เทปพันเกลียว ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี
เทปพันเกลียว ตัวช่วยสำคัญในงานประปา เพื่อการป้องกันน้ำรั่วซึมของน้ำ ที่เกิดจากการสวมเกลียวเข้ากันไม่แน่น หรือไม่สนิทกัน คงมีหลายคนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ประปา อาจจะสงสัยว่า จะพันเทปพันเกลียวอย่างไรดีให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ?
ในบทความนี้ KACHA จะพาไปดูเทคนิค การพันเทปพันเกลียวพันท่อน้ำ สำหรับงานติดตั้งอุปกรณ์ในระบบเส้นท่อ ที่ใช้วิธีการสวมข้อต่อแบบเกลียว ไม่ว่าจะเป็น ก๊อกบอล, บอลวาล์ว, เช็ควาล์ว, ข้อต่อสองทาง-สามทาง ทั้งหมดนี้เราควรมีเทปพันเกลียวติดไว้เป็นตัวช่วย
เพื่อตัดต้นต่อปัญหาการรั่วซึม ควรเลือกใช้ เทปพันเกลียว ให้ถูกงาน โดยเฉพาะปัญหาน้ำรั่วซึม บริเวณก๊อกน้ำ แม้จะดูเล็กน้อย แต่อาจสร้างปัญหาใหญ่ตามมาได้ เช่น บิลค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นสูง หรือรอยคราบน้ำตามผนังที่ขัดไม่ออก รวมถึงน้ำที่นองพื้น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ สาเหตุส่วนใหญ่ มักเกิดจากการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมในการวางระบบท่อประปาระหว่าง จุดเชื่อมต่อท่อน้ำ ซึ่งเป็นข้อต่อแบบเกลียวใน กับอุปกรณ์ที่มีหัวต่อเป็นเกลียวโลหะ เช่น ก๊อกน้ำ, สต๊อปวาล์ว ควรเลือกใช้ ข้อต่อเกลียวในทองเหลืองในการเชื่อมต่อ เมื่อพันเทปกับอุปกรณ์แล้ว เทปต้องแนบติดสนิทเข้ากับร่องเกลียว ในจำนวนรอบที่เหมาะสม และติดกันแน่นสนิท จะทำให้น้ำไม่รั่วซีม การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การจะมีระบบท่อดี ๆ ไม่มีปัญหานั้น ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราใส่ใจเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับการใช้งานนั่นเอง ????
เทคนิคการพันเทปพันเกลียว ให้ถูกวิธี
การพันเทปพันเกลียว สำหรับพันท่อน้ำ ในกรณีก่อนสวมต่อเข้ากับบอลวาล์ว ทำได้ดังนี้
- ทำความสะอาดปลายท่อ (ข้อต่อท่อเกลียวนอก)
ก่อนพันเทปพันเกลียว ต้องทำความสะอาดปลายท่อที่จะทำการสวมข้อต่อแบบมีเกลียว ทั้งข้างใน และข้างนอกให้สะอาด มั่นใจว่าไม่มีเศษฝุ่น เศษดิน หรือเศษวัสดุแปลกปลอมติดอยู่ เพราะถ้ามีเศษสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ จะทำให้เวลาสวมเกลียวข้อต่อเข้าไป ทำให้เกิดการติดขัด ทำให้เกลียวเสียรูปทรงได้นั่นเอง
- เริ่ม-ระหว่าง พันเทปพันเกลียว
ก่อนพันเทปพันเกลียว ให้ลองสวมอุปกรณ์ดูก่อน ว่ารู้สึกแน่น หรือหลวมแค่ไหน จะได้กะจำนวนรอบที่พันได้ แล้วเริ่มพันเทป โดยใช้มือซ้ายจับท่อ และมือขวาจับเทปพันเกลียวไว้ พันตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้ทิศทางการพันเป็นทิศทางแบบเดียวกันกับรอบเกลียว ไม่สวนทางกัน โดยพยายามพันเทปให้เรียบสนิทเข้ากันกับปลายท่อ
- ลองสวมบิดข้อต่อ เพื่อตรวจสอบความแน่น
ขั้นตอนนี้ ให้ค่อย ๆ บิดข้อต่อ อย่าเพิ่งรีบร้อนบิดอย่างเร็ว เพราะบางครั้งความหนาของเทปพันเกลียวที่หนาเกินไป หรือระดับที่ไม่สม่ำเสมอกันในระหว่างพันเกลียว อาจทำให้ท่อมีรอยแตกได้ คราวนี้ต้องรื้อ และตัดแต่งท่อใหม่อีก อาจทำให้มีปัญหาตามมาได้ และเมื่อพอบิดข้อต่อแล้วรู้สึกว่าเทปพันเกลียวแน่นดี ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม เทปพันเกลียวบางยี่ห้อมีคุณภาพไม่ตรงฉลาก แม้จะระบุความหนาของเนื้อเทป 0.1 เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อลองจับเนื้อเทปกลับรู้สึกได้ถึงความหนา หรือบางที่แตกต่าง ทำให้ช่างมือใหม่ปวดหัวไม่น้อย โดยทั่วไปนิยมใช้เป็นแบบแถบ 12 มิลลิเมตร และเกลียวแบบแถบเทปกว้าง ๆ ก็มีขาย เมื่อเทปพันเกลียวมีหลายตัวเลือก คุณภาพหลากหลาย หนาบ้าง บางบ้าง จึงไม่สามารถบอกเป็นจำนวนรอบที่แน่นอนได้ เทปแบบบาง เมื่อพันหลายรอบจนดูหนามาก ถ้าเทปมันพองฟู มีอากาศแทรกอยู่ระหว่างชั้น พอขันเกลียวเข้าไป จะรู้สึกว่าหลวม ในขณะที่เทปหนาหน่อย พันจำนวนรอบน้อย ดูไม่หนา แต่เทปไม่ฟู พอขันเกลียวเข้าไป กลับรู้สึกถึงความตึงมือ จนกลัวว่าท่อจะแตก และถ้าเป็นเทปแถบกว้าง จำนวนรอบก็จะน้อยลงเล็กน้อย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความหนาของเทปอยู่ดี
สิ่งสำคัญหลังจากพันเทปพันเกลียวท่อน้ำแล้ว ไม่ควรใช้เครื่องมือช่วยขันก๊อกน้ำ หรือก๊อกฝักบัว ใช้เพียงมือหมุนก็พอ เพราะการใช้เครื่องมือช่วย จะเบาแรงมากจนไม่รู้สึกถึงความตึงมือ ขันยังไงก็เข้า จนอาจจะทำให้พบปัญหาเรื่องท่อแตกได้ ควรใช้เพียงมือเปล่าหมุนให้รู้สึกตึงมือก็พอ เมื่อติดตั้งเสร็จ และทดลองระบบน้ำแล้ว หากยังมีน้ำซึม ควรถอดออกมาพันเกลียวเพิ่มอีกนิดก็ยังได้ ค่อย ๆ ทำแบบนี้ รับรองว่าไม่พลาดจนท่อแตกแน่นอน เพราะบางทีพันแน่นเกินไป อาทิตย์นี้ใช้ได้ อาทิตย์หน้าแตกก็ยังมี แม้จะเป็นช่างประปาก็ทำพลาดมานักต่อนักแล้ว ต้องระวังกันด้วย
???? รู้ไหม? ข้อที่ต้องระวัง คือ รอยต่อที่ใช้แหวนยางประกบ ไม่ควรใช้เทปพันเกลียวร่วมไปด้วย เพราะรอยต่อที่ใช้แหวนยาง เน้นให้การประกบระหว่างแหวน ท่อ และอุปกรณ์แนบแน่นกันมากที่สุด หากใช้เทปพันเกลียวพันไปด้วย อาจจะทำให้ขันเกลียวได้ไม่สุด ยิ่งพันเยอะแหวนยางจะยิ่งแนบไม่แนบสนิท ยิ่งรั่วง่าย หรือถ้าฝืนเกินไป ข้อต่อประเภทนี้ ที่มักจะบอบบาง จะแตกชำรุดได้
จะเห็นได้ว่า การเลือกเทปพันเกลียวให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นทำได้ไม่ยากเลยใช่ไหม หวังว่าบทความนี้คงทำให้หลายคนได้รู้จักวิธีใช้เทปพันเกลียวอย่างถูกต้องกันไม่มากก็น้อย เพื่อการนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ????
บทความดี ๆ น่าอ่าน:
- ซ่อมปั๊มน้ำ ตรวจเช็คด้วยตัวเองได้ ไม่ง้อช่างประปา
- รู้จัก มิเตอร์น้ำ อุปกรณ์สำคัญของบ้านการใช้งานเป็นอย่างไร?
- อุปกรณ์ประปา เครื่องมือติดตั้งและซ่อมแซม มีอะไรบ้าง?
- แชร์เทคนิค ประหยัดน้ำ เชฟเงินอย่างง่ายแค่ปรับวิธีใช้น้ำ
- รู้จักกับ เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
KACHA ผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือช่างราคาถูก และอุปกรณ์เสริม สำหรับช่างมืออาชีพ ราคาที่คุณจับต้องได้ รับรองสินค้าคุณภาพ บริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน!! เลือกดูสินค้าจาก KACHA คลิกเลย ????????