
รู้จักกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ ประโยชน์และการทำงานเป็นอย่างไร?
เมื่อเกิดเหตุขัดข้องทางไฟฟ้า หรือในส่วนที่ไม่มีการติดตั้งไฟฟ้า อาจจะต้องมีการสำรองไฟไว้ จึงต้องมี เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเรียกง่าย ๆ กันว่า “เครื่องปั่นไฟ” ไว้ใช้งาน
ในบทความนี้ KACHA จะบอกถึงการทำงานของเครื่องปั่นไฟ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ว่าช้ทำอะไร? ทำไมถึงจำเป็นต้องใช้เครื่องปั่นไฟกัน?
เครื่องปั่นไฟ คืออะไร?
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้หลักการของไมเคิล ฟาราเดย์ ซึ่งก็คือการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก โดยหลักการคือ เมื่อมีการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือมีการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น ในประเทศไทย ตามต่างจังหวัดต่าง ๆ มักจะเรียกเครื่องปั่นไฟ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าว่า ไดปั่นไฟ นั่นเอง

เครื่องปั่นไฟหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
- ชนิดกระแสตรง (Dynamo)
- ชนิดกระแสสลับ (Alternator)
ชนิดของเครื่องปั่นไฟหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่นิยมใช้ในงานเชิงอุตสาหรรม เช่น โรงงานอุตสาหกรรม, โรงแรม, อาคารสูง คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ โดยมีแยกย่อยออกมาอีกเป็นแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส แต่โดยทั่วไปแล้ว มักจะนิยมใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ 3 เฟสมากกว่า เนื่องจากสามารถผลิตและจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เป็น 3 เท่าของเครื่องปั่นไฟแบบ 1 เฟส
ซึ่งทุกส่วนจะถูกนำมาประกอบร่วมเป็นชุดเดียวกัน โดยที่จะมีชุดควบคุมเป็นตัวสั่งการเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับเลือกแหล่งจ่ายไฟหรือที่เรียกว่า ATS (Automatic Transfer Switch) ว่าจะให้สับไปรับไฟจากส่วนไหน ระหว่างหม้อแปลงการไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั่นเอง
ขนาดเครื่องปั่นไฟ มีแบบไหนบ้าง?
เราสามารถแบ่งเครื่องปั่นไฟตามการใช้งานได้ 2 ขนาด คือ
- ขนาด เล็ก-กลาง เครื่องปั่นไฟขนาดนี้ นิยมนำไปใช้ในครัวเรือน ตามไซต์งานก่อสร้างขนาดเล็ก รวมถึงนำไปใช้กับงานเชื่อมโลหะ โดยเครื่องปั่นไฟขนาดเล็กนั้น มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 1-20 KVA ส่วนขนาดกลาง มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 20-50 KVA
- ขนาดใหญ่ เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ นิยมนำไปใช้ตามงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ในโรงงาน โรงแรม ในอาคารสูง เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 50-100KVA ขึ้นไป

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดพิเศษที่เรียกว่า ไดออกซ์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า และเชื่อมโลหะได้ไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย
ประโยชน์ของเครื่องปั่นไฟ
- จุดประสงค์หลักของเครื่องปั่นไฟ
เพื่อการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งเหมาะเป็นอย่างมากในการนำไปใช้กับพื้นที่ต่างจังหวัดที่ห่างไกล และมีปัญหาเรื่องของไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง แต่ถ้ามีเครื่องปั่นไฟ คนในพื้นที่นั้น ๆ จะสามารถใช้ไฟฟ้าได้ทันที แต่ในปัจจุบันนี้อาจจะได้เห็นการใช้งานเครื่องปั่นไฟน้อยลงแล้ว เพราะมีการสนับสนุนให้ติดตั้งโซล่าเซลล์แทน ถ้าหากสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากและขายให้กับโรงไฟฟ้าได้อีกด้วย
- วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้กับเครื่องปั่นไฟ
ในอดีต คือ น้ำมัน พลังงานชนิดหนึ่งที่มีต้นทุนสูงมาก และมีราคาผันผวนอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ต้องมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบของเครื่องปั่นไฟให้สามารถใช้พลังงานจากอย่างอื่นได้มากยิ่งขึ้น เช่น พลังงานจากแก๊สธรรมชาติ, พลังงานน้ำ, พลังงานลม เป็นต้น
- การติดตั้งเครื่องปั่นไฟตามที่ต่าง ๆ
เพื่อไว้ใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่น ไฟดับ, รถชนเสาไฟฟ้า, ฝนตกหนักพายุเข้า จนเป็นเหตุให้ไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้ การติดตั้งเครื่องปั่นไฟเพื่อให้มีพลังงานสำรอง จะช่วยยืดเวลาในการเตรียมตัวปิดเครื่องจักร หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
ด้วยสาเหตุนี้ จึงไม่ได้มีแค่โรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ที่มีการติดตั้งเครื่องปั่นไฟ ตามโรงพยาบาลที่ต้องมีการแช่วัคซีนไว้ในตู้แช่ตลอด รวมถึงสถานีวิทยุ และโทรทัศน์ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ก็ได้เลือกติดตั้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในขนาดที่เหมาะสมแล้ว ถึงแม้ว่าบางคนจะมองว่าเป็นการซื้อมาแบบเสียเปล่า เสียเงินไปโดยฟรี ๆ ถือเป็นการคุ้มครองความเสียหายได้ระดับหนึ่ง ซึ่งมูลค่าของความเสียหายนั้น อาจจะมากกว่าราคาของเครื่องปั่นไฟหลายเท่าตัว
การดูแลเครื่องปั่นไฟ
1. เพื่อให้การทำงานของเครื่องปั่นไฟมีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้ว วิธีการบำรุงรักษาเครื่องปั่นไฟอย่างถูกวิธี จึงมีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว ที่จะทำให้เครื่องปั่นไฟของคุณมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวและคุ้มค่ามากที่สุด
ก่อนการตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟของคุณทุกครั้ง คุณจะต้องทำการปิดสวิตซ์ไฟและปิดระบบการจ่ายไฟของเครื่องปั่นไฟก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์ ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดเองขณะทำการตรวจเช็คได้
2. ในทุกการใช้งานตลอดระยะเวลา 20 ชั่วโมงของการใช้งานเครื่องปั่นไฟ จะต้องตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้
- ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ โดยระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟที่เหลือ จะต้องไม่มีตะกอนหรือคราบดำปรากฏให้เห็น และจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ทุกครั้งก่อนการใช้งาน เพื่อเป็นการบำรุงรักษาสภาพเครื่องยนต์ภายในให้มีสภาพดีอยู่เสมอ
- ทำความสะอาดหม้อน้ำกลั่นในเครื่องปั่นไฟ โดยการใช้ผ้าแห้งเช็ด และทำการตรวจสอบสภาพน้ำกลั่น ซึ่งจะต้องมีความใสบริสุทธิ์ ไม่มีตะกอนหรือเปลี่ยนสี
- หลังจากการใช้งานทุกครั้ง ในบริเวณสายไฟหรือขั้วต่อในเครื่องปั่นไฟ จะต้องทำการหมุนขั้วสายไฟให้แน่น และใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดอยู่เสมอ
- สายพานของเครื่องปั่นไฟ ควรใส่น้ำมันหล่อลื่นทุกครั้งหลังการใช้งาน และควรเปลี่ยนสายยางทันทีหากสายยางชำรุดเสียหาย
3. ในส่วนของหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอกของเครื่องปั่นไฟหลังจากการใช้งาน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิและป้องกันฝุ่นละออง
4. ในทุก ๆ 3 เดือน หรือการใช้งาน 250 ชั่วโมง จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้
- ทำการถ่ายน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟ
- เปลี่ยนไส้กรองของน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องปั่นไฟ
- ตรวจสอบท่อสายยางและเหล็กรัดท่อในเครื่องปั่นไฟหากชำรุดให้ทำการเปลี่ยนทันที
- ตรวจสอบสภาพน๊อตของเครื่องปั่นไฟให้หนาแน่นอยู่เสมอ หากชำรุดให้ทำการเปลี่ยนทันที
5. ในทุก ๆ 6 เดือน หรือการใช้งาน 500 ชั่วโมง จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้
- ทำการเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นไฟ
- ทำการเปลี่ยนไส้กรองอากาศของเครื่องปั่นไฟ

ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องปั่นไฟ
- ก่อนจะตรวจเช็คอุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องปั่นไฟ ถ้าระบบของเครื่องปั่นไฟเป็นแบบจ่ายกระแสอัตโนมัติ ให้ปรับไปที่ตําแหน่ง OFF หรือปลดขั้วสายแบตเตอรี่ออกเสียก่อน เพื่อป้องกนการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์สตาร์ทเองขณะทําการตรวจเช็ค
- ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ยังร้อนอยู่
- ไม่จ่ายกระแสเกินกำลังของเครื่องปั่นไฟ
- ไม่ควรปรับอุปกรณ์ใดๆ ขณะจ่ายกระแสไฟฟ้า ถ้ามีความผิดปกติใด ๆ ให้งดจ่าย Load แล้วจึงทำการแก้ไข
- ไม่ควรทิ้งเครื่องยนต์โดยไม่มีผู้ดูแลขณะเครื่องกำลังทำงานอยู่
- ไม่ควรเปิด-ปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น
- สถานที่ติดตั้งเครื่องปั่นไฟ ต้องมีการระบายอากาศเป็นอย่างดีและไม่ควรมีฝุ่นละออง ไม่เป็นสถานที่เก็บสารเคมีหรือวัตถุไวไฟอื่น ๆ นอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เท่านั้น
- ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความถี่ทางไฟฟ้าอยู่เสมอ
- ขณะจ่าย Load ควรตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต์
- ในการติดตั้งเครื่องปั่นไฟ จำเป็นต้องเดินสายดินโดยต่อกับแท่งทองแดง หรือ Ground Rod ที่ฝังอยู่ใต้ดินตามมาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ต้องต่อตัวเครื่องยนต์และตู้ควบคุม
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- เรื่องน่ารู้ “เสาไฟฟ้า” ที่เราเห็น มีกี่ประเภทกันนะ?
- ช่างไฟฟ้า ความรู้เบื้องต้นที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง?
- มัลติมิเตอร์ คืออะไร? มีหน้าที่และอ่านค่าอย่างไร?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย รอกโซ่ รอกโซ่มือสาว เครนยกของ และอุปกรณ์เสริมสำหรับงานช่าง ต่าง ๆ ราคาจับต้องได้ สินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจ นอกจากนี้ บริษัทของเรา ยังมีบริการรับ สร้างโกดัง สร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้าต่าง ๆ จากช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ การันตีผ่านมาตรฐานก่อสร้าง และความปลอดภัยต่าง ๆ เข้าชมเว็บไซต์ www.kacha.co.th
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025