
ห้องน้ำแยกโซนเปียก-แห้ง ปลอดภัย สวยงาม เป็นสัดส่วน ทำได้อย่างไร?
เรียกได้ว่า ห้องน้ำ มักมีความเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ เชื้อราดำ ตามร่องยาแนว รวมถึงคราบสบู่ และคราบยาสระผม หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดเชื้อโรค ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนในบ้านได้ สำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังมองหาไอเดีย รีโนเวท หรือกำลังจะสร้างห้องน้ำ
บทความนี้ KACHA จะมาแชร์ ห้องน้ำแยกโซนเปียก-แห้ง หลากสไตล์ หลายไอเดีย เพื่อความสวยงาม ปลอดภัย ไม่ลื่น และน่าใช้งาน มาฝากกัน จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดู
โซนเปียก-แห้ง ในห้องน้ำ คืออะไร?
- โซนเปียก ในห้องน้ำ คือ พื้นที่บริเวณ ที่ใช้น้ำหนัก ๆ เช่น พื้นที่อาบน้ำ ไม่ว่าจะเป็น ยืนอาบฝักบัว หรืออ่างอาบน้ำ
- โซนแห้ง ในห้องน้ำ คือ บริเวณในห้องน้ำ ที่ไม่โดนน้ำ หรือโดนน้ำน้อย เช่น บริเวณชักโครก อ่างล้างหน้า เป็นต้น

ไอเดีย ห้องน้ำแยกโซนเปียก-แห้ง
ห้องน้ำ เป็นอีกหนึ่งจุดอันตรายในบ้าน หากไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุ อาจทำให้ลื่นล้มได้ง่าย การแยกโซนเปียก-แห้งในห้องน้ำ ถือเป็นเรื่องดีมาก ๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ของทุกคนในครอบครัวนั่นเอง
ผ้าม่าน
ผ้าม่าน เป็นวิธีกั้นโซนเปียก-แห้ง ที่ประหยัด ไม่ต้องดูแลมาก หาซื้ออุปกรณ์ง่าย มีให้ลวดลาย รูปแบบ ให้เลือกหลากหลาย เพียงแค่นำราว และผ้าม่านมาติดบริเวณที่อาบน้ำ แนะนำให้ใช้ผ้าม่านแบบกันน้ำ ประเภท PEVA หรือ EVA เพราะทำความสะอาดง่าย แข็งแรง ทนทาน ไม่มีกลิ่นหมักหมม ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยด้วย
ตู้อาบน้ำ
ตู้อาบน้ำ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ ในปัจจุบัน เลือกแบบที่ชอบ และขนาดตู้ที่พอดีกับห้องน้ำในบ้าน นำมาติดตั้งได้เลย ง่าย ๆ ส่วนวัสดุที่ซึ่งตู้อาบน้ำ จะมีทั้งแบบ กระจก ที่นิยมมากที่สุด เพราะโล่ง โปร่งสบาย แข็งแรง ทนทาน แถมยังช่วยพรางตาให้ห้องน้ำดูกว้างขวางขึ้นได้

ฉากกั้นอาบน้ำ
ฉากกั้นโซน จะไม่ได้ใช้ปูนเป็นตัวช่วย แต่จะเลือกวัสดุที่ชอบ และตรงตามสไตล์มาติดแทน จุดเด่น คือ มีวัสดุให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะ กระจก ซึ่งแยกย่อย ได้ดังนี้ กระจกใสไร้ขอบ กระจกใสมีขอบ กระจกครึ่งผนังปูนครึ่ง บล็อกแก้ว และวัสดุพิเศษอื่น ๆ
ผนังกั้นโซน
การก่อปูนทำผนังยื่นออกมา เพื่อแยกระหว่างโซนแห้ง โซนเปียก ความยาวประมาณ 40-60% ของผนัง อาจจะทำพื้นต่างระดับร่วมด้วย ข้อดี คือ ราคาไม่แพง ช่วยป้องกันน้ำกระเด็นได้ดีมาก ๆ
ทำพื้นต่างระดับ
แยกโซนแห้ง-เปียกห้องน้ำ แบบไม่ต้องใช้ฉากกั้น โดยทำพื้นต่างระดับ บริเวณอาบน้ำ ให้ต่ำกว่าพื้นบริเวณที่เหลือ จบปัญหาน้ำไหลเจิ่งนองทั่วห้องน้ำ
ทำรางระบายน้ำ
ทำรางระบายน้ำ เป็นแนวยาว เพื่อกั้นโซนให้น้ำไหลลงไป ไม่ทะลักสู่พื้นที่อื่น หรือทำรางไว้ใต้ฝักบัว และพื้นที่อาบน้ำ จะช่วยแยกพื้นที่เปียก-แห้งได้
ราวแขวนผ้า
ควรติดตั้งราวแขวนผ้าเช็ดตัว ให้อยู่ในจุดที่มือเอื้อมถึงได้จากพื้นที่อาบน้ำ เพื่อที่จะได้หยิบมาเช็ดตัวได้ทันที ไม่ต้องเดินออกมาตอนตัวเปียก และทำให้พื้นห้องน้ำเปียกเพิ่มนั่นเอง
จบไปแล้ว ห้องน้ำแยกโซนเปียก-แห้ง ที่เรานำมาฝากกัน พอจะเป็นไอเดีย ก่อนจะสร้างห้องน้ำ หรือรีโนเวทห้องน้ำ ในบ้านของคุณได้ บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาแชร์กันอีกนั้น ติมตามกันด้วยนะจ๊ะ
บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ :
- ผนังห้องน้ำสำเร็จรูป ผนังก่ออิฐฉาบปูน มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
- ประตูห้องน้ำ แต่ละแบบ เลือกอย่างไรให้ใช้งานได้ยาวนาน
- ชักโครก แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร?
- ฝักบัวอาบน้ำ มีกี่แบบ? เลือกใช้แบบไหนดี?
- อ่างล้างหน้า คุณสมบัติที่น่ารู้ เลือกอย่างไรก่อนนำไปใช้งาน
● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ● ●
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!!
อ้างอิงข้อมูลจาก : home.kapook.com
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025