
หลายคนคงคุ้นกับชื่อของ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือ (Variable Frequency Drive : VFD) เป็นอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ที่มีศักยภาพช่วยลดการใช้พลังงานต่อหน่วยสูง สามารถใช้งานควบคู่ได้กับมอเตอร์ไฟฟ้าทั่วไป เช่น กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบปั้มน้ำ พัดลม และระบบปรับอากาศขนาดใหญ่
โดยปัจจุบันแนวโน้มการใช้งานมีมากขึ้น ทั้งในระบบอุตสาหกรรมและอาคาร อีกทั้งตัวผลิตภัณฑ์ยังได้รับ “ฉลากประสิทธิภาพสูง” จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษี โดยผู้ขอรับสิทธิ์จะได้รับการยกเว้นภาษีเงิน ได้เป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพราะในระยะยาวแล้วอินเวอร์เตอร์ จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องของค่าไฟได้มากถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ตาม KACHA ไปทำความรู้จักกับ อินเวอร์เตอร์ ให้มากขึ้นกันดีกว่า…
อินเวอร์เตอร์(Inverter) คืออะไร?
อินเวอร์เตอร์คือ อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรง เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ โดยไฟฟ้ากระแสตรง ที่จะนำมาทำการเปลี่ยนนั้นมาจาก แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง หรือแผงโซล่าเซลล์ก็ได้ ไฟฟ้ากระแสสลับที่ได้มานั้น จะเหมือนกับไฟฟ้าที่ได้จากปลั๊กไฟตามบ้าน โดยอินเวอร์เตอร์ ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ พัดลม หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ สามารถใช้ได้กับกระแสไฟฟ้าตรง
หลักการทำงานของอินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับ ที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ วงจรทั้ง 2 นี้ จะเป็นวงจรหลัก ที่ทำหน้าที่แปลงรูปคลื่น และผ่านพลังงานของอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ มีรูปคลื่นซายน์ แต่เอาท์พุตของ Inverter จะมีรูปคลื่นแตกต่างจากรูปซายน์ นอกจากนั้น ยังมีชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของวงจรคอนเวอร์เตอร์ และวงอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของ 3-phase Induction motor
โครงสร้างภายในของ Inverter
- ชุดคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) : ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟสลับจากแหล่งจ่ายไฟ AC. power supply (50 Hz) ให้เป็นไฟตรง (DC Voltage)
- ชุดอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) : ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟตรง (DC Voltage) ให้เป็นไฟสลับ (AC Voltage) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแรงดันและความถี่ได้
- ชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) : ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของชุดคอนเวอร์เตอร์ และชุดอินเวอร์เตอร์
การประยุกต์ใช้งาน
|
|
|
|
ประเภทของอินเวอร์เตอร์
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Grid Tile Inverter
อินเวอร์เตอร์แบบนี้ จะทำหน้าที่แปลงไฟจากแผงโซล่าเซลล์ที่เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ให้เป็นกระแสสลับขนาด 220 โวลต์ สำหรับจ่ายไฟเข้าสู่ตัวอาคารบ้านเรือน และยังมีหน้าที่ช่วยรักษาระดับแรงดันไฟให้มีความเสถียร
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Micro Grid Inverter
ไมโครกริดอินเวอร์เตอร์ หรือ Minigrid มีลักษณะการทำงานคล้ายกับแบบ Grid แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่ Minigrid สามารถแปลงกระแสไฟได้ 1 อัน ต่อ 1 แผงโซล่าเซลล์ ทำให้ช่วยลดการใช้สายไฟ AC ได้

-
อินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave
เป็นอินเวอร์เตอร์ ที่ช่วยแปลงไฟจากแบตเตอรี่ ให้สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Modify Sine Wave
มีลักษณะการทำงานเหมือนกับแบบ Pure Sine Wave แต่รุ่นเก่ากว่า และการทำงานไม่มีคุณภาพเท่ากับแบบ Pure Sine Wave
-
อินเวอร์เตอร์แบบ Hybrid
เป็นอินเวอร์เตอร์ ที่นำเอาคุณสมบัติเด่นของแบบ Grid Tile Inverter และ Minigrid มารวมกับ Pure Sine Wave เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอินเวอร์เตอร์ให้เพิ่มมากขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า เป็นอินเวอร์เตอร์แบบลูกผสม

วิธีเลือกซื้ออินเวอร์เตอร์
1. เลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ที่เหมาะสม
อินเวอร์เตอร์ที่ขายกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้งอินเวอร์เตอร์ราคาถูกและราคาแพง แต่สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ ไม่ใช่ปัจจัยเรื่องของราคาเพียงอย่างเดียว ควรเลือกซื้ออินเวอร์เตอร์ที่มีขนาดเหมาะสม โดยให้เลือกซื้อมากกว่า Watt ของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยการนำเอาจำนวนวัตต์ทั้งหมดของอุปกรณ์ไฟฟ้ามาบวกกัน เช่น หลอดไฟขนาด 10 วัตต์ และเครื่องซักผ้า 70 วัตต์ (10 วัตต์ + 70 วัตต์ = 80 วัตต์) ดังนั้น ต้องเลือกอินเวอร์เตอร์ขนาดมากกว่า 80 วัตต์ ขึ้นไป ซึ่งถ้าหากเป็นโหลดมอเตอร์ จะต้องเผื่อขนาดอินเวอร์เตอร์ให้เพียงพอด้วย เพื่อป้องกันการกระชากของไฟฟ้าในช่วงเริ่มต้น
2. เลือกประเภทของอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
เลือกประเภทของอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ลักษณะการใช้งานและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่จะลงทุน
3. เลือกอินเวอร์เตอร์ แบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งอินเวอร์เตอร์ราคาถูก ที่จำหน่ายภายใต้แบรนด์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ อาจเป็นไปได้ว่าอินเวอร์เตอร์ที่คุณซื้อมานั้น ไม่มีคุณภาพ และไม่มีมาตรฐาน อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในระหว่างการใช้งานได้ อีกทั้งยังไม่มีความทนทาน หรือมีอายุการใช้งานสั้น ดังนั้น ควรพิจารณาจากความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ
4. เลือกแบรนด์ที่มีการรับประกัน
การรับประกันสินค้าหรือรับประกันอินเวอร์เตอร์ ช่วยให้ผู้ซื้อมั่นใจได้ว่าสินค้ามีคุณภาพ ซื้อแล้วเกิดความคุ้มค่า ไม่เสียดายเงิน หรือถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ขึ้น ก็สามารถนำไปเปลี่ยน นำไปซ่อม ตลอดจนขอคืนเงินได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการรับประกัน
นอกเหนือจากความสามารถในการแปลงไฟแล้ว อินเวอร์เตอร์ยังช่วยรักษาระดับไฟให้มีความเสถียร ไม่เกิดการไฟตก หรือไฟอ่อน นอกจากนี้ อินเวอร์เตอร์ยังมีความปลอดภัยในการใช้งานสูง และที่สำคัญอินเวอร์เตอร์บางรุ่น ยังสามารถแสดงผลการแปลงไฟและปริมาณไฟที่จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นมือถือได้อีกด้วย ถือเป็นก้าวใหม่ของเทคโนโลยีจริง ๆ
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025