ในงานก่อสร้างมีความจำเป็นจะต้องใช้แรงงานคนในการผูกลวด ผูกเหล็กในงานโครงสร้าง โดยการทำงานนั้นต้องใช้มือในการผูกลวดผูกเหล็ก ปัจจุบันจึงได้มีการคิดค้นเครื่องมือที่ช่วยในการทำงาน นั่นก็คือ “เครื่องผูกลวด” ที่สามารถแก้ปัญหาการใช้มือผูกลวด ผูกเหล็ก และสามารถประหยัดเวลาในการทำงานก่อสร้างได้ดีเลยทีเดียว และเครื่องผูกลวดนั้น มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? ตาม KACHA มาดูกัน


มารู้จักกับ ลวด กันก่อนดีกว่า?

210408-Content-เครื่องผูกลวดเครื่องผูกเหล็ก-มีประโยชน์อย่างไร02


ลวด (Wire) คือ เหล็กที่รูปร่างเป็นเส้นยาว มีผิวเรียบ ลักษณะหน้าตัดเป็น ทรงกลม มีขนาด และวัสดุที่หลากหลายให้เลือกใช้ ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน และสามารถเลือกใช้ได้ตามขนาดความยาวที่ต้องการ ซึ่งการจะนำลวดไปใช้งานนั้น จะต้องคำนึงถึงการใช้งานที่มีความเหมาะสม ในส่วนของความมากน้อยของงาน กับขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางลวด ควรจะมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีของงานนั้น ๆ จึงนิยมนำไปใช้งานอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องมือเกษตรกรรม ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่น ๆ อีกมากมาย


การผูกลวดด้วยมือ เป็นอย่างไร?

210408-Content-เครื่องผูกลวดเครื่องผูกเหล็ก-มีประโยชน์อย่างไร03


งานก่อสร้างมีงานไหนบ้างที่ไม่ใช้ลวด ลวดเป็นสิ่งสำคัญในการทำโครงสร้างทำหน้าที่ยึดเหล็กไว้ด้วยกันจนกว่าปูนจะแห้ง ป้องกันตำแหน่งเหล็กเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงไม่ใช้แค่การผูกลวดเพียง 10-20 จุด แต่มันหมายถึง นับพันจุดที่ต้องผูกลวดนั่นเอง หากเป็นไซด์งานขนาดใหญ่ ช่างที่ทำการผูกอาจจะต้องใช้เวลานานมากแค่ไหนกว่าจะผูกเสร็จ ไม่ว่างานจะเร่ง งานรีบ รถปูนมารอ ซึ่งเป็นเหตุผลที่การผูกลวดด้วยมือนั้นไม่ค่อยตอบโจทย์การทำงานก่อสร้างในปัจจุบันเท่าไหร่นัก


เครื่องผูกลวดเครื่องผูกเหล็ก ดีอย่างไร?

210408-Content-เครื่องผูกลวดเครื่องผูกเหล็ก-มีประโยชน์อย่างไร04


จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าการผูกลวดด้วยมือนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ปัญหาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นผูกลวดแผงเหล็ก หรือผูกลวดแผงขนาดใหญ่ จะต้องใช้คนจำนวนมาก กับเวลาที่ยาวนานกว่าจะผูกลวดเสร็จ ปัจจุบันก็มีการคิดค้นเครื่องมือตัวช่วยในการผูกลวดขึ้นมา จะง่ายกว่าไหมถ้าแค่จิ้มนิ้ว แล้วกดปุ่ม ไม่ถึง 1 วินาที ก็สามารถผูกลวดได้อย่างเรียบร้อย หมดห่วงเรื่องลวดหลวม หลุด หรือขาด งานที่ได้ออกมาสมบูรณ์ คือ จะได้รอยมัดที่มีขนาด จำนวนรอบ เหมือนกันทุก ๆ ตัว ทำให้มั่นใจได้ว่า ลวดที่มัดไว้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะกี่ร้อยจุด หรือกี่พันจุด ทุกอย่างก็จะเหมือนกัน 100%

เปรียบเทียบการใช้งาน คน VS เครื่องผูกลวด
รายละเอียด เครื่องผูกลวด คน
ความเร็วในการมัดเหล็กเส้น 30 เส้น/ 1 นาที 12 เส้น/ 1 นาที
การทำงานต่อวัน 11,520 เส้น 4,608 เส้น
ค่าจ้างแรงงาน 1 คน ค่าแรงต่อเดือน 9,000 + ค่าเครื่อง 4 คน ค่าแรงต่อเดือน 32,000


ส่วนประกอบของเครื่องผูกลวด

210408-Content-เครื่องผูกลวดเครื่องผูกเหล็ก-มีประโยชน์อย่างไร05

 

แกนลวด สวิทช์ไฟ เปิด-ปิด ขากรรไกร
ด้ามจับ ก้อนแบตเตอรี่ ไกปืน


การทำงานของเครื่องผูกลวด

  • ใช้เวลาในการผูกลวดเพียง 0.8 วินาที
  • ตัวเครื่องแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา สะดวกในการใช้งาน
  • ใช้ทุ่นแรงได้ดี แรงผูกลวดเร็วกว่า ถึง 4 เท่า
  • แบตเตอรี่ 4500 mAh 2 ก้อน ใช้งานได้ต่อเนื่อง ยาวนานถึง 10 ชั่วโมง

การบำรุงรักษาเครื่องผูกลวด

  1. ทำความสะอาดเครื่อง และปากลวด ให้สะอาดอยู่เสมอ
  2. เครื่องผูกลวด ไม่สามารถวางแบบสุ่ม เพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนเสียหาย ควรเก็บไว้ในกล่องเครื่องมือเฉพาะ
  3. ต้องไม่ใส่แบตเตอรี่ร่วมกับวัตถุโลหะอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการลัดวงจรของเครื่อง


???? เมื่อทราบข้อแตกต่างระหว่างการผูกลวดด้วยมือ และการใช้เครื่องผูกลวดแล้ว ก่อนการนำใช้งานควรพิจารณา ศึกษาข้อมูล เลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทงานก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของงาน นอกจากนี้เพื่อความมั่นใจ ในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ทาง KACHA ของเรา ได้มีจำหน่าย “เครื่องผูกลวดอัตโนมัติ ไร้สาย” ให้คุณได้เลือกซื้อ หลังจากนี้ ไม่ว่าจะงานก่อสร้างขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ก็คงจะหมดปัญหาการผูกลวดนาน ๆ แล้วล่ะ ????

???? เครื่องผูกลวดอัตโนมัติ เครื่องผูกเหล็กเส้น ไร้สาย

>>สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย<<