที่เป็นที่นิยมมักเป็นสีประเภทสีน้ำอะคริลิกแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งหากต้องการให้มีประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนมาก และดูดซึมความร้อนต่ำ ขอแนะนำให้เลือกใช้สีทาบ้านกันความร้อน ที่มีโทนสีสว่าง อย่างโทนสีขาว สีครีม สีเทาอ่อน หรือสีสันอื่น ๆ ในโทนสีอ่อน เพราะจะช่วยให้บ้านเย็น ได้มากกว่าสีทาบ้านโทนสีเข้ม เนื่องจากธรรมชาติของสีเข้ม จะดูดซึมความร้อนจากแสงไฟ และแสงอาทิตย์ไว้มากกว่าสีอ่อน สังเกตได้จาก เวลาที่เรามองวัตถุสีเข้ม จะไม่รู้สึกแสบตามากนัก แต่หากมองไปยังวัตถุสีอ่อน ยิ่งสีอ่อนไปถึงจุดสีขาว ก็จะยิ่งแสบตามากขึ้น นั่นเป็นเพราะสีอ่อน มีคุณสมบัติสะท้อนแสงออกได้มากกว่าสีเข้มนั่นเอง ดังนั้น หลักการเลือกโทนสีทาบ้าน จึงมีผลโดยตรงต่ออุณหภูมิภายในบ้านเช่นกัน

วิธีทาสีกันความร้อน

สำหรับการทาสีกันความร้อนด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. เตรียมพื้นผิว โดยการเช็ดล้างสีเก่า ทำความสะอาดสิ่งสกปรก เชื้อรา ตะไคร่ และซ่อมแซมปกปิดรอยร้าวเสียก่อน 
  2. นำสีกันความร้อน มาผสมน้ำสะอาดประมาณ 5-10% และคนให้สีเข้ากัน ทิ้งระยะประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนทาสีทับในรอบถัดไป เพียงเท่านี้ ก็จะมีผนังบ้าน ที่สามารถสกัดความร้อน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ยกตัวอย่างสีกันความร้อน ตามท้องตลาด

หลาย ๆ คน คงเคยเห็นตัวอย่างสีกันความร้อนหลากหลายแบรนด์ ในท้องตลาดกันมาแล้ว ซึ่งสีกันความร้อนเหล่านี้ ล้วนมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน คือ ช่วยสะท้อนความร้อน รังสียูวี และลดอุณหภูมิในบ้านไปพร้อม ๆ กัน มีสีทาผนังบ้านภายนอก และภายในแบรนด์ไหนบ้าง ที่ช่วยให้บ้านเย็น และเป็นที่นิยมบ้าง ดังนี้

  • สี Jotun สีโจตัน โจตาชิลด์ แอนติเฟดคัลเลอร์

เป็นสีทาภายนอก ผลิตด้วยเทคโนโลยี การคัดเลือกเม็ดสี และแม่สีคุณภาพ ช่วยในการป้องกันรังสียูวีได้ถึง 2 เท่า ลดอุณหภูมิในบ้าน ป้องกันคราบสกปรก ตะไคร่น้ำ และเชื้อรา ขนาด 1 แกลลอน ราคาประมาณ 600 บาท ขนาด 2.5 แกลลอน ราคาประมาณ 1,400 บาท

  • สี TOA สีทีโอเอ ซุปเปอร์ชิลด์ ไทเทเนียม

สีน้ำอะคริลิก ชนิดกึ่งเงา ผสมผงไทเทเนียม 3 ชั้น ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีฟิล์มสี ที่ทำความสะอาดตัวเองได้ ขนาด ¼ แกลลอน ราคาประมาณ 250 บาท ขนาด 1 แกลลอน ราคาประมาณ 700 บาท ขนาด 2.5 แกลลอน ราคาประมาณ 1,800 บาท

  • สี Captain สีกัปตัน ลองไลฟ์ คูล แม็กซ์ (Captain Longlife Cool Max)

ผลิตจากกาวอะคริลิก 100% และผสมสารซุปเปอร์ไทเทเนียม ที่ช่วยสะท้อนความร้อน และรังสียูวีได้ถึง 95% ทำให้บ้านเย็น สีติดทนนาน ขนาด 1 แกลลอน ราคาประมาณ 480 บาท ขนาด 2.5 แกลลอน ราคา 1,000 บาท

  • สี Nippon Paint สีนิปปอนเพนต์ คัลเลอร์ชิลด์ พลัส โซลารีเฟลก

สีน้ำอะคริลิกคุณภาพสูง มาพร้อมเทคโนโลยี Micro Penetration Power และเทคโนโลยีโซลารีเฟลก ที่ช่วยสะท้อนความร้อน ยังมี ยูวี ครอส-ลิงค์นาโนเทคโนโลยี สะท้อนรังสียูวี ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้าน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขนาด 1 แกลลอน ราคาประมาณ 800 บาท ขนาด 2.5 แกลลอน ราคาประมาณ 1,600 บาท

  • สี Beger สีเบเยอร์คูล ยูวี ชิลด์

สีน้ำกึ่งเงา นวัตกรรมไมโครสเฟียร์เซรามิก ที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ถึง 94.2% นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีนาโน ทำให้บ้านดูสะอาด ไม่ผสมสารปรอท และสารตะกั่ว ขนาด 1 แกลลอน ราคาประมาณ 580 บาท ขนาด 1 ถัง ราคาประมาณ 1,300 บาท

  • สี 4 Seasons สีโฟร์ซีซั่นส์ ซันบล็อก

สีน้ำสีอะคริลิก ชนิดกึ่งเงา ผสมสาร SRP (Solar Reflective Pigment) ช่วยสะท้อนความร้อนจากดวงอาทิตย์ และสามารถลดอุณหภูมิได้ 2-3 องศา ช่วยปกปิดรอยแตกร้าว และเช็ดล้างทำความสะอาดได้ ขนาด  1 ถัง ราคาประมาณ 2,000 บาท

  • สี Woodtect สีวูดเทค วูดฟิลเลอร์

เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันรังสี UV ด้วยเม็ดสี UV Block โปร่งแสง เห็นลายไม้ชัดเจน ทนต่อทุกสภาวะอากาศทั้งแดด และฝน พร้อมทั้งช่วยยืดอายุไม้ให้ยาวนาน มีทั้งฟิล์มสีชนิดเงา กึ่งเงา ใส และด้าน ใช้ได้กับงานไม้ทุกชนิด เช่น บ้านไม้เรือนไทย Log Home ผนัง ประตู หน้าต่าง และเฟอร์นิเจอร์เอาท์ดอร์ ครอบคลุมพื้นที่ 70-80 ตารางเมตรต่อแกลลอน ขนาด 1 ถัง ราคา 950 บาท

จะเห็นได้ว่า สีกันความร้อน เป็นนวัตกรรมกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังได้รับการยอมรับกันอย่างทั่วโลก ก่อนเลือกใช้สี อย่าลืมศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนด้วย หวังว่าบทความนี้ จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : 

เพื่อให้งานทาสีบ้าน ของคุณสะดวก สบาย งานออกมามีคุณภาพมากขึ้น เราขอแนะนำตัวช่วยดี ๆ เครื่องลอกสี ลอกสีผนัง สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน

เครื่องลอกสี ลอกสีผนัง Click ????