หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ อิฐมวลเบา กันมาบ้างแล้ว แต่คงไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วอิฐมวลเบานั้นทำมาจากอะไร? มีข้อดีข้อเสียอย่างไร? และเหมาะสมกับงานก่อสร้างแบบใด? วันนี้ KACHA จะพามาทำความรู้จักอิฐชนิดนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิมกันดีกว่า . . .


อิฐมวลเบา คืออะไร?

ชื่อทางการ คือ คอนกรีตมวลเบา เป็นอิฐยอดนิยมชนิดหนึ่งในงานก่อสร้างยุคใหม่ การผลิตหรือการทําอิฐมวลเบานั้น ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ได้แก่ ปูนซีเมนต์, ทรายบดละเอียด, ปูนขาว, ยิปซั่ม, ผงอะลูมิเนียม และน้ำสะอาด ผสมเข้าด้วยกันในรูปแบบของเหลวจนเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เกิดฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมากกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีตมวลเบาแต่ไม่เชื่อมต่อกัน ซึ่งฟองอากาศเหล่านี้ทำให้อิฐมีน้ำหนักเบาและเป็นฉนวนกันความร้อนสูง เก็บบ่มไว้ระยะเวลาหนึ่ง

210209-Content-อิฐมวลเบา-มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร-02


เมื่อคอนกรีตมวลเบาเริ่มแข็งตัว จะถูกตัดแบ่งตามขนาดของบล็อกที่ต้องการ แล้วจึงนำเข้าอบด้วยไอน้ำที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงเป็นเวลานาน บล็อกจึงเกิดเป็นผลึกที่มีความแข็งแรงสูง พร้อมนำไปใช้งานทุกด้าน
ด้วยคุณสมบัติพิเศษ คือ วัสดุที่ใช้ต้องมีน้ำหนักเบา ขนาดก้อนได้มาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทนไฟ ป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง ตัดแต่งเข้ารูปง่าย ใช้งานได้เกือบ 100% ไม่มีเศษอิฐหัก และที่สำคัญคือ รวดเร็ว สะอาด ลดระยะเวลาในการก่อสร้าง ลดต้นทุนค่าแรงงานได้อีกด้วย


ประเภทของอิฐมวลเบา

อิฐมวลเบามีมากมายหลายประเภท ถ้ามองเพียงภายนอกอาจแทบไม่แตกต่างกัน ซึ่งอิฐมวลเบาแต่ละแบบใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตต่างกัน ทำให้คุณสมบัติของอิฐมวลเบาแตกต่างกัน ราคาก็แตกต่างกันไปด้วย อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

อิฐมวลเบาระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง

(Non – Autoclaved System) ซึ่งจะแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ประเภทที 2
ใช้วัสดุเบากว่ามาทดแทน เช่น ขี้เลื่อย, ขี้เถ้า, ชานอ้อย หรือเม็ดโฟม ทำให้คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบาขึ้น แต่จะมีอายุการใช้งานที่สั้น เสื่อมสภาพได้เร็ว และหากเกิดไฟไหม้ สารเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อผู้อยู่อาศัย ใช้สารเคมี (Circular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้แข็งตัว คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรง

คอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้ส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเป็นสีปูนซีเมนต์ ต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงซึ่งจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นผลึกสีขาว

210209-Content-อิฐมวลเบา-มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร-03


อิฐมวลเบาระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง

(Autoclaved System) ซึ่งแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1
Lime Base 
ประเภทที 2
Cement Base 
ใช้ปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทำให้คุณภาพคอนกรีตที่ได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำมากกว่า ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เป็นระบบที่จะช่วยให้คอนกรีตมีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอ ช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate) ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง ทนทานกว่าการผลิตในระบบอื่นมาก


▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

???? ข้อดีของอิฐมวลเบา

คุณสมบัติของอิฐมวลเบาที่มีน้ำหนักเบา เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งที่ทำให้ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถสรุปข้อดี ดังนี้

  1. อิฐมวลเบามีความคงทนต่อสภาพอากาศ
  2. ผนังที่ใช้ก่อสร้างด้วยอิฐมวลเบามักจะมีความสวยงาม จึงทำให้อิฐมวลเบาเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายสำหรับผู้รับเหมาในงานก่อสร้างคอนโด
  3. ผนังที่ก่อสร้างด้วยอิฐมวลเบา มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้ดี จึงช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดภายนอกเข้าสู่ตัวอาคาร และช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในตัวอาคารได้เป็นอย่างดี
  4. อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างที่ดูดซับเสียงได้ดี ทำให้สามารถช่วยลดความดังของเสียงระหว่างห้องภายในอาคารได้เป็นอย่างดี
  5. ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากมีน้ำหนักเบาทำให้สามารถขนย้ายได้รวดเร็ว
  6. เนื่องจากอิฐมวลเบาสามารถดูดซับความร้อนได้ดี จึงทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถประหยัดค่าไฟจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ
  7. อิฐมวลเบาทนความร้อนและกันเสียงได้ดี

อิฐมวลเบาสามารถกันความร้อนได้ดี ซึ่งอิฐมวลเบาจะช่วยลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่า เพราะโครงสร้างของอิฐมวลเบามีฟองอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งภายในอิฐมวลเบา จะสามารถทำให้ดูดซับ เสียงได้ดี จึงเหมาะสำหรับห้องหรืออาคารที่ต้องการความเงียบ เช่น โรงภาพยนตร์, ห้องประชุม, ห้องคาราโอเกะ และอิฐมวลเบาเป็นมาตรฐานทำให้มีขนาดเท่ากันทุกก้อน ยังช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้

▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾

???? ข้อเสียของอิฐมวลเบา

  1. อิฐมวลเบาสามารถนำไปปรับแต่งได้น้อย เนื่องจากอิฐมวลมีขนาดใหญ่ หากนำไปประยุกต์ทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่ผนังอาจจะทำได้ยาก
  2. อาจมีปัญหาเรื่องปลวกกินได้ เพราะอิฐมวลเบามีส่วนประกอบของยิปซั่มซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลวก
  3. หากต้องแก้ไขผนังบ้านต้องรื้อออกทั้งหมด แล้วก่อผนังขึ้นมาใหม่
  4. ด้วยลักษณะของวัสดุที่มีรูพรุน ทำให้อิฐมวลเบาดูดซับน้ำซึ่งจะมีผลต่อความชื้น จึงไม่นิยมใช้ในงานห้องน้ำหรือห้องครัว

การใช้อิฐมวลเบามักจะใช้ในผนังภายในบ้าน, ห้องนอน และห้องนั่งเล่น
ส่วนผนังภายนอกให้ใช้กับผนังที่ไม่โดนฝนสาดโดยตรง

  1. หากต้องเจาะผนังเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ต้องใช้พุกที่ออกแบบมาเพื่ออิฐมวลเบา เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ เพราะอิฐมวลเบาผนังอาจแตกร้าวได้มากกว่าอิฐมอญ

ตัวอย่างอัตราส่วนการใช้งาน กรณีผู้เขียนสร้างบ้าน 1 ชั้น จะเลือกใช้อิฐมอญเป็นหลัก หากเป็นบ้าน 2 ชั้นเฉลี่ยแล้วอัตราส่วนเท่า ๆ กัน แต่หากบ้านสูง 3-4 ชั้นขึ้นไป เปอร์เซ็นส่วนใหญ่ที่จะเลือกใช้เป็นอิฐมวลเบาเป็นหลัก เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างและค่าแรงคนงานได้ดีกว่าอิฐมอญมากนั่นเอง ????


จะเห็นได้ว่าอิฐมวลเบานั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเรื่องของราคาของอิฐมวลเบาแม้จะสูงกว่าอิฐชนิดอื่น ๆ แต่หากเราคิดค่าใช้จ่ายทั้งระบบ การก่ออิฐมวลเบาจะใช้ปูนก่อที่น้อยกว่า และใช้เวลาในการทำงานที่รวดเร็วกว่าอิฐชนิดอื่น ๆ เรียกว่าสามารถลดและควบคุมค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก ยังไงก่อนตัดสินใจซื้อ ควรศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้งด้วย ????

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<