
รู้จักกับ “สแลน” คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
สแลนคืออะไร?
สแลน (Shading Net) หรือที่เรียกกันว่า ตาข่ายกรองแสง เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ใช้งานได้หลายอย่าง แต่หน้าที่หลักคือ เอาไว้กรองแสง บังแสง พรางแสง ลดความเข้มข้นหรือความแรงของแสงแดดลง ลดความร้อนที่จะส่งผลกระทบนั่นเอง
สแลนถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น งานเกษตรทั่วไป, ใช้ทำเป็นหลังคาเรือนเพาะชำ, เรือนเพาะเห็ด, เรือนปลูกผักผลไม้, โรงเรือนไม้ดอกต่าง ๆ คลุมแปลงเกษตร, คลุมหรือล้อมรั้วเลี้ยงสัตว์, ฟาร์มกุ้ง, บ่อเลี้ยงปลา, ทำเป็นหลังคากันแดด, ลานจอดรถ, ดาดฟ้า, อาคารก่อสร้าง ป้องกันการร่วงหล่นของสิ่งของตามอาคารก่อสร้าง และใช้คลุมส่วนต่าง ๆ ของบ้านที่ต้องการความร่มรื่นสวยงาม และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายหลายอย่าง
สแลนหรือตาข่ายกรองแสงนั้น จะมีปริมาณ % ในการกรองแสงที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน คือ 50%, 60%, 70% และ 80% ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการนำใช้งานด้วย

สแลนทำจากอะไร?
วัตถุุดิบที่ใช้ในการผลิต คือ High Density Polyethylene หรือเรียกชื่อย่อว่า HDPE เป็นพลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน ที่มีความหนาแน่นสูง มีคุณสมบัติพิเศษเมื่อนำไปใช้งานหลายอย่าง ได้แก่
- มีสีขุ่น แสงผ่านได้น้อย เหมาะกับการนำไปผลิตเป็นวัตถุป้องกันแสง
- ทนต่อความร้อนจากแสงแดดและความร้อนจากสภาพอากาศได้สูงถึง 80 – 100 องศาเซลเซียส
- ทนต่อความเย็นได้ต่ำกว่าระดับจุดเยือกแข็ง
- ป้องกันความชื้นซึมผ่านได้ดีมาก จึงสามารถใช้งานได้ทั้งการป้องกันการเปียกชื้น และ การเก็บกักรักษาความชุ่มชื้น
- ไม่ไวต่อสารเคมี จึงสามารถใช้ได้ทั้งกับสภาพความเป็นกรด และเป็นด่าง
- มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง ทนทานนานปี
- จำกัดการผ่านของอากาศ จึงใช้งานได้ทั้งการป้องกันอากาศจากภายนอก และปกป้องควบคุมบรรยากาศภายใน
- สามารถใส่เม็ดสีได้โดยไม่กระทบต่อคุณสมบัติการใช้งาน
สแลน มีกี่ประเภท?
แบ่งประเภทตามกรรมวิธีการผลิต ได้ 2 ประเภท คือ

- สแลนแบบถัก ชนิดนี้ทำจากโพลิเอทิลีนน้ำหนักเบา จึงเหมาะกับเกษตรกรรม การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ กสิกรรมทุกประเภท
- สแลนแบบทอ ตาข่ายชนิดนี้มีน้ำหนักมากกว่า ทิ้งตัวดี มีความยืดหยุ่นและทนทานสูง จึงนิยมใช้ในการเลี้ยงสัตว์และทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแน่นหนามั่นคง
ทำไมเกษตรกรและคนปลูกต้นไม้ควรใช้ สแลน?
-
สแลนช่วยเพิ่มผลผลิตแต่ลดอายุการเก็บเกี่ยวให้สั้นลง
พืชแต่ละชนิดนั้นต้องการปริมาณและความเข้มข้นของแสงในการเจริญเติบโตแตกต่างกัน บางชนิดต้องโดนแดดมากจึงจะออกดอกออกผล เช่น โกสน โป๊ยเซียน มะเขือ พริก เป็นต้น ในขณะที่บางชนิดต้องการแสงแดดที่กำลังพอดี เช่น คะน้า กวางตุ้ง และบางชนิดต้องแดดรำไร ความเข้มข้นต่ำเท่านั้น จึงจะงอกงามดี เช่น ผักชี ต้นหอม ขิง ข่า กล้วยไม้ ฯลฯ
สแลนจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต ออกดอกออกผล ของพืชได้ด้วยคุณสมบัติการพรางแสง เกษตรกรสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสงแดดผ่านมากน้อยแค่ไหน มีตั้งแต่ 30% – 80% เลยทีเดียว นอกจากพรางแสงแล้ว ด้วยความถี่ของตาข่ายและลักษณะของตาข่าย ยังช่วยในเรื่องการกระจายของแสงทั่วถึงและดีขึ้นอีกด้วย
แสงแดดที่ทั่วถึงและเหมาะสมจะทำให้พืชโตเร็ว ให้ผลผลิตดี ใช้ระยะเวลาในการปลูกสั้นลง ยิ่งถ้าปลูกเป็นพืชล้มลุก ในรอบ 1 ปี เกษตรกรจะสามารถสร้างรายได้ได้มากขึ้นกว่าเดิมเพราะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง ????

-
สแลนช่วยลดต้นทุนการใช้น้ำและปุ๋ย
การปลูกพืชบางชนิด โดยเฉพาะพืชจากต่างประเทศที่นำมาเพาะในประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน ทำให้เกษตรกร ผู้เพาะปลูกต้องสิ้นเปลืองต้นทุนไปกับการให้น้ำและให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงเร่งการเจริญเติบโต และการใช้ปุ๋ยมากเกินไปจะส่งผลเสียตามมา แม้ว่าปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติหรือปุ๋ยคอก ก็ตาม ผลกระทบที่ตามมา คือ ทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดหรือด่างสูงมากเกินไป หรือทำให้พืชเสี่ยงต่อการเป็นโรค เพราะโรคระบาดบางชนิดก็มากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยมูลสัตว์
หากเกษตรกรหันมาใช้สแลนและเลือกแบบที่เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูก จะทำให้เกษตรกรสามารถปรับและควบคุมสภาพแวดล้อมได้ด้วยเช่นกัน คือ
- ควบคุมอุณหภูมิ ความร้อน
- ควบคุมอากาศที่ถ่ายเท
- ควบคุมความชื้น
- ควบคุมปริมาณน้ำฝน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชเติบโต ได้ผลผลิตงอกงามดี โดยไม่ต้องรดน้ำบ่อย ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก จึงถือเป็นการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรได้อีกทางด้วย

-
สแลนช่วยป้องกันความเสียหายจากเชื้อโรค วัชพืช แมลงศัตรูพืช
การใช้สแลนหรือตาข่ายกรองแสงสามารถช่วยป้องกันการเกิดการระบาดของโรค หรือ แมลงศัตรูพืชในพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก ได้แก่ โรคราน้ำค้างที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora Parasitica มีสาเหตุจากความเย็นและความชื้นจากการที่พืชตากน้ำค้างกลางแจ้ง ระบาดได้ทั้งในระดับต้นกล้าและต้นโต โรคนี้จะไม่ทำให้ต้นตายแต่ใบจะเสียหาย ต้นโตช้า ที่สำคัญคือ น้ำหนักจะลดลง ส่งผลให้ขายไม่ได้ราคา ขาดทุน
โรคใบจุด ที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria Brassicae ซึ่งสปอร์ของเชื้อราชนิดนี้จะปลิวมาตามลม หรืออาจมากับแมลง กับสัตว์ก็ได้ การใช้ตาข่ายพรางแสงคลุมพืชไว้จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคชนิดนี้
- ช่วยป้องกันความเสียหายของพืชที่เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไป ช่วยกันแรงลมและพายุ
การขึงตาข่ายเหนือแปลงเพาะปลูกนอกจากจะช่วยกันฝน ลดปริมาณน้ำฝนที่พืชจะได้รับแล้ว ตาข่ายยังช่วยลดแรงกระแทกของเม็ดฝน และลดแรงปะทะของลมได้ เพราะหากฝนตกหนัก เม็ดหนา พายุเข้า ลมกรรโชกแรง จะทำให้ต้นไม้เสียหายได้ง่าย

-
ลดการใช้สารเคมี ดีต่อผู้ปลูก ดีต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การใชสารเคมีในการเพาะปลูก เร่งการเจริญเติบโต หรือกำจัดศัตรูพืช ล้วนเป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งของเกษตรกร ทั้งของผู้บริโภค ที่สำคัญคือ ทำลายระบบนิเวศน์วิทยา ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งไม่เป็นผลดีเลย
ปัจจุบัน กลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากตื่นตัวกับปัญหานี้ และเลือกที่จะปกป้องตัวเองด้วยการเลือกบริโภคผักอินทรีย์ ผักออร์แกนิค และที่นิยมมาก คือ ผักกางมุ้ง ซึ่งก็คือผักที่ปลูกในโรงเรือนแบบปิดนั่นเอง
ดังนั้น เกษตรกรที่ต้องการยกระดับอาชีพของตัวเองโดยสร้างผลผลิตให้ตอบรับกับความต้องการของตลาด จึงควรปรับการเพาะปลูกของตนเอง โดยหันมาพิจารณาเลือกใช้สแลนหรือตาข่ายพรางแสงช่วยในการเพาะปลูกดูบ้าง อาจจะเป็นโอกาสดีในการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นได้ ????
สแลนแต่ละสี แตกต่างกันอย่างไร?
สีของสแลนกันแดดนั้น มีให้เลือกทั้งสีดำ และ สีเขียว ทั้ง 2 สีนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของสีกับแสงที่ให้ความรู้สึก คือ สีดำจะไปตัดทอนค่าความยาวของคลื่นแสง แสงที่ลอดผ่านสแลนสีดำนั้นจะเป็นแสงสีขาวแบบที่เราเห็นทั่วไป แต่สแลนสีอื่นจะสะท้อนค่าความยาวของคลื่นแสงที่เป็นสีเดียวกับสีของสแลนนั้นดังนั้น ความแตกต่างของสีสแลนนั้น ยังไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ขึ้นอยู่กับผู้เลือกใช้มากกว่า

ซึ่งพืชต้องการแสงสีน้ำเงินและสีแดงเป็นหลัก ซึ่งรวมอยู่ในแสงสีขาวอยู่แล้ว ถ้าแสงสีเหล่านี้ถูกตัดทอนออกไปจะมีผลต่อการสังเคราะห์แสงจนถึงการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้คนส่วนใหญ่เลือกใช้สแลนสีเขียวมากกว่าสแลนสีดำ เพราะสแลนสีดำเก็บความร้อนได้ดีกว่าสีเขียว แต่ส่งผลระยะยาวคือ สแลนสีดำจะผุพัง เสื่อมสภาพเร็วกว่าสแลนสีเขียวนั่นเอง
สำหรับเกษตรกรที่กำลังมองหาสแลนไว้ใช้สำหรับบังแสงให้แปลงเพาะปลูก อาจต้องคำนึงถึงเรื่องช่วงวัยของพืชตามไปด้วย เช่น ช่วงเพาะและอนุบาลต้นกล้า จำเป็นต้องลดแสงแดดสูง จึงควรใช้สแลน 80% เพราะต้นไม้จะได้เติบโตได้ดี เมื่อต้นกล้าแข็งแรงดีแล้ว เราควรเปลี่ยนมาใช้สแลน 50% เพื่อเพิ่มปริมาณแสงแดดมากขึ้น เว้นแต่การเลี้ยงพืชที่ต้องการแสงรำไรในทุกช่วงวัย เช่น กล้วยไม้ เราควรใช้สแลน 80% ตลอดช่วงอายุ
❝ ด้วยการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะให้ร่มเงาแก่แปลงพืชผัก แปลงดอกไม้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการคลุมแปลงปลูก หรือทำเป็นรั้วแบ่งพื้นที่ในการทำปศุสัตว์และประมงต่าง ๆ เช่น บ่อกุ้งและบ่อปลา เพื่อให้ร่มเงาและป้องกันไม่ให้แสงแดดส่งผลกระทบต่อพันธุ์ปศุสัตว์ โดยเราสามารถเลือกอัตราการบังแสงให้เหมาะสมกับพืชหรือฟาร์มของเราโดยดูจากเปอร์เซ็นต์การกรองแสงที่ระบุมากับตัวสแลน โดยค่าเปอร์เซ็นต์ยิ่งสูง ยิ่งสามารถบังแสงได้มากขึ้น และยังสามารถเลือกคุณภาพความทนทานของสแลนได้จากฝีเข็มในการทอยิ่งใช้หลายเข็มยิ่งทนทานด้วย ❞
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025