หลังคาไวนิล และ หลังคาสแตนเลส ข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?

เมื่อพูดถึง “หลังคาไวนิล และ หลังคาสเตนเลส” ลักษณะเป็นอย่างไร บางครั้งอาจจะแยกไม่ค่อยออก ซึ่งในการสร้างหลังคาบ้านแต่ละครั้ง จำเป็นต้องคิดให้รอบครอบก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะสินค้าแต่ละประเภทรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน แต่ลักษณะการใช้งาน หรือประโยชน์แตกต่างกัน เช่นเดียวกับหลังคาไวนิล และ หลังคาสแตนเลส แตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

วันนี้ KACHA จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ หลังคาไวนิล และ หลังคาสแตนเลส ให้มากขึ้นกัน

หลังคาไวนิล คืออะไร?

210128-Content-หลังคาไวนิล-vs-หลังคาสแตนเลส-02

หลังคา ไวนิล ไม่ว่าจะเป็น หลังคาไวนิลท้องเรียบ หลังคาไวนิลใส หลังคาไวนิลแบบ APCV, ASA PVC คุณภาพดี 4 Layer รูปร่างหน้าตาเหมือน หลังคาเมทัลชีทมากที่สุด แต่มีราคาที่สูงกว่า ซึ่งวัสดุแผ่นเป็น 3 ชั้น  ไส้ตรงกลางเป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้ช่วยดูดซับ และป้องกันความร้อนได้ดี ไม่จำเป็นต้องบุฉนวนเพิ่ม ประหยัดงบประมาณด้านวัสดุ และค่าจ้างแรงงานได้อีกด้วย

ไวนิล เป็นแผ่น PVC กระบวนการผลิตแผ่น PVC คล้ายคลึงกับการผลิตแผ่นโฟม มีน้ำหนักเบากว่า ลักษณะแผ่นไวนิล เป็นตันหนา 7 มม.

ข้อดี – ข้อเสีย ของหลังคาไวนิล

ข้อดี

  • มีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและสามารถใช้งานได้ทันที สามารถป้องกัน UV ได้ดี มีประสิทธิภาพสูง ดูดซับเสียงได้ดี เมื่อฝนกระทบไม่มีเสียงดังรบกวน สวย ทันสมัย เป็นที่นิยมในการสร้างบ้าน สร้างหลังคาในปัจจุบัน
  • ติดตั้งง่าย หาซื้อง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ช่างชำนาญทาง สามารถติดตั้งได้เอง มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดและยังสามารถออกแบบหลังคาที่ลาดชันได้ หมดกังวลเรื่องหลังคารั่ว

ข้อเสีย

  • เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีราคาสูงกว่าวัสดุก่อทั่วไป หลังคาไวนิลราคาต่อตารางเมตรสูงกว่าหลังคาเมทัลชีท และราคาแพงกว่ากระเบื้องลอนคู่ด้วยซ้ำ
  • เมื่อใช้หลังคาไวนิลเป็นระยะเวลานาน อาจมีการเปลี่ยนแปลงของสี สีซีดจางได้ แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาของแต่ละบ้านด้วย แต่เรื่องความทนทานนั้นหลังคาไวนิล มีความอายุการใช้งานนานถึง 10 ปี

เปรียบเทียบหลังคาไวนิล กับ หลังคาเมทัลชีท 

หากมองทางด้าน ราคา พบว่า หลังคาไวนิลนั้น มีราคาแพงกว่าหลังคาเมทัลชีทเป็นเท่าตัว เมื่อลองคำนวณรวมค่าส่งแล้วทั้งหมด เช่น หลังคา ไวนิล เมื่อรวมค่าส่ง ค่าติดตั้งทั้้งสิ้น ราคาโดยประมาณ 2,500 บาท ส่วนหลังคาเมทัลชีท ราคา เมื่อรวมค่าติดตั้งทั้งสิ้น 1,500 บาท แต่หลังคาไวนิล สามารถป้องกันความร้อน ได้ดีกว่าหลังคาเมทัลชีท และยังสามารถเก็บเสียงได้เงียบกว่านั่นเอง

หลังคาสแตนเลส คืออะไร?

210128-Content-หลังคาไวนิล-vs-หลังคาสแตนเลส-03

หลังคาสแตนเลส เป็นการนำสเตนเลสขึ้นทำเป็น โครงสร้างหลังคา ซึ่งสเตนเลส หรือเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม คือ เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่า หรือต่ำกว่า 2% ของน้ำหนัก และมีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 5% ขึ้นไป จะทำให้กลายเป็น เหล็กกล้า ที่มีความสามารถต้านทานการเกิดสนิมได้

ประเภทสเตนเลส ที่ใช้ทำหลังคา คือ สเตนเลสเกรดดี สเตนเลสเกรด 304 ซึ่งมีหลากหลายเกรด หากต้องการทำหลังคาสแตนเลส ภายในบ้าน ที่ไม่ได้โดนแดด หรือฝนโดยตรง สามารถใช้หลังคาสเตนเลสเกรด 201 หรือ 202 ได้ แต่หากต้องการหลังคา ที่ทนแดดทนฝน ไม่เกิดสนิมง่าย ควรเลือกใช้เกรด 204 Cu, 301 และสเตนเลส 304 เป็นเกรดที่ช่างนิยมใช้มากที่สุด

ข้อดี – ข้อเสีย ของหลังคาสแตนเลส

ข้อดี

  • หลังคาสเตนเลส สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบา สามารถใช้งานได้ทันที เพราะง่ายต่อการติดตั้ง
  • สเตนเลสไม่ก่อให้เกิดสนิม ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามากนัก ทนต่ออุณภูมิที่สูงและต่ำ
  • มีความทนทานสูง เพราะเป็นการผสมระหว่าง เหล็ก และโลหะ แต่เปราะบางกว่าเหล็ก

ข้อเสีย

  • มีสีให้เลือกไม่มาก บางครั้ง อาจมีราคาสูงกว่ามากกว่า หลังคาโครงเหล็ก
  • ไม่ทนทานเท่าหลังคาโครงเหล็ก ทำให้เสียเงินเปล่าประโยชน์ ดังนั้น ต้องเลือกร้านที่จำหน่ายสแตนเลส ที่มีคุณภาพสูง ไม่หลอกลวงลูกค้า

เป็นอย่างไรกันบ้าง เมื่อเปรียบเทียบหลังคาไวนิล กับ หลังคาสเตเลส  ราคา ลักษณะการใช้งาน รวมถึง ข้อดี-ข้อเสีย ทำให้รู้ว่า ควรเลือกหลังคาแบบไหน เพื่อใช้สร้างบ้าน แบบไหนเหมาะสม ที่จะเลือกมาใช้งานมากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น ควรเลือกร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำก่อนการตัดสินใจซื้อทุก ๆ ครั้งด้วย หวังว่าบทความนี้ จะทำให้ผู้อ่าน ได้เข้าใจ และรู้จักกับ หลังคาสแตนเลส และหลังคาไวนิล กันมากขึ้น และบทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากกันอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันด้วยนะจ๊ะ

บทความดี ๆ น่าอ่าน:

KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก เช่น รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ KACHA คลิกเลย