
เรื่องน่ารู้ “เสาไฟฟ้า” ที่เราเห็น มีกี่ประเภทกันนะ?
เสาไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ในการรองรับการติดตั้งสายไฟให้อยู่เหนือพื้นดิน ด้วยวิธีติดตั้งถ้วยยึดจับสายไฟฟ้า สำหรับเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการพาดสายไฟไว้เหนือพื้นดินสูง ๆ ก็เนื่องจากว่า สายไฟฟ้าโดยทั่วไปนั้น เป็นสายเปลือยที่มีอันตรายต่อผู้ที่ไปสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ และถ้าหากเกิดความผิดปกติขึ้น ก็จะส่งผลกระทบอื่น ๆ อีกมากมาย
KACHA จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ เสาไฟฟ้า ที่เราเห็น ๆ นั้น มีกี่ประเภทกันแน่นะ? ไปดูกันเลย
ประเภทของเสาไฟฟ้า
ในส่วนของเสาไฟฟ้า ต้องมีความแข็งแรงและมั่นคงระดับหนึ่ง อีกทั้งควรจะต้องรองรับน้้ำหนักได้ดี และไม่หักโค่นง่าย ในอดีตนั้น เสาไฟฟ้ายุคแรก ๆ ทำด้วยไม้ แต่เมื่อไม้เริ่มหายาก และไม่สามารถใช้งานได้นาน จึงมีการเปลี่ยนวัสดุเป็นเสาคอนกรีตแทน ในส่วนนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ก็ได้เห็นด้วย และมีการเปลี่ยนเสาไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศเป็นเสาคอนกรีตแล้ว แต่อาจจะยังหลงเหลือในพื้นที่ชนบทห่างไกลบ้างเล็กน้อย ซึ่งก็จะมีการเปลี่ยนเป็นเสาคอนกรีตทั้งหมดในอนาคต และในปัจจุบันนี้ ก็เริ่มมีเป็นเสาอะลูมิเนียมมาติดตั้งในบางพื้นที่แล้ว
-
เสาไฟฟ้าคอนกรีต
สำหรับเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่การไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาคเลือกใช้นั้น มีด้วยกัน 6 ขนาด โดยมีรายละเอียด คือ

- เสาคอนกรีต 6 เมตร นิยมใช้เป็นเสาบริการ หรือเสาสำหรับพาดไฟฟ้าสายแรงต่ำ
- เสาคอนกรีต 8 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าต่ำแบบ 1 เฟส 2 สาย และ 3 สาย รวมถึง 2 เฟสแบบ 3 สาย พร้อมกับสายดับไฟถนน เสาคอนกรีต 8 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 490 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ ระดับดินตั้งแต่ 760 กิโลกรัมขึ้นไป
- เสาคอนกรีต 9 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าต่ำแบบ 3 เฟส 4 สาย หรือแบบ 2 วงจร เสาคอนกรีต 9 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,070 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 590 กิโลกรัมขึ้นไป
- เสาคอนกรีต 12 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูง บริเวณด้านบนของเสา จะมีการติดตั้งคอนสายไว้ เพื่อรองรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 22-33 KV นอกจากนี้แล้ว ยังมีการติดตั้งหม้อแปลง และอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบแขวนไว้อีกด้วย เสาคอนกรีต 12 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,265 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 2,550 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับเสาคอนกรีต 12 เมตรรุ่นใหม่ จะมีสายดินแบบลวดตีเกลียว 25 ตมม. ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
- เสาคอนกรีต 14 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูง มีการติดตั้งอุปกร์ด้านบนเสาเหมือนกับเสาคอนกรีต 12 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,950 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 3,590 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับเสาคอนกรีต 14 เมตรรุ่นใหม่ จะมีสายดินแบบลวดตีเกลียว 25 ตมม. ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
- เสาคอนกรีต 22 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูงขนาด 115 KV มีสายดินแบบลวดตีเกลียว 35 มม. ยาว 2 เมตร ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
นอกจากนี้ยังมี เสาไฟฟ้าแบบเสาโครงเหล็ก ที่ใช้กับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่มีแรงดันสูง (69 KV 115 KV 230 KV 500 KV) โดยเสาโครงเหล็ก จะทำจากเหล็กฉากที่นำมาประกอบกัน มีความสูง 10 เมตรขึ้นไป แยกออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบชนิดยึดแน่น และ ชนิดขยับได้ ในการใช้งานยังมีการแบ่งโครงเหล็กออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ แบบวงจรเดี่ยว และวงจรคู่
-
เสาโครงเหล็ก
มีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ
- ฐานราก ฐานของเสามีด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบแท่นตรง แบบฐานแผ่ และแบบเสาเข็ม
- ขาต่าง การใช้ส่วนประกอบนี้ ก็ต่อเมื่อมีการตั้งเสาในพื้นที่ต่างรับดับ เช่น เนินเขา ไหล่เขา เป็นต้น เพื่อให้ขาเสามีขนาดเท่ากันทั้ง 4 ขา
- ส่วนต่อ ถ้าหากต้องการให้เสามีขนาดสูงขึ้นไปอีก จะต้องใช้ส่วนประกอบนี้
- ส่วนกลาง เป็นส่วนลำตัวของเสาที่ต่อขึ้นมาจากฐานราก
- ส่วนยอด หรือส่วนปลายที่จะติดตั้งถ้วยแขวนสำหรับพาดสายไฟแรงสูง

ไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 1,000 V ขึ้นไป การที่ระบบไฟฟ้ามีแรงดันไฟฟ้าสูง จะช่วยส่งกระแสไฟฟ้าไปยังระยะทางไกล ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูง มีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับที่ใช้กันทั่วไปตามบ้านเรือน และอาคารต่าง ๆ (220 V) ไฟฟ้าแรงสูง จึงสามารถกระโดดข้ามอากาศเข้าหาวัตถุ หรือสิ่งมีชีวิตได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสกับสายไฟเลย (เราจึงอาจจะเห็นนกที่ถูกไฟดูด โดยไม่จำเป็นต้องเกาะบนสายไฟ) ยิ่งถ้าไฟฟ้ามีแรงดันสูงมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดการกระโดดข้ามได้ไกลมากยิ่งขึ้น มีการบันทึกสถิติผู้ที่ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในพื้นที่ให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง พบยอดผู้บาดเจ็บ ผู้ทุพพลภาพ และผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คนต่อปี
สายบนเสาไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) แนะนำสายต่าง ๆ ที่อยู่บนเสาไฟฟ้า มี 3 ชั้น ดังนี้
- สายที่อยู่แถวบนสุด
เป็นสายไฟฟ้าแรงสูง 22,000 โวลต์ ติดตั้งอยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เมตร
- สายแถวกลาง
ความสูงจากพื้นในระดับ 8 เมตร เป็นสายไฟฟ้าแรงต่ำ 230 หรือ 400 โวลต์ คือ สายไฟที่ต่อโยงไว้จ่ายไฟเข้าบ้านเรือนประชาชนทั่วไป
- สายแถวที่สาม หรือแถวล่างสุด
ความสูงจากพื้นในระดับ 5-5.50 เมตร เป็นสายหลาย ๆ เส้นขดกันจำนวนมาก คือ สายสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งประกอบด้วย
- สายออพติกไฟเบอร์ คือ สายอินเทอร์เน็ต
- สายเคเบิลโทรศัพท์
- สายเคเบิลทีวี
- สายควบคุมสัญญาณจราจร
- สายสื่อสารกล้องวงจรปิด เป็นต้น ซึ่งจะพาดสายอยู่ในระดับเดียวกัน
รู้ได้อย่างไร ว่าสายไฟไหนคือสายไฟฟ้าแรงสูง?
เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูง มีระยะอันตรายที่จะกระโดดข้ามได้ จึงมีการป้องกันด้วยการยึดสายไฟไว้กับฉนวนไฟฟ้าจำนวนที่เหมาะสม ซึ่งฉนวนไฟฟ้าที่กำลังกล่าวถึงนี้ ทำจากกระเบื้องที่มีการเคลือบหลายชั้น มีลักษณะเหมือนชามที่กำลังคว่ำอยู่ เมื่อไรก็ตามที่เราเห็นการยึดเสาไฟฟ้าด้วยถ้วยคว่ำนี้ ก็ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเรากำลังอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงแรงสูง ยิ่งถ้ามีถ้วยมากเท่าไร ก็แปลว่าแรงดันไฟฟ้าสูงเท่านั้น
ยังมีอีกวิธีที่ใช้ในการสังเกตไฟฟ้าแรงสูง ที่นอกเหนือไปจากการสังเกตถ้วย และการอ่านป้าย คือ ระดับความสูงของสายไฟ ปกติแล้วสายไฟฟ้าแรงสูง จะตั้งให้ห่างจากพื้นดินประมาณ 9 เมตร ถ้าอยู่สูงกว่านั้น ก็แปลว่ามีแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติ
สำหรับใครที่สนใจรถกระเช้า เราขอแนะนำ รถ Xlift ลิฟท์ขากรรไกร หรือ เครนยกของ สินค้าคุณภาพจาก KACHA รับรองความปลอดภัย พร้อมให้บริการหลังการขายสุดประทับใจอย่างแน่นอน
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารสำคัญ และโปรโมชั่นพิเศษมากมาย สามารถติดตามเราผ่านช่องทางต่างๆได้หลากหลายช่องทางตามด้านล่างนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025
บทความที่น่าสนใจ
พลาสติก PE คืออะไร? รู้จักประเภท คุณสมบัติ และการใช้งานที่ควรรู้
25 กรกฎาคม 2025
พลาสติก PP คืออะไร? รวมคุณสมบัติและการใช้งาน
14 กรกฎาคม 2025
มือใหม่ต้องรู้! หัวไขควงแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง ใช้ต่างกันยังไง
30 มิถุนายน 2025
ไขข้อสงสัย! น็อตคืออะไร น็อตมีกี่ประเภท
30 มิถุนายน 2025
10 อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม ที่ควรมีไว้ติดบ้านก่อนน้ำจะมา
9 มิถุนายน 2025
แม่แรงไฮดรอลิค คืออะไร มีแบบไหนบ้าง?
9 มิถุนายน 2025