❝ ปัญหา ส้วมตัน ท่อตัน ชักโครกตัน ปัญหาใหญ่ที่พาให้ปวดหัวได้ไม่รู้จบ หลายคนคงเคยพบเหตุการณ์เหล่านี้กันมาบ้างแล้ว จะแก้ปัญหาอย่างไร? ทำเองได้ไหม? หรือต้องเรียกช่าง เรียกได้ว่าเป็นปัญหาโลกแตกได้เลยทีเดียว ❞
รู้มั้ยว่า ปัญหาส้วมตัน เกิดจากฝีมือเรา ๆ เองนั่นแหละ ที่ชอบทิ้งอะไร ๆ ลงไปในโถส้วม เช่น กระดาษทิชชู่ ผ้าอนามัย ขยะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้พอสะสมมาก ๆ เข้า ก็จะลงไปอุดตัน ขวางทางการระบายน้ำ ทำให้ท่อตันได้นั่นเอง วันนี้ KACHA จะมาบอก วิธีแก้ส้วมตัน ด้วยตัวเองกัน วิธีการก็ง่าย ๆ ตามไปดูกันได้เลย
สาเหตุที่ทำให้ ส้วมตัน เกิดจากอะไรบ้าง?
ปัญหาส้วมตัน มักจะเป็นปัญหาที่เราไม่คาดคิดว่าจะเกิด เพราะสำหรับบ้านพักอาศัยบางบ้านอยู่อาศัยกันมานาน ก็ไม่เคยเกิดปัญหาเหล่านี้สักครั้ง หรือไม่เคยมีสัญญานเตือนใด ๆ ว่าจะเกิดส้วมตันขึ้นมาได้ ส่วนใหญ่มักจะเชื่อกันว่า เมื่อสร้างห้องน้ำ ติดตั้งสุขภัณฑ์อย่างถูกวิธี หรือเลือกสุขภัณฑ์ที่มีคุณภาพ จะไม่มีทางเกิดปัญหาส้วมตันขึ้นมาได้ บางครั้งเกิดจากสิ่งที่เราคาดไม่ถึงเลย เช่น ส้วมตันเพราะทิชชู่ ส้วมตันเพราะเศษผม ฯลฯ แต่จริง ๆ แล้วสาเหตุของการเกิดส้วมตันนั้น อาจจะมาจากปัญหาหลาย ๆ ส่วนประกอบ ดังนี้
1. ปัญหาจากการติดตั้งท่อระบายอากาศ
ปกติการสร้างห้องน้ำ ห้องส้วม มักจะมีการติดตั้งท่อระบายอากาศรูปตัว T โดยการต่อท่อออกมาจากท่อน้ำทิ้งห้องน้ำ หรือจากถังบำบัดน้ำเสีย โดยท่อระบายอากาศ จะทำหน้าที่ป้องกันอากาศไหลย้อนกลับเวลากดชักโครก และเป็นตัวช่วยให้การราดน้ำ กดชำระในแต่ละครั้ง สามารถทำได้โดยสะดวก แต่การต่อท่อระบายอากาศนั้น หากมีอะไรไปอุดไว้ที่ปลายท่อ หรือบางบ้านต่อท่อไว้ต่ำเกินไปจนมีดิน หรือน้ำท่วมถึง จนทำให้มีเศษขยะต่าง ๆ เข้าไปอุดปลายท่อ ท่อก็จะไม่สามารถระบายอากาศได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ส้วมตันได้
การติดตั้งท่อระบายอากาศรูปตัว T ควรจะติดตั้งให้อยู่ในระดับที่สูงกว่า 1.50 เมตร หรือถ้าจะให้ดี ควรให้สูงเกินหลังคาบ้านขึ้นไป เพื่อเป็นการระบายกลิ่นอับรบกวนด้วย กรณีมีสิ่งอุดตัน เช่น เศษดิน แมลง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเศษขยะ ต้องรีบงัดเอาสิ่งอุดตันออก หรือใช้การฉีดน้ำแรง ๆ เพื่อทำความสะอาดให้สิ่งตกค้างไหลออกจากท่อระบายให้หมดไป และควรป้องกันท่อระบายอากาศด้วย คลุมตาข่ายที่ปลายท่อเพื่อไม่ให้มีสิ่งต่าง ๆ เข้าไปอุดตันส่งผลให้ส้วมตันได้
2. ปัญหาจากถังบำบัดบ่อเกรอะ หรือบ่อซึม
การติดตั้ง ถังบำบัดน้ำเสีย ในปัจจุบันนั้น มีทั้งแบบถังบำบัดสำเร็จรูป หรือแบบเดิมจะใช้แบบบ่อเกรอะ บ่อซึม น้ำจากการกดชักโครกชำระล้างสุขภัณฑ์ จะสามารถระบายออกด้วยแรงดูดมาเก็บไว้ในถังบำบัด หากส้วมตัน อาจเป็นไปได้ว่าบางครั้งน้ำระบายได้ไม่ดี หรือไม่ทัน ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการติดตั้งถังบำบัด หรือบ่อเกรอะ บ่อซึม ต่ำกว่าระดับท่อระบายน้ำสาธารณะ เมื่อระดับน้ำในท่อสาธารณะสูงขึ้น ก็ทำให้ระบายน้ำออกไปได้ช้าลง หรือกรณีฝนตกหนักเกิดท่วมขังก็อาจทำให้มีน้ำค้างในท่อระบายของถังบำบัด หรือบ่อเกรอะ บ่อซึม มากจนต้องรอการระบาย รวมถึงอาจมีแรงน้ำดันกลับเข้ามา ทำให้น้ำไหลย้อนเข้าสู่ถังบำบัด หรือบ่อเกรอะ บ่อซึม ซึ่งทั้งหมดนี้ จะส่งผลให้แรงดูดชักโครกภายในห้องน้ำทำงานได้ไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุของส้วมตันได้เช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม ???????? ถังบำบัดน้ำเสีย ถังแซท เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน
3. ปัญหาจากการอุดตันในท่อน้ำทิ้ง
ท่อน้ำทิ้งเป็นตัวรับน้ำจากโถสุขภัณฑ์ หรือชักโครก แล้วส่งต่อไปยังถังบำบัด หรือบ่อเกรอะ บ่อซึม ระบายสู่พื้นดิน หรือแหล่งน้ำสาธารณะต่อไป แต่หากเกิดมีการอุดตัน ก็จะไม่สามารถระบายน้ำได้ บางครั้งการทิ้งเศษวัสดุต่าง ๆ ลงในชักโครก ก็อาจเป็นสาเหตุของส้วมตันได้ เช่น ส้วมตันเพราะทิชชู่, ส้วมตันเพราะผ้าอนามัย, ส้วมตันเพราะเศษขยะเศษผม ฯลฯ การทิ้งเศษวัสดุต่าง ๆ นั้น หากเข้าไปอุดตันแล้ว จะทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้ ส่งผลให้ชักโครกไม่มีแรงดูดน้ำ เดินน้ำไหลย้อนกลับ ทำให้ส้วมตันนั่นเอง จึงควรระมัดระวังไม่ทิ้งเศษขยะ เศษวัสดุต่าง ๆ ลงไปในชักโครก หรือโถสุขภัณฑ์ด้วย
4. ปัญหาจากสุขภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
อาจจะเป็นสาเหตุที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็สร้างปัญหาใหญ่ได้ เพราะการเลือกสุขภัณฑ์ หรือชักโครกที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ก็ยิ่งช่วยให้การใช้งานได้ดี การออกแบบให้การไหลเวียนของน้ำ รวมถึงการเลือกปริมาณน้ำในการกดชำระให้เหมาะสมกับการใช้งาน ก็มีส่วนสำคัญ เพราะหากเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาส้วมตันได้เร็วขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้
อ่านบทความเพิ่มเติม ???????? ชักโครก แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร?
วิธีแก้ส้วมตัน แก้ไขได้ไม่ยาก
เมื่อเกิดปัญหาส้วมตัน อาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลาย ๆ คน เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง หรือแบบไหนดี เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาบอกต่อกันกับ วิธีแก้ส้วมตัน ราดไม่ลง จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ต้องโทรตามช่างให้เสียทั้งเวลา และเสียค่าใช้จ่าย
เป็นสิ่งของคุ้นเคยที่มีอยู่ประจำทุกบ้านอยู่แล้ว เชื่อไหมว่า น้ำยาล้างจานแก้ปัญหาส้วมตันได้ เพียงเทน้ำยาล้างจานลงไปในชักโครกที่มีการอุดตันประมาณ 1 ฝา ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที น้ำยาล้างจาน จะไปจับคราบอุดตันภายในชักโครก หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ทำให้สิ่งตกค้างที่ตันอยู่เกิดความลื่น คุณสมบัติของน้ำยาล้างจาน ยังสามารถชำระล้างได้ดี จึงช่วยกำจัดสิ่งที่อุดตันภายในชักโครก วิธีแก้ส้วมตัน ราดไม่ลงอย่างได้ผล เพียงลองกดน้ำอีกครั้งเศษสิ่งอุดตันต่าง ๆ ก็จะหลุดลงไปอย่างง่ายดาย ปัญหาส้วมตันก็จะหมดไป |
วิธีแก้ส้วมตัน ราดไม่ลงแบบใช้สารเคมีโดยการนำโซดาไฟมาผสมกับน้ำอุ่นในปริมาณพอเหมาะ แล้วราดลงในชักโครก ปล่อยทิ้งไว้สักพักเพื่อให้โซดาไฟทำปฏิกิริยากับคราบ หรือเศษสิ่งสกปรกที่อุดตัน หรือราดทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วค่อยราดน้ำร้อนตามลงไปอีกครั้ง การราดน้ำร้อนซ้ำลงไปอีกครั้งนั้นจะเป็นการช่วยไม่ให้โซดาไฟจับตัวเป็นก้อน ฤทธิ์ของสารโซดาไฟจะเข้าไปทำละลายเศษสกปรกสิ่งอุดตัน ขยะต่าง ๆ ให้อ่อนตัวลงและหลุดร่อนออกไปได้ แต่โซดาไฟเป็นสารอันตราย ก่อนใช้งานควรมีอุปกรณ์ป้องกันอย่างดี เช่น ถุงมือยาง ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกัน และใส่เสื้อแขนยาว เพื่อไม่ให้โซดาไฟสัมผัสถูกร่างกาย อ่านบทความเพิ่มเติม ???????? “โซดาไฟ” กับคุณสมบัติต่างๆ |
วิธีแก้ส้วมตัน ราดไม่ลงแบบใช้สิ่งของที่มีอยู่ในบ้านอีก 1 วิธี โดยเทเบกกิ้งโซดา 1 กำมือลงไปในโถชักโครก แล้วเทน้ำส้มสายชูตามลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที น้ำส้มสายชูจะเข้าช่วยละลายตะกรันหินปูน ที่เป็นคราบฝังแน่น ส่วนเบกกิ้งโซดา จะช่วยทำปฏิกิริยาละลายคราบไขมันที่เกาะตัวอยู่ ให้หลุดร่อนออกไปได้ง่าย ๆ พอครบ 20 นาที ให้ราดน้ำร้อนตามลงไปอีกครั้ง รอจนชักโครกระบาย ก็ทำความสะอาดซ้ำได้เลยทันที |
อุปกรณ์คุ้นหน้าคุ้นตากันดีที่มีไว้สำหรับแก้ปัญหาส้วมตัน ท่อตัน แบบเฉพาะหน้า สามารถหาซื้อลูกยางปั๊มได้ที่ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป ขั้นตอนการใช้งาน ก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่นำท่อด้านปลายมีลูกยางสีดำ สวมเข้าไปที่ท่อชักโครก แล้วออกแรงกดปั๊มซ้ำ ๆ เพิ่มแรงดันอากาศให้กับหัวลูกยางแบบเป็นจังหวะขึ้นลง ก็จะช่วยดันสิ่งที่อุดตันภายในชักโครก ให้ไหลลงด้านล่างลงสู่บ่อพักได้อย่างรวดเร็ว เป็น วิธีแก้ส้วมตัน ราดไม่ลงที่ต้องออกแรงนิดหน่อย แต่แก้ปัญหาส้วมตันได้เป็นอย่างดี |
วิธีแก้ส้วมตัน ราดไม่ลงแบบรวบรัด การใช้น้ำยาล้างท่อตันต้องระวังให้ดีเช่นกัน เพราะเป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนค่อนข้างรุนแรงในการละลายไขมัน และกำจัดสิ่งอุดตันออกจากท่อของชักโครก สามารถหาซื้อน้ำยาล้างท่ออุดตันได้ตามร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือซูเปอร์มาร์เก็ต ทั่วไปได้ ก่อนใช้งานควรมีอุปกรณ์ป้องกันอย่างดี เช่น ถุงมือยาง, ผ้าปิดจมูก, แว่นตาป้องกัน และใส่เสื้อแขนยาว เพื่อไม่ให้น้ำยาล้างท่อตันสัมผัสถูกร่างกาย |
สิ่งที่ไม่ควรทิ้งลงชักโครก ที่ทำให้เกิดปัญหาส้วมตัน
ปัญหาส้วมตัน บางทีก็มาจากสาเหตุง่าย ๆ ที่เรานึกไม่ถึง นั่นคือทิ้งสิ่งของต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลงในชักโครกนั่นเอง เราลองมาดูว่ามีอะไรบ้างที่ไม่ควรทิ้งลงในชักโครก
1. กระดาษทิชชู่
เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับส้วมมาโดยตลอด หลายคนยังเข้าใจผิดว่าสามารถทิ้งกระดาญทิชชู่ หรือกระดาษชำระลงในชักโครกได้ แต่ทิชชู่นั้นมีหลายแบบ หรือหากทิชชู่สะสมในโถส้วมมาก ๆ ก็จะทำให้จับตัวและย่อยสลายได้ยากเช่นกัน เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ ส้วมตัน โดยที่เราคิดไม่ถึง
2. ผ้าอนามัย
ปกติในห้องน้ำก็จะมีป้ายห้ามทิ้งผ้าอนามัยลงในชักโครกอยู่แล้ว เหมือนเป็นการย้ำเตือนว่าอย่าได้เผลอทิ้งลงไปเชียวนะ เพราะจะทำให้ส้วมตัน ทั้งนี้ เพราะผ้าอนามัยเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยากมาก ๆ หากเราทิ้งลงในโถชักโครกโดยคิดว่าถ้ากดน้ำก็ลงไปแล้วนั้น ต้องห้ามทำโดยเด็ดขาด ทางที่ดีควรห่อกระดาษแล้วทิ้งลงถังขยะ
3. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
คุณแม่สมัยใหม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก แถมยังต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้นิยมใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เพราะใช้งานง่าย สะดวก ใช้แล้วทิ้งได้เลย หากเผลอทิ้งลงชักโครก ก็จะไม่ย่อยสลาย เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปจะไม่ละลายน้ำ และขยายตัวเมื่อโดนน้ำอีกด้วย
4. ไม้พันสำลี
คอตตอนบัดส์ ของใช้ที่จำเป็นสำหรับคนทั่วไป อาบน้ำเสร็จก็เช็ดเนื้อเช็ดตัวแล้วก็ใช้คอตตันบัดส์ทำความสะอาดเพิ่มความมั่นใจ ใช้เสร็จก็เผลอทิ้งลงชักโครกเพราะสะดวกและรวดเร็ว อาจจะคิดว่าคอตตันบัดส์เป็นของชิ้นเล็ก ๆ คงไม่ทำให้เกิดปัญหาส้วมตันได้ แต่จริง ๆ แล้วก้านแข็ง ๆ เล็ก นั่นเป็นปัญหาใหญ่มากเลยทีเดียว
5. ไหมขัดฟัน
ไหมขัดฟันก็เช่นเดียวกัน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นของชิ้นเล็ก ๆ ไม่น่าจะทำให้ส้วมตันได้ พอเราใช้งานแล้วก็ทิ้งลงชักโครก จริง ๆ แล้วไหมขัดฟันเป็นวัสดุที่ไม่สามารถละลายน้ำได้
6. สำลี
ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เป็นของใช้ประจำบ้านทั้งในตู้ยาและในห้องน้ำ ใช้สำลีเช็ดล้างเครื่องสำอาง หรือความสะอาดแผลต่าง ๆ เมื่อใช้แล้วก็ไม่ควรทิ้งลงในชักโครก เพราะสำลีจะไปจับตัวเป็นก้อนแข็งทำให้เกิดปัญหาส้วมตันได้
7. พลาสเตอร์ปิดแผล
บางครั้งที่เราเปลี่ยนพลาสเตอร์ปิดแผลอันใหม่ หรือจะแกะทิ้งเพราะแผลหายดีแล้วในห้องน้ำ ก็จะเผลอทิ้งลงชักโครก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทิ้งลงชักโครกเป็นอย่างยิ่ง เพราะพลาสเตอร์ปิดแผลผลิตจากวัสดุที่ไม่สามารถละลายน้ำได้
8. ก้นบุหรี่
ส่วนใหญ่แล้วคนสูบบุหรี่มักจะชอบสูบในห้องน้ำ สูบหมดมวนก็ทิ้งก้นบุหรี่ลงชักโครกเพื่อดับไฟ ซึ่งก็จะเป็นสาเหตุทำให้ส้วมตันเช่นกัน และยังทำให้ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็นอีกด้วย
9. ถุงยางอนามัย
เมื่อใช้แล้วไม่ควรทิ้งลงในชักโครก เพราะวัสดุที่ใช้ผลิตถุงยางอนามัยนั้น ย่อยสลายได้ยาก มีความเหนียว เมื่อโดนน้ำจะจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย
10. น้ำมัน
หลายคนคิดว่าเป็นของเหลวเหมือนน้ำ เททิ้งลงชักโครกคงไม่เป็นไร แต่น้ำมันชนิดต่าง ๆ ที่เราเททิ้งลงไปในชักโครกนั้น จะกลายเป็นคราบไขมันเกาะติดตามผนังท่อ รวมกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ทำให้การระบายน้ำไม่สะดวกจนกลายเป็นปัญหาส้วมตัน
แน่นอนว่า ส้วมตัน เป็นปัญหาที่รบกวนใจเป็นอย่างมาก เพราะการใช้ห้องน้ำในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องสำคัญ การแก้ปัญหาส้วมตันนั้น อาจจะทำด้วยตัวเองง่าย ๆ และทำได้หลายวิธีตามที่เราได้แนะนำไป แต่หากแก้ปัญหาไม่ได้ก็คงต้องถึงมือช่าง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเครื่องมือแก้ปัญหาส้วมตันแบบใหม่ ๆ มากมาย เช่น งูเหล็กทะลวงท่อ ฯลฯ แต่หลังจากแก้ปัญหาส้วมตันได้แล้ว หรือไม่อยากให้เกิดปัญหาส้วมตันขึ้นกับบ้านเรา ก็ต้องระมัดระวังอย่าทิ้งสิ่งของต่าง ๆ ลงในชักโครก เพราะสิ่งของเล็ก ๆเหล่านั้น เมื่อสะสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เป็นสาเหตุของส้วมตันได้ง่าย ๆ